ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 09:50:31 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 04:23:50 am »



  มหาเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ (สูตรใหญ่)

      พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. พระมหาโกฏฐิตะไปหาพระสารีบุตรถามปัญหาต่าง ๆ ซึ่งพระสารีบุตรก็ได้ตอบชี้แจงดังต่อไปนี้?-

       ๑.   ความหมายของคำว่า   ผู้มีปัญญาทราม    คือผู้ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔  ตามเป็นจริง.

      ๒.   ความหมายของคำว่า  ผู้มีปัญญา  คือผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง.

      ๓.   ความหมายของคำว่า  วิญญาณ  คือรู้แจ้ง ได้แก่รู้แจ้งสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข.

      ๔.   ปัญญา กับ วิญญาณ ปนกันหรือแยกกันอย่างไร ตอบว่า เป็นธรรมปนกัน ยากที่จะแยกบัญญัติทำให้ต่างกันได้

      ๕.   ปัญญา กับ  วิญญาณ ปนกัน จะต่างกันอย่างไร ตอบว่า  ปัญญาควรเจริญ ( ทำให้เกิดมี ) ส่วนวิญญาณควรกำหนดรู้ ( ปริญเญยยะ ).

      ๖.   ที่เรียกว่าเวทนา เพราะเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

      ๗.   ที่เรียกว่าสัญญา เพราะจำได้ เช่น จำสีเขียว , เหลือง , แดง , ขาวได้.


      ๘.   อเวทนา ,  สัญญา , อวิญญาณ ปนกันหรอแยกกัน ตอบว่า เป็นธรรมปนกัน ยากที่จะแยกบัญญัติทำให้ต่างกันได้ เพราะเสวยรู้สึกสิ่งใดก็จำสิ่งนั้นได้ จำสิ่งใดได้ก็รู้แจ้งสิ่งนั้น จึงแยกบัญญัติทำให้ต่าางกันไม่ได้.

      ๙.   มโนวิญญาณ ๑ .  อันบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับอินทรีย์ ๕ ( ไม่ปนกับเรื่องของตา ,  หู ,  จมูก ,  ลิ้น , กาย )  พึงรู้อะไรได้. ตอบว่า พึงรู้อากาสานัญจายตนะได้ว่า  อากาศหาที่สุดมิได้?    พึงรู้วิญญาณัญจายตนะได้ว่า    วิญญาณหาที่สุดมิได้ ? พึงรู้ว่าอากิญจัญญายตนะได้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี . ถามว่า บุคคลย่อมรู้ธรรมที่ควรได้ด้วยอะไร. ตอบว่า ด้วยปัญญาจักษุ ( ดวงตาคือปัญญา ). ถามว่า ปัญญามีอะไรเป็นประโยชน์ ตอบว่า    มีการรู้ยิ่ง ,  การกำหนดรู้. การละเป็นประโยน์.

      ๑๐.    ปัจจัยในการเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมีกี่อย่าง ตอบว่า มี ๒ อย่าง คือการประกาศของผู้อื่น กับการทำไว้ในใจโดยแยบคาย . ถามว่า สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ( ประกอบ ) เท่าไรอนุเคราะห์ จึงมีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติเป็นผล เป็นอานิสงส์ ตอบว่า  องค์ ๕ คือ   ศีล ,  การสดับฟัง ,  การสนทนา ,   สมถะ ( ความสงบระงับ )  และวิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง).

      ๑๑.   ภพมีเท่าไร ตอบว่า    มี ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ถามว่า การเกิดในภพอีกต่อไปนั้นมีได้อย่างไร ตอบว่า มีได้เพราะยินดีในภพนั้น ๆ ของสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นนีวรณ์ ( เครื่องกั้น ) มีตัญหาเป็นสัญโญชน์ ( เครื่องผูกมัด ). ถามว่า การเกิดในภพอีกต่อไปจะไม่มีได้อย่างไร ตอบว่า ไม่มีได้เพราะคลายอวิชชา ( ความไม่รู้ ) เพราะเกิดวิชชา ( ความรู้ ) เพราะดับตัญหาเสียได้.

