ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 06:12:20 pm »


จิตตสังขาร... เมื่อดับไป... ก็ยังไม่ใช่พระนิพพาน
ได้แต่เข้าไปอาศัยอยู่ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ เท่านั้น

สัญญาเวยิทนิโรธนั้น ไม่ใช่พระนิพพาน...

กามภูสูตร

สังขาร ๓ และวิธีดับ
ปัญหา กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารคืออะไร และสังขารทั้ง ๓ นี้ดับไปเมื่อใด ?

พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีลมหายใจเข้าและหายใจออก
ชื่อว่ากายสังขาร...ลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
ฉะนั้น...จึงชื่อว่ากายสังขาร...

"วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร...บุคคลตรึกตรองก่อนจึงเปล่งวาจาภายหลัง
ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร...

"สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร...สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต
ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น...จึงชื่อว่าจิตตสังขาร

"ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารดับต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ..."


กามภูสูตรที่ ๒

agaligohome * sookjai.com
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 06:08:34 pm »


จิตตสังขาร (ได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบกับ
อกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ อรูปาวจรจิต ๔
หรือเรียกว่า เจตนา ๒๙ )

ที่ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะอรรถว่า เป็นสังขาร (การปรุงแต่ง) อันจิตเป็นไป หรือเพราะจิต หรือเป็นไปแต่จิต

ชื่อว่า วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ที่พระธัมมทินนาเถรีกล่าวในประโยคอาทิว่า
“ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารก็ย่อมดับ” ๓ ดังนี้

วจีสังขาร ได้แก่ วิตก วิจาร

กายสังขาร ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

จิตตสังขาร ได้แก่ สัญญา และเวทนา

   ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย
   ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
   ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร

   
บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง
   ฉะนั้น วิตกวิจาร จึงชื่อว่าวจีสังขาร
   สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
   ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 01, 2011, 10:24:14 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 07:40:09 pm »


ชนิดของจิตในพระอภิธรรม

อกุศลจิต คือ อกุศล+จิต หมายความว่า
จิตมีอกุศลปรุงแต่งอยู่ ๑๒ ชนิด

อเหตุกจิต คือ อเหตุก+จิต หมายความว่า
จิตไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ,อโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นเหตุให้เกิด ๑๘ ชนิด

กามาวจรจิต คือ กามาวจร+จิต หมายความว่า
จิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒๔ ชนิด ได้แก่ บุคคลชั้นเทพ ๖ ชั้น

รูปาวจรจิต คือ รูปาวจร+จิต หมายความว่า
จิตที่ท่องเที่ยวในรูปพรหม ๑๕ ชนิด

อรูปาวจรจิต คือ อรูปาวจร+จิต หมายความว่า
จิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปพรหม ๑๒ ชนิด

โลกุตตรจิต หมายความถึง
มรรคและผลที่เข้าไปประกอบจิตทำให้อยู่เหนือโลก (อารมณ์) รวม ๘ ชนิด
และในแต่ละชนิดเหล่านี้ ต่างก็มีปัญจมฌาน (ฌาน ๕) ประกอบอยู่ด้วย
ดังนั้น จึงเป็นจิตโดยละเอียด เท่ากับ ๘x๕ คือ ๔๐ ชนิด

เพราะฉะนั้น
ในพระอภิธรรมจึงมีจิต โดยย่อ ๘๙ ชนิด โดยละเอียด ๑๒๑ ชนิด


การที่เรียก จิต เป็น ชนิด
เรียกตามชนิดของอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่ง
แต่ในพระอภิธรรม เรียกระบุเป็น ๘๙ ดวง และ ๑๒๑ ดวง...



agaligohome * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 01:49:01 pm »


   กิจของจิตโดยย่อ

     1.ปฏิสนธิกิจ (เกิด)

     2.ภวังคกิจ (ดำรงภพชาติ)

     3. อาวัชชนกิจ (รู้ว่าอารมณ์กระทบ)

     4.ทัสสนกิจ (เห็น)

     5. สวนกิจ (ได้ยิน)

     6.ฆายนกิจ (ได้กลิ่น)

     7.สายนกิจ (ลิ้มรส)

     8.ผุสสนกิจ (สัมผัสทางกาย)

     9.สัมปฏิจฉันนกิจ (รับอารมณ์)

     10.สันตีรณกิจ (พิจารณาอารมณ์)

     11.โวฏฐัพพนกิจ (ตัดสินอารมณ์) 

     12.ชวนกิจ (แล่นไปในอารมณ์)

     13.ตทาลัมพณกิจ(รับอารมณ์ต่อจากชวนจิต)

     14.จุติกิจ (ตาย)


http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2136.msg7815;topicseen#msg7815
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