ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา
ใส่แฟลช ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่ตาราง ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | Insert Unordered List Insert Ordered List เส้นขวาง Insert Progress Bar | Remove Formatting Toggle View
Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 10:36:51 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 09:49:28 pm »

เชื่อไหมว่า มีคนพิเศษในโลกนี้จำนวนหนึ่งซึ่งมีประสบการณ์ต่างจากคนส่วนใหญ่ เช่น บางคนมองตัวเลข (หรือตัวหนังสือ) จะเห็นเป็นสี บางคนฟังเสียงดนตรี จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาสัมผัสผิวหนัง ส่วนอีกคน ลิ้นชิมรสปั๊บ กลับเห็นรูปร่างตามมาด้วย!


ทราบกันโดยทั่วไปว่า ประสาทสัมผัสของเรารับรู้ได้ 5 ลักษณะ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส (ส่วนใครที่ศึกษาพุทธศาสนา อาจจะเพิ่มว่ามี ใจ เรียกว่า ธรรมารมณ์ รวมเป็น 6 อย่าง) โดยแต่ละลักษณะจะใช้อวัยวะแตกต่างกันไป เช่น ตาเห็นรูป ส่วนลิ้นก็รับรส เป็นต้น

แต่เชื่อไหมว่า มีคนพิเศษในโลกนี้จำนวนหนึ่งซึ่งมีประสบการณ์ต่างจากคนส่วนใหญ่ เช่น บางคนมองตัวเลข (หรือตัวหนังสือ) จะเห็นเป็นสี บางคนฟังเสียงดนตรี จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาสัมผัสผิวหนัง ส่วนอีกคน ลิ้นชิมรสปั๊บ กลับเห็นรูปร่างตามมาด้วย!
ประสบการณ์แปลกๆ แบบนี้ ฝรั่งรู้จักมานานราว 300 ปี แล้ว และเรียกว่า ซินเนสทีเซีย (synesthesia หรือ  synaesthesia) ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ คำว่า syn (ร่วม) + aisthesis (การรับรู้) หมายความว่า ประสาทสัมผัสตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป รับรู้พร้อมกันนั่นเอง 

ส่วนคนที่มีประสบการณแบบนี้เรียกว่า ซินเนสทีต (synesthete) ซึ่ง (ผมว่า) ฟังแล้วแหม่งๆ จึงขอเรียกว่าคนที่เป็นซินเนสทีเซียก็แล้วกัน
 

การเห็นตัวเลขเป็นสี
ซินเนสทีเซียที่พบบ่อยที่สุดคือ เห็นตัวเลขหรือตัวอักษรเป็นสี (colored letters and numbers) และได้ยินเสียงเป็นสี (colored hearing) โดยความรู้สึกหรือการรับรู้แบบนี้จะคงเส้นคงวา กล่าวคือ หากชายหนึ่งเห็นตัวอักษร A เป็นสีชมพู เขาก็จะเห็นตัว A เป็นสีชมพูไปชั่วชีวิต
แต่ที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ คนที่เป็นซินเนสทีเซียอีกคน อาจจะเถียงว่า ตัว A เป็นสีฟ้า (หรือสีอื่น) ต่างหาก และคนๆ นั้นก็จะเห็นเป็นสีฟ้าไปชั่วชีวิตเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เพราะมีหลักฐานว่า ตัวอักษรโอ ‘O’ นั้น คนที่เป็นซินเนสทีเซียส่วนใหญ่ ราว 3 ใน 4 คน จะเห็นเป็นสีขาวตรงกัน ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้การศึกษาปรากฏการณ์นี้ไม่ง่ายนัก
ต้องเน้นไว้ตรงนี้ว่า ในทางการแพทย์และทางจิตวิทยา ไม่ได้ถือกว่า ซินเนสทีเซียเป็นความเจ็บป่วย  ในทางกลับกัน หากนักจิตวิทยาพบคนที่เป็นซินเนสทีเซียจะยิ่งชอบ เพราะจะได้ขอความร่วมมือเขา (หรือเธอ) ในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเปิดเผยกลไกการรับรู้ ความรู้สึกตัว การตีความของสมองเมื่อได้รับข้อมูล ไปจนถึงประเด็นเชิงปรัชญา เช่น ความจริงแท้นั้นเป็นเช่นไร