      ๑๒.   ฌานที่ ๑ เป็นอย่างไร ตอบว่า ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าฌานที่ ๑    อันมีวิตก ( ความตรึก ) วิจาร ( ความตรอง ) มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ( ความสงัด ) ฌานที่ ๑   มีองค์ ๕  คือ   วิตก   วิจาร    ปีติ   ( ความอิ่มใจ ) สุข    และเอกัคคตา   ( ความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ).    ฌานที่ ๑   ละองค์ ๕ ได้    ประกอบด้วยองค์ ๕.    คือนีวรณ์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕   คือมีวิตก เป็นต้น.


      ๑๓.   อินทรีย์ ๕   คือ    ตา   หู   จมูก   ลิ้น    กาย   มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์ในที่เที่ยวไปของกันและกัน เช่น ตาฟังเสียงไม่ได้ หูเห็นรูปไม่ได้ ) อะไรเล่าเป็นที่อาศัย และเป็นตัวเสวยอารมณ์ในที่เที่ยวไปของอินทรีย์    ๕ เหล่านั้น ตอบว่า ใจ ( มโน ).

      ๑๔.   อินทรีย์ ๕    อาศัยอะไรตั้งอยู่ . ตอบว่า อาศัยอายุ.   อายุอาศัยอะไร. ตอบว่า อาศัยไออุ่น.    ไออุ่นอาศัยอะไร . ตอบว่า อาศัยอายุ.   อายุอาศัยไออุ่น ไออุ่นอาศัยอายุ เปรียบเหมือนแสงสว่างอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ. เปลวไฟอาศัยแสงสว่างจึงปรากฏ. อายุสังขาร ( ธรรมที่ปรุงแต่งคืออายุ ) กับเวทนียธรรม ( ธรรมที่พึงรู้สึกได้ ) ๒ .  เป็นอันเดียวกัน หรืออื่นจากกัน. ตอบว่า ไม่เป็นอันเดียวกัน . ถ้าเป็นอันเดียวกัน การออกจาก(จากสมาบัติ ) ของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ( สมาบัติดับสัญญาและเวทนา ) ก็ไม่พึงปรากฏ , แต่เพราะเป็นสิ่งอื่นจากกันจึงปรากฏได้.

      ๑๕.   ธรรมกี่อย่างละกาย กายจึงนอนเหมือนท่อนไม้ไร้เจตนา. ตอบว่า ธรรม   ๓ อย่าง คือ    อายุ  ไออุ่น   วิญญาณ.    ถามว่า คนตายกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกันอย่างไร    ตอบว่า คนตายสิ่งที่ปรุงกาย    วาจา  จิตดับ   อายุสิ้น    ไออุ้นดับ ( วูปสันตะ? สงบระงับ )   และอินทรีย์แตก    ( ตา   หู  เป็นต้น ใช้การไม่ได้ )    ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ    สิ่งที่ปรุงกาย  วาจา  จิตดับ แต่อายุยังไม่สิ้น    ไออุ่นยังไม่ดับอินทรีย์ยังผ่องใส.

      ๑๖.    ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุติ ๓ .  อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขนั้น มีกี่อย่าง ตอบว่า  มี ๔ อย่าง คือเพราะละสุขกาย , ทุกข์กาย , เพราะสุขใจ , ทุกข์ใจดับ ภิกษุจึงเข้าฌานที่ ๔ อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติอันเกิดจากอุเบกขา . ถามว่า ปัจจัยแห่ง “ การเข้า” เจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต ( เครื่องกำหนดหมาย ) มีกี่อย่าง ตอบว่า  มี ๒ อย่าง คือการไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง และการใส่ใจธาตุอันไม่มีนิมิต. ถามว่า ปัจจัยแห่ง “ การตั้ง” ในเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิตกี่อย่าง ตอบว่า   มี ๓ อย่าง คือการไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง , การใส่ใจธาตุอันไม่มีนิมติ และการปรุงแต่งในกาลก่อน ( ปุพฺเพ อภิสงฺขาโร น่าจะหมายความว่า ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะอยู่ในสมาธินั้นนานเท่าไร). ถามว่า ปัจจัยแห่ง “ การออก” จากเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีกี่อย่าง ตอบว่า   มี ๒ อย่าง คือการใส่ใจนิมิตทั้งปวง และการไม่ใส่ใจธาตุที่ไม่มีนิมิต.

