ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 09:57:04 pm »

 :27: :07: :11: :13: :45:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 10:59:58 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 12:55:41 pm »




:13:     :12: :47:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 06:04:20 am »





<a href="https://www.youtube.com/v/ocSOkDK2pj4" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/ocSOkDK2pj4</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/ZkXT9olgKRk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/ZkXT9olgKRk</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/7gKirdq1584" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/7gKirdq1584</a>

‘ยายยิ้ม’ 80 ปี คือธรรมมะ ใช้ชีวิตมีคุณค่า

ท่ามกลางป่าเขาที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ถูกปกคลุมไปด้วยป่าหนาทึบ ห่างไกลผู้คนและเงียบสงัด แต่ที่นั่นเป็นเหมือนบ้านที่อบอุ่นท่ามกลางอ้อมกอดของธรรมชาติ จะมีคนแก่สักกี่คนที่เลือกใช้ชีวิตบั้นปลายในวัย 80 กว่า เพียงลำพังอย่างเดียวดาย

“ยายยิ้ม” เลือกที่จะใช้ชีวิตในป่ากว้าง แน่นอนว่าความเป็นอยู่ย่อมลำบาก อ้างว้าง เงียบเหงา แต่นี่เป็นเพียงสิ่งที่คนภายนอกมองและตัดสิน ความเป็นจริงกลับตรงข้าม ทุกเวลาที่ผ่านไปของ “ยายยิ้ม” ล้วนมีคุณค่า แต่ละวันหมดไปกับการปลูกต้นไม้ ทำฝายเล็กๆ ที่ยายได้อาศัยยามหน้าแล้ง สิ่งที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตกว่า 80 ปี คือธรรมะ

การเลือกดำเนินชีวิตตามเส้นทางนี้ของ “ยายยิ้ม” ไม่ใช่เพราะไม่มีทางเลือก ยายยังมีลูกหลาน ที่ต่างมีฐานะที่พอจะดูแลยายได้สบาย หลายคนทักท้วงการตัดสินใจ ขอร้องให้ยายกลับลงมาอยู่ที่บ้าน แต่ “ยายยิ้ม” ยังคงยืนกรานที่จะใช้ชีวิตอยู่บนเขาอย่างที่ผ่านมา

ลำพังคนหนุ่มสาว จะให้เดินขึ้นลงเขาสัก 7-8 กิโลเมตร ยังเล่นเอาเหงื่อตก แต่สำหรับ "ย่ายิ้ม" หญิงชราวัยใกล้ร้อย การกระทำข้างต้นถือเป็นกิจวัตรสม่ำเสมอทุกวันพระ เพราะไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง ย่าก็ต้องไปถึงวัดไม่เคยขาด

ระยะทางไกลที่เต็มไปด้วยหล่มโคลน ถนนเป็นร่อง ขรุขระ ไม่ได้เป็นอุปสรรค หรือส่งผลต่อใบหน้าเปื้อนยิ้มของหญิงชราผู้มีอารมณ์ดีอยู่เป็นนิตย์ โดยทุกวันพระ ย่ายิ้ม จะออกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด แต่อย่าถามเลยว่ากี่โมง เพราะบ้านของแก ไม่มีทั้งนาฬิกา และปฎิทิน แกรู้เพียง มืดก็นอน สว่างก็ตื่น ตะวันตรงหัวก็เที่ยง และเมื่อกลับจากวัด แกก็จะมานับวันหลังจากนั้นไปถึงวันโกนวันพระอีกที ซึ่งไม่เคยพลาด หรือคลาดเคลื่อน

ทุกวันนี้แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 83 ปี แต่ ย่ายิ้ม ยืนยันว่า ร่างกายยังแข็งแรงดี และก็ไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไรนักกับการที่ต้องอยู่ในบ้านกลางป่าเพียงลำพัง


"ความเจริญอยู่ที่ไหน มันก็ทุกข์ยากที่นั่น อยู่บนเขานี้ ไม่มีเงินย่าก็ยังอยู่ได้ แต่ถ้าอยู่ในตัวเมือง ไม่มีเงินอยู่ไม่ได้เลยหนา ต้องซื้อเอาทุกอย่าง ไปอยู่ก็จะเดือดร้อนเขา"

ถึงอย่างนั้น วิถีบ้านป่าแบบ ย่ายิ้ม ก็ใ ช่จะสบายอย่างปากว่า ในช่วงฤดูฝน ดูจะโหดร้ายเป็นที่สุด เพราะหนทางในป่านั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้ หากมีน้ำหลากลงจากเขา จนข้ามห้วยไม่ได้ ย่ายิ้มก็จะไม่ออกจากบ้าน ซึ่งช่วงที่ไม่ได้ลงเขาหลายวัน ข้าวสารก็มักจะไม่มีเหลือให้หุงให้กิน ครั้นจะแจ้งบอกข่าวฝากไปถึงใครก็ไม่มี