คนที่มีประสบการณ์พิเศษเช่นนี้มักจะไม่บอกใคร เพราะเมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็ก แล้วพูดกับเพื่อนๆ หรือคนรอบข้างว่า “เสียงเพลงๆ นี้ สีสวยดีเนอะ” หรือ “ไอ้ขนมนี้ รสชาติมันเหลี่ยมๆ คมๆ” ก็ย่อมจะทำให้เพื่อนๆ หรือคนรอบข้างมองว่าเป็นตัวประหลาด แต่หากพูดออกไปตอนโต ก็จะทำให้คนฟังเข้าใจผิดคิดว่า คนพูดติดยาเสพติด (เช่น ยาอี) ก็เป็นได้ (กรณีหลังนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว)
ซินเนสทีเซียสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ในกรณีของนักเขียนชาวรัสเซียคนหนึ่งชื่อ วลาดีมีร์ นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) นั้น ตอนเด็กๆ เคยบ่นกับคุณแม่ของเขาว่า ใครกันนะทำตัว A มาผิดสี เพราะตัว A ในความคิดของเขานั้นต้องเป็นสีน้ำเงิน ไม่ใช่สีแดง

วลาดีมีร์ นาโบคอฟ นักเขียนชื่อดังที่มองเห็นตัวอักษรเป็นสี
ฝ่ายคุณแม่ของเด็กน้อย เมื่อได้ยินเช่นนั้น แทนที่จะว่าลูกเพี้ยน เธอกลับเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะเธอเองก็เป็นซินเนสทีเซียเช่นเดียวกัน  ต่อมาเมื่อวลาดีมีร์ นาโบคอฟ มีลูกชาย ก็พบว่าลูกชายก็เป็นอีก เรียกว่าครอบครัวนี้มีประสบการณ์พิเศษเรียงติดกันถึง 3 รุ่น!


น่าสนใจว่า มีคนดังระดับโลกอีกหลายคนที่เป็นซินเนิสทีเซียด้วยเช่นกัน เช่น
  • ฟรานซ์ ลิสต์ (Franz Liszt) คีตกวีและนักเปียนโนฝีมือฉกาจชาวฮังการี ซึ่งมองเห็นสีเมื่อได้ยินเสียงโน้ตดนตรี
  • ริชาร์ด ไฟย์นแมน (Richard Feynman) ยอดนักฟิสิกส์อารมณ์ดี ซึ่งมองเห็นสีสันในสมการฟิสิกส์!
  • วาซิลี คันดินสกี (Wassily Kandinsky) จิตรกรผู้บุกเบิกงานศิลปะนามธรรมเชื้อสายรัสเซีย ก็มองเห็นสีเมื่อได้ยินเสียงดนตรี (อย่างไรก็ดี Wikipedia ระบุว่า Wassily Kandinsky อยู่ในกลุ่มที่กำลังได้รับการตรวจสอบว่าเป็นซินเนสทีเซียหรือไม่)

ดูรายชื่อคนที่เป็นซินเนสทีเซียใน Wikipedia ที่นี่

นายแพทย์ริชาร์ด อี ไซโทวิค (Richard E. Cytowic, MD) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องซินเนสทีเซีย และผู้แต่งหนังสือ ‘The Man Who Tasted Shapes’ (‘ชายผู้ลิ้มรสเป็นรูปร่าง’) ประมาณไว้ว่า โอกาสที่จะพบคนเป็นซินเนสทีเซียมีประมาณ 1 คน ใน 25,000 คน โดยสำหรับคนอเมริกัน พบว่าโอกาสที่จะพบในผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชายราว 3:1 ในขณะที่ทางสหราชอาณาจักร มีนักวิจัยท่านอื่นได้ประมาณไว้สูงกว่านี้คือ 8:1 กล่าวโดยสรุป ผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายหลายเท่า
 

คุณหมอริชาร์ด ไซโทวิค กำลังอธิบายเรื่องการเห็นตัวอักษรเป็นสีต่างๆ ของคนที่มีประสบการณ์ซินเนสทีเซีย
 
ปรากฏการณ์ซินเนสทีเซียบางลักษณะนั้นสุดแสนเหลือเชื่อ กล่าวคือ

    • คนบางคนมองเห็นแนวคิดเชิงนามธรรมบางอย่างมีรูปร่าง (หรือโครงสร้าง) ได้ เช่น เห็นเดือนทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี เหมือนกับตู้ที่นั่งของชิงช้าสวรรค์ โดยมีเดือนธันวาคมอยู่ด้านล่าง และเดือนกรกฎาคมอยู่ด้านบน
    • บางคนก็อาจจะเห็นกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (math operation) เป็นรูปเป็นร่างได้
ลักษณะพิเศษเช่นนี้ นักจิตวิทยาตั้งชื่อว่า ซินเนสทีเซียเชิงแนวคิดรวบยอด (conceptual synesthesia)

มีเหมือนกันที่บางคนอาจเป็นซินเนสทีเซียได้หลายแบบพร้อมๆ กัน อย่างกรณีของ แครอล สทีน (Carol Steen) ศิลปินที่ทำงานอยู่ในนิวยอร์คนั้นพบว่า เธอเป็นซินเนสทีเซียถึง 3 แบบ!

