พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 356
บทว่า วิญฺญาณฏฺฐิติโย ความว่า ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ. คือ
สวิญญาณกขันธ์นั้นแล(ขันธ์มีวิญญาณ). ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ
เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงตัวอย่าง. บทว่า มนุสฺสา คือ มนุษย์มากมาย
แม้ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ย่อมไม่มี มนุษย์สองคนเหมือนเป็นอย่าง
เดียวกันด้วยผิวพรรณและทรวดทรงเป็นต้น. แม้มนุษย์เหล่าใดมีผิวพรรณ
หรือทรวดทรงเหมือนกัน มนุษย์เหล่านั้นก็ไม่เหมือนกันด้วยการแลการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 357
เหลียวเป็นต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่าง ๆ กัน. ส่วน
ปฏิสนธิสัญญาของสัตว์เหล่านั้นเป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง อเหตุกะ-
บ้าง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีสัญญาต่าง ๆ กัน. บทว่า
เอกจฺเจ จ เทวา ได้แก่ เทพชั้นกามาวจร ๖ ชั้น. จริงอยู่ บรรดา
เทพเหล่านั้น บางพวกมีกายเขียว บางพวกมีผิวพรรณเหลืองเป็นต้น.
แต่สัญญาของเทพเหล่านั้น เป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะ
ไม่มี. บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา วินิปาติกะ (ผู้ตกไปในอบาย)
บางพวก คือเวมานิกเปรตเหล่าอื่นมีอาทิอย่างนี้ คือยักษิณีผู้เป็นมารดา
ของปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของ
ปุสสะผู้ยินดีในธรรม พ้นจากอบาย ๔. ร่างกายของเวมานิกเปรตเหล่านั้น
ต่าง ๆ กันด้วยสี มีผิวขาว ดำ ผิวทอง และสีนิลเป็นต้น ด้วยลักษณะมี
ผอม อ้วน เตี้ย สูง. แม้สัญญาก็ต่างกันด้วยสามารถแห่งติเหตุกะ ทุเหตุกะ
และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่เวมานิกเปรตเหล่านั้นไม่มี
ศักดิ์มากเหมือนทวยเทพ มีศักดิ์น้อยเหมือนคนจนหาของกินและเครื่อง
ปกปิดได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นอยู่. บางพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับ
สุขในข้างขึ้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า วินิปาติกะ เพราะตกไป
จากการสะสมความสุข. แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะ ย่อมเป็นผู้บรรลุ
ธรรมได้ดุจการบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา พวกเทพนับเนื่องในหมู่พรหม ได้แก่ พรหม-
ปาริสัชชะ พรหมปุโรหิตะและมหาพรหม. บทว่า ปํมานิพฺพตฺตา ผู้
เกิดในภูมิปฐมฌาน คือหมู่พรหมทั้งหมดนั้นเกิดด้วยปฐมฌาน. แต่
พรหมปาริสัชชะเกิดด้วยปริตตฌาน พรหมปุโรหิตะเกิดด้วยมัชฌิมฌาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 358
อนึ่ง กายของพรหมเหล่านั้นมีรัศมีซ่านออกไป. มหาพรหมเกิดด้วย
ปณีตฌาน. แต่กายของมหาพรหมมีรัศมีซ่านออกไปยิ่งกว่า. เพราะฉะนั้น
พรหมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เพราะมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันด้วยอำนาจปฐมฌาน. สัตว์
ทั้งหลายในอบาย ๔ ก็เหมือนเทพเหล่านั้น. เพราะในนรก สัตว์นรก
บางพวกมีร่างกายคาวุตหนึ่ง บางพวกกึ่งโยชน์ บางพวก ๓ คาวุต. ส่วน
ของเทวทัตมีร่างกาย ๑๐๐ โยชน์. แม้ในเดียรัจฉานบางพวกก็เล็ก บางพวก
ก็ใหญ่. แม้ในเปรตวิสัย บางพวก ๖๐ ศอก บางพวก ๘๐ ศอก
บางพวกผิวพรรณงาม บางพวกผิวพรรณซูบซีด. อนึ่ง แม้กาลกัญชิกาสูร
ก็สูง ๑๐ โยชน์ ชื่อว่าทีฆปิฏฐิกเปรต (เปรตมีหลังยาว). แต่สัญญา
ของสัตว์นรกทั้งหมด เป็นอกุศลวิบาก เป็นอเหตุกะ. ด้วย ประการฉะนี้
แม้สัตว์ในอบายก็เรียกได้ว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน.
http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=194.0http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2132.0