ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 12:41:19 am »

 :06: แบบถ้าเราโกรธ เราก็ต้องระบายครับ ถ้าเก็บไว้มากก็ระเบิดได้
ทางแก้ก็คือทำบุญเยอะๆครับ แล้วก็ให้อภัยกันก็เรียบร้อย คนเรานะ ก็มีผิดพลาดกันได้ รัก โลภ โกรธ หลง บ้า เพี้ยน
แสงธรรมจะนำทางครับ เวลาเราอยู่ใกล้ๆกัลยาณมิตรและผู้มีธรรม ก็จะง่ายขึ้น
ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 07:30:10 pm »

 :45: :45:
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 06:06:28 pm »

โกรธได้แต่.....ไหวตัวทัน?
โดย ปลีกวิเวก เมื่อ วันนี้, 15:09

สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ สมาชิก
พอดีอ่านแล้วง่ายต่อการทำความเข้าใจเลยเก็บมาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ

โกรธได้...แต่ต้องไหวตัวทัน


บทความดีๆจากเวบแสงดาวส่องทางครับ
________________________________________


ตั้งแต่เริ่มเขียนบล็อกบอกเล่าเรื่องวิปัสสนามาสองสามปี

กลุ่มผู้อ่านที่มีคำถามมาถึงผมบ่อยที่สุดกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มคนที่โทสะแรง

กลุ่มนี้มักจะพบปัญหาว่า เวลาที่โกรธใคร แม้จะรู้สึกถึงแรงดันที่หน้าอก

หรือรู้ตัวว่ากำลังโกรธใครอยู่ แต่มันไม่ดับทันที เลยสงสัยว่าทำอะไรผิดหรือเปล่า

หลายท่านเล่าว่าพอรู้ทันว่าโกรธปุ๊ป ก็รีบหายใจเข้ายาวๆลึกๆ ก็รู้สึกดีขึ้นแต่ไม่หาย

และก็รู้สึกว่าได้เอาความโกรธนั้นไปสะสมเอาไว้ข้างในไม่ใช่สักแค่รู้แล้วหายไป

อันนี้เล่าให้ฟัง เผื่อบางท่านที่เริ่มหัดภาวนาแล้วเป็นคนขี้โมโห โทสะแรง

ขั้นแรก ขอแนะนำให้ตั้งเป้าหมายในการภาวนาให้ถูกก่อน ว่าจะทำเพื่อประโยชน์อะไร

ถ้าจะเอาชนะความโกรธ ก็ต้องเจริญสมถะ เช่นเอาความคิดดีๆ มาปลอบตัวเอง

หรือรีบเอาสติมารู้ลมหายใจ มาภาวนาพุทโธ นับหนึ่งถึงสิบ ตั้งสติเอาน้ำเย็นเข้าลูบ

หรือเอาเจตนาจะรักษาศีล มาเป็นตัวช่วย ไม่ให้มันเกินเลย

ถามว่าผิดไหม ไม่ผิดครับ ดีไหม ดีครับ แต่ถูกและดีในแบบของสมถะนะ

เพราะสำหรับนักเรียนวิปัสสนา เราไม่ได้ภาวนาเพื่อเอาชนะ

แต่ภาวนาเพื่อเรียนรู้จากความโกรธนั่นแหละ

ที่บอกกันว่าให้คอยรู้สึกตัว เช่นความโกรธผุดขึ้นในใจ ก็ให้รู้นั้น

เราไม่ได้ต้องการอะไร นอกจากคอยมีสติรู้ทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น

ไม่ได้ต้องการให้เป็นคนดี ๒๔ ชม. นะครับ

ร้ายก็ได้ แต่แน่นอนว่าต้องไม่ชั่ว

ไม่ได้ต้องการเห็นแต่ความสุขนะครับ

ทุกข์ก็ได้ แค่อย่าไปช่วยมันคลุกเคล้าอยู่ในทุกข์ แต่แค่รู้ว่าทุกข์อยู่

ไม่ได้ต้องการให้มันสงบ มันจะฟุ้งซ่านก็ได้

แต่ไม่ไปช่วยมันคิดปรุงความฟุ้งต่อ แค่รู้ทันว่าจิตมันฟุ้งอยู่

ที่บอกว่าไม่ได้รู้สึกตัวเพื่อ ให้สุข ให้สงบ ให้ดี แบบจุดมุ่งหมายของสมถะ

เพราะปลายทางของวิปัสสนานั้น เราต้องการทำลายความยึดมั่นในกาย ในจิต

ต้องการทำลายความเห็นผิดว่า กายนี้ ใจนี้ เป็นของเรา เป็นของดี ของวิเศษ

โดยเหตุที่เรายังมีทุกข์กันอยู่ก็เนื่องจากยังเห็นผิดว่า

กายนี้ ใจนี้ เป็นของเที่ยงแท้ เป็นสุขและบังคับได้

พอมันไม่เที่ยงแท้ไม่คงทน มันเปลี่ยนแปลง เพราะมีทุกข์มาบีบเค้น

แล้วเราบังคับไม่ได้ เราก็ไม่ชอบใจ แล้วก็ดิ้นรน แล้วก็ทุกข์

หลักการของวิปัสสนา เราจึงต้องการเรียนรู้จักตัวเอง

เพื่อพิสูจน์สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านว่า กายนี้ ใจนี้