      ๑๗.    เจโตวิมุติอันไม่มีประมาณ ,    เจโตวิมุติอันมีความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ,    เจโตวิมุติอันมีความสูญเป็นอารมณ์ และเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีอรรถะและพยัญชนะต่างกัน หรือเหมือนกัน. ตอบว่า มีปริยายที่ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้วมีอรรถะและพยัญชนะต่างกัน ;   มีอรรถะอันเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน. คือ ?- เจโตวิมุติอันไม่มีประมาณ ได้แก่การที่ภิกษุมีจิตประกอบด้วยพรหมวิหาร    ๔ มีเมตตา  เป็นต้น อันไม่มีประมาณ ไม่มีเวร แผ่ไปยังโลกทั้งปวง ทุกทิศ ; เจโตวิมุติอันมีความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ได้แก่การที่ภิกษุก้าวล่วง ( อรูปฌาณชื่อ ) วิญญาณัญจยตนะ เข้าสู่ ( อรูปฌานชื่อ ) อากิญจัญญายตนะ ;   เจโตวิมุติอันมีความสูญเป็นอารมณ์ ได้แก่การที่ภิกษุไปสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม พิจารณาว่าสิ่งนี้สูญจากตัวตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตน ;  เจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต ได้แก่การที่ภิกษุเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต ( เครื่องกำหนดหมาย ) เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง . นี้เป็นปริยายที่ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถและพญัญชนะต่างกัน. ส่วนปริยายที่ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถะเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน คือ   ราคะ โทสะ   โมหะ    ชื่อว่าเป็นเครื่องทำให้ “ มีประมาณ” ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ    ละราคะ   โทสะ   โมหะ    ได้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจโตวิมุติที่ “ ไม่มีประมาณ” ทั้งหลาย เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบเป็นยอด . เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบนั้นแหละสูญ    คือว่างจากราคะ   โทสะ    โมหะ .   ราคะ   โทสะ    โมหะ   ชื่อว่าเป็น “ กิญจนะ ” คือกิเลสเครื่องกังวล ๔.   ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ    ละราคะ  โทสะ   โมหะ    ได้เด็ดขาดแล้ว. บรรดาเจโตวิมุติที่ “ ไม่มีกิญจนะ” ทั้งหลาย เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบเป็นยอด. เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบนั้นแหละเป็นสูญ คือว่างจากราคะ   โทสะ    โมหะ.     ราคะ โ ทสะ    โมหะ   ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำให้ “ มีนิมิต.” ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ    ละราคะ   โทสะ  โมหะ    ได้เด็ดขาดแล้ว.    บรรดาเจโตวิมุติที่ “ ไม่มีนิมิต ” ทั้งหลาย เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบเป็นยอด. เจโตวิมุติที่ไม่กำเริบนั้นแหละเป็นสูญ คือว่างจากราคะ   โทสะ    โมหะ.    นี้คือปริยายที่ธรรมเหล่านั้นอาศัยแล้วมีอรรถะเป็นอันเดียวกันมีพยัญชนะต่างกัน.

      พระมหาโกฏฐิตะก็ชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตรเถระ.   
   

   http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/405.html

baby@home
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=1887.0
       Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
สุขใจดอทคอม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 03:49:59 am »



   จูฬเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ (สูตรเล็ก)

      พระผู้มีพระภาคประทับ    ณ   เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. วิสาขอุบาสก ( ผู้เป็นอดีตสามี ) เข้าไปหานางธัมมทินนาภิกษุณี (ผู้เป็นอดีตภริยา ) ตั้งคำถามต่าง ๆ ซึ่งนางธัมมาทินนาภิกษุณีก็ตอบชี้แจงดังต่อไปนี้?-