"ก็ต้องอดเอามั่ง บางทีเกือบ ๆ อาทิตย์ไม่ได้กินข้าวเลย กินแต่หัวกลอยป่าเอามานึ่งกับมะพร้าวคั่ว"

ด้วยความเป็นคนจริงเรื่องการทำบุญ และรอยยิ้มที่ไม่เคยหายจากใบหน้าสมชื่อ ย่ายิ้ม ทำให้แกได้รับมิตรภาพดี ๆ จากคนในชุมชนบ้านไร่เชิงเขา ... บ่อยครั้ง ย่ายิ้ม ได้รับอาหาร ของฝาก รวมทั้งความเป็นห่วงเป็นใยจากคนที่ไม่ใช่ญาติ

ศรศักดิ์ มากมา ลูกชายคนที่ยังอยู่ใน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก พูดถึงแม่ว่า

"แม่เขาจะบอกว่าไม่ต้องเอามาให้มากนะ ในชีวิตเขา แม่เขาไม่เคยอยากได้อะไรเลย เคยถามเขาก็บอกว่า เขาพอแล้ว สมัยยังเด็กบ้านเราจนกันมาก พ่อก็ตายตอนที่เรายังเล็ก ๆ แต่แม่คนเดียวก็หาเลี้ยงลูกได้ มานึกดูแกต้องทำงานหนักมาก แม่ถึงเน้นสอนให้เข้มแข็ง หนักเอาเบาสู้ไม่เลือกงาน"

ตลอดหลายปีกับชีวิตกลางป่าเขาเพียงลำพัง ย่ายิ้ม สารภาพว่า เมื่อไหร่ที่ลูกขึ้นมาหาและมานอนด้วย แกก็ดีใจทุกครั้ง แต่พอกลับกันไป แค่เห็นเดินคล้อยหลังก็นั่งใจละห้อยแล้ว...แต่ถึงอย่างไร แกก็ยังยืนหยัดว่าจะขออยู่ในป่าในเขาอย่างนี้ไปจนตาย และคำขอสุดท้ายที่ฝากไว้กับลูกคือ...ถ้าแม่ตาย ก็ให้เผาให้ฝังไว้ที่ไร่บนเขานี้

"ย่าไม่อย ากตายหรอกหนา แต่ไม่เคยกลัว ถึงเวลาจะต้องละแล้ว ก็ต้องไป..."

คัดและเรียบเรียงใหม่...จากบางตอนของกระปุกดอทคอม

จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=truthoflife&month=12-2010&date=04&group=14&gblog=1
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 01:31:31 am »

^^ ชีวิตเรียบง่าย เหนื่อยจากการทำงาน แล้วนอนหัวค่ำ ตื่นเช้าก็ทำงาน ก็เรียบๆดีครับ ผมก็ชอบ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2010, 08:28:38 am »


 

 



หาคลิป อยู่ ม่ายยย เจอเลย งั้นเอาเพลง ไปฟังแทน ละกัน นึกถึงเพลง เฉลียงเลย

คุณยาย กายสิทธิ์ นะ   แต่ไม่เจอ เอานี่ไปฟัง ละกัน ยาย ประมาณนี้ ไหมหนอ

นิทานหิ่งห้อย เฉลียง
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2010, 08:19:07 am »




บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

ลำพังคนหนุ่มสาว จะให้เดินขึ้นลงเขาสัก 7-8 กิโลเมตร ยังเล่นเอาเหงื่อตก หอบแฮ่ก ๆ ๆ ถ้าไม่ใช่ทริปท่องเที่ยว หรือเหตุจำเป็นจริง ๆ ล่ะก็...คงส่ายหน้าหนีกันเป็นแถว

          แต่ สำหรับ "ย่ายิ้ม" หญิงชราวัยใกล้ร้อย การกระทำข้างต้นถือเป็นกิจวัตรสม่ำเสมอทุกวันพระ จนชาวบ้านท่าหนอง จ.พิษณุโลก รู้กันดีว่า หากเห็น ย่ายิ้ม เดินลงจากบ้านกลางป่าเขาวันไหน วันนั้นแหละ คือวันพระ เพราะไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง ย่าก็ต้องไปถึงวัดไม่เคยขาด

