ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 06:41:39 am »




:13:    :45: :07: :45:   
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 11:42:47 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 11:04:29 pm »

จากพันธนาการสู่อิสรภาพ     
เขียนโดย วิศิษฐ์ วังวิญญู     
บทสำคัญบทหนึ่งของวอยซ์ไดอะล็อค
วิศิษฐ์ วังวิญญู

Bonding คำนี้ โจเซฟ ชิลตัน เพียซ กับ ดร.สโตนใช้ไม่เหมือนกัน แต่ก็คาบเกี่ยวกันอยู่อย่างน่าสนใจ เพียซใช้ในความหมาย model imperative คือแปลตรง ๆ ว่า ความจำเป็นแห่งต้นแบบ คือชีวิตจำต้องมีต้นแบบ การเรียนรู้ในระดับสัญชาตญาณจึงจะก่อเกิด ทารก และเด็กในเวลาต่อมาต้องอาศัยต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ระดับเซลล์ และคลื่นที่ก่อรูปเป็นสนามที่สื่อสารข้อมูล ปัญญาที่เด็กเรียนรู้ได้อย่างน่าพิศวง เช่นการพูดได้ หรือการใช้ภาษา เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร จากความไม่รู้อะไรเลย? ก็มาจากการลอกเลียนต้นแบบในระดับคลื่นควอมตัมนี้เอง

แต่เพียซก็พูดถึง enculturation หรือการครอบทางวัฒนธรรม อันเป็นที่มาของ การถดถอยทางวัฒนธรรม เพียซใช้คำว่า devolution คือวัฒนธรรมของมนุษย์นั้น แทนที่จะเสริมส่งการพัฒนาการการเรียนรู้และวิวัฒนาการ กลับทำสิ่งตรงกันข้ามนั่นคือ ทำให้การพัฒนาการนี้หยุดชะงัก และถดถอย ด้วยการเลี้ยงลูกที่ผิด ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยความกลัว

ดร. สโตนก็พูดเรื่องเดียวกันนี้ ดร. สโตนกล่าวถึง รูปแบบความสัมพันธ์แบบพันธนาการ คือความสัมพันธ์แบบกลไกอัตโนมัติ ที่มนุษย์ไม่มีตัวเลือกอย่างเสรี หากถูกพันธนาการไว้ในขอบเขตหนึ่ง ๆ ของตัวตนหนึ่ง ๆ ที่เกิดการโหมดปกป้อง เกิดจากการปกป้องความเปราะบางเป็นปฐม และในที่สุด ตัวตนเหล่านี้ วงจรสมองหลัก ๆ เหล่านี้ ที่ก่อเกิดเป็นบุคลิกภาพหลัก ๆ ในตัวเรา ก็กลายมาเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่แช่แข็งไม่แปรเปลี่ยน เป็นพันธนาการ ผูกมัด กักขังเราไว้ในวิวัฒนาการอันถดถอย ดร. สโตนก็ได้กล่าวเช่นกัน ถึงสาเหตุว่า มันมาจากวัฒนธรรมสังคม และความเป็นไปในครอบครัวแต่ละครอบครัว


เพียซกล่าวถึงภาพคลาสสิกที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการเลี้ยงลูก คือ ภาพที่แม่เอาแจกันคริสตัลสวยงามมาตั้งไว้ที่ห้องรับแขก เด็กน้อยอายุสองขวบเห็น อะไรเกิดขึ้น เด็กน้อยมีสัญชาตญาณแห่งการเรียนรู้ในช่วงนี้ เขาจะต้องหยิบจับ ชิม ดม ทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตของเขา แต่เช่นเดียวกับลูกสิงโต มันจะหันมามองแม่ เพื่อขออนุญาต คือมันมีการ bonding หรือ การมีพันธะกับแม่อยู่ ก็คือ เพื่อมีพื้นที่การเรียนรู้ที่ปลอดภัย ลูกสิงโตมันจะหันกลับมามองแม่เสมอเมื่อเจอะเจอสิ่งใหม่ ๆ คล้ายถามว่า ปลอดภัยหรือเปล่า หากไม่ได้รับสัญญาณลบ มันก็จะเข้าไปเล่น เขาไปฟัดเหวียงกับสิ่งใหม่ที่เข้ามาในชีวิตของมันได้ เด็กน้อยก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่า เขาอยู่ใกล้แจกันคริสตัลนั้นเข้าไปมากแล้ว และโมเมนตัม หรือแรงส่งที่เขาเดินไป ได้นำพาเขาจะไปถึงแจกันอยู่แล้ว และแล้วแม่ก็นึกออก และร้อง “อย่า!” ออกมาสุดเสียง แต่มันก็ช้าไป เพราะแม้หน้าจะหันมาทางแม่ แต่เด็กก็ถลำไปคว้าแจกันแล้ว และมันก็ตกลงมาบนพื้นแตกกระจาย สิ่งที่ตามสำหรับแม่หลายคน อาจจะเป็นการตีด้วยอารมณ์ที่ระเบิดใส่ หรือแม้แต่การระเบิดออกของคำพูดและอารมณ์ที่เลวร้าย ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิดวิวัฒนาการถดถอยในตัวเด็ก

