ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 03:52:15 pm »

 :45: :45: :45: :45:

สาธุครับ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 12:20:10 am »

:13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แทน
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 06:54:09 pm »



ในรัชกาลของพระเจ้าพรหมทัต มีช้างมงคลตัวหนึ่ง เกิดอาการบ้าคลั่ง วิ่งไล่ฆ่าควานช้างและผู้ที่มาพบเห็น

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัต ได้หาวิธีแก้ไขจนพญาช้างมหิฬามุขกลับใจมาประพฤติตัวดีได้สำเร็จ

พญาช้างมหิฬามุขเป็นช้างมงคลมีลักษณะดีสง่างาม ที่สำคัญ คือ เป็นช้างมีศีล ไม่ทำร้ายใคร พระเจ้าพรหมทัตเองก็ทรงโปรดปรานช้างมงคลตัวนี้มาก ทรงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและนสยควานช้างเลี้ยงดูอย่างดี

โรงที่อยู่ของพญาช้าง พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงรับสั่งให้ตกแต่งสวยงาม มีกลิ่นหอมอบอวลด้วยเครื่องหอมชนิดเลิศ ประดับประดาด้วยพวงดอกไม้ห้อยระย้า เห็นแล้วชวนให้รื่นรมณ์ใจ พญาช้างเองก็เป็นสัตว์แสนรู้ วางตัวได้เหมาะสม ละเว้นพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่ดี อันจะทำให้พระเจ้าพรหมทัตไม่โปรดปราน

บริเวณโรงเลี้ยงช้างเงียบสงบ ตกกลางคืนก็มืดมิด แม้จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลรักษาความปลอดภัย ก็ไม่สู้จะเข้มงวดนัก เนื่องจากไม่เคยมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น เลยเป็นโอกาสให้พวกโจรมาอาศัยเป็นที่มั่วสุมกัน

นอกจากจะใช้เป็นที่มั่วสุมพูดคุยเรื่องต่างๆ แล้วพวกโจรยังใช้บริเวณนั้นเป็นที่วางแผนปล้น รวมทั้งสอนวิชาโจรด้วย พวกโจรรุ่นใหม่จะถูกนำมาอบรมที่นี่ ซึ่งการอบรมนั้น มีทั้งนิสัยใจคอและวิธีปล้นให้ได้ผล

"เฮ้ย..ไอ้น้อง เป็นโจรนี่มันต้องเหี้ยม ต้องหยาบคาย ต้องตัดสินใจเร็ว ชักช้าไม่ได้" หัวหน้าโจรจะเริ่มต้นอบรมด้วยน้ำเสียงดุดัน

"การจะเข้าปล้นบ้านไหน ต้องศึกษาลู่ทางให้ดีก่อน ให้รู้จักทางเข้าไปและทางหนีทีไล่ ไม่อย่างงั้นเดี๋ยวเสร็จ" รองหัวหน้าโจรเสริมต่อ

"บ้านเศรษฐีมันเข้ายาก คุ้มกันแข็งแรง มีทางหนึ่งคือ ต้องขุดอุโมงค์ลงไปใต้ดินให้ไปทะลุกลางบ้านเลย เรื่องการขุดอุโมงค์คงต้องฝึกหัดกันต่อไป" โจรพี่เลี้ยง แนะนำเป็นอันดับต่อมา

"การปล้น จะขนเอาทรัพย์ส่งของที่เราต้องการไปได้ง่ายนี่ ต้องฆ่าเจ้าทรัพย์จึงจะขนไปได้ เพราะเมื่อตายแ้ล้ว ก็จะไม่มีคนขัดขวาง" โจรพี่เลี้ยงอีกคนแนะนำถึงวิธีการขนทรัพย์สิน

เมื่อสอนวิชาโจรกันพอสมควรแก่เวลาแล้ว หัวหน้าโจรก็กล่าวสำทับอีกครั้งว่า
"จำไว้นะ...ไอ้น้อง เป็นโจรมันต้องเหี้ยม ฆ่าได้เป็นฆ่า ความเมตตาสงสารไม่มีในหมู่โจร"

จบคำ หัวหน้าโจรก็หัวเราะหึหึอยู่ในลำคออย่างใจเย็น แต่สายตาแข็งกร้าวเอาจริงเอาจัง

พวกโจรจะมั่วสุมกันที่แถวบริเวณโรงช้างเป็นประจำ พญาช้างมหิฬามุขได้ยินคำพูดทุกคำของพวกมันและเข้าใจความหมายได้ดี ครั้งแรกก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ต่อมาได้ยินเสียงพูดบ่อยเข้าๆ ก็เกิดคิดคล้อยตาม

"โจรพวกนี้สอนกันให้เหี้ยมโหด หยาบคาย ฆ่าได้เป็นฆ่า เราก็น่าจะเป็นเช่นนั้นบ้าง"

นับแต่นั้นมา พญาช้างก็เปลี่ยนิสัย กลายเป็นสัตว์ดุร้าย กระทืบโรงดังโครมคราม รุ่งเช้า พอนายควานช้างมาถึงก็อาละวาดเอางวงจับควานฟาดที่พื้นจนขาดใจตาย พญาช้างฆ่าคนทุกคนที่เข้ามาใกล้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ความทราบถึงพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงรับสั่งให้อำมาตย์เข้าเฝ้า

