ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 09:08:00 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่เล็ก
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 02:44:49 am »

โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

๑. ต้องมีศีล ๕ สมบูรณ์
...เพราะศีล ๕ สมบูรณ์จะทำให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
...ใครจะเพิ่มเป็นศีล ๘... ศีล ๑๐ หรือ ๒๒๗ ข้อก็ได้ตามฐานะ
...แต่อย่างน้อย ศีล ๕ ต้องสมบูรณ์

๒. การบริกรรมภาวนา
...คือการฝึกให้จิตมีเกาะ เรียกว่า มีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของจิต
...เมื่อหายใจเข้าบริกรรมคำว่า "พุท" ...เมื่อหายใจออกบริกรรมคำว่า "โธ"
...บริกรรม ไปทุกลมหายใจเข้าออก ทุกอิริยาบถ ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน กิน
ดื่ม ทำ พูด คิด จนกระทั้งชำนาญ คือ จิตบริกรรมคำว่า "พุทโธ" เองตลอดเวลา

๓. การสอนให้จิตทำงาน
...คือการพิจารณา (บางท่านจิตจะไปพิจารณาเอง เมื่อจิตอิ่มคำ
บริกรรม)
...เมื่อจิตอิ่มคำบริกรรมแล้ว คือจิตจะหยุดบริกรรมเอง จะมีแต่สติ
(ตัวรู้) อยู่
...ใช้สติตัวนี้ไปดู (พิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ในสติปัฏฐาน ๔
กาย...เวทนา...จิต...ธรรม

๓. ก. พิจารณา (ดู) กาย
...เช่น อานาปานสติ (คือการเห็นลมหายใจเข้า - ลมหายใจออก ไม่มีคำบริกรรมเลย)
...หรืออิริยาบถ (คือรู้ว่าเรากำลังอยู่อย่างไร...ยืน เดิน นั่ง นอน
... หรือกำลังเคลื่อนไหวอย่างไรอยู่)
...หรือดูอาการ ๓๒ ...หรือพิจารณากายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม
 ...หรือพิจารณาซากศพให้ ดูอย่างใดอย่างหนึ่ง จนกระทั่งเห็นอย่างชัดเจน
เห็นการเกิดของสิ่งที่กำลังดูอยู่บ้างเห็นดับของสิ่งที่กำลังดูอยู่บ้าง มีสติชัดอยู่
ว่าสิ่งที่กำลังเห็นอยู่นั้นเป็นเพียง "อะไรอย่างหนึ่ง" ที่กำลังเกิด ที่กำลังดับ
...สิ่งนั้นเมื่อเป็นเพียงอะไรอย่างหนึ่ง ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
...สิ่งนั้นมีเพื่อเป็นเครื่องรู้ของสติเท่านั้น....

๓ ข. พิจารณาเวทนา
...เมื่อสุขก็รู้ว่าสุข...เมื่อทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์...เมื่อเฉยๆ ก็รู้ว่าเฉยๆ...
เห็น สุข ทุกข์หรือเฉยๆ ชัดอยู่ เมื่อมันกำลังเกิดก็เห็นชัด เมื่อมันกำลังดับก็เห็นชัด
เห็นเช่นนี้เรื่อยไปจนจิตรู้ว่ามันเป็นเพียง "อะไรอย่างหนึ่ง" ที่กำลังเกิด ที่กำลังดับ
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันสักแต่ว่าเป็นอะไรอย่างหนึ่งนั้นเอง
...เวทนามีอยู่จริง เป็นแต่เครื่องรู้ของสติเท่านั้น...

๓ ค. พิจารณาจิต
...ก็ เช่นเดียวกัน เมื่อจิตโกรธ จิตโลภ จิตหลง จิตสงบ จิตฟุ้งซ่าน จิตคิดอะไรก็ตาม
...เราจะใช้ "สติ" รู้เห็นมันชัดอยู่ เห็นมันกำลังเกิด เห็น มันกำลังดับ
...มันก็เป็นเพียง "อะไรอย่างหนึ่ง" ที่กำลังเกิด ที่กำลังดับ
...ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นเพียงเครื่องรู้ของสติเท่านั้น...