ที่จริงในทางปฏิบัติเรื่องนี้ก็หลีกเลี่ยงได้ง่าย ๆ เช่น ในเวลาที่เรามีลูกเล็กเช่นนี้ เราก็อาจจะจัดบ้านเสียใหม่ ให้เหมาะสำหรับการเรียนรู้สำรวจตรวจตราของเด็ก ๆ เราก็จะไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้น แต่วัฒนธรรมสังคมก็เป็นเช่นนี้เอง บางทีเราก็เรียกมันว่า วัฒนธรรมจอมปลอม เพราะมันมีขึ้นเพื่อโอ้อวด มากกว่าจะเป็นคุณงามความดีที่จะงอกเงยมาจากภายในจิตใจ

พันธนาการในวอยซ์ไดอะล็อค

เมื่อพันธะ ไม่เพียงเป็นอะไรที่เชื่อมร้อย เชื่อมโยง และก่อเงื่อนไขอันจำเป็น ที่ลูกน้อยจะเรียนรู้จากแม่ หรือใครก็ตามที่ดูแลเขาหรือเธออย่างใกล้ชิด แต่หากเป็นอะไรที่มาจากข้อจำกัดภายในของตัวแม่ หรือคนใกล้ชิดนั้นด้วย คือมาจากพันธะที่ผูกมัด พันธะที่ขาดอิสรภาพ พันธะในรูปแบบพฤติกรรมอันตายตัว แข็งกระด้างปราศจากชีวิต มันก็ได้กลายเป็นพันธนาการไป

หากเรามีความรู้พื้นต้นในวอยซ์ไดอะล็อคแล้ว เราจะรู้ว่า ภายในจิตของเรา มีตัวตนต่าง ๆ หลากหลาย ตัวตนต่าง ๆ ที่ถือครองจิตใจเราอยู่เป็นส่วนใหญ่หรือเกือบจะเรียกได้ว่า ผูกขาด คือตัวตนปฐมภูมิ หรือ primary selves เมื่อตัวตนปฐมภูมิเหล่านี้ ยึดครองเรา เราก็จะถูกผูกมัดและขาดอิสระ และในขณะที่ตัวตนแต่ละตัว มีคู่ตรงกันข้ามของมันอยู่ เมื่อเราถูกผูกขาด เราจึงไม่อาจนำตัวตนที่อยู่ตรงกันข้ามออกมาใช้งาน เราจึงถูกกักขังอยู่ในบุคลิกภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามบุคลิกภาพของตัวตนต่าง ๆ ที่ผูกขาดเราอยู่ อย่างเอนเอียงกระเท่เล่ห์

อีกด้านหนึ่งขององค์ความรู้ที่เราใช้อยู่ในกิจกรรมการเรียนรู้ ก็คือเรื่องของโหมดชีวิต ที่เรานำองค์ความรู้มาจากนักชีวะฟิสิกส์ชื่อ ดร. บรูซ ลิปตัน เราได้เรียนรู้ว่า ชีวิตมีเพียงสองโหมด คือ โหมดปกติ และโหมดปกป้อง ในโหมดปกตินั้น ชีวิตจะเรียนรู้ และก่อสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมแก่การวิวัฒนา แต่ในโหมดปกป้องกลับเป็นตรงกันข้าม คือ ชีวิตจะหยุดชะงักกิจกรรมปกติของชีวิตทุกอย่าง รวมทั้งที่สำคัญที่สุด ก็คือการเรียนรู้และวิวัฒนา

