ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 11:08:08 pm »

 :06: ให้อภัยผมเถอะครับ บางเรื่องผมก็ปากปีจอ ไม่ได้คิดว่าจะว่าให้ใครนะ มันเป็นความรู้สึกทึ่มๆที่ออกมาแวปเดียว
ถ้าทำให้ใครผิดหวัง หรือโกรธมากมายก็ต้องขอโทษด้วยนะครับ แบบว่า ผมทึ่ม ซื่อบื้อ
ให้อภัยผมนะครับ ^^ ผมรู้ว่าอ่านอยู่ ผมคิดว่า พอได้เวลา ณ จุดนึงจะให้อภัยผม และกลับมาทำความดีร่วมกันนะครับ


..บอล..<< นายซื่อบื้อ+นายห่วยด้วย

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 10:20:16 pm »

:45: ขออภัยเช่นกันครับ ผู้ใหญ่ให้อภัยผู้น้อย ผู้น้อยไม่โกรธผู้ใหญ่เน้อ ธรรมะอวยพรครับ


อิ๋มจะไม่ให้อภัยพี่บอล
ถ้าพี่บอลไม่ซื้อ iphone ให้ 55  :12:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 01:13:18 am »

 :45: ขออภัยเช่นกันครับ ผู้ใหญ่ให้อภัยผู้น้อย ผู้น้อยไม่โกรธผู้ใหญ่เน้อ ธรรมะอวยพรครับ
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 02, 2011, 07:31:05 pm »

ขออภัย... :07:
ให้อภัย... :45:
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: มกราคม 02, 2011, 01:22:06 pm »

อภัยทานคือคำสอนของพระพุทธเจ้า


ท่าน สาธุชนทั้งหลายเมื่อเอ่ยถึงเรื่องทานคนส่วนมากมักจะเข้าใจในทำนองเดียวกัน ว่าก็คือการให้เงินให้ทองให้ข้าวของสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเท่านั้น แต่อันที่จริงทานมิได้หมายเอาเพียงเท่านี้ การให้แบบนี้ในพระพุทธศาสนาเรียกว่าอามิสทาน

ยัง มีการให้อย่างที่สองคือการให้ความรู้ความเข้าใจ การให้คำปรึกษา การแนะนำแนะแนวในเรื่องต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตเพราะว่าโดยปกติแล้วคนปกติเราที่จะเก่งไปเสียทุกเรื่องทำ ได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องอาศัยการชี้แนะให้คำปรึกษาจากคนอื่นนั้นคงจะมีน้อย เพราะโดยที่จริงแล้วคนเราจะถนัดบางอย่างหรือเก่งบางอย่างแต่บางอย่างก็ไม่ ได้เก่งไม่ถนัดเลยต้องอาศัยคนอื่นจะทำงานหรือเรื่องนั้น ๆ ให้เสร็จลงได้ การให้ความรู้นี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าธรรมทาน

อามิสทานช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขัดสนยากจนในด้านของกินของใช้ได้ ธรรมทานช่วยแก้ปัญหาได้หลายด้านยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือแก้ปัญหาเรื่องภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดได้

แต่ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสังคมมนุษย์ปัจจุบันก็คือปัญหาการทะเลาะแก่งแย่งแบ่งพรรคแบ่งพวกขาดความสามัคคีจะเอาแพ้เอาชนะกันจนอีกฝ่ายหนึ่งสูญพันธุ์ไปจากโลกจึงจะยอมเลิกราปัญหาแบบนี้ต้องใช้อภัยทานจึงจะแก้ไขได้
จะขอยกตัวอย่างเรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่มีการทะเลาะแก่งแย่งกันจนด่าทอกันและเตรียมพร้อมที่จะรบราฆ่าฟันกันในหมู่พระประยูรญาติของพระพุทธองค์ในเรื่องการแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อทำการเกษตร

พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสห้ามโดยสรุปก็คือทั้งสองฝ่ายคิดถึงเหตุผลแล้วรู้ว่าถ้า การเกิดฆ่ากันก็จะทำให้เกิดความเสียหายมากในที่สุดแล้วก็ยอมอภัยให้กันได้ เหตุการณ์ก็จบลงด้วยดีไม่มีใครต้องเดือดร้อนล้มหายตายจาก

มีทานอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ทานทั้งสองข้างต้นนั้นก็คืออภัยทานหมาย ถึงการให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคืองไม่จองเวรจองกรรมต่อใครๆบางครั้งบาง เหตุการณ์อภัยทานนี้อาจจะมีความยิ่งใหญ่และสำคัญมากกว่าทานทั้งสองเสียด้วย ซ้ำ เพราะเป็นที่มาแห่งทานทั้งสองนั้นได้

ถ้าไม่ให้ อภัยแล้วไหนเลยจะให้ข้าวของเงินทองช่วยเหลือพวกศัตรูหรือผู้ที่ตนเกลียดได้ ถ้าไม่ให้อภัยแล้วไหนเลยจะให้ความรู้ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์แก่พวกคนที่ เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับตนเองได้

แต่ที่กล่าวอย่างนี้มิใช่จะต้องการไปขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าสพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ แปลว่าการให้ธรรมคือความรู้ย่อมชนะการให้สิ่งทั้งปวง และมิใช่ว่าทานทั้งสองนั้นจะไม่มีประโยชน์