      ๑.   คำว่า สักกายะ ( กายของตน ) คืออะไร . ตอบว่า    ขันธ์ ๕   ที่คนยึดถือ คือ    รูป   เวทนา   สัญญา    สังขาร   วิญญาณ   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายของตน. ถามว่า เหตุให้เกิดกายของตนคืออะไร ตอบว่า   ตัญหา    ความทะยานอยาก    คือทะยานอยากในกาม    ในความมีความเป็น    ในความไม่มีไม่เป็น. ถามว่า ควาวมดับแห่งกายตนคืออะไร ตอบว่า คือการดับตัญหาโดยไม่เหลือ. ถามว่า    ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกายของตนคืออะไร ตอบว่า มรรคมีองค์ ๘    อันประเสริฐ    มีความเห็นชอบ   เป็นต้น. ถามว่าอุปาทาน ( ความยึดมั่นถือมั่น ) กับอุปาทานขันธ์ ๕   ( ขันธ์ ๕ ที่คนยึดถือ ) เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์      ๕ . ตอบว่า อุปาทาน กับอุปาทานขันธ์ ๕    มิใช่เป็นอันเดียวกัน แต่อุปาทานก็ไม่อื่นไปจากอุปาทานขันธ์ ๕    คือความกำหนัดด้วยความพอใจในรูปอุปาทานขันธ์ ๕   อันใด อันนั้นคืออุปาทาน.

      ๒.   สักกายทิฏฐิ ( ความเห็นที่ยึดในกายของตน ) เป็นอย่างไร . ตอบว่า บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ( คนดี ) ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ    ย่อมเห็นรูปเป็นตน   เห็นตนมีรูป   เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ( เห็นเวทนา ,    สัญญา ,   สังขาร,    วิญญาณ เช่นเดียวกัน    จึงรวมเป็น ๔ x ๕ ? ๒๐ ข้อ). ถามว่า สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร ตอบว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ที่ตรงกันข้ามกับบุถุชน และไม่เห็นอย่างนั้น.

      ๓.   อริยมรรคมีองค์ ๘    คืออะไร ตอบว่า มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น. ถามว่า อริยมรรคมีองค์ ๘   เป็นสังขตะ. ( ปัจจัยปรุงแต่ง ) หรือเป็นอสังขตะ ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง ). ตอบว่า เป็นสังขตะ. ถามว่า ขันธ์ ๕.  ๓ สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘   ก็แต่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘    สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๓.    ตอบว่า   ขันธ์ ๓ ไม่สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘   ก็แต่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๓    คือ การเจรจาชอบ, การกระทำชอบ ,    การเลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยศีลขันธ์   ( กองศีล ) ;   พยายามชอบ    ตั้งสติชอบ ,    ตั้งใจมั้นชอบ , ตั้งใจมั่นชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ ( กองสมาธิ ) ;   เห็นชอบ, ดำริชอบ   สงเคราะห์เข้าด้วยปัญญาขันธ์ ( กองปัญญา ). ถามว่า   สมาธิ ,    สมาธินิมิต ( เครื่องกำหนดหมายของสมาธิ ), สมาธิปริกขาร ( เครื่องประกอบของสมาธิ ) และสมาธิภาวนา ( การเจริญหรืออบรมสมาธิ ) คืออะไร. ตอบว่า    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ สมาธิ ;   สติปัฏฐาน   ๔ คือ   สมาธินิมิต ;    สัมมัปปธาน ๔ ( ความเพียรชอบ )    คือ สมาธิปริกขาขาร    และการเสพการทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น   ( ทั้งสติปัฏฐาน และสัมมัปปธาน )    คือ สมาธิภาวนา.

      ๔.   สังขาร  ๓ คือ    กายสังขาร ( เครื่องปรุงกาย ) วจีสังขาร ;   (เครื่องปรุงวาจา)    จิตตสังขาร   ( ครื่องปรุงจิต ) คืออะไร    ตอบว่า   ลมหายใจเข้าออก    เป็นกายสังขาร ;    ความตรึก   ความตรอง   ( วิตก, วิจาร ) เป็นวจีสังขาร ; ความจำได้หมายรู้ และความรู้สึกอารมณ์ (สัญญา เวทนา )   เป็นจิตตสังขาร . ถามว่า เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น ตอบว่า เพราะลมหายใจเข้าออก เป็นไปทางกาย เนื่องด้วยกาย จึงเป็นเครื่องปลุงกาย ;    คนตรึกแล้ว    ตรองแล้วก่อน    จึงเปล่งวาจา ความตรึก    ความตรอง จึงเป็นเครื่องปรุงวาจา ;    สัญญา   เวทนา    เป็นไปทางจิต เนื่องด้วยจิต จึงเป็นเครื่องปรุงจิต.