  • แบบแรก คือ เธอมองเห็นตัวเลขและตัวอักษรเป็นสี (ซึ่งเป็นแบบที่พบได้บ่อยที่สุด)
  • แบบที่สอง คือ เธอได้ยินเสียงเป็นสี เช่น เธอบรรยายว่ามีเพลงของวงดนตรียูแมน (Uman) อยู่เพลงหนึ่ง ซึ่งตัวโน้ตตัวแรกมีสีเทาๆ เป็นแถบจากสีเทาอ่อนไล่ไปหาสีเทาแก่ และบนแถบสีเทานั้นมีจุดเล็กๆ สีทองอยู่ด้วย
  • แบบที่สาม ซึ่งพบไม่บ่อยนัก ก็คือ การสัมผัสในบางลักษณะ (เช่น เข็มแทงที่ผิวหนัง) จะทำให้เธอเห็นเป็นสี และรูปร่างไปด้วยพร้อมๆ กัน

Carol Steen


ศิลปินชื่อ แครอล สทีน (Carol Steen) มองเห็นสีและรูปร่างต่างๆ ขณะที่เธอฟังดนตรีหรือถูกเข็มแทงที่ผิวหนัง ในภาพนี้ เธอใช้แสงวาดภาพสิ่งที่เธอเห็นเพื่อให้คนอื่นได้รับรู้
จากการศึกษาพบว่า คนที่เป็นซินเนสทีเซียมักจะถนัดซ้าย และมีความจำดีกว่าคนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย เช่น ในกรณีของเลขบัตรเครดิตยาวๆ ก็จำง่ายเพราะเห็นเป็นสีสันต่างๆ เรียงกันไป แต่ในจุดดี ก็ย่อมมีจุดด้อย เพราะคนที่เป็นซินเนสทีเซีย มักจะหลงทิศทางได้ง่ายๆ และการคิดคำนวณอาจทำได้ไม่ดีนักในหลายกรณี (เพราะตัวเลข 2 ตัวอาจปรากฏเป็นสีคล้ายๆ กัน จนสับสนว่าเป็นตัวเลขตัวไหนกันแน่!)

มีทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์นี้ไหม?

ในยุคแรกๆ เมื่อร้อยปีก่อนนู้น อธิบายกันแบบเบลอๆ ว่า ซินเนสทีเซียน่าจะคล้ายๆ เหตุการณ์ “สายสัญญาณพันกัน” (crossed wires) อย่างบางครั้งที่เราใช้โทรศัพท์บ้านคุยกับเพื่อน แต่ดันมีเสียงสนทนาของอีกคู่หนึ่งเข้ามาปนอีรุงตุงนังด้วยนั่นเอง

ทฤษฎีร่วมสมัยทฤษฎีหนึ่งเสนอโดย ไซมอน บารอน-โคเฮน (Baron-Cohen) และเพื่อนร่วมงาน ทีมวิจัยนี้บอกว่า ซินเนสทีเซียน่าจะเกิดจากเหตุผลทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมองมีมากเกินพอดี ส่งผลให้การรับรู้ของประสาทสัมผัสต่างๆ ปะปนกัน เช่น การได้ยินเสียงกับการมองเห็น (ฟังเพลงบอกว่าสีนั้นสีนี้) เป็นต้น พูดง่ายๆ คือ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า สมองของคนที่เป็นซินเนสทีเซียมีโครงสร้างทางกายภาพ หรือ “ฮาร์ดแวร์ (hardware)” แตกต่างจากคนปกติ

   


ทีมวิจัยของไซมอน บารอน-โคเฮน ได้ศึกษาการทำงานของสมองโดยใช้เทคนิคโพสิตรอนอิมิสชัน โทโมกราฟี (Positro Emission Tomography, PET) และการสร้างภาพโดยฟังก์ชันนัล-เอ็นเอ็มอาร์ (functional-Nuclear Magnetic Resonance imaging) และพบว่า เมื่อคนที่ (อ้างว่า) เป็นซินเนสทีเซียได้ยินเสียง สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นก็ทำงานด้วยจริง
ปรากฏว่า แนวคิดของบารอน-โคเฮน และเพื่อนๆ มีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย โดยคนที่เห็นด้วย เช่น ดร. ดาฟนี เมาเรอร์ (Daphne Maurer, PhD) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ (McMaster University) ก็ต่อยอดออกไปว่า เป็นไปได้ไหมที่จริงๆ แล้ว คนเราทุกคนเกิดมาพร้อมๆ กับการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมองจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ซินเนสทีเซียได้อยู่แล้ว

