ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 10:37:57 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 10:46:53 pm »


    เทคนิคที่ทำให้เกิด 'ความฝันรู้ตัว' (Lucid Dreaming)


 
เทคนิคในการทำให้เกิดความฝันรู้ตัว
แม้ว่าความฝันรู้ตัวจะเกิดขึ้นได้เองเป็นบางครั้ง แต่หากต้องการจะ
ฝันรู้ตัวโดยตั้งใจแล้วละก็ คุณจะต้องมุ่งมั่น
โดยมีแรงบันดาลใจหนุนหลัง อีกทั้งยังต้องใช้ความพยายามพอสมควรทีเดียว

หากไม่นับเทคนิคที่เป็นภูมิปัญญาโบราณแล้ว
ตัวอย่างเทคนิคสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

การหวนระลึกถึงความฝัน (Dream Recall) :

ผู้เชี่ยวชาญด้านความฝันรู้ตัวบอกว่า เงื่อนไขสำคัญอย่างแรกสุด
ที่คุณจะต้องทำให้ได้ก็คือ สามารถจดจำความฝันที่เพิ่งผ่านพ้นไปได้เป็นอย่างดี


คุณอาจสงสัยทำไมต้องจำความฝันได้ด้วย?
คำตอบก็คือ หากคุณจำความฝันได้อย่างแม่นยำ คุณก็จะคุ้นเคยกับความฝันของคุณเองจนสามารถจดจำรูปแบบและลักษณะเด่นๆ ได้ รูปแบบและลักษณะเด่นๆ ที่ว่านี้แหละที่จะช่วยให้คุณรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ในการฝันครั้งต่อๆ ไป ในทางกลับกัน หากคุณเป็นคนที่จำความฝันไม่แม่น ก็เป็นไปได้ว่า แม้คุณจะฝันรู้ตัว (ตอนกำลังนอน) แต่พอตื่นขึ้นมาก็ลืมหมด อย่างนี้ก็เท่ากับเสียของนั่นเอง
เรื่องการฝึกจำความฝันนี้ อาจใช้การจดบันทึกลงใน สมุดบันทึกฝัน (ฝรั่งเรียกว่า dream journal) ซึ่งจะช่วยให้คุณจำได้แม่นยำขึ้นเรื่อยๆ
     
การทดสอบว่าสภาวะที่เป็นอยู่นั้นว่าจริงหรือเปล่า (Reality Testing) :
เทคนิคนี้คล้ายๆ กับที่สอนกันว่า ถ้าไปเจออะไรที่แปลกๆ หรือไม่ชอบมาพากล แล้วให้ลองหยิกตัวเองดูสักที ถ้าเจ็บก็จะได้รู้ว่าจริงนะ ไม่ได้ฝัน แต่นักวิจัยบอกว่า เทคนิคนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักฝันมือใหม่ โดยคุณจะต้องปฏิบัติหลายๆ ครั้งในวันๆ หนึ่ง

วิธีการง่ายๆ เช่น ลองอ่านหนังสือสักข้อความหนึ่ง จากนั้นให้หันไปมองที่อื่น แล้วกลับมาอ่านใหม่อีกครั้งว่าข้อความในหนังสือยังเหมือนเดิมไหม หรือ ลองเพ่งจิตให้ข้อความในหนังสือเปลี่ยนแปลงไป

ฟังดูแปลกๆ พิลึก แต่เชื่อไหมว่า จากการวิจัยพบว่า หากคุณกำลังฝันรู้ตัวอยู่ ข้อความบนหน้าหนังสือนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปได้ถึง 75% ในการอ่านซ้ำครั้งแรก และอาจถึง 95% ในการอ่านซ้ำครั้งที่สอง
     
สัญลักษณ์ที่บ่งว่ากำลังฝัน (Dreamsigns) :
สิ่งที่ปรากฏในความฝันที่ทำให้ผู้ฝันรู้ตัวว่าตัวเองกำลังฝันอยู่แน่ๆ เช่น รู้สึกว่าตัวเองกำลังเหาะเหินเดินอากาศอยู่อย่างเพลิดเพลิน เห็นสัตว์ที่มีรูปร่างหรือสีสันแปลกๆ พบเจอกับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือ รัฐบาลประกาศว่า หวยใต้ดินได้หมดไปจากเมืองไทยแล้ว อะไรทำนองนี้

