ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 10:04:11 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 11:07:10 am »

                 
                             ภาพประกอบจาก nipic.com

นิทานเซน : อิทธิพลของลิ้น
《舌之因果》
       
       ลิ้นเป็นอวัยวะเล็กๆ ในร่างกายของคนเราที่สำคัญยิ่ง ลิ้น(การพูด)สามารถนำความสุขมาให้ผู้พูด ในทางกลับกัน ลิ้น(การพูด)ก็สามารถทำเรื่องเดือดร้อนให้ผู้พูดได้เช่นกัน
       
       ในอดีตมีพระเซนรูปหนึ่ง เขามีศิษย์เกียจคร้านเอาแต่นอนหลับทั้งวัน วันหนึ่งศิษย์ผู้นี้นอนจนสายก็ยังไม่ตื่น ทำให้พระเซนไม่พอใจ จึงต่อว่าลูกศิษย์ว่า "เวลาสายขนาดนี้ ตะวันส่องจนแม้แต่ฝูงเต่ายังพากันคลานออกนอกบึงบัวมารับแสงแดดกันหมดแล้ว เหตุใดตัวเจ้ากลับมัวแต่นอนอยู่ได้"
       
       เวลาเดียวกันนั้นเอง บริเวณใกล้เคียงมีคนผู้หนึ่งที่กำลังต้องการจับเต่าไปแกงเป็นยาให้มารดาซึ่งกำลังป่วยรับประทาน เมื่อได้ฟังพระเซนบอกว่ามีเต่าออกมาจากบึง จึงได้รีบไปจับเต่ามาเชือดจากนั้นนำเนื้อมาปรุงเป็นแกงเต่า ทั้งยังแบ่งแกงเต่ามาให้พระเซนเพื่อแสดงความขอบคุณที่ชี้ทางให้อีกด้วย
       
       ฝ่ายพระเซน เมื่อทราบว่าการพูดจาโดยไม่ได้ตั้งใจของตนเอง เป็นต้นเหตุแห่งการตายของบรรดาเต่าก็เกิดความรู้สึกผิดอย่างยิ่ง เพราะหากตนไม่เอ่ยปากพูดไปเช่นนั้นเต่าก็คงไม่โดนพบเห็น พระเซนจึงได้ให้คำมั่นกับตัวเองว่าต่อไปจะไม่เอ่ยปากพูดจาอีกเลยตลอดชีวิตเพื่อเป็นการชดใช้บาปที่ทำไว้ ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้ขึ้นอีกในภายภาคหน้า
       
       เวลาผ่านไปไม่นาน ขณะที่พระเซนนั่งอยู่บริเวณหน้าวัด เขาพลันพบว่ามีชายตาบอดผู้หนึ่งกำลังเดินหลงทิศ มุ่งหน้าลงไปยังบึงบัวนั้น แต่จนใจที่พระเซนให้สัญญากับตัวเองเอาไว้ว่าจะไม่เปิดปากพูด จึงไม่สามารถร้องเตือนชายตาบอดได้ แต่หากไม่เอ่ยปากตักเตือน ชายตาบอดคงต้องตกลงไปในบึงบัวเป็นแน่
       
       พระเซนเอาแต่ลังเลว่าจะทำเช่นไรดี ปล่อยเวลาผ่านไป ในที่สุดชายตาบอดก็เดินตกลงไปในบึงบัว จมน้ำหายไปต่อหน้าต่อตา
       
       เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระเซนโศกเศร้าเสียใจหาที่เปรียบมิได้ และตระหนักได้ว่าการไม่ยอมพูดจาของตนในครั้งนี้ กลับกลายเป็นการทำร้ายทำลายชีวิตผู้คนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเสียดาย ความผิดสองครั้งที่ผ่านมาของตนคือการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด แต่กลับไม่พูดในเวลาที่ควรพูด
       
       ปัญญาเซน : มนุษย์จำเป็นที่จะต้องใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิตอยู่บนโลก แม้แต่การพูดจาก็ต้องใช้ปัญญา นั่นคือพูดสิ่งที่ควรในเวลาที่เหมาะ นอกจากนี้ต้องพึงระลึกว่า ในการดำรงชีวิตของคนเรา ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่การให้อภัยต่างหากที่เป็นสิ่งเหนือธรรมดา คนเราไม่เพียงต้องรู้จักให้อภัยผู้อื่น ทั้งยังต้องเรียนรู้ที่จะให้อภัยตนเอง

       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》,
慕云居 เรียบเรียง,
สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 มกราคม 2554 05:33 น.
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