ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: aun63
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 04:14:32 pm »

 :45:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 04:08:10 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่แป๋ม อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:07:15 pm »




 บทภาวนาว่าด้วยความรู้สึกขอบคุณ




เพิ่งมาอ่านเจอคอลัมน์ "จับจิตด้วยใจ" ที่เขียน เกี่ยวกับ “ขอบคุณ” ซึ่งเป็นตอนที่ 4 แล้ว 
เขียนโดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
drwithan@hotmail.com


สรุปจากตอนที่ 4 ดังนี้

โดยบางส่วนท่านเขียนเกี่ยวกับการขอบคุณว่า “ขอบคุณอะไรก็ได้ในชีวิตจะมีผลกับ "ปริมาณความสุข" ของคนคนนั้นเป็นอย่างมาก อย่างน้อยก็ ณ เวลานั้น ณ เวลาที่พวกเขา "กำลังรู้สึกจริงๆ" กับการขอบคุณ ที่ไม่ใช่เป็นการขอบคุณตามมารยาท หรือขอบคุณแบบขอไปที”

ท่านยกตัวอย่างส่วนหนึ่งในงานวิจัยเรื่องของผลึกน้ำของ ดร.อิโมโตะ ว่าเขาได้ทดลองดูผลึกของน้ำที่ผ่านการพูดคำว่า "ขอบคุณ" กับผลึกของน้ำที่ผ่านคำพูดที่ไม่ไพเราะ พบว่า ผลึกของน้ำที่ผ่านการพูดคำว่า "ขอบคุณ" จะมีการเรียงตัวของผลึกเป็นหกเหลี่ยมที่สวยงาม ในขณะที่ผลึกของน้ำที่ผ่านคำพูดไม่เพราะนั้นไม่สามารถฟอร์มตัวเป็นผลึกที่สวยงามได้ นอกจากนี้ที่สถาบันฮาร์ทแมท (HeartMath) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทุ่มเทกับงานวิจัยเรื่องของการใช้พลังงานหัวใจ พวกเขาพบว่าใครก็ตามที่สามารถกลับมาใช้พลังงานของหัวใจได้มากขึ้น จะทำให้คนคนนั้นเกิดความสมดุลมากขึ้นในชีวิต คลื่นสมองเกิดการเรียงตัวที่เหมาะสม คลื่นหัวใจเต้นเป็นจังหวะที่สอดคล้อง มีฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมา และการขอบคุณก็เป็นวิธีการหนึ่งของการใช้พลังงานของหัวใจ และดูจะเป็นอะไรที่ง่ายที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่คนคนหนึ่งจะสามารถทำได้ในช่วงเวลาสั้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น...


ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2552





ลองทำกิจกรรมนี้ดูนะครับ

เริ่มต้นด้วยการหาที่นั่งสบายๆ อาจจะเป็นการนั่งขัดสมาธิแล้วหาหมอนบางๆ หนุนที่ก้นด้านหลังเล็กน้อยหรือนั่งบนเก้าอี้ทำงานแล้วจัดกระดูกสันหลังส่วนเอวหรือส่วนล่างให้ตั้งตรงด้วยการจินตนาการว่ามีลูกบอลใบใหญ่วางโค้งอยู่ที่หน้าตักของคุณ หรือแม้แต่สำหรับท่านที่สะดวกอาจจะหาที่นอนหงายบนที่นอน ถ้าไม่ยุ่งยากเกินไปอาจจะใช้เสียงเพลงบรรเลงเบาๆ เปิดคลอไปพร้อมกับกิจกรรมนี้ด้วย รวมไปถึงสารระเหยหอมต่างๆ เพื่อช่วยให้ประสาทสัมผัสของเราได้รับข้อมูลที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากสิ่งแวดล้อม