คุณต้องศึกษาความฝันของตัวเองจนกระทั่งคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ที่บ่งว่าคุณกำลังฝัน สัญลักษณ์นี้แตกต่างกันไป ของใครของมัน โดยหากเจ้าสัญลักษณ์นี้โผล่ขึ้นมาอีกเมื่อไร คุณก็จะมั่นใจว่ากำลังฝันอยู่แน่ๆ
     
การเหนี่ยวนำความฝันรู้ตัวโดยใช้เครื่องมือช่วยจำ (Mnemonic Induction of Lucid Dreams - MILD) :
เทคนิคนี้เรียกย่อๆ ว่า ไมลด์ (MILD) และมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ดังนี้
  • ตั้งใจว่าเดี๋ยวจะตื่นขึ้นในระหว่างที่กำลังนอนอยู่ และหากกำลังฝัน ก็จะจดจำความฝันนั้นไว้

  • ก่อนล้มตัวลงนอนใหม่ ให้ตั้งใจว่าจะต้องรู้ตัวให้ได้ว่ากำลังฝันในระหว่างหลับครั้งต่อไป โดยอาจบอกตัวเองว่า “คราวหน้าหากฝัน ฉันจะรู้ตัวว่ากำลังฝัน” ดร. ลาเบิร์จบอกว่าให้ท่องประโยคนี้ซ้ำๆ เหมือนท่องบ่นมนตรา โดยมีสมาธิแน่วแน่

  • ขณะที่กำลังท่องมนตร์อยู่นั้น ก็ให้จินตนาการพร้อมๆ กันไปด้วยว่า ได้กลับเข้าไปในฝันที่เพิ่งฝันก่อนตื่นขึ้นมา (หรืออาจจะเป็นฝันอื่นที่จดจำได้) และแสร้งทำเป็นรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ โดยมองหาสัญลักษณ์ที่บ่งว่าคุณกำลังฝันไปด้วยพร้อมๆ กัน

  • ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำจนคุณผล็อยหลับไป หรือจนกระทั่งความตั้งใจแน่วแน่เข้าที่ คือคิดแต่ว่าจะต้องรู้ตัวขณะกำลังฝันให้จงได้
เทคนิค MILD นี้คิดค้นโดยตัว สตีเฟน ลาเบิร์จ เอง และเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขา
     
การงีบหลับ (Napping) :
จากการศึกษาพบว่า การตื่นขึ้นมาระหว่างที่กำลังหลับเพลินๆ อยู่นั้นสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการฝันรู้ตัวได้ หากใช้เทคนิคนี้ คุณต้องตื่นก่อนเวลาตื่นปกติราวๆ 1 ชั่วโมง แล้วอยู่ต่อสักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง จากนั้นก็ไปนอนต่อ

ผลจากการศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า วิธีนี้จะเพิ่มโอกาสในการฝันรู้ตัวได้ราว 15-20 เท่า เมื่อเทียบกับการไม่ใช้เทคนิคใดๆ เลย โดยในระหว่างที่ตื่นอยู่นี้ ดร. ลาเบิร์จ แนะนำว่า คุณควรอ่านบทความเกี่ยวกับการฝันรู้ตัว (ต้องเป็นหนังสือของเขาหรือเปล่าหว่า?) จากนั้นก็ทำการทดสอบความเป็นจริง และต่อด้วยเทคนิค MILD ในขณะที่ค่อยๆ ผล็อยหลับไป



ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 10:40:47 pm »


    ในความฝันรู้ตัวนั้น เราจะเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง


    ในบรรดาความฝันทั้งมวลนั้น มีความฝันแบบหนึ่งที่น่าประทับใจเหลือเกิน ประทับใจไม่แพ้ฝันร้าย หรือฝันแล้วเป็นจริงเลยทีเดียว ความฝันที่ว่านี้เชื่อว่า คุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว นั่นคือ ในระหว่างที่คุณกำลังฝันอยู่นั้น ฉับพลันคุณก็รู้สึกขึ้นมาว่า เอ๊ะ! อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้นี่หว่า เราต้องฝันอยู่แน่ๆ

