ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 11:36:18 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 11:05:46 am »




คมคำคนคม
ผู้ใดที่แสวงหาชื่อเสียงโดยเสี่ยงต่อการสูญเสียตัวตนมิใช่ปราชญ์

จวงจื๊อ

หลักการตลาดทั่วโลกนิยมใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมเป็นพรีเซนเตอร์ หรือผู้นำเสนอสินค้า คนเหล่านี้ส่วนมากมักเป็นดาราหนัง นักกีฬาซึ่งชาวบ้านนิยม หลักการของมันคือใช้ความนิยมชมชอบใครคนหนึ่งเป็นผู้ชี้นำความคิดต่อกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อดาราที่ใครคนหนึ่งชื่นชอบบอกว่า “ฉันใช้ครีมอาบน้ำยี่ห้อนี้” คนที่ชอบดาราคนนั้นก็โน้มเอียงที่จะใช้ตามเธอ

เมื่อนักเทนนิสระดับโลกใช้ไม้เทนนิสยี่ห้อใด คนที่ชอบเขาหรือเธอก็เกิดภาพในใจขึ้นมาทันทีว่า ไม้เทนนิสยี่ห้อนั้นน่าจะดี หรือทำให้ตนเอง ‘ใกล้ชิด’ กับคนที่ชอบอีกนิด!

ทว่าโฆษณาที่ผูกสินค้ากับคนมีชื่อเสียงต้องระวังด้านลบของมันด้วย นั่นคือการเสื่อมชื่อเสียงชั่วข้ามคืน

ครั้งหนึ่งสินค้าตัวหนึ่งใช้นักมวยยอดนิยมคนหนึ่งเป็นพรีเซนเตอร์ วันที่โฆษณาออกนั้น นักมวยผู้นั้นแพ้น็อกกลางเวที เจ้าของสินค้าต้องถอดโฆษณาของเขาออกทันที เพราะคงเป็นเรื่องขบขันอย่างยิ่งที่นักมวยพรีเซนเตอร์บอกว่า “ใช้ (ชื่อสินค้า) สิ แล้วจะเป็นแชมเปี้ยนเหมือนผม”!

ตัวอย่างด้านลบของการอิงกับคนดังในโลกมีอีกมากมาย นักฟุตบอลระดับดาราชกกันกลางสนาม, นักกอล์ฟระดับโลกมีข่าวฉาวนอนกับผู้หญิงไม่เลือกหน้า, นักมวยตบตีผู้หญิง, นักร้องทำหญิงสาวท้อง, ดาราสาวท้องไม่มีพ่อ ฯลฯ จนกล่าวได้ว่า ชื่อเสียงเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนอย่างยิ่ง

ปรัชญาพุทธสอนเรื่องนี้มาสองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว มีลาภก็มีเสื่อมลาภ มียศก็มีเสื่อมยศ ความรุ่งโรจน์กับความเสื่อมเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน คนฉลาดจึงต้องระวังรู้อยู่เสมอว่า ความเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในนาทีข้างหน้านี้

ผมลองนึกดูว่ามีดาราภาพยนตร์ไทยสักกี่คนที่เคยโด่งดังในสมัยที่ผมยังเป็นเด็ก
และยังเป็นดาวค้างฟ้าจนถึงวันนี้
นับดูได้ไม่ครบนิ้วทั้งสองมือ โดยเฉพาะนักแสดงสตรี ขึ้นง่าย-ลงง่าย

ดาราหญิงในโลกตะวันออกนั้น หากสามารถรักษาความโด่งดังได้สักยี่สิบปี
ก็นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างหนึ่ง

นี่อาจเป็นเหตุผลให้ดาราบ้านเราจำนวนหนึ่งถือคติ ‘น้ำขึ้นให้รีบตัก’ บางคนเล่นหนังหนึ่งปีได้จำนวนเรื่องเท่ากับนักแสดงตะวันตกเล่นสองชาติ

คนมีชื่อเสียงอีกจำนวนหนึ่งยอมทำทุกอย่างเพื่อรักษาสถานะของความโด่งดังให้นานที่สุด บ้างยอมกระทั่งรับบทหรือการสร้างข่าวให้คนจำได้ แม้ว่าหมายถึงการแสดงภาพวาบหวิว เพราะไม่อาจละวางสถานะชื่อเสียงของตนได้

ชื่อเสียงก็เหมือนยาเสพติดชนิดหนึ่ง หามาไม่ง่าย แต่รักษายิ่งยากกว่า
อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างชื่อเสียงกับชื่อเสีย(ง)
บางคนคิดว่าเมื่อมีคนพูดถึงก็คือมีชื่อเสียง

ทว่าความดังไม่ใช่ชื่อเสียง!

ฝรั่งมีสองคำ famous กับ notorious หรือชื่อเสียงกับชื่อเสีย(ง)
famous คือชื่อเสียงด้านดี
notorious คือความโด่งดังในด้านไม่ดี

ในปี ค.ศ. 1968 จิตรกรอเมริกัน แอนดี วอร์ฮอล กล่าวว่า “ในอนาคต ทุกคนจะมีชื่อเสียงระดับโลกแค่สิบห้านาที” (In the future, everyone will be world-famous for 15 minutes.) วลี 15 Minutes of Fame กลายเป็นสำนวนฮิต หมายถึงความดังช่วงระยะสั้นๆ ดังเหมือนดาวตก สว่างวูบแล้วตกเลย

โลกเราในวันนี้เต็มไปด้วยคนอยากมีชื่อเสียงโดยไม่นำพาวิธีการ ไม่สนใจว่าจะเป็น famous หรือ notorious ขอให้เป็น ‘talk of the town’ สักนาทีสองนาทีก็แล้วกัน รายการโทรทัศน์ ข่าว เรียลิตี โชว์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ผู้คนยอมทำเรื่องบ้าคลั่งเพียงเพื่อให้คนอื่นเห็นและพูดถึงเท่านั้น

ถือคติว่ามีคนพูดถึงในเชิงลบดีกว่าไม่มีคนพูดถึงเลย!