ที่จริงแล้วการให้อภัยเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปสำหรับกัลยาณชนคนดีงามทั้งหลาย แต่ การให้อภัยนั้นต้องมีเหมือนกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือถ้าฝ่ายหนึ่งให้อภัยแล้วอีกฝ่ายหนึ่งยังจ้องที่จะทำลายล้างผลาญกันอยู่ การให้อภัยมันก็เกิดไม่ได้

มีเรื่องแปลกอยู่สำหรับ มนุษย์ปุถุชนทั่วไปที่ต้องการให้คนอื่นให้อภัยแก่ตนเองไม่ต้องมาโกรธไม่ต้อง เกลียดไม่ต้องคิดทำร้ายไม่ต้องมาเบียดเบียนตนถึงแม้ตนจะไปฆ่าเขาก่อนทำร้าย ทำลายไปด่าไปว่าเขาก่อนก็ตามหรือแม้เรื่องที่ตนทำผิดต่าง ๆ ก็ตามจะมากน้อยอย่างไรก็ต้องการให้คนอื่นอภัยให้ แต่ถึงคราวที่ตนจะต้องให้อภัยคนอื่นบ้างกลับทำไม่ได้ คือจะคิดว่าตนเองถูกหมดคนอื่นผิดหมดแล้วอภัยทานจะเกิดได้อย่างไร

แต่อีกเรื่องคือเรื่องที่พระเจ้าวิทูฑภะฆ่าล้าง เผ่าเจ้าศากยะสาเหตุมาจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากเจ้าศากยะในเรื่องชาติ กำเนิดเรื่องนี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงห้ามกองทัพพระเจ้าวิทูฑภะถึงสองครั้ง สองครา แต่เมื่อถึงครั้งที่สามทรงเห็นว่ามันเป็นเรื่องของกรรมเก่าของพวกเจ้าศากยะไม่อาจจะทรงห้ามได้ จำเป็นต้องที่จะให้เป็นไปตามกรรม สุดท้ายแล้วเพราะไม่มีอภัยทานจึงเกิดการนองเลือดต้องล้มหายตายจากกันจำนวนมาก

ผู้ ที่เป็นตัวอย่างในเรื่องอภัยทานคงไม่มีใครเกินพระพุทธเจ้า แม้อดีตชาติที่ผ่านมาจะกี่ร้อยกี่พันชาติก็ตามถึงจะถูกพระเทวทัตจองเวรทำ ร้ายขนาดไหนก็ตาม แม้ในปัจจุบันที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วพระเทวทัตก็คงตามทำร้ายทำลายพระ พุทธเจ้าเหมือนเดิมจนวาระสุดท้ายพระเทวทัตก็ถูกแผ่นดินสูบ ก็ไม่ปรากฏแม้แต่นิดเดียวว่า พระพุทธเจ้าทรงผูกเวรจองเวรกับพระเทวทัต ทรงให้อภัยได้เสมอ

ถ้าจะคิดง่าย ๆ ในเรื่องอภัยทาน เราในฐานะเป็นชาวพุทธนับถือพระพุทธเจ้าศึกษาเรียนรู้ธรรมมามาก

การอภัยทานเป็นความประพฤติที่คนประเสริฐที่สุดในโลกคือพระพุทธเจ้าทรงประพฤติเป็นแบบอย่างมาแล้ว

พวกเราจะให้อภัยเพราะถือว่าได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็จะเป็นคนประเสริฐเหมือนอย่างพระองค์ท่านได้

หรือเราจะมาคิดถึงส่วนรวมที่จะต้องมาเสียหายเพราะการทะเลาะวิวาทกันของพวกเราก็พอจะให้อภัยหยุดทะเลาะกันได้

หรือไม่ก็มาคิดถึงเรื่องเวรกรรม เมื่อเราทำกรรมกับเขาสักวันหนึ่งเขาก็ต้องทำกับเราคืนบ้างซึ่งมันอาจจะ แรงกว่าที่เราทำกับเขาก็ได้ หรือต้องไปตามใช้เวรกรรมกันอย่างไมมีที่สิ้นสุด

หรือ มาคิดถึงมรณะคือความตาย ซึ่งต่างคนก็ต่างจะตายอยู่แล้วทำไมต้องมาทะเลาะกันชิงกันทำเรื่องไม่ดี ไม่ใช่การแข่งกันทำความดี ก็พอที่จะให้อภัยกันได้

ท่านสาธุชนอภัยทานเป็นเรื่องดีเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น สิ่งที่กำจัดเวรภัยได้จริง ถ้าท่านไม่อยากมีเวรมีภัยต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ท่านต้องรู้จักการให้อภัย ด้วยความคิดว่า บุญบาปมีจริง ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำกรรมได้กรรมทำเวรได้เวร





ขอกราบขอบพระคุณ พระศรีรัชมงคลบัณฑิต ผู้เขียนบทความ

อาจารย์ประจำสังกัดคณะศาสนาและปรัชญา มมร.

------------ที่นี่ดอทคอม
 :13: :13: :13: :13: