ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 12:25:08 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่สาว
ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 09:40:04 pm »

 
คำเหลวไหล...
   
   สหสฺสํ อปิ เจ วาจา
   อนตฺถปทสญฺหิตา
   เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
   ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ . . . ฯ ๑๐๐ ฯ
   
   คำพูดที่เหลวไหนไร้ประโยชน์ตั้งพันคำ
   ก็สู้คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียวไม่ได้
   เพราะฟังแล้วทำให้จิตใจสงบ
   
   Better than a thousand useless words
   Is one beneficial single word,
   Hearing which one is pacified.

   บทกวีตั้งพัน...
   
   สหสฺสํ อปิ เจ คาถา
   อนตฺถปทสญฺหิตา
   เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย
   ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ . . . ฯ ๑๐๑ ฯ
   
   บทกวีตั้งพันโศลก
   แต่ไร้ประโยชน์
   ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว
   ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
   
   Better than a thousand verses,
   Comprising useless words,
   Is one beneficial single line,
   Hearing which one is pacified.

   กวีบทเดียว..
   
   โย จ คาถาสตํ ภาเส
   อนตฺถปทสญฺหิตา
   เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย
   ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ . . . ฯ ๑๐๒ ฯ
   
   บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว
   ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
   ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจำได้ตั้งร้อยโศลก
   แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว
   
   Should one recite a hundred verses,
   Comprising useless words,
   Better is one single word of the Dharma,
   Hearing which one is pacified.

   ถึงจะรบชนะ...
   
   โย สหสฺสํ สหสฺเสน
   สงฺคาเม มานุเส ชิเน
   เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ
   ส เว สงฺคามชุตฺตโม . . . ฯ ๑๐๓ ฯ
   
   ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพัน ๆ ราย
   ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล
   แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน
   จึงเรียก "ยอดขุนพล" แท้จริง
   
   Though one should conquer in battle
   A thousand times a thousand men,
   Yet should one conquer just oneself
   One is indeed the greatest victor.

   เอาชนะตน...
   
   อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
   ยาจายํ อิตรา ปชา
   อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส
   นิจฺจํ สญฺญตจาริโน
   เนว เทโว น คนฺธพฺโพ
   น มาโร สห พฺรหฺมุนา
   ชิตํ อปชิตํ กยิรา
   ตถารูปสฺส ชนฺตุโน . . . ฯ ๑๐๔-๕* ฯ
   
   เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ
   ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา
   ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม
   ก็เอาชนะไม่ได้
   
   Better indeed is it to conquer oneself,
   Neither a god nor a Gandharva
   Neither Mara nor Brahma
   Could turn into defeat the victory of one
   Who is self-mastered and self-controlled.
   
   * โปสสฺส (โปส + สฉัฏฐีวิภัติ) ย่อมาจาก ปุริส ซึ่งยืมมาจากศัพท์
   เฉพาะในอุปนิษัทอีกที (ปุรฺษ>ปุรุษ>ปุริส>โปสฺส>โปส) คำ
   โปส นี้ มีใช้เฉพาะในภาษาร้อยกรอง ส่วนภาษาร้อยแก้วมักใช้
   ปุริส มากกว่า

   ถึงเทวดา...
   
   อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
   ยาจายํ อิตรา ปชา
   อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส
   นิจฺจํ สญฺญตจาริโน
   เนว เทโว น คนฺธพฺโพ
   น มาโร สห พฺรหฺมุนา
   ชิตํ อปชิตํ กยิรา
   ตถารูปสฺส ชนฺตุโน . . . ฯ ๑๐๔-๕* ฯ
   
   เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ
   ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา
   ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม
   ก็เอาชนะไม่ได้
   
   Better indeed is it to conquer oneself,
   Neither a god nor a Gandharva
   Neither Mara nor Brahma
   Could turn into defeat the victory of one
   Who is self-mastered and self-controlled.
   
   * โปสสฺส (โปส + สฉัฏฐีวิภัติ) ย่อมาจาก ปุริส ซึ่งยืมมาจากศัพท์
   เฉพาะในอุปนิษัทอีกที (ปุรฺษ>ปุรุษ>ปุริส>โปสฺส>โปส) คำ
   โปส นี้ มีใช้เฉพาะในภาษาร้อยกรอง ส่วนภาษาร้อยแก้วมักใช้
   ปุริส มากกว่า

   บูชาผู้ฝึก..
   
   มาเส มาเส สหสฺเสน
   โย ยเชถ สตํ สมํ
   เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ
   มุหุตฺตมปิ ปูชเย
   สาเยว ปูชนา เสยฺโย
   ยญฺเจ วสฺสตํ หุตํ . . . ฯ ๑๐๖* ฯ
   
   การบูชาท่านผู้ฝึกตน แม้เพียงหนึ่งครั้ง
   บังเกิดผลมหาศาล
   ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน
   เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี
   
   Though, month after month with a thousand,
   One should sacrifice for a hundred years,
   Yet, if, only for a moment,
   One should honour the self-restrained,
   That honour, indeed, is better
   Than a century of sacrifice.
   
   * คำว่า ปูชนา ไม่นิยมใช้ในที่อื่นนอกจากภาษาร้อยกรอง ที่ถูก
   ควรมีรูปเป็น ปูชา

   บูชาผู้ฝึก..
   
