ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 01:29:11 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 09:53:48 am »




ผู้เขียนรู้สึกผิดหวังเล็กน้อยที่โพลล์ของมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ ซึ่งทำในปี 2006 แสดงผลว่าประชาชนชาวอเมริกันมีความเชื่อถือการแพทย์ทางเลือก หรือการแพทย์เสริม (alternative or  complimentary medicine) กันมากขึ้นรวมทั้งหมดถึง 75% โรงเรียนแพทย์ทั้งหมดของอเมริกาบอกว่า  มหาวิทยาลัยของตนมีหลักสูตรของการแพทย์ทางเลือก ซึ่งในปี 1993 เพียง 7 ปีก่อนมีเพียง 46 ในร่วม  120 โรงเรียนแพทย์ หรือกว่า 38% เท่านั้นที่ตอบว่ามหาวิทยาลัยของตนมีหลักสูตรสอนการแพทย์ทางเลือกที่พูดว่าผู้เขียนรู้สึกผิดหวังนั้นไม่ใช่ เพราะการแพทย์ทางเลือกในสหรัฐนั้นอยู่ๆ ก็เกิดป๊อปปูลาร์ขึ้น  หรือมีคนไปหาเพราะเชื่อถือมากขึ้น แต่เป็นเพราะที่สหรัฐอเมริกาเอง - พิจารณาจากคำบอกเล่าของชาวอเมริกันเอง - บอกว่าการแพทย์ทางเลือกที่อเมริกาและที่ยุโรป เนื่องจากมีหลากหลายวิธีการและหลักการต่างรูปแบบกันและลักษณะแตกต่างกันมาก ทั้งๆ ที่ก็เป็นธรรมชาติทั้งนั้น การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์ “สมัยใหม่” ว่าไปแล้วแรกเริ่มเดิมทีก็ใช้ธรรมชาติเป็นหลักการในการเข้าถึงและการรักษาทั้งนั้น เพียงแต่ใช้รูปแบบกันคนละมุม การแพทย์ทางเลือกมองที่ตัวผู้ป่วยและสิ่งที่อยู่รอบตัวและภายในตัวของผู้ป่วยเป็นหลัก ส่วนการแผนปัจจุบันมองที่โรคและอวัยวะที่โรคมันชอบรุกราน ซึ่งมีรูปกายหรือกายภาพ (physical) เป็นหลัก การแพทย์ทั้ง 2 แบบจึงไกลจากคำว่า “บูรณาการ” นัก เป็นแต่การมองคนเป็นโรคทั้งคน ย่อมรอบด้านกว่าการมองโรคแต่ละโรค หรือมองอวัยวะทีละอวัยวะ แต่การแพทย์ทั้ง 2  แบบก็ยังไม่สมบูรณ์บูรณาการจริงๆ

 ในประเทศไทยนั้น แพทย์แผนปัจจุบันบางคนยังเรียกแพทย์ทางเลือกว่า “หมอเถื่อน” แพทย์สมัยใหม่หลายคนยังไม่รู้ว่าการแพทย์ทางเลือกหรือโฮมิโอพาธีคืออะไร? ผู้เขียนได้ยินกับหูตัวเองว่าแพทย์แผนปัจจุบันท่านหนึ่งได้ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยทานยาโฮมิโอพาธี เพราะสับสนกับยาสมุนไพร เป็นแพทย์นั้นไม่ว่าเป็นแพทย์อะไรก็ตามต้องรู้จักการรักษาโรคที่อยู่ในหลักสูตรที่สอนในโรงเรียนแพทย์ที่เป็นสากลทุกประเภท จะบอกว่าก็ฉันไม่ได้เรียนมา แล้วคนป่วยก็ไม่รู้จะทำหน้าอย่างไร?