เมื่อเชื่อมโยงกับเพียซเราจะเห็นได้ว่า enculturation คือครอบทางวัฒนธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ว่า พื้นฐานสำคัญของครอบทางวัฒนธรรมนี้ มาจากความกลัวนั้นเอง เมื่อกลัว เมื่ออมิกดาลา อันเป็นที่ตั้งของร่องอารมณ์ลบทั้งหลาย ร่องอารมณ์แห่งโหมดปกป้องทั้งหลายทำงาน อมิกดาลา ก็จะล็อควงจรการทำงานของสมองให้ทำงานเพียงเสี้ยวเล็ก ๆ เสียวเดียว เพื่อความรวดเร็ว เพื่อการอยู่รอด โดยไม่ใช่ปัญญาเต็มพิกัด มันเกิดสามเหลี่ยมของวงจรการใช้สมอง เพียซกล่าวไว้ว่า ณ เวลานี้ สามเหลี่ยมก็คือ สมองชั้นต้น บวก อมิกดาลา บวก สมองซีกซ้าย หากแต่ว่า ทั้งหมดนี้ บ่าว คือสมองชั้นต้นจะกลายมาเป็นนาย เราเอาความอยู่รอดมาอยู่เหนือปัญญาที่ยิ่งกว่า




สมองส่วนหน้ากับอมิกดาลา
ปัญญาหรือโหมดปกป้อง

มีงานวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเช่น เดวิด เดวิดสัน จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้วิจัยว่า เมื่ออมิกดาลาทำงานอย่างแข็งขัน สมองส่วนหน้า ก็จะไม่ทำงาน และในทางกลับกัน เมื่อสมองส่วนหน้าทำงาน อมิกดาลาก็จะเพลาการทำงานของมันลง สมองส่วนหน้า เป็นเหมือนผู้กำกับวงออเครสตร้า เมื่อมันทำงานก็แสดงว่า มันกำลังประสานให้สมองทั้งก้อนทำงานร่วมกัน หรืออีกอย่างหนึ่ง สมองส่วนหน้านี้เป็นปัญญาแบบไตร่ตรองใคร่ครวญ หรือ reflection อันเป็นปัญญาที่มีวิวัฒนาการล่าสุด หรือสุดยอดในทางปัญญานั้นเอง เราจะเรียนรู้และวิวัฒนาได้ ก็ต้องอาศัยสมองส่วนนี้เป็นผู้นำนั้นเอง ผมได้เขียนเรื่องการซักซ้อมในจินตนาการไว้ในบทความที่ลงมติชนต่างหากออกไปแล้วด้วย โดยอาจจะหาอ่านได้ในเว็บของเสมสิกขาลัย

ตัวตนปฐมภูมิที่ขาดอแวร์ อีโก

จุดมุ่งหมายของวอยซ์ไดอะล็อค ก็คือการพัฒนาอแวร์ อีโก หรือตัวตนที่ตื่นรู้ขึ้นมา เพื่อจะเก็บไพ่ที่ทิ้งไป หรือ นำเอาพลังงานบริสุทธิ์ของตัวตน ที่อยู่อีกด้านตรงกันข้ามกับตัวตนปฐมภูมิมาเป็นตัวเลือกได้ด้วย มิใช่ถูกจองจำอยู่แต่ในตัวตนปฐมภูมิอย่างเดียว

เมื่อตัวเรา (ในวอยซ์ไดอะล็อคจะหมายถึงตัวเราทั้งหมด ประกอบด้วยตัวตนต่าง ๆ ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงเสี้ยวเดียว) ถูกครองด้วยตัวตนปฐมภูมิอย่างผูกขาดมานาน ชีวิตของเราจะจำเจ เราจะดำรงอยู่ในความเป็นอัตโนมัติ และเฉื่อยชาในแง่มุมของการเรียนรู้จักตนเอง รู้จักโลกภายในของตัวเอง ความเป็นอัตโนมัตินี้ ยังหมายถึง ความเป็นอัตโนมัติที่จะตกลงไปอยู่ในโหมดปกป้อง หากเราไม่ตั้งใจ ตั้งจิต คิดเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตัวตนปฐมภูมิเหล่านี้ก็จะครอบครองเราอยู่อย่างถาวร ไม่คิดจะไปไหน และเราก็จะคิดว่า นี่แหละคือตัวเรา โดยไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลืออยู่อีกเลย

สมองส่วนหน้ากับอแวร์ อีโก หรือระดับความรู้เท่าทัน

เรื่องราวของสมองต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการเรียนรู้และวิวัฒนาการ นอกจากผมจะได้เรียนรู้จากหนังสือของเพียซหลายเล่มแล้ว หนังสือของโจ ดีสเปนซ่า คือ Evolve Your Brain ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องราวที่กล่าวถึงบทบาทและศักยภาพของสมองส่วนหน้า