มันเป็นของไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันบังคับไม่ได้หรอกนะ

จิตมันโกรธ มันก็โกรธเอง เพราะมีเหตุ ไม่ใช่เพราะเราไปสั่งให้มันโกรธ

เวลามันจะดับ มันก็ดับเอง เพราะเหตุแห่งความโกรธมันดับ ไม่ใช่เพราะเราสั่งมันได้

แต่ส่วนมากที่ไปรู้ทันความโกรธ มักจะพลาดตรงที่ไม่ได้คอยรู้ต่อไปอีก

เช่น โกรธแล้วไม่ชอบความโกรธ เห็นแรงดันขึ้นมาที่กลางอกก็จริง

แต่ส่วนที่จิตมันรังเกียจความโกรธ อยากหาย อยากเป็นคนดี อันนี้มักจะไม่เห็น

ฉะนั้น คนที่ทุกข์เพราะโกรธไปเรียบร้อยแล้ว

โอกาสจะรู้สึกตัวแล้วความโกรธดับจึงน้อยครับ

เพราะจะมีโทสะ ความไม่ชอบจิตที่โกรธไปแล้ว

หรือความอยาก เกิดตามมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ

แต่ที่บอกว่า เวลาสติตัวจริงเกิดแล้วความโกรธดับ

เพราะสติตัวจริงมันทำงานอัตโนมัติ ว่องไวมาก

พอกระบวนการของความโกรธเริ่มจะก่อตัว

สติมันทำงานปุ๊บ เชื้อของโทสะไม่มี

ความโกรธที่ทำท่าจะลุกฮือ จึงดับลง

เพราะไม่มีเชื้อของโทสะ คือความหลง(คิด)มาให้มันจุดติด

ครั้งหน้า ถ้าโกรธอีก ลองสังเกตลงไปอีกนะครับว่า

ตอนที่จิตเห็นจิตมันโกรธ แล้วมันมีปฏิกิริยาอย่างไร

มันชอบ หรือไม่ชอบ มันสบายหรืออึดอัด มันสุขหรือมันทุกข์ รู้ลงไปนะ

จะบอกเคล็ดลับให้ว่า เวลาเราโกรธ เราโกรธทีละแว๊บนะ

ที่เราเห็นมันยืนยาวอยู่ เพราะเหตุของความโกรธมันยังมีอยู่

สังเกตดูก็ได้ว่าความโกรธ มันจะมาเป็นระลอกๆ เหมือนคลื่น

เหมือนเวลาไฟไหม้มันก็ไม่ได้ไหม้พรึ่บทีเดียวทั้งตึก

มันค่อยๆลามไปไหม้ของทีละชิ้นสองชิ้น ทีละตารางนิ้วๆ ทีละห้อง ทีละชั้น

ฉะนั้น ไอ้ที่มันโกรธ มันไหม้ไปแล้วช่วยไม่ได้

อย่ามัวแต่ไปเสียดายอดีต อย่ารังเกียจมัน อย่าคิดมาก

ให้อยู่กับปัจจุบัน รู้ทันความคิด รู้ทันความรู้สึก รู้ทันความอยาก

ยิ่งอยากหายโกรธ จะยิ่งไม่หาย

แต่ถ้าหมดอยากเพราะรู้ทันว่าอยากนั่นแหละจะหาย

ฟังดูแล้วอาจจะงงๆสักนิด แต่ก็อีกเหมือนกันนะ

งง ก็แค่รู้ว่างง แล้ววันนึงจะเข้าใจเอง

อ่อ.. ครูบาอาจารย์ท่านสอนมาว่า ให้รู้ทันความโกรธ ด้วยใจที่เป็นกลาง

เพราะความโกรธ ก็สอนธรรมะเราเท่าๆกับ กุศล ตัวอื่นๆ

สิ่งที่น่ากลัว ไม่ใช่ความโกรธ แต่คือการไหลไปกับความโกรธ คือขาดสติไป

กับการไปกดข่มเพ่งบังคับไว้ เพราะกลัวจะไม่ดี แล้วก็ไม่เกิดสติ ไม่เดินปัญญา

ตรงกันข้าม ผู้ภาวนาขี้โมโหที่คอยเห็นปรากฏการณ์โทสะได้ถูกหลัก

คือรู้ทันความรู้สึกที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน อย่างเป็นกลาง

กลับจะได้ประโยชน์มากมายจากความขี้โมโหของตัวเอง

รู้เคล็ดลับแบบนี้แล้ว หวังว่าคุณผู้อ่านขี้โมโหทั้งหลาย

จะภาวนาอย่างสบายใจขึ้นครับ

วิปัสสนาฝึกได้ ง่ายนิดเดียว จริงๆนะครับ
ที่มา http://www.dlitemag.com/index.php?optio ... &Itemid=59ทุกการยึดมั่นถึอมั่น มีค่าเป็นความทุกข์เสมอ
ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=36124