อาการปวดเมื่อยร่างกาย โดยทั่วไปการรักษาอาการเหล่านี้นอกจากการพบแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว หลายคนก็ยังนิยมไปใช้บริการนวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด หรือผ่อนคลายร่างกายให้หายจากความเมื่อยล้าและความเครียด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่มีความต้องการใช้บริการนวดมากขึ้น ความนิยมการนวดไม่จำกัดอยู่เฉพาะแค่ชาวไทย หากแต่ขยายตัวออกไปในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ดังนั้น ธุรกิจนวดแผนไทย จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการ การประกอบธุรกิจนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจของตน เอง แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นลงมือทำ ผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจในธุรกิจนี้ให้ลึกซึ้งเสียก่อน ผู้ที่สนใจทำธุรกิจนวดแผนไทย ควรมีศักยภาพและคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้มีใจรักในการให้บริการ เพราะธุรกิจนี้เป็นธุรกิจการให้บริการ ผู้ประกอบการที่ดีควรมีใจรักในงานด้านนี้ มีความซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจาไพเราะ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีศีลธรรมและสัมมาอาชีวะ การนวดเป็นการบริการแบบตัวต่อตัว โอกาสใกล้ชิดสัมผัสร่างกายลูกค้ามีอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการอาชีพนี้จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเน้นความบริสุทธิ์ใจและศีลธรรมเป็นหลัก มีพื้นฐานความรู้ด้านการนวดแผนไทย เพื่อให้เข้าใจธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการควรผ่านการอบรมมาบ้างจากสถานที่อบรมที่มีมาตรฐานและได้รับการ ยอมรับ มีทำเลที่เหมาะสม ทำเลที่ดีของธุรกิจนี้ควรอยู่ในที่มองเห็นได้ง่าย ชัดเจน และการเดินทางสะดวก ก่อนเปิการ นวดแผนไทย นั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ > กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ โดยทั่วไปธุรกิจบริการจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าขายสินค้าอื่นร่วมด้วยต้องจดทะเบียน โดยสามารถศึกษารายละเอียดขออนุญาตได้ที่
www.ismed.or.th หรือที่
www.thairegistration.com > กรมสรรพากร เพื่อดำเนินการทางภาษีการจดทะเบียน และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยศึกษาจาก
www.rd.go.th > กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ทั้ง นี้ หากเป็นการนวดเพื่อบำบัด วินิจฉัยโรค หรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ผู้ทำการนวดต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น แต่หากเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค ผู้ที่ทำการนวดไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตผู้ประกอบการโรคศิลปะ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอได้ที่กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือในต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แม้ธุรกิจการนวดจะเป็นอาชีพให้บริการ แต่ก็เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงเช่นกัน โดยมีบทลงโทษทางกฎหมายหากผู้นวดกระทำการนวดแบบการรักษาโรค แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งจะมีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และแม้จะไม่ได้นวดแต่ขึ้นป้ายโฆษณาว่าเป็นการนวดรักษาโรคโดยไม่มีใบอนุญาตก็ มีความผิด คือมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามกฎหมายผู้นวดต้องรับผิดชอบ หากเกิดอันตรายแก่ผู้ถูกนวด ดังนี้หากทำให้ผู้อื่นเกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้ถูกนวดเป็นอันตรายสาหัส ดังนี้คือ ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียความสามารถที่ม่านประสาท อวัยวะสืบพันธุ์ ใบหน้า แท้งลูก จิตพิการติดตัว ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรังตลอดชีวิต หรือไม่สามารถประกอบกิจตามปกติเกินกว่า 20 วัน ต้องโทษจำคุก 6 เดือนถึง 10 ปี หากกระทำโดยประมาท เช่น นวดแล้วเกิดอันตรายสาหัส ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากนวดผู้ป่วยแล้วทำให้เสียชีวิตถือว่ากระทำการโดยประมาท ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
เครดิต:
http://women.sanook.com