"ช้างมหิฬามุขเกิดบ้าคลั่ง ฆ่าควานช้างตายเมื่อเช้านี้ ท่านทราบไหม" พระองค์ตรัสถามเขาอย่างร้อนรนพระทัย
"ทราบ พะย่ะค่ะ" อำมาตย์กราบทูล
"ถ้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาจารย์ช่วยไปดูทีว่า มันบ้าคลั่งอย่างนั้นไปได้เพราะอะไร " ทรงรับสั่งอย่างแข็งขัน

อำมาตย์รับกระแสพระดำรัสแล้วก็กราบถวายบังคมลาไปยังโรงช้าง พอดีเวลานั้นพญาช้างเพิ่งจะสงบ อำมาตย์ได้ถามหมอหลวงถึงสาเหตุที่พญาช้างบ้าคลั่ง

"ตรวจดูแล้วก็ไม่พบโรคอะไรที่จะทำให้บ้าคลั่งถึงขนาดนั้นไปได้ " หมอหลวงรายงานพร้อมทั้งสันนิษฐานว่า "น่าจะเป็นอาการแปรปรวนทางจิตใจ"

อำมาตย์รับทราบรายงานจากหมอหลวงอย่างนั้นแล้วก็คิดหาสาเหตุต่อไป เขาเห็นด้วยกับหมอหลวงว่าน่าจะเป็นอาการแปรปรวนทางจิต เขาสันนิษฐานลึกต่อไปว่าอาการแปรปรวนทางจิตนี้น่าจะเกิดมาจากที่ได้เห็น หรือได้ยินเรื่องที่ยั่วยุให้เกิดบ้าคลั่ง

"เรื่องเห็นนี่ ไม่น่าเป็นไปได้" นายควานช้างอีกคนหนึ่งชี้แจง "สิ่งแวดล้อมที่นี่ก็สวยงามทั้งนั้น"

"แล้วเรื่องได้ยินล่ะ" อำมาตย์ซักถามต่อ
"ไม่แน่ใจ" นายควานช้างตอบ "แต่ก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะพวกเราก็ไม่ได้พูดคำหยาบคายอะไรกัน"
"เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน" อำมาตย์สรุป "ขอให้สังเกตดูว่า มีเสียงอะไรมาทำให้ช้างเปลี่ยนไปบ้าง"

นับแต่นั้นมา นายควานช้างก็คอยสังเกตดูพฤติกรรมของช้าง จนกระทั่งคืนหนึ่ง เขาสังเกตเห็นช้างยืนหูผึ่ง เหมือนกับตั้งใจฟังเสียงอะไร เขาค่อยๆ หลบตัวอยู่ในความมืดและคอยตั้งใจฟังว่าจะมีเสียงอะไรดังขั้น

"เฮ้ย...เป็นโจร มันต้องเหี้ยม หยาบคาย ฆ่าได้เป็นฆ่า" เขาได้ยินเสียงโจรพูดอบรมกันชัดเจน

นายควานช้างสังเกตดูช้างและฟังเสียงโจรไปด้วย จนในที่สุดก็แน่ใจว่าเสียงโจรนี่เองที่ทำให้ช้างมีนิสัยเปลี่ยนไปจึงได้ไปแจ้งให้อำมาตย์ทราบ อำมาตย์ก็ได้กราบทูลพระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าพรหมทัตตบพระหัตถ์ฉาดใหญ่พร้อมกับตรัสว่า

"อย่างนี้นี่เล่า ช้างดีดี จึงมาเป็นช้างเกเรไปได้ แล้วอาจารย์จะหาทางแก้ไขอย่างไร"
"เมื่อได้ทราบสาเหตุอย่างนี้แล้ว ก็แก้ไขไม่ยากหรอก พะย่ะค่ะ" อำมาตย์กราบทูลด้วยความเชื่อมั่น
"อาจารย์จะแก้ไขอย่างไร"
"ขอเดชะ เมื่อช้างมีนิสัยเปลี่ยนไปไม่ดีเพราะฟังเรื่องไม่ดี ก็ต้องแก้ให้นิสัยเปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วยการให้ฟังเรื่องที่ดี"
"นั้นซีอาจารย์ จะทำอย่างไร"
"ขอเดชะ นับแต่นี้ข้าพระองค์จะให้เจ้าหน้าที่กวดขันไม่ให้พวกโจรหลบมามั่วสุมใกล้โรงช้าง แล้วจะให้นิมนต์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มานั่งสนทนากันเรื่องศีล เรื่องเมตตา กรุณา ช้างได้ฟังเรื่องดีดีมากเข้าๆ ข้าพระองค์เชื่อว่าจะทำให้นิสัยกลับมาดีได้ พะย่ะค่ะ"

"เอ้า...ลองดู เผื่อว่าจะได้ผล"

ครั้นได้รับพระราชานุญาตแล้ว อำมาตย์ก็ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไปนิมนต์สมณพราหมณ์มานั่งใกล้โรงช้างแล้วขอให้สนทนากันเรื่องศีลเรื่องเมตตากรุณา วันแรกๆ พญาช้างยังมีท่าทีเฉยเมย แต่ต่อเมื่อได้ฟังทุกวัน จิตใจที่หยาบคาย ร้ายกาจและแข็งกระด้าง ก็เริ่มอ่อนโยน แล้วในที่สุดก็กลายมามีเมตตากรุณาและสงบเยือกเย็นดุจเดิม




นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญให้คนดีหรือเลวได้
เหมือนพญาช้างมหิฬามุขไ้ด้ยินเสียงโจรพูดคุยบ่อยครั้ง จนทำให้นิสัยดุร้ายไปได้ฉะนั้น

http://www.dhammathai.org/dhammastory/story22.php