ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 07:30:59 am »




ชอบท่านอาจารย์ระพีตั้งแต่เรื่องกล้วยไม้น่ะค่ะ
บทความธรรมะกับการดำเนินชีวิต ก็ให้แนวคิดที่ดีในมุมมองของท่าน
ขอบคุณน้องเล็กสำหรับการแบ่งปันบทความนี้นะคะ
อนุโมทนาสาธุค่ะ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 12:22:21 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 08:06:02 pm »

จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย

ระพี   สาคริก

               ช่วงที่ผ่านมา คนในสังคมไทยส่วนใหญ่มักรู้สึกเดือดร้อนกันอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในสภาพรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ไม่ว่ากลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่
นับตั้งแต่บรรยากาศภายในครอบครัวไปจนถึงกลุ่มคนทำงานร่วมกัน
โดยที่มีความร้าวฉานกันมากยิ่งขึ้น   
           
               บางกลุ่มก็มาถึงจุดแตกแยก แม้คนทำงานร่วมกันหลายคนคิดอยากลาออก
 แต่เมื่อมาหาผู้เขียน ก็ชี้ให้เห็นความจริงตามแนวราบว่า ระวังหนีเสือปะจรเข้
ทั้งนี้และทั้งนั้นโดยที่เชื่อว่า ที่โน่นดีกว่า หรือที่นั่นดีกว่าครั้นไปอยู่เข้าจริงๆ
ในที่สุดก็พบแรงกดดันเช่นเดียวกันหมด ทั้งนี้และทั้งนั้น
เนื่องจากคนมีความเห็นแก่ตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดการอิจฉาริษยากันรุนแรงยิ่งขึ้น
ที่ไหนยังมีน้อยวันหนึ่งข้างหน้าก็ย่อมมีมากขึ้นเป็นธรรมดา นอกจากนั้น
กลุ่มคนที่ขึ้นไปอยู่ด้านบนเสพติดอำนาจ   จึงถ่ายทอดกระแสอำนาจลงมาสู่ด้านล่าง
ทำให้เกิดแรงกดดันทางจิตใจ จึงระบายความเครียดออกมาใส่กัน
อีกทั้งหาทางออกโดยการแสวงหาสิ่งเสพติดทุกรูปแบบอย่างปราศจากการรู้สึกตัว
             ผู้เขียนเคยกล่าวย้ำไว้เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างควรมองเห็นได้สองด้าน
 แต่ความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่อยู่ในรากฐานจิตใจคน
ย่อมมีผลกำหนดให้คนมองเน้นความสำคัญไปยังด้านที่เป็นปลายเหตุมากกว่า
ดังนั้นการเผชิญปัญหาดังกล่าว แต่ละคนย่อมดิ้นรนโดยการระบายแรงกดดันใส่กัน
อนึ่ง หันมามองในมุมกลับ หลังจากค้นหาวิถีทางไม่พบ ย่อมเกิดความทุกข์หนักยิ่งขึ้นเป็นธรรมดา
แต่แล้วในที่สุด ธรรมชาติก็ทำให้จำต้องมุ่งไปสู่วิถีทางซึ่งตนไม่เคยนึกถึงมาก่อน
แล้วจึงรู้ว่าช่องทางนี้คือทางสว่าง    ดังที่เคยกล่าวไว้ว่า ปัญหาคือครูสอนให้เรามองเห็นธรรมะ
อันเป็นธรรมชาติซึ่งอยู่ในใจตนเอง
   อนึ่ง สัจธรรมก็ได้ชี้ถึงความจริงไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ขณะใดที่ใจรู้สึกว่ามีปัญหาหนักถึงระดับหนึ่ง
ซึ่งตัวเองอดทนจนถึงจุดสุดๆ จนกระทั่งหาทางออกไม่ได้ ทำให้จำต้องหวนกลับมาค้นหาเงื่อนไข
ที่อยู่ในใจตนเองได้  ย่อมมีโอกาสพบความจริงที่ช่วยให้ตนเรียนรู้ลึกจิตใจตัวเองซึ้งยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังมองเห็นช่องทางที่จะแก้ปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้อีกช่วงหนึ่ง