จากนั้นให้เริ่มด้วยการเฝ้าดูลมหายใจของเราก่อน ลองสังเกตเฉยๆ ว่าลมหายใจของเราเป็นอย่างไร ตื้นลึกอย่างไร สั้นยาวอย่างไร เวลาหายใจเข้าหน้าท้องและทรวงอกของเราเป็นอย่างไร ขณะที่ลมหายใจกำลังไหลเข้าผ่านรูจมูกทั้งสองข้างนั้นลมหายใจของเราอุ่นกว่าหรือเย็นกว่าขณะที่ลมหายใจไหผ่านออกรูจมูกไป ให้เพียงแค่สังเกตเฉยๆ ก่อนในช่วงแรก

จากนั้นให้ลองปรับลมหายใจของเราช้าลงและลึกขึ้นกว่าเดิมอีกสัก 20-30%

จากนั้นค่อยๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่ตึงตัวเช่นบริเวณหัวไหล่ ลำคอ  ถ้าทำได้ให้ลอง "นำพา" ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเหล่านี้ออกไปพร้อมกับ "ลำลม" ที่กำลังจะไหลออกไปจากรูจมูกของเรา ลองขอบคุณอากาศที่เราใช้หายใจในขณะนั้นว่า เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ จากนี้จะเป็นการเริ่มการภาวนาว่าด้วยการขอบคุณ อาจจะต้องอาศัยจินตนาการบ้างสักเล็กน้อยแต่การปรับฐานเรื่องการหายใจในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยให้พวกเราผ่อนคลายและสามารถสร้างจินตนาการได้ดีขึ้น



 
ท่อนแรก

ให้ลองจินตนาการและนึกถึง "บุคคล" คนหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเราเป็นหนี้บุญคุณบุคคลคนนี้มากที่สุดมา 1 คนก่อน เป็นคนที่เราอยากจะขอบคุณมากที่สุด อาจจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่หรือใครก็ตามให้ลองเลือกมาเพียงหนึ่งท่านก่อน

ให้เริ่มด้วยการนึกถึงใบหน้าของบุคคลผู้นี้แล้วค่อยๆ รู้สึกถึง "ความขอบคุณ" ที่เราเกิดขึ้น รู้สึกถึง "บุญคุณ" ที่คนผู้นี้มีต่อเรา รู้สึกถึงความรู้สึกดีๆ อุ่นๆ ที่เกิดขึ้นมาตอนนี้ในบริเวณหัวใจของคุณ

ให้รู้สึกถึง "พลังงานดีๆ" ที่พุ่งทะลุออกมาจากทรวงอกด้านซ้ายของเรา เอื้อมมือไปสัมผัสใบหน้าของบุคคลผู้นี้ด้วยความอ่อนโยน แล้วโอบกอด
ค่อยๆ เพิ่ม "ความรู้สึกขอบคุณ" ให้มากขึ้นๆ แช่อยู่กับความรู้สึกดีๆ ตรงนี้ให้นานเท่าที่คุณอยากจะทำแล้วปล่อยให้ความรู้สึกนี้ "อาบอิ่ม" ในช่องอกของคุณให้มากจน "ชุ่มปอด"
 
ขอบคุณครับ ขอบคุณคะ ขอบคุณมากจริงๆ
ขอบคุณครับ ขอบคุณคะ ขอบคุณมากจริงๆ

ให้จำ "ความรู้สึกดีๆ" ที่เรารู้สึกได้จริงๆ ตรงนี้ไว้แล้วลองเลือก "ตัวอย่าง" ต่อไปและให้ทำตามขั้นตอนที่หนึ่งข้างต้นนี้ซ้ำใหม่กับ "ตัวอย่าง" ที่ผมอยากจะลองเสนอให้ดังต่อไปนี้





