ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: ธันวาคม 20, 2010, 10:46:47 pm »

อนุโมทนางับ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 11:19:16 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ
ข้อความโดย: ซุปเปอร์เบื๊อก
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 10:27:04 pm »

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 612

ตรัสถามว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร     เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น   ที่อชาตศัตรู
ทำการยกย่องอสัตบุรุษ     ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง     แม้ใน
กาลก่อน     เธอก็ทำลายตนเสียด้วยการยกย่องอสัตบุรุษเหมือนกัน
ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้ :-

            ในอดีตกาล      ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี   พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์  มีสมบัติ
มาก     เจริญวัยแล้วไปสู่เมืองตักกสิลา     เรียนสรรพศิลปวิทยา
เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี     บอกศิลปะแก่
มาณพ  ๕๐๐  คน ในมาณพเหล่านั้น  มีมาณพคนหนึ่งชื่อ  "สัญชีวะ"
พระโพธิสัตว์ได้ให้มนต์ทำคนตายให้ฟื้นแก่เขา     เขาเรียนแต่มนต์
ทำคนตายให้ฟื้นอย่างเดียว     ไม่ได้เรียนมนต์สำหรับป้องกัน
วันหนึ่งไปป่าหาฟืนกับพวกเพื่อน    เห็นเสือตายตัวหนึ่ง     ก็พูดกะ
พวกมาณพว่า     ท่านผู้เจริญทั้งหลาย     เราจักทำเสือตายตัวนี้ให้
ฟื้นขึ้น    มาณพทั้งหลาย    กล่าวแย้งว่า    ท่านจักไม่สามารถดอก
เขากล่าวว่า    เราจักทำให้มันฟื้นขึ้น    ให้พวกท่านเห็นกันทุกคน
ทีเดียว   พวกมาณพเหล่านั้น   จึงกล่าวว่า   ถ้าท่านสามารถ   ก็จง
ปลุกให้มันตื่นขึ้นเถิด   ครั้นกล่าวแล้ว   ต่างรีบปีนขึ้นต้นไม้  สัญชีว-
มาณพ     ร่ายมนต์แล้วขว้างเสือตายด้วยก้อนกรวด      เสือลุกขึ้น
โดดกัดสัญชีวมาณพที่ก้านคอ    ทำให้สิ้นชีวิต     ล้มลงตรงนั้นเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 613

ทั้งคู่นอนตายอยู่ในที่เดียวกัน     พวกมาณพพากันขนฟืนไปแล้ว
แจ้งความเป็นไปนั้นแก่อาจารย์     อาจารย์จึงเรียกมาณพทั้งหลาย
มากล่าวว่า    พ่อคุณทั้งหลาย   ขึ้นชื่อว่า    ผู้ที่ยกย่อง    อสัตบุรุษ
กระทำสักการะและสัมมานะ    ในที่อันไม่สมควร    ย่อมกลับได้รับ
ทุกข์เห็นปานนี้  ทั้งนั้น  แล้วกล่าวคาถานี้  ความว่า : -

                "ผู้ใดยกย่อง  และคบหาอสัตบุรุษ  อสัต-
               บุรุษย่อมทำผู้นั้นแหละให้เป็นเหยื่อ  เหมือนพยัคฆ์
             ที่สัญชีวมาณพ    ชุบขึ้น   ย่อมทำเขานั่นแลให้เป็น
        เหยื่อ  ฉะนั้น"  ดังนี้.

            บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อสนฺต  ได้แก่ผู้ทุศีลมีบาปธรรม
ประกอบด้วยทุจริตทั้ง  ๓  ประการ.

            บทว่า   โย    ปคฺคณฺหาติ    ความว่า    บรรดาขนมีกษัตริย์
เป็นต้น   ผู้ใดผู้หนึ่งยกย่อง   คือทำสักการะ   สัมมานะ   อสัตบุรุษ
ผู้ทุศีลเห็นปานนี้    ที่เป็นบรรพชิต     ด้วยการถวายปัจจัยมีจีวร
เป็นต้น     ที่เป็นคฤหัสถ์ด้วยการให้ครอบครองตำแหน่ง     อุปราช
และเสนาบดี  เป็นต้น.

          บทว่า   อสนฺตํ     จูปเสวติ    ความว่า   อนึ่งเล่าผู้ใดย่อมเข้าไป
สร้องเสพ  คบหา  สนิทสนม  อสัตบุรุษ  ผู้ทุศีล  เห็นปานนี้.

          บทว่า   ตเมว   ฆาสํ   กุรุเต   ความว่า  บุคคลชั่วผู้ทุศีลนั้น
ย่อมกัดผู้นั้น  คือผู้ที่ยกย่องอสัตบุรุษนั้นแล   กินเสีย  ได้แก่ทำผู้นั้น
ให้ถึงความพินาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

            เช่นไรเล่า  ?

            เหมือนพยัคฆ์ที่คืนชีพ    เพราะมาณพชุบขึ้น    อธิบายว่า
พยัคฆ์ที่ตายคืนชีพได้   โดยที่สัญชีวมาณพ    ร่ายมนต์ยกย่องด้วย
การมอบชีวิตให้    กลับปลงชีพ    สัญชีวมาณพผู้ให้ชีวิตแก่มัน
ให้ล้มลงตรงนั้นเอง    ฉันใด    แม้ผู้อื่นก็ฉันนั้น    ผู้ใดทำการยกย่อง
อสัตบุรุษ   อสัตบุรุษทุศีลนั้น   ย่อมทำลายล้าง   ผู้ที่ยกย่องตนนั้น
เสียทีเดียว    พวกชนที่ยกย่องอสัตบุรุษ    ย่อมพากันถึงความ
พินาศ   ด้วยประการฉะนี้.

            พระโพธิสัตว์   แสดงธรรมแก่มาณพทั้งหลาย    ด้วยคาถานี้
การทำบุญมีให้ทานเป็นต้น  แล้วก็ไปตามยถากรรม.

            พระศาสดา    ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว    ทรง
ประชุมชาดกว่า    มาณพผู้ทำเสือตายให้ฟื้นในครั้งนั้น   ได้มาเป็น
พระเจ้าอชาตศัตรูในบัดนี้     ส่วนอาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้มาเป็น
เราตถาคต  ฉะนี้แล.

                    จบ  สัญชีวชาดกที่  ๑๐

http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=808.0