อนึ่ง ที่ผู้เขียนพูดว่ารู้สึกผิดหวังนั้น ผิดหวังอีกประการหนึ่ง เพราะแพทย์เราไม่ว่าจะเป็นหมอประเภทไหน โดยเฉพาะแพทย์แผนปัจจุบันที่มองอะไรเป็นรูปเป็นกายเป็นวัตถุที่มีไม่น้อยที่ผู้เขียนรู้สึกว่าค่อนข้างมีอีโก้ (ego) สูงและไว้ตัว “กูไม่ใช่คนธรรมดานะ” ถึงใส่เสื้อนอกหรือผูกเนคไทตลอดเวลา เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ คือ 1.คิดว่าตนเองมีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพราะว่าหน้าที่คือช่วยปัดเป่าความทุกข์ทรมานของมนุษย์ ซึ่งอะไรๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น 2.แพทย์มักคิดว่าตนมีความรู้มากกว่าใครๆ ทั้งนั้น เพราะเรียนนานกว่าเพื่อน 3.แพทย์เรียนวิทยาศาสตร์กายภาพ (physical) และเป็นนักวิทยาศาสตร์กายภาพ ซึ่งใกล้เคียงกับการเป็นแม็ตทีเรียลลิสต์ (materialist) ที่แพทย์ไทยเราทั่วๆ ไปมักจะเป็นประหนึ่งนอร์ม หรือความเป็นปกติ รวมทั้งเป็นนอร์มของนักวิชาการของมหาวิทยาลัย นักวิชาการของวิทยาลัย ของโรงเรียนต่างๆ และรวมทั้งสาธารณชนคนทั่วไปของประเทศไทย และทั้งโลกด้วย ทั้งนี้ ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนักฟิสิกส์ใหม่หรือนักควอนตัมเม็คคานิกส์แห่งประเทศอุตสาหกรรมที่ได้มีการพัฒนามากๆ แล้วของยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ส่วนคนทั่วไปของไทยเรารวมทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีแทบจะทุกคนกระมัง? ของประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่เพิ่งพัฒนาใหม่ของเอเชีย ซึ่งมัวเมาด้วยเทคโนโลยี โดยเข้าใจว่าเทคโนโลยีคือวิทยาศาสตร์ของปัจจุบัน    ล้วนแล้วแต่ยังอยู่กับวิทยาศาสตร์เก่าๆ เดิมๆ (ซึ่งเค็น วิลเบอร์ เรียกว่า Orthodox (โบราณ) sciences)  เช่น ฟิสิกส์เก่าราวๆ 500 ปีของนิวตัน หรือชีววิทยา หรือดาร์วินิซึ่มของชาร์ลส์ ดาร์วิน (รวมทั้งนีโอ-ดาร์วินิซึ่ม) เป็นต้น 

ในบรรดารูปแบบของการรักษาที่เป็นองค์รวมที่ซ้อนๆ องค์รวม คือการแพทย์บูรณาการอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งเป็นความหวังของเราทุกคน การแพทย์ทางเลือกก็เป็นความหวังนั้น โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมมากๆ มานานแล้ว อย่างที่อเมริกาหรือที่ยุโรปและออสเตรเลียในปัจจุบันนั้นมีคนนิยมมากเท่าๆ กับการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งก็ยังห่างไกลจากความเป็นองค์รวมที่บูรณาการที่ว่ามากนัก การแพทย์สมัยใหม่ที่ไม่เพียงแต่ประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย หรือประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่แพทย์แผนปัจจุบันยังเป็นพระเอกแต่ผู้เดียวโดดๆ ประเทศไทยเองแม้จะตั้งกรมแพทย์ทางเลือก -  ก่อนใครทั้งหมด - ขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขในหมู่ประเทศด้อยพัฒนากับกำลังพัฒนา แต่กระนั้นก็หาเจ้าหน้าที่ที่รู้จักการแพทย์ทางเลือกได้ทั้งหมดอย่างทะลุปรุโปร่งทุกๆ คนก็ยากนัก และแม้ว่าจะตั้งกรมนี้ขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ เกือบ 10 ปีแล้ว เปลี่ยนอธิบดีมา 4 คนแล้ว แต่กรมนี้ก็มีชื่อว่ากรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก อย่างกับว่าแพทย์แผนไทยไม่ใช่แพทย์ทางเลือกกระนั้น หรือจะเป็นชาตินิยม? ตัวกูของกูเช่นนี้แล้วจะให้ป้องกันแพทย์แผนปัจจุบันคนไทยไม่เรียกแพทย์ทางเลือกว่า “หมอเถื่อน” ได้อย่างไร?