    ความฝันแบบนี้แหละที่ฝรั่งเรียกว่า lucid dreaming แปลตรงตัวแบบราชบัณฑิตยสถานว่า ความฝันชัดเจน (คำว่า lucid แปลว่า แจ่มชัด) อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเรื่องนี้ยอมรับว่า คำๆ นี้ไม่ค่อยตรงเท่าใดนัก เพราะสาระสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้ฝันต้องรู้ว่าตัวเองกำลังฝันอยู่ จึงน่าจะเรียกว่า concious dreaming ซะมากกว่า ในบทความนี้ ผมจึงขอใช้คำว่า ความฝันรู้ตัว ก็แล้วกัน

    ลองมาดูตัวอย่างประสบการณ์ความฝันรู้ตัวของชายคนหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า ดี ดับเบิลยู (D.W.) และอาศัยอยู่ที่เอลค์ริเวอร์ (Elk River) มลรัฐมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา ดังนี้ :
    ผมกำลังยืนอยู่ในที่โล่ง ในขณะที่ภรรยาของผมชี้ไปที่ดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังลับขอบฟ้า ผมมองตามไปในทิศทางที่เธอชี้ และคิดว่า “แปลกจริง ไม่เคยเห็นท้องฟ้ามีสีสันอย่างนี้มาก่อนเลย”

    จากนั้นก็นึกขึ้นได้ว่า “นี่เรากำลังฝันอยู่แน่ๆ!” ผมไม่เคยเห็นสีสันที่สวยสดงดงามและชัดเจนเช่นนั้นมาก่อน แถมยังรู้สึกเป็นอิสระอย่างน่าตื่นเต้นยิ่ง จนทำให้ผมเริ่มออกวิ่งไปในทุ่งข้าวสาลีสีทองอร่ามตา พร้อมๆ กับโบกมือและตะโกนสุดเสียงว่า “ผมกำลังฝัน! ผมกำลังฝัน!” ทันใดนั้น ผมก็เริ่มสูญเสียความฝันนั้นไป

    (ข้อความบางส่วนจากหนังสือ Exploring the World of Lucid Dreaming หน้า 2)
    ในความฝันรู้ตัวนั้น เราจะเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจนแจ่มแจ๋วราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ดังตัวอย่างในข้อความข้างต้นที่บอกว่า
    “ไม่เคยเห็นสีสันที่สวยสดงดงามและชัดเจนเช่นนั้นมาก่อน”


    นี่คือเหตุผลที่ทำให้จิตแพทย์ชาวดัชต์ ชื่อ เฟรเดริก ฟาน อีเด็น (Frederik van Eeden) บัญญัติคำว่า lucid dreaming ในหนังสือชื่อ A Study of Dreams ของเขาที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1913

    บางท่านที่เคยฝันรู้ตัวคงจะรู้ด้วยว่า บางครั้งเราสามารถควบคุมเนื้อหาในความฝันได้ด้วย แต่ตัวผมเองนั้น จำได้แม่นว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งที่แม้จะรู้ทั้งรู้ว่ากำลังฝันอยู่ (เพราะเห็นสิ่งผิดปกติที่เป็นไปไม่ได้ในความฝัน) แต่กลับทำอะไรไม่ได้ แม้พยายามลืมตาตื่นขึ้นมาก็ยังไม่สำเร็จ ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลยไปซะงั้น

    การฝันรู้ตัวนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนในจดหมายที่เขียนโดย เซนต์ออกัสตินแห่งฮิปโป (Saint Augustine of Hippo) ในราวปี ค.ศ. 415 หรือ พวกเงาะซีนอย (Senoi) ในมาเลเซียก็ใช้การฝันรู้ตัวในการดูแลรักษาสุขภาพจิตของตนเอง

    [INDENT]นอกจากนี้ พระธิเบตก็มีการฝึกที่น่าจะเรียกได้ว่าความฝันรู้ตัวมาตั้งนานแล้ว ฝรั่งเรียกการฝึกนี้ซะน่ารักว่า dream yoga แปลตรงตัวว่า โยคะความฝัน หรือ สุบินโยคะ [ขอบคุณคุณมิ แห่ง สนพ.สวนเงินมีมา สำหรับคำว่า สุบินโยคะ]