๓ ง. พิจารณาธรรม
...เช่น นิวรณ์ ๕, ขันธ์ ๕, อายาตน ๖, อริยสัจ ๔, โพชฌงค์ ๗ เป็นต้น
...เห็นแต่ละอย่าง เห็นแต่ละตัวชัด เห็นความเกิดของธรรมข้อนั้นๆ ชัด
เห็นความดับของธรรมข้อนั้นๆ ชัด ...ธรรมนั้นๆ เป็นแต่เพียง "อะไร อย่างหนึ่ง"
ที่กำลังเกิด ที่กำลังดับไม่เป็นสิ่งที่เรารู้ ไม่ใช่สิ่งที่เราได้ มันเป็นอย่างนั้นเอง
เกิดๆ ดับๆ...มีธรรมอยู่จริงสักแต่ว่าเป็นเครื่องรู้ของสติ เท่านั้นเอง...

"สุดท้ายเห็นอะไร รู้อะไร มันก็เป็นอย่างนั้นเอง...
...การ พิจารณานั้น พิจารณาเพียงอย่างเดียวให้ชำนาญ เห็นความเกิด
เห็นความดับ เห็นความดับชัดแล้วอย่างอื่นที่ผ่านมาก็เป็นเพียง
"เครื่องรู้ของสติ" เท่านั้น ทุกอย่างก็จะเป็นไป ตามธรรมชาติ..."

ธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
ได้ตรัสสอนพระราหุลเรื่องธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน ๖ คู่ คือ

๑. "ราหุล! เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
จักละพยาบาท (คือความคิดที่จะแก้แค้น) ได้
๒. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่
จักละวิหิงสา (คือการเบียดเบียน) ได้
๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
จักละอรติ (ความริษยา) ได้
๔. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขา ภาวนาอยู่
จักละปฏิฆะ (คือความขัดใจ) ได้
๕.เธอจงเจริญอสุถภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุถภาวนาอยู่
ละราคะ (คือความยินดีในกาม) ได้
๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจ ภาวนาอยู่
จักละอัสมิมานะ (คือการถือตัว) ได้

มหาราหุโลวาทสูตร ๑๓ / ๑๒๗
การ ปฏิบัติธรรมเพื่อการดับทุกข์อย่างแท้จริง ควรจะต้องศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่เป็น
"คู่ปรับ" ของกันและกัน ดังที่ทรงยกมาสอนแก่พระราหุล ๖ ข้อนี้ และยังมีอีกมาก

การปฏิบัติ ธรรม เราจับคู่ของธรรมะข้อนั้นๆ ให้ถูกฝาถูกตัวกัน
การปฏิบัติธรรมก็ดูจะเป็นเรื่องไม่ยากเลย เช่น คนมีความตระหนี่ถี่เหนียว
ก็ต้องพิจารณาโทษของความตระหนี่ถี่เหนียว ทำให้เกิดเป็นคนยากจน

ไม่มีพวกพ้องบริวาร ทำให้เป็นคนมีจิตใจคับแคบ และเห็นแก่ตัวจัด เป็นต้น

ทาง แก้ก็ต้องใช้แบบ "หนามยอก เอาหนามบ่ง" คือ การบริจาค การให้ทาน
การเสียสละต่างๆ ให้มาก จริงอยู่ในการทำครั้งแรกๆ มันก็ย่อมฝืนใจและทำยาก
แต่เมื่อหัดทำบ่อยๆ มันก็จะเกิดความเคยชินไปเอง

ธรรมะข้ออื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ล้วนมีคู่ปรับที่คอยหักโค่นกันอยู่เสมอ
ถ้าเราจัดหาคู่ปรับมาแก้ ให้ถูกฝาถูกตัวกันได้แล้ว การปฏิบัติธรรมทางศาสนา
ก็จะไม่กลายเป็นเรื่องยาก หรือเป็นเรื่อง"สุดวิสัย" อย่างที่คนทั่วๆ ไปคิดเห็นกันอีกต่อไป

ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้า ไม่เกิดผลใดๆ ก็ขอให้พิจารณา
ดูธรรมข้อนั้นๆ ว่ามันถูกฝาถูกตัวกันหรือไม่ ?

ที่มาhttp://variety.thaiza.com/หลักการปฏิบัติสมาธิภาวนา-175594.html
ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=35712