   โย จ วสฺสสตํ ชนฺตุ
   อคฺคึ ปริจเร วเน
   เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ
   มุหุตฺตมปิ ปูชเย
   สา เยว ปูชนา เสยฺโย
   ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ . . . ฯ ๑๐๗ ฯ
   
   การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว
   บังเกิดผลมหาศาล
   ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า
   เป็นเวลาตั้งร้อยปี
   
   Though one, for a century,
   Should tend the fire in the forest,
   Yet, if, only for a moment,
   He should honour the self-restrained,
   That honour, indeed, is better
   Than a century of sacrifice.

   ไม่ว่ายัญ...
   
   ยงฺกิญฺจิ ยิฏฺฐํ ว หุตํ ว โลเก
   สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข
   สพฺพมฺปิ ตํ น จตุภาคเมติ
   อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย . . . ฯ ๑๐๘ ฯ
   
   ไม่ว่ายัญชนิดไหน ที่ผู้ใคร่บุญพึงบูชาตลอดปี
   การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในสี่ของการยกมือไหว้
   ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมรรคแม้เพียงครั้งเดียว
   การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหน ๆ
   
   Whatever oblations and sacrifices
   One might offer for a year,
   Seeking merit thereby,
   All that is not worth a single quarter
   Of homage towards the upright
   Which is far more excellent.

   ผู้กราบไหว้...
   
   อภิวาทนสีลิสฺส
   นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
   จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ
   อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ . . . ฯ ๑๐๙* ฯ
   
   ผู้กราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตัวต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล
   ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ
   อายุ ชื่อเสียง สุข และกำลัง
   
   He who ever reverences and respects elders
   Four qualities for him increase:
   Long life, fame, happiness and strength.
   
   * วณฺโณ ธรรมบทฉบับคันธารี จัดพิมพ์โดยศาสตราจารย์
   จอห์น บราฟ เขียน กิตฺติ ซึ่งแปลว่าเกียรติ วณฺณ แปลได้หลาย
   นัยคือ ผิวพรรณ, อักษร, เกียรติ ข้าพเจ้าเห็นว่าความหมาย
   อย่างหลังนี้ เหมาะและมีเหตุผลดีกว่า จึงถือตามนี้ ซึ่งไม่ตรง
   กับมติที่ยึดถือกันมานานในประเทศนี้ ขอฝากไว้พิจารณาด้วย

   ผู้มีศีล...
   
   โย จ วสฺสสตํ ชีเว
   ทุสฺสีโล อสมาหิโต
   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
   สีลวนฺตสฺส ฌายิโน . . . ฯ ๑๑๐ ฯ
   
   ผู้มีศีล มีสมาธิ
   มีชีวิตอยู่วันเดียว
   ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
   ของคนทุศีล ไร้สมาธิ
   
   Though one should live a hundred years,
   Without conduct and concentration,
   Yet, better is a single day's life
   Of one who is moral and meditative.

   ผู้มีปัญญา...
   
   โย จ วสฺสสตํ ชีเว
   ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
   ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน . . . ฯ ๑๑๑ ฯ
   
   ผู้มีปัญญา มีสมาธิ
   มีชีวิตอยู่วันเดียว
   ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
   ของผู้ทรามปัญญา ไร้สมาธิ
   
   Though one should live a hundred years,
   Without wisdom and concentration,
   Yet, better is a single day's life
   Of one who is wise and meditative.

   ผู้มีวิริยะ...
   
   โย จ วสฺสสตํ ชีเว
   กุสีโต หีนวีริโย
   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
   วีริยํ อารภโต ทฬฺหํ . . . ฯ ๑๑๒ ฯ
   
   ผู้มีความเพียรมั่นคง
   มีชีวิตอยู่วันเดียว
   ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
   ของผู้เกียจคร้าน ไร้ความเพียร
   
   Though one should live a hundred years,
   Sluggish and inactive
   Yet, better is a single day's life
   Of one who is intensely exerts himself

   ผู้พิจารณา...
   
   โย วสฺสสตํ ชีเว
   อปสฺสํ อุทยพฺพยํ
   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
   ปสฺสโต อุทยพฺพยํ . . . ฯ ๑๑๓ ฯ
   
   ผู้พิจารณาเห็นความเกิด-ดับแห่งสังขาร
   มีชีวิตอยู่วันเดียว
   ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
   ของผู้ไม่พิจารณาเห็น
   
   Better is a single day's life of one
   Who discerns the rise and fall of things
   Than a hundred years' life of one
   Who is not comprehending

   ผู้พบทาง...
   
   โย จ วสฺสสตํ ชีเว
   อปสฺสํ อมตํ ปทํ
   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
   ปสฺสโต อมตํ ปทํ . . . ฯ ๑๑๔ ฯ
   
   ผู้พบทางอมตะ
   มีชีวิตอยู่วันเดียว
   ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
   ของผู้ไม่พบ
   
   Better is a single day's life of one
   Who see the Deathless
   Than a hundred years' life of one
   Who see not that state.

   ผู้เห็นธรรม...
   
   โย จ วสฺสสตํ ชีเว
   อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ
   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
   ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตมํ . . . ฯ ๑๑๕ ฯ
   
   ผู้เห็นพระธรรมอันประเสริฐ
   มีชีวิตอยู่วันเดียว
   ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
   ของผู้ไม่เห็น
   
   Better is a single day's life of one
   Who understands the truth sublime
   Than a hundred years' life of one
   Who knows not that truth, so high.
   
   http://board.srthinth.info/DhammaPhatha08.html
   http://www.tairomdham.net/index.php?action=post;board=45.0