ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 10:59:03 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ขอบคุณครับผม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 02:48:17 pm »





พัฒนาการทางความคิด
ของ พุทธศาสนามหายาน [1]


คอลัมน์ หน้าต่างความจริง
โดย ผศ. ดร. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
อาจารย์ประจำภาควิชามนุษยศาสตร
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งถึงยุคพระเจ้าอโศกมหาราชพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด
โดยแผ่ไปทั่วทั้งชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง
มีศิลาจารึกและเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นประจักษ์พยานอันสำคัญ
หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชไม่มีพระเจ้าแผ่นดินอินเดียที่ทรงทำนุบำรุงพุทธ
ศาสนาอย่างจริงจัง พุทธศาสนาจึงเสื่อมถอยมาเป็นลำดับ

มูลเหตุแห่งความเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดียได้แก่
ประการแรกเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานนานวันเข้า
ชาวพุทธอินเดียเกิดความประมาท หันเหออกจากหลัก "การพึ่งตนเอง"
ไปพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ภายนอก
จึงเป็นทีของศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เต็มไปหมด
ในที่สุดชาวพุทธก็ค่อยๆ ถูกกลืนหายไป

ประการที่สองขณะเมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น
มีพราหมณ์จำนวนมากเข้ามาบวชเรียนในพุทธศาสนา
พราหมณ์พวกหนึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงหลังจากอุปสมบทแล้ว
ก็กลายมาเป็นกำลังสำคัญของพุทธศาสนา

พราหมณ์อีกพวกหนึ่งต้องการที่จะเข้ามาศึกษาเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็ง
ของพุทธศาสนา เพื่อนำไปปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ของตนให้เข้มแข็งขึ้น
เพื่อมา "ต่อสู้ทางความคิด" กับพุทธศาสนา
ศาสนาพราหมณ์ที่ได้ผ่านการปฏิรูปแล้วได้กลายมาเป็นศาสนาฮินดูในที่สุด

เมื่อพุทธศาสนามาถึงจุดเสื่อมถอย ชาวพุทธอินเดียจำนวนหนึ่ง
ได้ใช้วิธี "หนามยอกเอาหนามบ่ง"
โดยเข้าไปศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งของศาสนาฮินดูบ้าง
เพื่อนำมาปรับปรุงพุทธศาสนาให้อยู่ในสถานะ
ที่จะสามารถ "แข่งขัน" กับศาสนาฮินดูได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านความศรัทธา
ในที่สุดพุทธศาสนาก็ได้นำเสนอ "ทฤษฎีตรีกาย" (Trikaya)



หรือกายทั้งสามของพระพุทธเจ้าออกมา ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้

1."นิรมาณกาย" (Nirmana-kaya) หรือ "กายเนื้อ"
ได้แก่ร่างกายของเจ้าชายสิทธัตถะ
หรือพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ 80 ปี
ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

2."ธรรมกาย" (Dharma-kaya) หรือ"กายธรรม"
ได้แก่ คุณสมบัติที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
หรือพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั่นเอง

("ธรรมกาย"ในที่นี้แตกต่างจากคำสอนของวัดพระธรรมกาย
ที่อ้างว่า นิพพานคืออัตตาและจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนา
คืออายตนะนิพพานที่อยู่บนฟ้าบนสวรรค์
สามารถวัดขนาดความกว้าง ยาว และสูงได้ คำว่า "ธรรมกาย"
เป็นแนวความคิดของพุทธศาสนามหายานที่เกิดขึ้นในอินเดียกว่า 2,000 ปีมาแล้ว

โดยมีความหมายแตกต่างจากวัดพระธรรมกายอย่างสิ้นเชิง)


3."สัมโภคกาย"(Sambhokha-kaya) หรือ "กายทิพย์"
ได้แก่ กายแห่งนามธรรมของพระพุทธเจ้า
ซึ่งยังดำรงอยู่ในจักรวาลนี้ต่อไปภายหลังการเสด็จดับขันธ์
โดยชาวพุทธกลุ่มใหม่อธิบายว่า
พระพุทธเจ้าเมื่อใกล้เสด็จดับขันธ์แล้วก็ยังทรงห่วงใยสรรพสัตว์ที่อยู่
เบื้องหลัง และด้วยพระมหาเมตตากรุณาที่ยิ่งใหญ่

จึงทรงตัดสินพระทัยไม่เสด็จสู่ปรินิพพาน
(สภาพที่ขาดสูญไปจากจักรวาลนี้อย่างสิ้นเชิง) แต่ยังทรงดำรงอยู่ในฐานะ
"กายทิพย์" แห่งสัมโภคกาย
คอยสดับตรับฟังทุกข์สุขของสรรพสัตว์ที่อยู่เบื้องล่าง
เมื่อมีผู้เดือดร้อนเป็นทุกข์สวดมนตร์อ้อนวอน
ก็จะทรงได้ยินและจะทรงประทานความช่วยเหลือลงมาให้