    Dream Yoga

    ตามประวัติระบุว่า ศาสนาพุทธในธิเบตมีการฝึกโยคะความฝัน (dream yoga) ที่เรียกว่า Zhine มานานกว่า 1,300 ปีแล้ว คำว่า Zhine ในภาษาธิเบต หมายถึง การตั้งมั่นอยู่ในความสงบ (calm abiding)


    โยคะความฝันต้องการให้ผู้ฝึกได้เรียนรู้บทเรียนทางจิตวิญญาณที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
    • ความฝันสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความปรารถนาและความใส่ใจของเรา
    • ความฝันเป็นสิ่งไม่จีรังและไม่เที่ยงแท้ เปรียบเสมือนภาพลวงตาหรือภาพหลอน
    • การรับรู้ในชีวิตประจำวันในขณะที่เราตื่นอยู่นั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่จริงแท้เช่นเดียวกัน
    • ชีวิตทุกชีวิตที่ดำรงอยู่วันนี้และจากไปในวันพรุ่งนี้ก็เปรียบเสมือนดั่งความฝัน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    • การฝึกความฝันแบบรู้ตัวสามารถช่วยให้ผู้ฝึกตระหนักถึงสิ่งต่างๆ ทั้งมวล ความสมดุลอย่างสมบูรณ์ และความเป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่ง


    เคยมีนักปรัชญาบางคนให้เหตุผลว่าการฝันแบบรู้ตัวนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะคำว่า “ฝัน” กับ “รู้ตัว” นี่มันขัดกันเองอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ ขณะกำลังฝันก็คิดว่าฝันนั้นเป็นเรื่องจริง จะรู้ตัวว่าเป็นฝันได้ยังไง

    แต่หากคนที่เคยฝันรู้ตัวได้ยินคำพูดแบบนี้เข้า ก็คงจะหัวเราะดังๆ แล้วบอกว่าท่านนักปรัชญาคนนี้คงจะใช้แต่ตรรกะทางภาษา ไม่เคยมีประสบการณ์ตรงเป็นแน่แท้

    อย่างไรก็ดี ในทางวิทยาศาสตร์ ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นกันจะๆ แล้วว่า คนที่กำลังฝันอยู่นั้นรู้ตัวว่ากำลังฝันจริง โดยในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1970 นักปรจิตวิทยา (parapsychologist) คนหนึ่งชื่อ คีท เฮิร์น (Keith Hearne) ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครชื่อ อลัน วอร์สลีย์ (Alan Worsley) โดยใช้เครื่องโพลิซอมโนกราฟ (polysomnograph) ตรวจจับสัญญาณการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตา กล่าวคือ ได้มีการซักซ้อมกับอลัน วอร์สลีย์ ผู้ที่จะไปผจญภัยในความฝันว่า หากรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ ก็ให้ขยับลูกนัยน์ตาตามรูปแบบที่ตกลงกันเอาไว้ก่อน [INDENT]

    ต่อมา สตีเฟน ลาเบิร์จ (Stephen Laberge) ก็ได้ทำการทดลองในลักษณะเดียวกันนี้ โดยเป็นงานส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทั้งนี้ ลาเบิร์จไม่ได้รับทราบเกี่ยวกับการทดลองก่อนหน้านั้น เนื่องจากคีท เฮิร์น ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาเอาไว้

    Stephen Laberge

    น่ารู้ด้วยว่า ดร. สตีเฟน ลาเบิร์จ คงจะหลงใหลในความฝันรู้ตัวนี้มาก เพราะนอกจากจะพัฒนาเทคนิคที่ช่วยให้สามารถฝันรู้ตัวแล้ว ยังได้ศึกษาเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงขนาดเขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม และตั้ง The Lucidity Institute ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

         
          หนังสือ Lucid Dreaming ของ ดร. สตีเฟน ลาเบิร์จ


    เนื้อหาของความฝันรู้ตัวส่วนใหญ่เกี่ยวกับอะไร?
    จากการศึกษาพบว่า คนที่ฝันรู้ตัวมักจะชอบฝันว่าบินได้อิสระดั่งใจนึก นี่คงเป็นความต้องการที่ฝังอยู่ลึกๆ ในใจของคนเรานั่นเอง ส่วนเนื้อหาความฝันที่พบบ่อยไม่แพ้กันก็คือเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ หรือ เซ็กซ์ นั่นเอง