จริงๆ แล้วการแพทย์และการรักษาโรคไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับศาสนาในด้านที่เป็นรูปแบบของศาสนา (religion) แต่ศาสนาทุกๆ ศาสนาเน้นเรื่องจิตวิญญาณ (spirituality) การแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์องค์รวมที่บูรณาการที่เป็นอุดมคตินั้นเกี่ยวข้องกับจิต ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณด้วย  ศาสนาพุทธสอนว่าจักรวาลนี้มีแต่นามกับรูปเท่านั้น นั่นก็คือ จิต (mind) กับรูป-ร่างกาย (body) ซึ่งนักชีววิทยาคิดว่าควบคุมทั้งหมดด้วยกรรมพันธุ์หรือยีนส์ นักฟิสิกส์ใหม่บอกว่าควบคุมโดยสนามแห่งการสั่นสะเทือน (vibration fields) ที่นักควอนตัมฟิสิกส์อธิบายเพิ่มเติมว่า เกิดจากจิตไร้สำนึกจักรวาล  (quantum consciousness) ที่จะแบ่งเป็น 2 คือ สนามของนามหรือจิต (consciousness field) และสนามแห่งรูปกาย (morphogenetic field) (Amit Goswami : Creative Evolution, 2008) นั่นคือ  ปรมัตถ์ (Supreme Reality or Absolute Mind) ในพุทธศาสนา (การอธิบายเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นการอธิบายของเฮนรี แสตปป์ ซึ่งขยายรูปแบบการพังพาบของคลื่นควอนตัม (collapse of the possibility  wave) ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเพียง “ข้อเสนอเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์พิจารณาอย่างจริงจัง” (proposal of  Stapp-Von Neuman Process I) ซึ่งทุกวันนี้นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เชื่อ (ที่มาของสมองมีหน้าที่บริหารให้จิตไร้สำนึกจักรวาลเป็นจิตสำนึกหรือจิตรู้ของผู้เขียน) แถมยังอธิบายวิธีการของการสลายหรือพังพาบของคลื่นควอนตัมในกรณีของทางเลือกอย่างมีจุดหมายในมนุษย์ (choice in purposefulness) ของจอห์น  วอน นิวแมน นักควอนตัมฟิสิกส์รางวัลโนเบล (Henry Stapp : Mind Matter and Quantum  Mechanics, 2004)
พูดเรื่องยากๆ มาเสียนาน แต่จำเป็นถ้าหากแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์เกิดเข้ามาอ่านบทความนี้  จะได้รู้ว่ามีเอกสารอ้างอิงอย่างไรได้

เข้าไปหาอ่านได้ แต่ตรงนี้จะพูดถึงการแพทย์องค์รวมที่บูรณาการจริงที่ผู้เขียนคาดหวังว่าวันหนึ่งมันจะมีขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ของโลก
การแพทย์องค์รวมซ้อนๆ องค์รวมที่บูรณาการจริงๆ ที่เรา -ชาวโลก - ยังไม่มีนั้น ผู้เขียนจะขอเล่าเพียงย่อๆ เพื่อให้เราเข้าใจอย่างคร่าวๆ ดังนี้ :-

เราต้องมองวิวัฒนาการของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์ในโลกในจักรวาลว่าประกอบขึ้นด้วยนามกับรูป หรือจิตกับกาย และเราต้องมองอีกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งคน วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม  ธรรมชาติ โรค และอวัยวะต่างๆ ในคน รวมทั้งการแพทย์ไม่ว่าเป็นการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์ทางเลือก ทั้งหมดนั้นไม่เที่ยงแท้หรือไหลเลื่อนเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นการแพทย์องค์รวมที่บูรณาการจริงๆ ที่เรายังไม่มี จะต้องคำนึง 3 ประการนี้ไว้เสมอ นั่นคือ จิต กาย และความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ถัดไปเราจะต้องมองให้ถ้วนถี่ว่าธรรมชาติของการแพทย์และการป้องกันรักษา ฯลฯ นั้นคืออะไร?  เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? อย่างน้อยเราก็จะต้องรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่อง 5 เรื่อง 5 ประการที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ : คน วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โรค และปฐมอวัยวะที่เป็นโรคนั้น ส่วนการป้องกันรักษาก็ว่าไปตามเรื่องนั้นๆ ทั้งหมดเป็นบูรณาการ
ถัดไปอีก การรักษาป้องกันทั้งหมด - หากทำได้ - ควรจะเป็นทีม ก็จะมีทีมของแพทย์ฝ่ายหนึ่ง ทีมฝ่ายคนไข้ที่รวมทั้งหมดอีกฝ่ายหนึ่ง

