ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 10:00:53 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 01:57:09 pm »




โดยเฉพาะคนในเมือง ปัญหาก็ คือระบบการแพทย์ในปัจจุบันเน้นแต่การดูแลรักษาทางกาย โดยไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจ เทคโนโลยียืดชีวิตกลายเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด แต่สิ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องการมากที่สุดนั้น มิใช่ความรู้หรือเทคโนโลยี หากได้แก่กำลังใจและความรัก ไม่เฉพาะจากญาติมิตรและครอบครัวเท่านั้น ขวัญและกำลังใจจากแพทย์และพยาบาลก็เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในยามที่ความรู้และเทคโนโลยีมาถึงขีดจำกัดในการรักษา สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรืออย่างน้อยก็ไม่เลวร้ายลงไปก็คือ ความเมตตาและความใส่ใจโดยบุคคลากรทางการแพทย์

อย่างไรก็ตามผู้คน แวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกไม่สำคัญเท่ากับจิตใจของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยที่ยอมรับความตายและได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า ย่อมมีโอกาสที่จะเผชิญกับความตายอย่างสงบ หรืออย่างน้อยก็สามารถประคองใจไม่ให้เป็นทุกข์ในภาวะใกล้ตาย หลายคนพบว่าศาสนาเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดของจิตใจในวาระสุดท้าย โดยที่ญาติมิตรหรือคนรักก็ได้รับการเยียวยาทางจิตใจไปด้วยพร้อม ๆ กัน

การ แพทย์แผนใหม่นั้นเห็นความตายเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชาชีพแพทย์ ความตายของผู้ป่วยหมายถึงความล้มเหลวของแพทย์ ดังนั้นจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะเอาชนะความตายให้ได้ หรือหากทำไม่ได้ก็พยายามยืดชีวิตผู้ป่วยให้ได้นานที่สุด ดังนั้นจึงไม่ลังเลที่จะทำอย่างไรก็ได้กับร่างกายของผู้ป่วย แม้นั่นจะหมายถึงการสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยและญาติมิตร จะเป็นการดีกว่าหากแพทย์และพยาบาลมองความสำเร็จและความล้มเหลวของตนในแง่มุมใหม่ คือไม่ได้ถือว่าความสำเร็จอยู่ที่การช่วยหรือยืดชีวิตของผู้ป่วยให้ได้เท่านั้น แต่ยังอยู่ที่การช่วยให้เขาเผชิญความตายอย่างสงบ มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนตาย มองในแง่นี้ความตายของผู้ป่วยจะไม่ได้หมายถึงความล้มเหลวของแพทย์และพยาบาล เสมอไป

ไม่ว่าเขายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปก็ยังถือว่าเป็นความสำเร็จของแพทย์และพยาบาล ได้หากว่าจิตใจของเขาได้รับความใส่ใจไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ในการรักษาพยาบาลนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีผู้ป่วยคนใดตายเลย แต่เป็นไปได้ที่เขาจะจากไปอย่างสงบ เพราะฉะนั้นความสำเร็จในนิยามใหม่นี้จึงสามารถเกิดขึ้นได้ในการรักษาผู้ป่วย ทุกกรณี


นิมิตดีก็คือมีแพทย์และ พยาบาลจำนวนมากขึ้นที่ให้ความสำคัญกับจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย หลายคนแม้จะไม่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตต่อไปได้ แต่ครอบครัวและญาติมิตรของผู้ตายก็ซาบซึ้งที่แพทย์และพยาบาลช่วยให้คนรักของเขาจากไปอย่างสงบ ความสำเร็จของแพทย์และพยาบาลเหล่านั้นอยู่ตรงที่ไม่พยายามยื้อชีวิตของผู้ป่วยให้นานที่สุด แต่พยายามประคับประคองให้เขาบรรลุวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างเจ็บปวดน้อยที่ สุดและมีจิตเป็นกุศลหรือสงบมากที่สุด

การแพทย์แบบประคับประคอง (palliative care) เป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความสนใจมากขึ้นจากสถาบันการแพทย์สมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็ควรผนวกเอาวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรณาการเข้าไป ด้วย ดังที่ได้มีการริเริ่มบ้างแล้วจากหลายฝ่ายจนเกิดเป็น “เครือ ข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักบวช และนักปฏิบัติธรรมจำนวนหนึ่ง (ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เครือข่ายพุทธิกา : เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม )

ถ้าเราหันมาใคร่ครวญเกี่ยวกับความตาย และพยายามฝึกใจให้พร้อมรับมือกับบททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต ความตายจะมิใช่วิกฤต หากเป็นโอกาสแห่งความสงบในทางจิตใจที่เงินและเทคโนโลยีไม่สามารถหาให้ได้


บททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต (พระไพศาล วิสาโล)

เอ็มไทยดอทคอม

Credit by : http://www.dhammadelivery.com/story-detail.php?sto_id=755
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม  * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 01:22:24 pm »




บททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต
(พระไพศาล วิสาโล)

ความ ตายเป็นสิ่งแน่นอนสำหรับทุกชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เพราะเราไม่อาจกำหนดหรือคาดทำนายได้ว่าจะตายเมื่อใด ที่ไหน และด้วยสาเหตุอะไร แม้แต่นักโทษประหารหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็อาจจบชีวิตด้วยสาเหตุที่ไม่คาด ฝัน ทั้งความแน่นอนและไม่แน่นอนนี้เองมีส่วนทำให้ความตายเป็นเรื่องน่าสะพรึง กลัวมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้คนที่ปรารถนาจะควบคุมทุกอย่างไว้ในอำนาจ

เป็น เพราะเห็นความตายเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว เราจึงไม่อยากนึกถึงความตายของตนเอง (แต่อาจสนใจอยากรู้ความตายของคนอื่น ทั้งโดยผ่านสื่อนานาชนิดและด้วยพฤติกรรม “ไทยมุง”) สุดท้ายก็เลยลืม (หรือแกล้งลืม)ว่าตนเองจะต้องตาย แต่ไม่ว่าจะปัดไปให้พ้นตัวเพียงใด ในที่สุดความตายก็ต้องมาถึงจนได้

ความตายนั้นเป็นบททดสอบที่ สำคัญที่สุดของชีวิต บททดสอบอื่น ๆ นั้นเราสามารถสอบได้หลายครั้ง แม้สอบตกก็ยังสามารถสอบใหม่ได้อีก แต่บททดสอบที่ชื่อว่าความตายนั้น เรามีโอกาสสอบได้ครั้งเดียว และไม่สามารถสอบแก้ตัวได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นบททดสอบที่ยากมาก และสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ทันได้ตั้งตัว เป็นบททดสอบที่เราแทบจะควบคุมอะไรไม่ได้เลย ไม่ว่าเวลา สถานที่ หรือแม้กระทั่งร่างกายและจิตใจของตนเอง

อย่างไรก็ตาม ทั้ง ๆ ที่ความตายเป็นบททดสอบที่สำคัญอย่างยิ่งของชีวิต แต่น้อยคนนักที่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับบททดสอบดังกล่าว ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่หมดไปกับเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะกาทำมาหากินและการหาความสุขจากสิ่งเสพ เราพร้อมจะให้เวลาเป็นปี ๆ สำหรับการฝึกอาชีพ เข้าคอร์สฝึกร้องเพลงเต้นรำนานเป็นเดือน ๆ ไม่นับเวลานับพันนับหมื่นชั่วโมงกับการช็อปปิ้งและท่องอินเตอร์เน็ต แต่เรากลับไม่เคยสนใจที่จะตระเตรียมตนเองให้พร้อมเผชิญกับความตายหรือภาวะ ใกล้ตาย ส่วนใหญ่นึกราวกับว่าตนเองจะไม่มีวันตาย หาไม่ก็คิดง่าย ๆ ว่าขอ “ไปตายเอาดาบหน้า” ไม่มีความประมาทอะไรที่ร้ายแรงไปกว่าการทิ้งโอกาสที่จะฝึกฝนตนเองให้เผชิญ ความตายอย่างสงบในขณะที่ยังมีเวลาและพละกำลังอย่างพร้อมมูล

เป็นเพราะไม่สนใจเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน เมื่อล้มป่วยและเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต ผู้คนเป็นอันมากจึงประสบกับความทุกข์ทรมานอย่างแรงกล้าทั้งกายและใจ ทรัพยากรที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอที่จะเอามาใช้ช่วยตัวเองในยามวิกฤต โดยเฉพาะ “ทุน” ที่สะสมไว้ในจิตใจ ซึ่งสำคัญกว่าทุนที่เป็นทรัพย์สมบัติ ผู้คนจำนวนไม่น้อยลงเอยด้วยการพยายามต่อสู้กับความตายอย่างถึงที่สุด ฝากความหวังไว้กับเทคโนโลยีทุกชนิด แต่การพยายามยืดชีวิตนั้นบ่อยครั้งกลับกลายเป็นการยืดการตายหรือภาวะใกล้ตาย ให้ยาวออกไปพร้อมกับความทุกข์ทรมาน โดยคุณภาพชีวิตและจิตใจหาได้ดีขึ้นหรือเท่าเดิมไม่มีแนวโน้มว่าผู้คนจะใช้ ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่โรงพยาบาลกันมากขึ้น