          ระยะทางไกลที่เต็มไปด้วยหล่มโคลน ถนนเป็นร่อง ขรุขระ ไม่ได้เป็นอุปสรรค หรือส่งผลต่อใบหน้าเปื้อนยิ้มของหญิงชราผู้มีอารมณ์ดีอยู่เป็นนิตย์ โดยทุกวันพระ ย่ายิ้ม จะออกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด แต่อย่าถามเลยว่ากี่โมง เพราะบ้านของแก ไม่มีทั้งนาฬิกา และปฎิทิน แกรู้เพียง มืดก็นอน สว่างก็ตื่น ตะวันตรงหัวก็เที่ยง และเมื่อกลับจากวัด แกก็จะมานับวันหลังจากนั้นไปถึงวันโกนวันพระอีกที ซึ่งไม่เคยพลาดหรือคลาดเคลื่อน



ย่ายิ้ม...หญิงชรา กับชีวิตลำพังกลางป่าเขา

ย่ายิ้ม...หญิงชรา กับชีวิตลำพังกลางป่าเขา

          ทุกวันนี้แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 83 ปี แต่ ย่ายิ้ม ยืนยันว่า ร่างกายยังแข็งแรงดี และก็ไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไรนักกับการที่ต้องอยู่ในบ้านกลางป่าเพียงลำพัง

          หลายครั้ง ลูกชาย 2 คนที่ยังคอยดูแลแม่คนนี้อยู่ห่าง ๆ  พยายามรบเร้าให้แกไปอยู่ด้วย แต่ก็ดูเหมือนจะเอาชนะใจแม่ได้ยากยิ่ง ย่ายิ้ม ยืนกรานจะปักหลักบั้นปลายชีวิตอยู่ที่นี่ไม่ไปไหน ด้วยเหตุว่า บ้านกลางป่าของแก ทำให้ชีวิตไม่วุ่นวายจนเกินไปนัก เพียงแค่เก็บหน่อไม้มาดองกินกับมะพร้าวคั่วหอม ๆ ก็นับเป็นอาหารรสดีที่ช่วยให้อิ่มท้องและประทังชีวิตได้แล้ว

          "ความเจริญอยู่ที่ไหน มันก็ทุกข์ยากที่นั่น อยู่บนเขานี้ ไม่มีเงินย่าก็ยังอยู่ได้ แต่ถ้าอยู่ในตัวเมือง ไม่มีเงินอยู่ไม่ได้เลยหนา ต้องซื้อเอาทุกอย่าง ไปอยู่ก็จะเดือดร้อนเขา"

          ถึงอย่างนั้น วิถีบ้านป่าแบบ ย่ายิ้ม ก็ใช่จะสบายอย่างปากว่า ในช่วงฤดูฝน ดูจะโหดร้ายเป็นที่สุด เพราะหนทางในป่านั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้ หากมีน้ำหลากลงจากเขา จนข้ามห้วยไม่ได้ ย่ายิ้มก็จะไม่ออกจากบ้าน ซึ่งช่วงที่ไม่ได้ลงเขาหลายวัน ข้าวสารก็มักจะไม่มีเหลือให้หุงให้กิน ครั้นจะแจ้งบอกข่าวฝากไปถึงใครก็ไม่มี

          "ก็ต้องอดเอามั่ง บางทีเกือบ ๆ อาทิตย์ไม่ได้กินข้าวเลย กินแต่หัวกลอยป่าเอามานึ่งกับมะพร้าวคั่ว"

          นอกจากจะเก็บหน่อไม้ไปแลกข้าวกับคนในชุมชนแล้ว ย่ายิ้มยังมีรายได้ประจำตัวคือ เบี้ยสงเคราะห์คนชราเดือนละ 500 บาท ทว่าเงินจำนวนนี้ ก็มักจะหมดไปกับการทำบุญเสียทุกคราวที่ไปวัด รวมไปถึงเงินที่ลูกหลานแบ่งไว้ให้ใช้ยามมาเยี่ยม ก็ร่อยหรอไปกับกิจกรรมใน ทางธรรมเช่นกัน




ย่ายิ้ม...หญิงชรา กับชีวิตลำพังกลางป่าเขา



          ด้วยความเป็นคนจริงเรื่องการทำบุญ และรอยยิ้มที่ไม่เคยหายจากใบหน้าสมชื่อ ย่ายิ้ม ทำให้แกได้รับมิตรภาพดี ๆ จากคนในชุมชนบ้านไร่เชิงเขา ... บ่อยครั้ง ย่ายิ้ม ได้รับอาหาร ของฝาก รวมทั้งความเป็นห่วงเป็นใยจากคนที่ไม่ใช่ญาติ

