ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 01:04:50 pm »




 :13:  :19: :12:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 11:18:28 pm »

 :13: ขอบคุณครับน้องฝน ^^
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 04:55:31 pm »

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ ให้ถูกต้องเสียก่อนว่า จิต คืออะไร


จิต คือนามธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่ในตัวเรา มีหน้าที่คิดตามสิ่งที่มากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเมื่อ มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ วิญญาณจะรับรู้ จิตก็จะทำหน้าที่คิดตามสิ่งนั้น ๆ จิตจะคิดผิดหรือคิดถูก ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้น จิตถูกปัญญา หรือกิเลสครอบงำ จิตก็จะคิดตามอำนาจของกิเลส หรือปัญญา

ด้วยเหตุนี้ จิตจึงไม่มีความสงบ และไม่ว่างเลย ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสอนให้เราทำจิตให้ส งบ และทำจิตใจให้ว่าง โดยมีอุบายหลายอย่างให้เลือกปฏิบัติ เพื่อให้ถูกกับจริตของแต่ละบุคคล ที่เรียกว่า การฝึกสมาธิ คือการใช้ สติควบคุมจิตให้อยู่ที่เดียว กับบทภาวนาบทใด บทหนึ่ง ที่ถูกกับจริตของแต่ละบุคคล เมื่อฝึกภาวนาบ่อย ๆ จะเห็นว่า จิตจะอยู่กับบทภาวนานั้น ๆ ได้นาน ๆ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน ที่เรียกว่า จิตสงบเพราะเวลานั้น จิตจะถูกสติควบคุมให้อยู่ที่เดียว กิเลสไม่สามารถปรุงแต่งจิตได้

แต่ เมื่อออกจากสมาธิแล้ว กิเลสที่มีอยู่ในจิตก็จะออกมาปรุงแต่งสิ่งที่มา กระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีอารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อีกเหมือนเดิม เพราะว่าการฝึกสมาธิ เป็นการฝึกสติให้ควบคุมจิต ให้อยู่กับบทภาวนาที่เดียวเท่านั้น ไม่มีการคิดชำระกิเลส จึงไม่เกิดปัญญา ฉะนั้นการทำสมาธิเพียงอย่างเดียว ทำให้จิตสงบเท่านั้น นี้คือ การฝึกจิตให้สงบ

จิตว่าง หมายถึง จิตที่ถูกฝึกดีแล้ว เพราะมีสติ ปัญญาควบคุม เมื่อจิตสงบแล้ว ปัญญาจะใช้ให้จิตคิด พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ให้รู้แจ้ง เห็นจริง ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ ที่เรียกว่า "พระธรรม"

ตัวอย่าง เช่น ท่านสอนให้เรารู้ว่า เรามีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตเราอยู่ ผู้ใดที่มีกิเลสทั้งสามอย่างนี้ ครอบงำอยู่มากก็จะเป็นทุกข์มาก ผู้ใดมีกิเลสครอบงำจิตอยู่น้อย ก็จะมีความทุกข์น้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนวิธีการชำระกิเลสให้หมดจ ากจิต ไว้มากมายหลายวิธีด้วยกัน แล้วแต่ผู้ใดจะนำบทใดบทหนึ่ง ที่สมควรกับตนมาพิจารณา และปฏิบัติตาม เมื่อชำระกิเลสให้หมดจากจิตแล้ว จิตก็ไม่เป็นทุกข์ จิตจึงว่าง จากความร้อนรนกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน จิตจะมีอารมณ์ที่เป็นอุเบกขา คือ เป็นกลางไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะจิตไม่มีกิเลสครอบงำ นี่คือ ความหมายของคำว่า จิตว่าง (ว่างจากกิเลส)

ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า จิตสงบ กับจิตว่างแตกต่างกันจริง ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดอยู่มาก ว่าจิตสงบกับจิตว่างนั้นเหมือนกัน

ขอ ให้ท่านลองพิจารณาดูว่า จิตของท่านเคยสงบ หรือว่างบ้างหรือยัง ถ้ายังขอให้ท่านฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบ และเจริญวิปัสสนา คือการนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มี พระภาคเจ้า มาพิจารณาไตร่ตรอง ให้เกิดปัญญา ที่รู้แจ้งเห็นจริง เพื่อนำมาชำระกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้หมดจากจิตของท่าน และท่านจะรู้ด้วยตัวของท่านเองว่า จิตของท่านว่างจากกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ในที่สุดท่านก็จะเห็นจิตสงบและจิตว่าง พ้นจากความทุกข์ มีแต่ความสบายตลอดไป

 :13: :13: :13: :13:
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=376759