วิวัฒนาการก็เล่นตลกอย่างนี้ มันได้ให้ฮาร์ดแวร์มาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ให้มาอย่างสำเร็จรูป มนุษย์แต่ละคนจะต้องนำฮาร์ดแวร์เหล่านี้ มาประสานเชื่อมโยงและใช้งานให้เต็มพิกัด เต็มประสิทธิภาพด้วยตัวของตัวเอง ลองสังเกตดูนะครับ ผมว่า รอยเชื่อมต่อระหว่างวิวัฒนาการเหล่านี้กระมัง หากไม่เชื่อมโยงให้แนบเนียน ให้บรรสานสอดคล้อง มันก็จะปีนเกลียว และไม่เป็นไปอย่างที่เราหวังเอาไว้ มันก็อาจจะกลับย้อนศรเป็นวิวัฒนาการถดถอยได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น พันธะ หรือ bonding อาจจะดำเนินไปได้ทั้งแนววิวัฒนาและแนวถดถอย อะไรเอ่ยที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความแตกต่างอันนี้ อะไรจะเข้ามาเป็นตัวเล่นที่สำคัญในสนามกรีฑาแห่งพันธะนี้?

ผมคิดถึงพันธะ ที่เข้าใจ พันธะที่ใช้ปัญญาแห่งสมองส่วนหน้า อันเป็นปัญญาแห่งการใคร่ครวญ เป็นโยนิโสมนสิการ เป็นคลื่นสมองแบบจิตตื่นรู้ อันนี้ ผมพูดถึงงานวิจัยของคณะของแอนนา ไวส์ ที่เธอเองก็ได้เขียนเรื่องคลื่นสมองออกมาหลายเล่ม ผมกำลังพูดถึงรอยเชื่อมต่อระหว่างศาสนธรรมกับวิทยาศาสตร์ สมาธิกับคลื่นสมอง ผมกำลังพูดถึงการนำพาจิตให้ไปอยู่ในสภาวะตื่นรู้ คือไม่ได้เป็นเพียงโหมดปกติธรรมดา หากเป็นโหมดปกติพิเศษ ตื่นรู้พิเศษ คือเป็นโหมดปกติที่อยู่ในสภาวะของจิตตื่นรู้(ที่วัดเป็นแบบแผนของคลืนสมองได้ด้วย)

ทำอย่างไรเราจึงจะดำรงตน ให้อยู่ในสภาวะจิตแบบตื่นรู้ได้ เป็นส่วนใหญ่หรือตลอดเวลา และนี่ก็คือเงื่อนไขเบื้องต้น ที่จะทำให้เราหลุดออกจากพันธนาการแห่งตัวตนปฐมภูมิทั้งหลาย

ตื่นรู้ในตัวตนต่าง ๆ และการหลุดออกจากพันธนาการ

ความสัมพันธเชิงพันธะที่กลายมาเป็นกรงขังหรือพันธนาการเหล่านี้ ได้ครอบครองความสัมพันธ์ของคนส่วนใหญ่ ในระหว่างคู่รัก มันทำให้ความรักจืดชืด ทำให้เราไม่เป็นต้วของตัวเอง และในขณะเดียวกัน การยอมกันไปยอมกันมา ก็ไม่ได้ทำให้ความรักหวานชื่นแต่อย่างใด ในระหว่างพ่อแม่ลูก มันทำให้ความรักกลายเป็นกลไกอ้ตโนมัติของความไม่เข้าใจ ในทีมงาน มันคือการพูดคุยกันไม่รู้เรื่องและความเบื่อหน่าย

เป้าหมายที่ดร. สโตนระบุไว้ ก็คือการหลุดออกจากความสัมพันธเชิงพันธนาการเหล่านี้ ได้ด้วยการพัฒนาระดับความรู้เท่าทัน พัฒนาอแวร์ อีโก เมื่อนั้น เราก็จะเป็นอิสระ เราก็จะมีต้วเลือกมากกว่าเดิม เราจะเปิดโลกกว้างออก ขอบฟ้าจะกว้างยิ่งขึ้น เมื่อเราเป็นตัวตนต่าง ๆ ได้มากมายอย่างอเนกอนันต์ ไม่จำกัดแคบอยู่ในตัวตนเหมือนเดิมไม่กี่ตัวอีกต่อไป ที่จริงนี่อาจจะเป็นบทเกริ่นนำของเรื่องยาวที่อาจมีต่อไปได้อีก เพื่อเป็นหนทางที่สามารถปลดปล่อยมนุษย์ ไปสู่อิสระในความสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นความรักที่หวานชื่น โดยยังสามารถดำรงความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้
 
http://www.wongnamcha.com/index.php?option=com_content&task=view&id=169&Itemid=88888926