แต่เมื่อเราเติบโตขึ้น การเชื่อมต่อนี้จะลดลงไปสำหรับคนส่วนใหญ่ (ประสาทสัมผัสแต่ละอย่าง ก็เลยแยกจากกัน) แต่สำหรับคนพิเศษบางคนที่การเชื่อมต่อยังเหลือค้างอยู่ ก็เลยทำให้เกิดซินเนสทีเซียสำหรับคู่ของประสาทสัมผัสที่เชื่อมต่อกันอยู่นั้น
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วย เช่น ปีเตอร์ กรอสเซนบาเชอร์ (Peter Grossenbacher) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนาโรปา (Naropa University) บอกว่า จริงอยู่ที่ซินเนสนีเซียน่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่ไม่จำเป็นเลยที่สมองของคนที่รู้สึกเช่นนั้นจะต้องมีสมองแตกต่างไปจากคนปกติ ดูอย่างคนที่ติดยาเสพติด (เช่น ยาอี) นั่นปะไร เห็นดอกไม้ก็บอกว่าหวาน ฟังดนตรีก็มีสีสวย ได้เช่นกัน แต่พอยาหมดฤทธิ์ ก็กลับมาเป็นปกติ

คุณปีเตอร์ก็เลยเสนอทฤษฎีว่า ในการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสหนึ่งๆ นั้น จะมีสัญญาณประสาทส่งไปยังส่วนของสมองที่รับความรู้สึกหลายอย่างร่วมกัน (multisensory area) เช่น บริเวณร่องพับของขมับส่วนบน (superior temporal sulcus) ที่อยู่ใกล้ๆ ปลายด้านบนของหูข้างขวา 
จากนั้น สัญญาณดังกล่าวจะถูกส่งกลับไปยังบริเวณที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกแต่ละอย่าง (single-sense area) ทั้งนี้ในสมองของคนปกติ จะมีการยับยั้งสัญญาณประสาทไม่ให้ไปยังส่วนที่ไม่เกี่ยวกับความรู้สึกนั้น (เช่น ปล่อยสัญญาณประสาทที่เกิดจากเสียงให้ไปยังบริเวณที่เกี่ยวกับการรับฟังเท่านั้น แต่กั้นไม่ให้สัญญาณนี้ส่งไปยังส่วนอื่นๆ)

แต่สำหรับคนที่เป็นซินเนสทีเซีย  การยับยั้งดังกล่าวเกิดขัดข้อง ทำให้สัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องหลุดไปได้ เช่น หากสัญญาณที่เกิดจากการฟังเสียงหลุดไปยังสมองส่วนที่ทำหน้าที่มองเห็น ก็จะเห็นเสียงมีสีสัน หรือรูปร่างต่างๆ นั่นเอง

นี่เป็นแค่แนวคิดบางอย่างที่เสนอกันมาเท่านั้น แต่ถึงวันนี้ดูเหมือนจะยังฟันธงไม่ได้....
 
ส่วนผมนั้น แม้จะไม่ได้เป็นซินเนสทีเซีย แต่เห็นตัวเลข 100 ทีไร ก็จะนึกถึงแต่สีแดง
หากเป็น 500 ก็สีม่วง
ส่วน 1000 ก็สีน้ำตาลอมเทานิดๆ ครับ ;-)

แนะนำขุมทรัพย์ทางปัญญา
ประวัติของบทความ
  • ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ คลื่นความคิด นิตยสาร สารคดี ชื่อ  เห็นตัวเลขเป็นสี ... ฟังดนตรีรู้สึกหวาน ปรากฏการณ์ ‘ซินเนสทีเซีย
  • ตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ Know How & Know Why : กฎพิสดาร ปรากฏการณ์พิศวง เล่ม 2 สนพ. สารคดี
  • ดัดแปลงเพื่อนำลงใน GotoKnow เพื่อเป็นความรู้สาธารณะ และใช้ในการอภิปรายกับประเด็นที่อาจจะเกี่ยวข้อง
http://gotoknow.org/blog/science/86023