ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2010, 10:48:13 pm »

 :yoyo044: สุขภาพของเราสำคัญจริงๆครับ เวลาไม่สบายทานไรก็ไม่ค่อยอร่อยเลย
อย่างพี่ต้องว่าอ่ะครับ ป่วยมาก็ลำบาก
ขอบคุณครับพี่แทน
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2010, 10:01:54 pm »

ขอบคุณนะค่ะคุณแทน :13:
ดูแลรักษาสุขภาพแต่เนิ่นๆไว้ดีกว่าค่ะ
ป่วยขึ้นมาลำบากแย่เลย :yoyo055:
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2010, 09:24:08 pm »




โรคหลอดเลือดสมองป้องกันได้

โรคนี้คนไทยมักเรียกกันว่า โรคอัมมพฤกษ์ อัมพาต
โรคนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. โรคหลอดเลือกสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองบางส่วนขาดเลือด
หรือ มีเนื้อสมองตายซึ่งมีสาเหตุจาก

* หลอดเลือดแข็ง มักพบในวัยผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือผู้สูบบุหรี่

* โรคหัวใจที่มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง

* หลอดเลือดสมองอักเสบ

* โรคบางชนิด


2. โรคหลอดเลือดสมองแตก

ทำให้มีเลือดออกมาคั่ง และทำลายเนื้อสมองบริเวณนั้น
หรือ อาจกดเบียดเนื้อสมองส่วนที่อยู่ใกล้เคียง
ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ
สาเหตุเกิดจาก โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด

ปัจจัยเสี่ยง

ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ได้แก่ บุคคลต่างๆ ที่มีโรคหรือภาวะต่างๆ ดังนี้

1. โรคความดันโลหิตสูง

2. โรคเบาหวาน

3. การสูบบุหรี่

4. มีภาวะไขมันในเลือดสูง

5. โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
หัวใจเต้นผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

6. ขาดการออกกำลังกาย

7. วัยสูงอายุ

8. มีพ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า เป็นโรคนี้

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการอาจเกิดขึ้นหลายแบบ ซึ่งขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่เกิดโรค
อาการมักเกิดอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใดหรือเป็นๆ หายๆ
หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น อาการที่พบได้บ่อยได้แก่

1. แขน ขา อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย

2. ชาครึ่งซีก

3. เวียนศรีษะ ร่วมกับเดินเซ

4. ตามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน

5. พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง

6. ปวดศรีษะ อาเจียน

7. ซึม ไม่รู้สึกตัว

** เมื่อมีอาการเหล่านี้ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาทันที***

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

1. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ถ้ามีความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ

2. งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด
การแข็งตัวของเลือด หลอดเลือดแดงแข็ง และตีบง่ายขึ้น

3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

4. ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศและวัย
อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที

5. งดอาหารเค็ม อาหารที่มีไขมัน หรือมีโคเลสเตอรอลสูง

6. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

7. ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ

8. ควรตรวจสุขภาพร่างกายจากแพทย์เป็นประจำทุกปี
ถ้ามีโรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง ควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

9. ผู้ที่กินยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด
ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

"ควบคุมและแก้ไขปัจจัยเสี่ยง จะหลีกเลี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้"

(แหล่งข้อมูล: สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย)


ที่มา: สำนักงานอนามัย กรุงเทพมหานคร
กองพัฒนาระบบสาธารณสุข
คัดลอกจาก... http://www.happyoppy.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538704392&Ntype=5
ภาพประกอบจาก... http://icare.kapook.com/cmsfile/imgbank/Disability/News_120110_6.jpg

http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1562