ท่อนที่สอง

ลองเลือกตัวอย่างของ "คน" ต่างๆ ต่อไปนี้เช่น คนใกล้ชิดคนอื่นๆ ของคุณเช่นถ้าขั้นตอนที่หนึ่งคุณเลือกคุณแม่แล้ว ขั้นตอนที่สองนี้ก็ลองเลือกคุณพ่อดูบ้าง หรือเลือกสามีหรือภรรยาดูบ้าง หรือเลือกเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งดูบ้าง หรือจะลองท่อนที่สองนี้กับหลายๆ คนดูก็ได้

สาม
ลองเลือกตัวอย่างเพื่อการขอบคุณของเราที่เป็น "สัตว์" มาหนึ่งชนิด เช่นอาจจะเป็นสุนัข เป็นแมว เป็นหมู ฯลฯ

สี่
ให้ลองเลือกตัวอย่างเพื่อการขอบคุณของเราที่เป็น "สิ่งของ" เครื่องใช้มาหนึ่งชิ้น เช่น เสื้อกันหนาว ปากกา รถยนต์ ตู้เย็น ฯลฯ

ห้า
ให้ลองฝึกขอบคุณอาหารหรือน้ำ

หก
ให้ลองฝึกขอบคุณอวัยวะต่างๆ ของร่างกายของคุณ

เจ็ด
ให้ลองฝึกขอบคุณธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่นต้นไม้ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ จักรวาลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของคุณ




ตอนจบ

ให้ลองกลับมาสังเกตลักษณะการหายใจของตัวเราเองว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างหรือไม่ หรือความรู้สึกที่อยากขอบคุณอากาศที่กำลังผ่านเข้าออกรูจมูกทั้งสองข้างของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่นในตอนแรกอาจจะเคอะเขินที่ไปขอบคุณอากาศแต่หลังจากทดลองแบบฝึกหัดนี้แล้วรู้สึกว่าความเคอะเขินแบบนั้นหายไป รู้สึกอยากขอบคุณจริงๆ มากขึ้น?





ผมได้ความคิดเรื่อง "บทภาวนาว่าด้วยการขอบคุณ" นี้โดยดัดแปลงมาจาก "Meditation on Love" ในหนังสือที่ชื่อ "Coming Back To Life" ของโจแอนนา มาซี (Joanna Macy) ที่ได้รับการแบ่งปันมาจากคุณณัฐฬส วังวิญญูด้วยรู้สึกความขอบคุณยิ่ง ผมได้ทดลองดัดแปลงจาก "ความรัก" มาเป็น "การขอบคุณ" เพราะเห็นด้วยกับที่ดร.มาซารุ อีโมโต ผู้เขียนหนังสือที่ชื่อ "The Hidden Messages in Water" ได้เขียนไว้ว่า "การแสดงความขอบคุณเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความรัก" และวัฒนธรรมชาวตะวันออกอย่างคนไทยออกจะเคอะเขินบ้างกับการแสดงความรัก การเลือกที่จะแสดง "ความขอบคุณ" ดูจะทำได้ง่ายกว่าและโดยประสบการณ์ที่ผมลองนำไปใช้กับหลายๆ การบรรยายหรือเวิร์คชอปตามโอกาสที่มีก็พบว่าเกิดผลดี เข้าใจง่ายกว่าเวลาพูดเรื่องความรักจริง



 
อย่างไรก็ตามสำหรับความเห็นเรื่องนี้สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่รู้สึกเคอะเขินอาจจะลองดัดแปลงกลับไปเป็น "บทภาวนาว่าด้วยความรัก" เหมือนกับที่คุณโจแอนนา มาซี เขียนได้ดั้งเดิมก็ได้ตามสะดวกนะครับ
ท้ายที่สุดนี้ผมรู้สึกขอบคุณทั้งคุณโจแอนนา มาซี, คุณณัฐฬส วังวิญญู, ดร.มาซารุ อีโมโตและอีกหลายๆ สิ่งที่บอกไม่ถูกที่ทำให้เกิดบทภาวนาชิ้นนี้





http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-819.html
 :13:
http://www.sookjai.com/index.php?topic=3509.0

Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