      ๕.    การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ( สมาบัติอันดับสัญญาและเวทนา ) เป็นอย่างไร . ตอบว่า ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ต้องคิดว่า เราจักเข้า เรากำลังเข้า หรือเราเข้าแล้ว สู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ . เป็นแต่ว่าอบรมจิตเช่นนั้นไว้ก่อน น้อมจิตไปเพื่อความเป็นเช่นนั้น ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรดับก่อน . ตอบว่า วจีสังขารดับก่อน . ต่อจากนั้นกายสังขาร ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ. การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร. ตอบว่า ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ต้องคิดว่าเราจักออก เรากำลังออก เราออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นแต่ว่าอบรมจิตเช่นนั้นไว้ก่อนน้อมจิตเพื่อความเป็นเช่นนั้น. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรเกิดก่อน ตอบว่าจิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนันกายสังขาร ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด. ผัสสะอะไรบ้าง ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ตอบว่า   ผัสสะ ๓ คือสุญญตผัสสะ ( ความถูกต้องความสูญหรือความว่าง ) อนิมิตตผัสสะ ( ความถูกต้องที่ไม่มีนิมิตหรือเครื่องกำหนดหมาย ) อัปปณิหิตผัสสะ ( ความถูกต้องที่ไม่มีที่ตั้ง ) จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติน้อมไปหาอะไร ตอบว่า น้อมโน้มไปหาวิเวก (ความสงัด ).

      ๖.   เวทนา ๓   คือ    สุข   ทุกข์    ไม่ทุกข์ไม่สุข .    สุขเวทนา   คือความสุข    ความสำราญ    ที่เป็นไปทางกายเป็นไปทางจิต ; ทุกขเวทนา    คือความสำราญก็ไม่ใช่    ความไม่สำราญก็ไม่ใช่ ที่เป็นไปทางกาย    เป็นไปทางจิต ;    อทุกขมสุขเวทนา    คือความมสำราญก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญก็ไม่ใช่ ที่เป็นไปทางกาย เป็นไปทางจิต. สุขเวทนามีอะไรเป็นสุขมีอะไรเป็นทุกข์ ตอบว่า สุขเวทนามีความตั้งอยู่เป็นสุข มีความแปรปรวนเป็นทุกข์. ทุกขเวทนามีความตั้งอยู่เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นสุข . อทุกขมสุขเวทนามีความรู้เป็นสุข มีความไม่รู้เป็นทุกข์. อนุสัยอะไรแฝงตัวตาม ๖.   เวทนาอะไร. ตอบว่า อนุสัยคือราคะ ( ความกำหนัดยินดี ) แฝงตัวตามสุขเวทนา , อนุสัยคือปฏิฆะ ( ความขัดใจ ) แฝงตัวตามทุกขเวทนา , อนุสัยคืออวิชชา ( ความไม่รู้ ) แฝงตัวตามอทุกขมสุขเวทนา. อนุสัยดั่งกล่าวแฝงตัวตามเวทนาดั่งกล่าวทั้งหมดหรือ. ตอบว่า ไม่ทั้งหมด. อะไรพึงละได้ด้วยเวทนาอะไร ตอบว่าราคานุสัย ( อนุสัยคือความกำหนัดยินดี ) พึงละได้ด้วยทุกขมสุขเวทนา , ปฏิฆะนุสัย (อนุสัยคือความขัดใจ) พึงละได้ด้วยทุกขเวทนา , อวิชชานุสัย ( อนุสัยคือความไม่รู้ ) พึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา. อนุสัยดังกล่าวพึงละได้ด้วยทุกข์เวทนาดังกล่าวทั้งหมดหรือ. ตอบว่า ไม่ทั้งหมด. ( คำว่า ทั้งหมด ไม่ทั้งหมด ใช้ประกอบคำว่า เวทนา ) อธิบายว่า ภิกษุเข้าฌานที่    ๑ ย่อมละราคะได้ด้วยฌานที่    ๑ นั้น ราคานิสุยย่อมไม่แฝงตัวตามในฌานที่    ๑ นั้น ; ภิกษุพิจารณาว่า “ เมื่อไรหนอ เราจะเข้าสู่อายตนะที่พระอริยเจ้าเข้าอยู่ได้ ” ทำความปรารถนาให้เกิดในวิโมกข์อันยอดเยี่ยม ก็เกิดโทมนัส ( ความเสียใจ ) เพราะความปรารถนานั้น เธอย่อมละปฏิฆะได้ด้วยโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัย่อมไม่แฝงตัวตามในโทมนัสนั้น ( ข้อความตรงนี้ อรรถกถาอธิบายไว้ละเอียดดี ผู้ต้องค้นคว้าละเอียด โปรดดูอรรถกถาที่พระสุตตันตะเล่ม ๑๒ หน้า ๒ ; ภิกษุเข้าฌานที่ ๔ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยฌานที่ ๔ นั้น    อวิชชานุสัยย่อมไม่แฝงตัวตามในฌานที่ ๔ นั้น. ( อรรถกถาชี้ฌานที่ ๑ ไปที่อนาคามีมรรค, ชี้ฌานที่ ๔ ไปที่อรหัตตมรรค).