การนำเสนอทฤษฎี "ตรีกาย" ของพุทธศาสนาอย่างใหม่
ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามว่า
"พุทธศาสนามหายาน" (Mahayana Buddhism) นี้
ทำให้พระพุทธเจ้าถูกยกสถานะให้เทียบเท่ากับ "พระเจ้า" ในศาสนาฮินดู
นับเป็นการพลิกโฉมของพุทธศาสนาจากศาสนาประเภท "อเทวนิยม" (Atheism)
มาเป็นศาสนาประเภท "เทวนิยม" (Theism) เลยทีเดียว
แต่พระพุทธเจ้าในฐานะพระเจ้าก็มีอยู่เพียงพระองค์เดียว
คงจะไม่สามารถต้านทานพระเจ้าในศาสนาฮินดูที่มีมากมาย
ซึ่งมากันเป็น "กองทัพ" ได้

มหายานจึงได้พัฒนาแนวความคิดต่อไปว่า
จักรวาลเป็นอนันตกาล (infinity) ในอดีตอันเป็นอนันตกาลนั้น
เคยมีพระพุทธเจ้าเสด็จมานับครั้งไม่ถ้วน
(ยิ่งกว่าจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียอีก) โดยพระพุทธเจ้าสมณะโคดม
(หรือ "พระพุทธเจ้าศากยมุนี" ตามคำเรียกของฝ่ายมหายาน)

เป็นเพียงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเท่านั้น
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ทรงมีพระมหากรุณาที่ยิ่งใหญ่
เมื่อถึงคราวจะดับขันธ์ ก็ทรงเลือกที่จะดำรงอยู่ในจักรวาลนี้ต่อไปในฐานะ
"สัมโภคกาย" ทั้งสิ้น โดยนัยยะนี้มหายานจึงมี "พระพุทธเจ้า" จำนวนมหาศาล
(พอที่จะต่อกรกับ "กองทัพเทพเจ้า" ของศาสนาฮินดูได้)

ในบรรดาพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่อย่างมากมายนั้น
พุทธศาสนามหายานได้ให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าอมิตาภะ (Amitabha Buddha)
ที่ประทับอยู่ ณ แดนสุขาวดี (Sukhavati) สวรรค์ทางทิศตะวันตก
โดยมีสาวกเบื้องซ้ายและขวาที่ดำรงอยู่ในฐานะสัมโภคกายคือ
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) ผู้ยิ่งด้วย "เมตตา-กรุณา"
และพระโพธิสัตว์มหาสถามปราปต์ (Mahasathamaprapta) ผู้ยิ่งด้วย
"มุทิตา-อุเบกขา" เนื่องจากคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ดังกล่าว
ชาวพุทธมหายานจึงนิยมสวดมนตร์อ้อนวอนต่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
(หรือ"กวนอิม" ในภาษาจีน) มากกว่า




ขณะเดียวกันมหายานได้พัฒนาแนวคิดต่อไป
อีกว่า ในอนาคตซึ่งก็เป็นอนันตกาลเช่นกันนั้น
จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาอุบัติอีกนับจำนวนไม่ถ้วน
(มากกว่าจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียอีก)
มีความเชื่อของชาวพุทธโดยทั่วไปที่ว่า
ศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณะโคดมนั้นจะมีอายุเพียง 5,000 ปี
(ซึ่งเราก็ได้ฉลองกึ่งพุทธกาลไปแล้วในปี พ.ศ.2500)

หลังจากนั้นจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาอุบัตินามว่า
"พระพุทธเจ้าศรีอาริยเมตไตรย์" (หรือ "พระศรีอาริย์")
และถ้าหากว่าจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่มาอุบัติในอีก 2,400
กว่าปีข้างหน้าแล้วไซร้ เวลานี้พระองค์ก็จะต้องกำลังเสวยพระชาติเป็น
"พระโพธิสัตว์" อยู่ และเราก็ไม่อาจบอกได้ว่า
เวลานี้พระองค์เป็นใครหรืออยู่ที่ไหน

เมื่อเราไม่อาจระบุได้ว่าเวลานี้พระศรีอาริย์เป็นใครและอยู่ที่ไหนแล้ว
มหายานก็ได้แนะนำว่า
เราทุกคนสามารถที่จะเป็น "ผู้สมัครแข่งขันชิงชัย" (candidate) ได้
โดยแนะนำว่าเราทุกคนควรจะบำเพ็ญ "พระโพธิสัตวธรรม"
(ธรรมะของพระโพธิสัตว์)

เพื่อปรารถนาต่อพุทธภูมิในวันข้างหน้า และถ้าหากว่าเราพลาด
"ตำแหน่ง"พระศรีอาริย์แล้วไซร้ ก็ยังมี "ตำแหน่ง"
ของพระพุทธเจ้าในอนาคตให้เราได้ปรารถนาอีกมาก
ดังนั้นอุดมคติของชาวพุทธมหายานจึงเปลี่ยนจาก "พระอรหันต์" มาเป็น
"พระโพธิสัตว์" เพื่อที่จะได้ตรัสรู้เป็น "พระพุทธเจ้า" เสียเองในที่สุด





ที่มา  http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=187&ss=
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม  * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