ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 26, 2010, 09:25:25 pm »

 :yoyo031: ชอบคำว่าต้นไม้ ใบหญ้า แสงแดด ทุ่งหญ้า ชายคา ร่มเงา สายน้ำธารา นกร้องเจรจา ขับขาน กระดิ่ง ระฆัง กังวาล เสียงธรรม
อนุโมทนาครับพี่มด :13:
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2010, 09:20:28 pm »

สาธุค่ะ


 :13:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2010, 09:04:06 am »



บทเรียนหนึ่งในการภาวนาของหมู่บ้านพลัม พุทธนิกายมหายาน ที่หลายคนชอบเป็นพิเศษ คือ การผ่อนพักตระหนักรู้ ซึ่งครั้งที่หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ เดินทางมาจัดภาวนาในเมืองไทยสองครั้ง หลวงแม่เจิงคอมก็ติดตามมาด้วยทุกครั้ง ท่านสอนให้เราผ่อนคลายจากร่างกายที่ตึงเครียดด้วยเสียงเพลงและธรรมะที่อ่อนโยนและลึกซึ้ง

  "การมีสติอยู่กับร่างกายของเรา เป็นสิ่งจำเป็น" นั่นเป็นสิ่งที่หลวงแม่อยากจะบอกพวกเราชาวพุทธ เพราะเวลาที่จิตใจของเราถูกกระทบด้วยอารมณ์ต่างๆ เราควรหาเวลาให้ร่างกายได้ผ่อนพัก เนื่องจากเราป่วยเพราะการใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง ดังนั้นการผ่อนพักจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีประโยชน์ได้พักทั้งร่างกายและจิตใจ

 แม้จะขับกล่อมด้วยเสียงเพลง แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การปล่อยวางความคิด ไม่หวนคิดถึงอดีต ไม่โลดแล่นไปสู่อนาคต ปัจจุบันขณะคือ สิ่งที่ดีที่สุด นำใจของเรากลับมากาย

 "เวลาเราเป็นโรคร้าย เราก็สามารถรักษาโรคได้ โดยทำจิตใจให้ปราศจากความกลัว การฝึกปฏิบัติเจริญสติกับร่างกาย จะทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของเราผ่อนคลายด้วยความอ่อนโยน" หลวงแม่บอกถึงสาเหตุที่ต้องผ่อนพักและย้ำว่า คนเราควรหาเวลาและสถานที่เงียบๆ แล้วนอนลงอย่างผ่อนคลาย

 "เวลาที่เราผ่อนพัก เราไม่จำเป็นต้องคิดถึงสิ่งที่ทำไปเมื่อสองสามนาทีที่แล้ว หรือคิดถึงสิ่งที่จะทำต่อไป ให้อยู่กับปัจจุบันขณะอย่างลึกซึ้ง ให้พาส่วนต่างๆ ของร่างกายมาด้วยความกรุณา"

 ความกรุณาที่มีต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่เราอาจมองข้าม หลวงแม่เปรียบชีวิตคนเราเหมือนต้นไม้ หลวงแม่บอกว่า เวลาที่มีพายุพัดมา แล้วมองไปที่ยอดของต้นไม้ กิ่งไม้อาจจะหักได้ เพราะแรงแกว่งที่รุนแรง แต่ลำต้นกลับสั่นไหวแค่เล็กน้อย ส่วนรากของต้นไม้ กลับดูมั่นคงและปลอดภัย

 "เวลาความกลัว ความโกรธ ความหงุดหงิด พัดเข้ามาในชีวิต ถ้าเรายังเก็บความรู้สึกเหล่านั้นไว้ ตัวเราก็เปรียบเสมือนยอดของต้นไม้ คนที่อ่อนไหวเปราะบาง โดยเฉพาะเยาวชน เมื่อความกลัว ความโกรธ เข้ามาก็จะถูกพัดพาไปได้ง่าย อาจจะถึงขั้นฆ่าตัวตาย เวลาที่อารมณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น เราอยากจะแสดงออกมาด้วยการตะโกนหรือแสดงอัปกิริยาไม่เหมาะสม แต่ต่อมาเรารู้สึกเสียใจกับการกระทำ พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า ให้เรากลับมาสู่ลำต้นของต้นไม้ ลำต้นของตัวเราอยู่ที่ท้องน้อย เอามือข้างหนึ่งมาวางไว้ที่ท้องน้อย นำจิตไปจดจ่อกับการพองขึ้นและยุบลง"



 หลวงแม่ ยกตัวอย่างเวลาประชุมหรือสนทนากับใคร บางคนอาจพูดบางสิ่งทำให้เราโกรธ เราไม่ควรเอาจิตไปจดจ่อคิดตามในสิ่งที่เขาพูด เพียงแค่เอามือมาวางที่ท้องน้อยนำจิตมาจดจ่อตรงนั้น

 "สิ่งสำคัญคือ เวลาที่เราโกรธ เราไม่ควรกระทำสิ่งใด หากคนคนนั้นยังพูดสิ่งที่ไม่น่ารักต่อไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่สามารถกลับมาสู่ลมหายใจหรือท้องน้อยของเราได้ เราต้องขอความช่วยเหลือไปที่รากของต้นไม้ ซึ่งหมายถึงเท้าของเรา เราอาจจะออกไปเดินสมาธิ เพื่อให้เท้าสัมผัสพื้นดิน เราไม่ต้องบังคับลมหายใจของเราว่าต้องก้าวเดินกี่ก้าว ทำได้แค่ไหนก็เท่านั้น ระหว่างการก้าวเดิน หากเกิดความคิดกับสิ่งต่างๆ ที่คนอื่นพูดไม่ดีกับเรา เราก็จะพูดกับตัวเองว่า เราไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะเผชิญความโกรธ เพราะพระพุทธองค์ไม่ได้บอกให้เราเก็บความโกรธ แต่ให้เรารับรู้ความโกรธ แล้วแปรเปลี่ยนความโกรธ"