      ๗.    อะไรส่วนเปรียบด้วยเวทนาอะไร. ตอบว่า ราคะมีส่วนเปรียบด้วยสุขเวทนา , ปฏิฆะมีส่วนเปรียบด้วยทุกขเวทนา, อวิชชามีส่วนเปรียบด้วยทุกขมสุขเวทนา, อะไรมีส่วนเปรียบด้วยอวิชชา ตอบว่า วิชชา ( ความรู้ ) อะไรมีส่วนเปรียบด้วยวิชชา ตอบว่า วิมุติ ( ความหลุดพ้น ). อะไรมีส่วนเปรียบด้วยวิมุติ ตอบว่า นิพพาน, อะไรมีส่วนนิพพาน ตอบว่า ท่านถามปัญหาเกิน ( กำหนด ) ไป ไม่อาจจะจับที่สุดแห่งปัญหาได้ เพราะพรหมณ์จรรย์มีนิพพานเป็นที่มุ่งหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านหวังจะทราบ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถามเถิด จงทรงจำไว้ตามที่ตรัสตอบเถิด. ( คำว่า มีส่วนเปรียบ หมายทั้งส่วนเปรียบในทางเดียวกันและทั้งตรงข้าม).

      วิสาขอุบาสกไหว้นางธัมมทินนาภิกษุณีทำทักษิณแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลคำถามคำตอบให้ทรงทราบทุกประการ. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นางธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านจะถามเรา เราก็จะตอบอย่างที่นางธัมมทินนาภิกษุณีตอบแล้ว ท่านจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด.
   

   http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/405.html
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 03:28:48 am »



จูฬเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ (สูตรเล็ก)

      ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสสอนภิกษุทั้งหลสย ถึงการสมาทานธรรมะ ( รับธรรมะมาประพฤติปฏิบัติ ) ๔ ประการ คือ

๑. การสมาทานธรรมะที่มีสุขใจในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบาก ( ผล) ต่อไป
๒. การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๓ . การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๔. การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป.

      ๒. ตรัสขยายความการสมาทานธรรมะทั้งสี่ข้อนั้นดังนี้

ข้อ ๑ การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์ต่อเป็นวิบากไป คือพวกพราหมณ์บางพวกมีวาทะ มีความเห็นว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี จึงดื่มด่ำในกามทั้งหลาย เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย ทุกคติ วินิบาต นรก ได้รับทุกขเวทนา.

ข้อ ๒ การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป คือสมณพราหมณ์บางหวกที่ประพฤติพรตทรมานกายต่าง ๆ เช่น เปลือยกาย เป็นต้น จนถึงลงอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ( มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ ) เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.

ข้อที่ ๓ การสมาทานธรรมะที่มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป คือบุคคลบางคนเป็นคนมีราคะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนือง ๆ เป็นคนมีโทสะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนือง ๆ เป็นคนมีโมหะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดเเต่โมหะกล้าเนือง ๆ . ผู้นั้นอันควาวมทุกข์โทมนัสถูกต้องมีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์.

ข้อที่ ๔ การสมาทานธรรมะที่มีสุขในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไป คือบุคคลบางคนไม่เป็นคนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะ โทสะ โมหะ เนือง ๆ . สงัจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔. เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์.
   

   http://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/405.html