กำลังพลิกจากด้านอันควรเป็นสีขาวซึ่งหมายถึงความอิสระที่อยู่ในรากฐานจิตใจ
กลับมาเป็นสีดำที่มีสิ่งปนเปื้อนเข้าไปแฝงอยู่ในรากฐานจิตใจ ซึ่งคนแต่ก่อนรู้สึกอับอายขายหน้ามากกว่า
จึงมักไม่นำเรื่องเหล่านี้ไปคุยโอ้อวดผู้อื่น โดยที่รู้ว่าเป็นการเสียมารยาทที่ดีในสังคม
   สภาพที่กล่าวมาแล้ว ย่อมเป็นเหตุแห่งการฉ้อราษฏร์บังหลวงและการเสพติดสิ่งเสพติดทุกรูปแบบ
 ซึ่งขณะนี้แม้มีคนที่ขึ้นไปรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูงประกาศว่าจะคิดแก้ไข
แต่สภาพจิตใจซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบัน ของคนกลุ่มนั้นได้สะท้อนออกมาปรากฏให้หยั่งรู้ความจริงได้ว่า
นอกจากไม่อาจแก้ไขได้แล้ว
เนื่องจากตัวเองก็ยังเสพติดอิทธิพลที่อยู่เหนือกว่าคนอื่น จึงมีผลทำให้เกิดปัญหาหนักมากยิ่งขึ้น
 เพราะคนมองไม่เห็นความจริงซึ่งอยู่ในใจตนเอง จนกระทั่งกลายเป็นคนส่วนใหญ่
 ยิ่งเอาข้ออ้างที่ยึดติดอยู่กับคนส่วนใหญ่มาใช้เป็นเครื่องตัดสินปัญหายิ่งเพิ่มพูนแรงกดดัน
ในสังคมให้สูงยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
   คนในอดีตเคยกล่าวฝากไว้ให้ชนรุ่นหลังได้คิดค้นหาความจริงเพื่อใช้เตือนสติตัวเองว่า
จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย แต่หลายคนมักนำมากล่าวสืบต่อกันมาแบบ ปากต่อปาก
โดยที่น้อยคนนักจะสนใจนำมาคิดเพื่อค้นหาเหตุผลที่ควรจะอยู่ในใจตนเองสำหรับการนำมา
ใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
   ผู้เขียนยังจำภาษิตบทนี้ได้ดี แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายสิบปี บางคนยังนำมากล่าวในเชิงประชดอีกด้วยว่า
 ถ้ายังงั้นก็ไม่ต้องทำความดีกันเลย ผู้เขียนได้นำภาษิตบทนี้มาพิจารณาใคร่ครวญ
เพื่อค้นหาความจริงให้หยั่งรู้ได้อย่างชัดเจน
จึงมีโอกาสพบว่า หากทำใจให้เป็นกลางช่วยให้เห็นภาพรวมได้ทั้งสองด้านน่าจะรู้ได้ว่า
ภาษิตบทนี้ชี้แนะให้ตนมองด้านเดียว
 โดยเฉพาะมุ่งมองไปยังปลายเหตุมากกว่า
                หากมองได้สองด้าน อีกทั้งรู้ว่าด้านไหนคือรากฐานของอีกด้านหนึ่ง
น่าจะเข้าใจภาพที่สมบูรณ์ครบถ้วนได้ว่า
การทำความดีโดยที่อยากได้ความดีให้แก่ตัวเองย่อมเป็นผลเสียหายแก่ตนเองและสังคมอย่างแน่นอน
แต่ถ้าตั้งใจทำจากความจริงที่อยู่ในใจตนเองอย่างดีที่สุดโดยไม่คิดอยากได้ดี
หากได้รับการชื่นชมยินดีจากผู้อื่นเองอย่างเป็นธรรมชาติ
 หรือการมุ่งมั่นทำอย่างมีความสุข ตนก็ไม่น่าจะหวั่นไหวหรือเกรงภัย
จากการถูกอิจฉาริษยาหรือกลั่นแกล้งโดยใครอื่นทั้งนั้น
   หากนำภาษิตที่ว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัยมาใช้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นการชี้นำให้มองที่ปลายเหตุ
ย่อมนำไปสู่การสูญเสียคุณค่าของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวว่า เป็นคนที่ไม่กล้าทำความดี
ชีวิตย่อมถูกกำหนดให้มุ่งตามกระแสสังคมไปอย่างไร้คุณค่าและความหมาย ทำให้ตัวเองเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ
   ในโอกาสนี้จึงใคร่ขออนุญาตชี้ให้เห็นสิ่งที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งแน่นอนที่สุดย่อมรู้ความจริงได้ว่า
เราจะต้องมีความเป็นตัวของตัวเองที่เข้มแข็งอดทน หรือกล้าที่จะยืนหยัดขึ้นมาทำความดีอย่างสง่างาม
โดยไม่หวั่นไหวต่ออิทธิพลอื่นใดทั้งนั้น
   การแสดงออกของเราทุกคนที่มองเห็นได้ง่ายจากภายนอกน่าจะได้แก่ การพูด การเขียนและการปฏิบัติ
หากนำมาเรียงลำดับจากรากฐานความจริงที่อยู่ในจิตใจตนเองตามเหตุและผล ควรเข้าใจได้ว่า
การนำปฏิบัติจากใจน่า
จะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนการเขียน การพูดควรเป็นลำดับรองลงมา
อย่างที่คนแต่ก่อนได้ชี้ให้เห็นความจริงไว้ว่า
ปฏิบัติได้ผลแล้วจึงนำมาพูด มาเขียน ซึ่งกรณีนี้ย่อมกล้าพูดและเขียนสิ่งที่เป็นความจริงจากใจ หรืออีกนัยหนึ่ง
