ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 08:55:23 pm »

 :30: เยอะมาก แต่ก็นะ อาชีพหลากหลาย อยากเป็นพี่ครัวอีกแย้ววว ขอบใจนะอุ๋ม
ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 08:52:28 pm »

อดทึ่งไม่ได้!! เมื่อได้ทราบว่า ตลอด 16 ปีที่ผ่านมามีเชฟหรือพ่อครัวอาหารญี่ปุ่นที่เป็นคนไทยแท้ๆ
ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำหน้าที่ "พ่อครัวหัวป่าก์" ให้กับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลญี่ปุ่นตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก


โดยทุกปี สมาคมเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในสังกัดกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นจะ
จัดการคัดเลือกขึ้นในเมืองไทย โดยได้รับความร่วมมือจากภัตตาคารและร้านอาหารญี่ปุ่นชั้นนำมากกว่า
 250 แห่งทั่วประเทศ คัดเลือกพ่อครัว-แม่ครัวเข้ารับการฝึกอบรมการปรุงอาหารญี่ปุ่นชั้นสูงเป็น
เวลา 3 เดือน ก่อนจะโชว์ฝีมือการประกอบอาหารให้เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นตัดสิน หากรสมือของใครเป็นที่ถูกอกถูกใจ
ก็จะได้ใบผ่านงานให้เป็น พ่อครัวประจำบ้านทูต ทันที...ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน สมาคมได้จัดการคัดเลือกเป็นครั้งที่ 17 แล้ว

นายมาซาฮิโร ยามาโมโต "อาจารย์" หรือ "เซ็นเซ" หนุ่มใหญ่วัย 41 ปีจากสถาบันสอนการทำอาหารทสึจิ
จากนครโอซากา ผู้ทำหน้าที่สอนหลักการและวิธีการปรุงอาหารญี่ปุ่นชั้นสูงให้กับคนไทย บอกว่า
 โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อ 16 ปีที่ผ่านมา เมื่อกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นพยายามจะแก้ปัญหาการขาดแคลนเชฟประจำสถานเอก
 อัครราชทูตและสถานกงสุลต่างๆ หลังจากที่ปรากฏว่า บรรดาเชฟชาวญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะทำหน้าที่นี้ในดินแดนที่ห่างไกลและยากลำบาก อย่างเช่น ในแอฟริกา ทางการญี่ปุ่นพยายามมองหาและทดลองในหลายๆ ประเทศ ที่สุดก็ต้องมาปักหลักทำโครงการอบรมนี้ในเมืองไทยเพียงประเทศเดียวในโลก


"ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเมืองไทยมีภัตตาคารและร้านขายอาหารญี่ปุ่นอยู่มาก ที่สุดในภูมิภาคนี้เท่านั้น แต่เป็นเพราะพ่อครัวชาวไทยมีดี! กว่าพ่อครัวชาติไหนๆ ที่เคยทดลองฝึกฝนการประกอบอาหารญี่ปุ่นกันมา" ยามาโมโตบอก

คุณสมบัติเด่นประการหนึ่งของเชฟชาวไทยก็คือความมีน้ำอดน้ำทน มีความพร้อมที่จะปรับตัว ในขณะเดียวกันทักษะในการปรุงอาหารของคนไทยก็ไม่เป็นสองรองใคร แถมยังสามารถเข้ากันได้กับคนอื่นๆ โดยง่าย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด


"ที่เราจะสอนให้ทำกันนี้ไม่ใช่การปรุงอาหารธรรมดา แต่เป็นอาหารญี่ปุ่นชั้นสูง ที่แม้แต่ชาวญี่ปุ่นในญี่ปุ่นเองน้อยคนที่จะได้ลิ้มรสชาติในเวลาปกติธรรมดา ทั่วไป" เซ็นเซ ยามาโมโตบอก

หน้าที่ของพ่อครัวประจำบ้านทูตมิใช่เพียงประกอบอาหารให้เอกอัครราชทูตและ ครอบครัวรับประทานเท่านั้น หากยังต้องประกอบอาหารสำหรับแขกบ้านแขกเมือง อาคันตุกะของสถานทูต ที่หลายๆ ครั้งก็ต้องรับรองราชนิกุลของประเทศนั้นๆ ซึ่งอาหารที่ปรุงนอกจากต้องถูกต้องตามหลักโภชนาการแล้ว จะต้องสะท้อนความเป็นญี่ปุ่นออกมาในจานอาหารได้อย่างหมดจด สวยงาม

"การปรุงอาหารญี่ปุ่นชั้นสูงนั้นเป็นงานละเอียดอ่อน ปราณีต และต้องอาศัยองค์ความรู้ของความเป็นญี่ปุ่นสูงมาก ยกตัวอย่าง อาหารญี่ปุ่นทุกจานต้องบ่งบอกถึงฤดูกาล ทำอย่างไรถึงจะแสดงออกผ่านจานอาหารให้ได้ว่าในเวลานี้คือหน้าซากุระบานใน ญี่ปุ่นขณะที่อยู่ในแอฟริกา นั่นคือหน้าที่ของพ่อครัว" เซ็นเซยามาโมโต บอก ซึ่งพ่อครัวที่เข้าร่วมอบรมรุ่นนี้มีทั้งหมด 9 ชีวิต

"กบ" นางสาวพัชริน ขัดเพ็ชร อายุ 25 ปี ผู้หญิงหนึ่งเดียวของรุ่น ตัวแทนจากร้านคิคุซุย บอกว่า การปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นสัญชาติใดก็มีวัฒนธรรมในการปรุงที่พิถีพิถันแตก ต่างกันออกไป การเข้ารับการอบรมครั้งนี้ ตนจะทำให้ดีที่สุด เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คนไทยจะได้เรียนรู้การประกอบอาหารญี่ปุ่นขั้นสูง

ส่วน "กล้า" นายศราวุธ คำจันทร์ อายุ 22 ปี จากร้านซาเก โนมิเซะ ผู้มีประสบการณ์การทำอาหารญี่ปุ่นมาแล้ว 4 ปี บอกว่า เสน่ห์ของอาหารญี่ปุ่นมีสีสันที่สวยงาม น่ารับประทาน

"หากโชคดีได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่พ่อครัวประจำบ้านทูตจะตั้งใจทำ งานให้ดีที่สุด เพื่อให้สมกับที่ประเทศญี่ปุ่นให้การยอมรับฝีมือการทำอาหารของพ่อครัวไทยที่ ไม่แพ้พ่อครัวต้นตำรับ" ศราวุธทิ้งท้าย

 เครดิต:http://women.sanook.com/