    รู้อย่างนี้แล้ว ก็คงจะไม่แปลกใจแล้วว่า ทำไมฝรั่งถึงได้มีการจัดคอร์สเพื่อฝึกการฝันรู้ตัวกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ออกหนังสือ ผลิตอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ มาเยอะแยะ เพราะผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ความฝันรู้ตัวเรท R หรือ เรท X นี่ ไม่มีพิษมีภัย ยิ่งถ้าฝึกจนควบคุมความฝันได้แล้วละก็จะยิ่งหนุกใหญ่ จะทำอะไรตามอำเภอใจก็ได้ (ว่าเข้าไปนั่น)

    เรื่องนี้เคยมีกรณีศึกษาหนุกๆ เล่าว่า พ่อหนุ่มคนหนึ่งฝันว่าโดนสิงโตไล่ล่า เมื่อจนตรอกก็รู้สึกตัวว่านี่มันฝัน ไม่ใช่เรื่องจริงนี่หว่า จึงตะโกนท้าทายสิงโตตัวนั้นว่า “เข้ามาเลย!”

    ปรากฏว่าสิงโตกระโจนเข้ามาหมายจะขย้ำ แต่พอปลุกปล้ำกันไปได้แค่แป๊บเดียว เจ้าสิงโตนั่นก็พลันกลายเป็นสาวสุดเซ็กซี่แทน! (อย่างไรก็ดี แหล่งข้อมูลไม่ได้แจ้งผลของการต่อสู้ครั้งนี้เอาไว้)

    ดร. ลาเบิร์จ บอกว่า ความฝันรู้ตัวนี่ไม่ได้มีประโยชน์แค่เอาไว้หัดบิน หรือผจญภัยในแดนหฤหรรษ์เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง เช่น


    • หากคุณฝันร้ายซ้ำๆ กันบ่อยๆ วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือ เผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้คุณกลัวในความฝันน่าจะดีกว่า ซึ่งจะทำแบบนี้ได้ก็ควรฝันแบบรู้ตัว เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

    • หากคุณต้องไปพูดเป็นการเป็นงานต่อหน้าคนเยอะๆ แล้วยังไม่มั่นใจ ก็อาจซ้อมพูดในความฝันรู้ตัวก่อนได้
    • หากคุณมีปัญหาที่แก้ไม่ตก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิค หรือเรื่องทางศิลปะ ก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจคิดหาคำตอบได้ในความฝันแบบนี้
    • หากคุณต้องการมีความรู้สึกเป็นอิสระ แบบหลุดโลก ความฝันรู้ตัวอาจจะเป็นทางออก เพราะมีหลายคนที่ฝันรู้ตัวบอกว่า ประสบการณ์ที่ได้รับนั้นราวกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาตลอดไปเลยทีเดียว และความฝันรู้ตัวยังสอนด้วยว่า โลกที่เราเห็นอยู่นี้เกิดจากจิตของเราสร้างขึ้นมานั่นเอง (คล้ายๆ The Matrix อะไรทำนองนั้น)


    สำหรับ เทคนิคในการทำให้เกิดความฝันรู้ตัว ได้บันทึกไว้ตามลิงค์ที่ให้ไว้นี้แล้ว

    ผมโม้มาจนคิดว่าได้ที่แล้ว หวังว่าคงจะมีใครเกิดแรงบันดาลใจอยากจะลองฝันรู้ตัวในคืนนี้มั่ง เพื่อนๆ ชาว GotoKnow ท่านไหนเคยมีประสบการณ์สนุกๆ เกี่ยวกับความฝัน ก็ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย

    ส่วนผมเดี๋ยวขอไปงีบหลับฝันหวานสักแป๊บหนึ่ง...
    โดยเริ่มจากฝันถึงสิงโตไล่ล่าก่อนก็แล้วกันครับ  ;-)

    ขุมทรัพย์ทางปัญญา
    ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ขอแนะนำ
    http://gotoknow.org/blog/science/91443