          ความเป็นห่วงเป็นใยปนสงสัยว่า หญิงแก่อยู่คนเดียวกลางป่าได้อย่างไรเป็นเวลาหลายปี หากนับถึงวันนี้ก็ 27 ปีเข้าไปแล้ว ในช่วงแรก ๆ จึงเคยมีข่าวลือต่าง ๆ นานา บ้างว่า ย่ายิ้มเลี้ยงผี บ้างว่าเลี้ยงโจร ส่งยาบ้า ถึงขนาดเคยมีเจ้าหน้าที่มาล้อมบ้านย่ายิ้ม และจุดไฟเผาหญ้ารอบบริเวณบ้าน เพื่อหวังให้โจรออกมา แต่เผาไปแล้วก็ไม่มีใครออกมาสักคน หลัง ๆ ข่าวลือจึงเริ่มซา และหายไปในที่สุด

          เฒ่า-ศรศักดิ์ มากมา ลูกชายคนที่ยังอยู่ใน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เป็นคนที่คอยมาดูแลแม่บ่อยที่สุด เขาจะขับรถอีแต๋นมารับย่ายิ้มก่อนวันพระใหญ่ เพื่อพาไปทำบุญ นุ่งขาวห่มขาวค้างวัด ถือศีลอุโบสถที่วัดหลวงพ่อใหญ่พระพุทธชินราช เป็นประจำสม่ำเสมอ เสร็จจากงาน ไอ้เฒ่าของแม่ ก็จะขับรถมาส่งพร้อมด้วยเสบียง ข้างสาร มะพร้าว และของแห้ง

          "แม่เขาจะบอกว่าไม่ต้องเอามาให้มากนะ ในชีวิตเขา แม่เขาไม่เคยอยากได้อะไรเลย เคยถามเขาก็บอกว่า เขาพอแล้ว สมัยยังเด็กบ้านเราจนกันมาก พ่อก็ตายตอนที่เรายังเล็ก ๆ แต่แม่คนเดียวก็หาเลี้ยงลูกได้ มานึกดูแกต้องทำงานหนักมาก แม่ถึงเน้นสอนให้เข้มแข็ง หนักเอาเบาสู้ไม่เลือกงาน"




ย่ายิ้ม...หญิงชรา กับชีวิตลำพังกลางป่าเขา



ย่ายิ้ม...หญิงชรา กับชีวิตลำพังกลางป่าเขา


 

          ความจริงแล้ว ย่ายิ้ม มีลูกทั้งหมด 5 คน 2 คนแรก เกิดกับสามีคนแรก ที่มาด่วนเสียชีวิตไปก่อน ย่ายิ้มจึงต้องเลี้ยงลูกสาวลูกชายตัวคนเดียวมาหลายปี ก่อนจะมาผูกสมัครรักใคร่กับสามีคนที่ 2 (ก็มาตายจากไปอีก) และมีลูกอีก 3 คน แต่คนที่ย่ายิ้ม ยังพูดถึงอยู่เสมอก็มีเพียงแค่ 2 คน คือ ไอ้เฒ่า และพ่อทูล น้องคนเล็ก ที่สร้างบ้านไม้กลางป่าอยู่กับแก ก่อนจะตัดสินใจหอบลูกพาเมียไปหางานทำในกรุงเทพฯ

          ตลอด หลายปีกับชีวิตกลางป่าเขาเพียงลำพัง ย่ายิ้ม สารภาพว่า เมื่อไหร่ที่ลูกขึ้นมาหาและมานอนด้วย แกก็ดีใจทุกครั้ง แต่พอกลับกันไป แค่เห็นเดินคล้อยหลังก็นั่งใจละห้อยแล้ว...แต่ถึงอย่างไร แกก็ยังยืนหยัดว่าจะขออยู่ในป่าในเขาอย่างนี้ไปจนตาย และคำขอสุดท้ายที่ฝากไว้กับลูกคือ...ถ้าแม่ตาย ก็ให้เผาให้ฝังไว้ที่ไร่บนเขานี้

          "ย่าไม่อยากตายหรอกหนา แต่ไม่เคยกลัว ถึงเวลาจะต้องละแล้ว ก็ต้องไป..."

          เรื่องราวของ ย่ายิ้ม อาจเป็นเรื่องธรรมดาๆ ของหญิงชราคนหนึ่ง แต่เมื่อรับรู้รับทราบแล้ว ก็อดนึกถึงปู่ย่าตายายของตัวเองเสียไม่ได้ ...บางที "ยิ้มของย่า" ก็ทำให้รู้สึกดี ๆ ได้เหมือนกัน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 
 
http://atcloud.com/stories/90449