การแพทย์ทางเลือกที่ทุกวันนี้ใช้ๆ กันนั้น ส่วนใหญ่มากๆ จะเป็นการแพทย์และการรักษาที่ใช้หลักการทั้งหมดขององค์รวมแห่งชีวิต หรือชีวิตคน หรือผู้ป่วยทั้งชีวิตในการรักษา รวมทั้งคำนึงถึงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ป่วยและธรรมชาติทั้งหมดเข้ามามีส่วนด้วย นั่นคือคิดถึงภายในหรือจิต - ที่มี 2 ส่วน คือ จิตไร้สำนึกหรือใต้สำนึกส่วนหนึ่ง กับจิตสำนึกหรือจิตรูอีกส่วนหนึ่ง - กับภายนอกเพียงมากบ้างน้อยบ้างหรือนิดหน่อยบ้าง แต่เรื่องของบูรณาการนั้นมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย สาเหตุเป็นเพราะว่าองค์รวมหรือทั้งหมดมันขัดแย้งกับความรู้สึก การรับรู้และความเคยชินของเรา การรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกจำเป็นต้องพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย ความเหมาะสมหรือความเร่งด่วนและวิกฤตการณ์ของการรักษา

เราเห็นจะต้องกล่าวทบทวนเรื่องที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงบ่อยๆ ว่า พุทธศาสนาบอกว่า จิตปฐมภูมินั้นแยกออกมาจากสุญตาก่อนการเกิดของจักรวาลของเราอันนี้ เกิดก่อนสิ่งใดๆ ทั้งหมด และจิตปฐมภูมิ  (ญาณ) นี้ก็ไม่สามารถแยกออกจากพลังงานปฐมภูมิ (ปราณ) ได้ จริงๆ แล้วจะเรียกว่าพลังงานเป็นคุณสมบัติของจิตหรือธรรมชาติก็ได้ หากคิดว่าที่พูดมาไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เราก็จะให้นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์คิดจักรวาลวิทยาใหม่ที่คิดโดยซูเปอร์สตริงธีออรีที่ให้คำตอบคล้ายๆ กัน ส่วนวัตถุกายภาพ  (Physical  ซึ่งรวม matter) นั้นก็แยกออกมาจากสุญตา (Absolute space or zero-point field or quantum  vacuum) แต่ออกมาหลังจากเกิดจักรวาลแล้ว แต่พลังงานก็เป็นคุณสมบัติของธรรมชาติมาตลอด
ส่วนการแพทย์แผนปัจจุบันนั้น ดังกล่าวมาแล้วว่าคือวัตถุกายภาพ สิ่งที่มองเห็นและมนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งเดียวที่ประกอบเป็นโลกและจักรวาลนี้จนเราเคยชินกับมัน เพราะอวัยวะประสาทสัมผัสอยู่กับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ว่าไปแล้วเราไม่เคยคิดว่าสัตว์ทั้งหลายล้วนแล้วเห็นหรือได้ยินต่างจากมนุษย์ทั้งนั้น

เราต้องคิดถึงความไม่เที่ยง เด็กทารก และคนแก่มากๆ ย่อมไม่เหมือนคนหนุ่มสาว ภูมิคุ้มกันมันไม่เหมือกัน วัฒนธรรมความเชื่อหรือภาษาและศาสนา รวมทั้งสังคม เศรษฐกิจ การงาน ฯลฯ ล้วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการแพทย์องค์รวมบูรณาการ.

http://www.thaipost.net/sunday/090111/32579