 การแปรเปลี่ยนความโกรธ หลวงแม่แนะว่า เราต้องมีความนิ่งและสงบมากขึ้น เวลาที่จิตใจของเราเต็มไปด้วยสิ่งรบกวนด้วยความโกรธ ก็เหมือนแก้วน้ำที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก เราต้องทำให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นค่อยๆ นอนก้นและสงบนิ่ง

 "พอเดินสมาธิได้สักพัก ความโกรธก็กลับมาอีก เราก็รับรู้ความโกรธว่ามันอยู่ที่นั่น เและเรารู้ว่า เราต้องมีความสงบมากขึ้น เราจะไม่ตำหนิตัวเองที่มีความโกรธ เพียงแต่ยอมรับความโกรธอย่างที่มันเป็น ความโกรธอาจจะอยู่ในตัวเรา แต่จิตใจที่ผ่องใสก็คือตัวเราเช่นเดียวกัน การปฏิบัติต้องไม่แบ่งแยก เพราะตัวเราก็คือความโกรธและเราก็คือพุทธะเช่นกัน"

 สิ่งที่หลวงแม่พยายามอธิบายก็คือ ให้ยิ้มกับความโกรธ รู้ว่าความโกรธอยู่ตรงนั้น บางครั้งการเดินสมาธินานขึ้น ก็เพื่อทำให้จิตสงบ ไม่ถูกพัดพาไปด้วยความโกรธเราเรียกว่า สมถะ

 "เวลาที่เราโกรธ อาจทำให้เราไม่สามารถเดินสมาธิได้ มันไม่ง่ายที่จะฝึกปฏิบัติสมถะ เพราะฉะนั้นเวลาได้ยินเสียงระฆัง ขอให้ทุกคนฝึกปฏิบัติสมถะด้วยการหยุดเดิน หยุดพูด กลับมาอยู่กับลมหายใจ"

 นอกจากอธิบายธรรมะเรื่องความโกรธ หลวงแม่ยังยกตัวอย่างเด็กชายคนหนึ่งอายุ 11 ปี เคยเดินทางมาที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส

 “เด็กชายคนนี้มากับแม่และพี่สาวสองคน แต่พ่อไม่เคยมาด้วย เวลาที่เขาโกรธ ทุกๆ คนก็จะบอกว่าให้กลับมาที่ลมหายใจ” หลวงแม่เล่าและบอกว่า เคยถามเด็กชายคนนี้ว่า ทำไมพ่อไม่มาด้วย เขาบอกว่า พ่อมีแต่นิสัยแย่ๆ

 “เวลาที่ผมหกล้ม แทนที่พ่อจะปลอบโยน พ่อกลับตะโกนออกว่าทำไม...โง่แบบนี้”
 เด็กชายคนนั้นบอกหลวงแม่ว่า ถ้าเขาโตขึ้น แล้วมีลูก เวลาลูกหกล้ม เขาจะไม่ดุ แต่จะเข้าไปปลอบใจ

 “ในฤดูร้อนเด็กชายคนนี้กลับมาที่หมู่บ้านพลัม พร้อมน้องสาว มีอยู่วันหนึ่งน้องสาวของเขาแกว่งเปลเล่น แล้วตกลง
มาหน้ากระแทกพื้นเลือดไหล ฉันก็ช่วยทำแผล แต่ตอนนั้นมีคนมาดึงข้างหลัง ซึ่งก็คือเด็กชายคนนั้น เขาสารภาพกับฉันว่า เวลาที่เห็นน้องสาวหล่นลงมาจากเปล ในใจก็เกิดความโกรธและอยากจะตะโกน “ทำไมโง่อย่างนี้” แต่โชคดีที่รู้ว่าต้องกลับมาอยู่กับลมหายใจ แล้ววิ่งสมาธิออกไป” หลวงแม่เล่า และบอกว่า หลังจากวิ่งสมาธิ เด็กชายคนนั้นก็ตระหนักรู้ว่า เราเกือบจะเป็นเหมือนพ่อ

 “ถึงแม้เขาจะไม่ชอบสิ่งที่พ่อทำ แต่เขาเกือบจะทำสิ่งเดียวกับพ่อ เหมือนกับการสืบทอดลักษณะนิสัยเหล่านี้มา พอเขาเข้าใจอย่างนั้น ความโกรธต่างๆ ก็หายไป แล้วรู้ว่า พ่อต้องการความช่วยเหลือ” หลวงแม่เล่า และโยงว่า เวลาฝึกปฏิบัติกลับมาอยู่กับลมหายใจ ก็เหมือนการฝึกปฏิบัติสมถะสมาธิ แต่หลังจากจิตสงบมีความนิ่งมากขึ้น ก็เหมือนการเข้าสู่การปฏิบัติวิปัสสนา สามารถที่จะนั่งลงและพิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น การฝึกปฏิบัติวิปัสสนา ก็คือ เรากลับมามองที่ตัวของเราเอง ดูว่าก่อนที่จะโกรธ เราเกิดความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจอย่างไร

 "บางครั้งเราอาจจะมองเห็นว่า ไม่ใช่ความผิดของเรา เราก็ลองมองอย่างลึกซึ้งในตัวคนอื่นด้วย"

"เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ"


http://www.komchadluek.net/detail/20101221/83363/หลวงแม่เจิงคอมชีวิตเปรียบเหมือนต้นไม้.html