จากประสบการณ์ชีวิตจริง บุคคลผู้รับย่อมสามารถรับรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ แทนที่จะเกิดความเคลือบแคลง
สงสัยหรือหวาดระแวงว่า อาจมีสิ่งเจือปนแอบแฝงมาด้วย
   อนึ่ง ถ้ามุ่งมั่นนำปฏิบัติในสิ่งซึ่งมีเหตุมีผลเกิดจากใจตนเองอย่างชัดเจนแล้ว แม้มีผู้อื่นอิจฉาริษยาหรือว่าร้าย
ตนควรเอาชนะใจตัวเองให้มั่นคงอยู่ได้ นอกจากนั้นหากถือขันติโดยไม่โต้ตอบ อย่างที่คนแต่ก่อนเคยกล่าวฝากไว้ว่า
พูดไปสองไพเบี้ย รู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง ย่อมไม่มีการต่อความยาวสาวความยืด
ทุกสิ่งย่อมมีผลจบลงด้วยดีโดยที่อาจไม่รู้ว่า ประเด็นซึ่งขัดแย้งกันได้ถูกถ่ายทอดไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
ทำให้รับเข้าไว้อย่างเป็นธรรมชาติแล้ว
ซึ่งคนยุคนี้มักนำคำว่า มั่นใจบ้าง มั่นคงบ้าง ยั่งยืนบ้างมากล่าวย้ำ หากออกมาจากความรู้สึกที่อยู่ในใจย่อมเป็นผลดี
แต่ถ้านำมาอ้างตามกระแสยุคสมัยย่อมเกิดผลเสียตามมาในอนาคต
   สิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดคงมุ่งมาที่ศูนย์รวมจุดเดียวคือความกล้าหาญที่จะนำปฏิบัติซึ่งอยู่ในรากฐานจิตใจตนเอง
โดยที่สัจธรรมได้กล่าวไว้ว่า จงเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งนี้คือรากฐานการดำเนินชีวิตของทุกคน
ที่ปรารถนาให้ตนมุ่งไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง
   ผู้เขียนเคยเขียนบทความไว้หลายเรื่อง แต่จุดที่เป็นพื้นฐานของทุกเรื่องย่อมมีประเด็นสำคัญ
มุ่งเข้ามาหาจุดเดียวกันทั้งหมด
 เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่มีการดำเนินชีวิตแม้จะยาวนานแค่ไหน ย่อมมีความมั่นคงอยู่กับจุดนี้
เฉกเช่นรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ซึ่งจำเป็นต้องมีอยู่ในตัวเองมาตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอกหรือชีวิตที่เริ่มเกิด
หากขาดสิ่งนี้เสียแล้ว
ยิ่งเติบโตอีกทั้งมีกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ย่อมเกิดภาวะการทรงตัวได้ยาก
อีกทั้งยังจะต้องต้านกระแสลมพายุที่รุนแรงยิ่งขึ้น
   เช่นในยุคปัจจุบันหลายคนบ่นว่า สังคมกำลังเกิดปัญหารุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับ หากระบบรากฐานของแต่ละคน
ขาดความเข้มแข็งภายในจิตใจซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ขาดรากแก้วซึ่งเป็นหลักสำคัญ
แม้แต่รากฝอยซึ่งเป็นส่วนเสริมร่วมด้วย
 หากขาดความสำคัญตามหน้าที่ของแต่ละสิ่งโดยเฉพาะ ทั้งชีวิตย่อมดำรงอยู่ได้ยาก
   เพราะฉะนั้นจึงสรุปไว้บนพื้นฐานสัจธรรมอีกประเด็นหนึ่งว่า ชีวิตที่เติบโตยิ่งขึ้นไม่ควรจะดูถูกของเล็ก
แม้ชีวิตเพื่อนมนุษย์ที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของตน หากใครคิดดูถูกของเล็กซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิตตนเอง
ในที่สุดวิถีชีวิตก็ย่อมจบสิ้นลงด้วยเวลาที่ยังไม่สมควรจะถึงจุดนั้น
   เพราะฉะนั้นภาษิตที่ว่า จงทำความดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย หากมีสติปัญญาที่จะนำมาพิจารณาได้อย่างลึกซึ้ง
ย่อมพบความจริงได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ  ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของวิถีชีวิตตนเอง
ล้วนมีความสำคัญในการเรียนรู้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่หรือแม้เรื่องเล็ก ย่อมมีคุณค่าเสมอเหมือนกันหมด
   ดังนั้น บทความเรื่องนี้จึงมีข้อสรุปสุดท้ายไว้ว่า ผู้ซึ่งทำงานอยู่ภายใต้อำนาจผู้อื่น ควรมีรากฐานจิตใจที่เข้มแข็ง
สามารถต่อสู้กับความรู้สึกซึ่งอยู่ในใจตนเองให้ได้ ส่วนผู้ที่มีอำนาจเหนือผู้อื่นโปรดอย่าคิดว่าคนอื่นคือ ทาสของตน
หากคิดว่าเขาคือทาสก็คงรู้สึกว่า ตัวเองเป็นเทวดา แต่แท้จริงแล้วก็คือเปรตหรืออสูรกายที่คอยเฝ้าสูบเลือดเนื้อ
และแรงกายแรงใจจากเพื่อนมนุษย์กินเป็นอาหาร

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.larnbundit.com/board/index.php?topic=74.0