การโชว์เนื้อหนังมังสาและเต้า หากทำได้ถึงใจ ย่อมเป็นที่พูดถึงแน่นอน ทว่าสัจธรรมก็คือไม่เคยมีใครจำเต้าของใครได้ตลอดกาล เพราะคนอยากโชว์มีมากเหลือเกิน อาจมีข้อยกเว้น แต่เป็นกรณีพิเศษจริงๆ เช่นท่ายั่วยวนบางท่าของ มาริลีน มอนโร

ชื่อเสียงก็เหมือนแสงของดาว มีสองประเภทดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์
แสงของดาวเคราะห์เกิดจากแสงจากแหล่งต้นกำเนิดมากระทบ ส่วนแสงที่มาจากดาวฤกษ์เกิดขึ้นจากภายในตัวตน

คนฉลาดจึงเลือกสถานะของชื่อเสียงเปล่งจากภายใน เพราะมันอยู่ทนนานกว่าล้านๆๆ เท่า จะเอา 15 Minutes of Fame ไปทำไมในเมื่อมันเป็นแสงสว่างชั่วคราวและไม่ใช่ของเราจริงๆ

ชื่อเสียงที่ดีมาจากการทำดีเสมอ
แต่การเป็น ‘ดาวฤกษ์’ ก็ไม่จำเป็นต้องส่องสว่างแบบส่งเสียง สว่างแบบเงียบๆ ก็ได้
เมื่อกระทำดีแล้วเสียใจว่าไม่เป็นที่รู้เห็นหรือพูดถึง ก็ไม่ใช่เรื่องทำดีแล้ว แต่เป็นเพียงการลงทุนชนิดหนึ่ง
การปิดทองหลังพระไม่ใช่เรื่องที่ต้องป่าวประกาศ อยู่ดึกทำงานก็ไม่ต้องประกาศให้ทุกคนในบริษัทรู้
บริจาคเงินช่วยเด็กก็ไม่ต้องลงข่าวคอลัมน์คนดัง

ความสุขมาจากการรู้สึกดีเมื่อทำดี ไม่ใช่เมื่อมีคนรู้ว่าเราทำดี



วินทร์ เลียววาริณ
8 มกราคม 2554
http://www.winbookclub.com/frontpage.php
Pic by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 10:32:57 am »


 

หากถามชาวพุทธทั่วไปที่เรียนวิชาศีลธรรมในห้องเรียนมาตั้งแต่เด็กว่า  อะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนา  คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่คืออริยสัจจ์ 4 ( ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ) หรือโอวาทปาติโมกข์ ( ไม่ทำชั่ว-ทำดี-ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ) หรือมัชฌิมาปฏิปทา ( ทางสายกลาง ) น้อยคนเหลือเกินจะตอบว่าคือ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท  บ้างบอกว่าไม่เคยได้ยินคำนี้เลย 

ทั้งที่มันเป็นสาระหลักที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ในคืนวิสาขบูชา

อิทัปปัจจยตามองว่าโลกเป็นเพียงการไหลต่อเนื่องของเหตุ และผล ( cause-effect )  โลกไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีเทวดา ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีอะไรมีอยู่จริง  หรือไม่มีอยู่จริง  การมี หรือไม่มี  ถือเป็นทิฏฐิทั้งคู่ ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน  เหตุทำให้เกิดผล  ผลนั้นทำให้เกิดเหตุ  ซึ่งทำให้เกิดผลและเหตุต่อไปไม่สิ้นสุด การไปหลงติดกับความเป็นคู่เป็นความเขลาอย่างหนึ่งเพราะมันเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น

หากใช้คำของพุทธทาสภิกขุที่เขียนไว้ในหนังสือ อิทัปปัจจยตา  ก็คือ " หลักอิทัปปัจจยตา  มุ่งที่จะขจัดความเห็นผิดสำคัญผิดว่ามีตัวตน  สัตว์  บุคคล  ตามที่คนเรารู้สึกกันได้เองตามสัญชาตญาณ  หรือที่ยิ่งไปว่านั้นอีกก็คือ  มุ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีการได้ ไม่มีการเสีย และอื่นๆ  ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม  เพราะนั่นมนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ตามความรู้สึกของมนุษย์ โดยที่แท้แล้วทั้งหมดทุกๆ คู่ ล้วนเป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาเสมอกันหมด "


พูดง่ายๆ คือ สิ่งต่างๆ ในโลกมนุษย์นี้เป็นเพียงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเอง

บางคนอาจแย้งว่า ถ้ามนุษย์เห็นว่าโลกนี้ไม่มีบุญ ไม่มีบาป จะมิพากันทำความชั่วทั้งหมดหรือ  นี่เป็นการจับความไม่ครบเหมือนตาบอดคลำช้าง  ไม่มีบุญ ไม่มีบาป " บอกเราว่า ระวังอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมุติ  มิได้แปลว่าคุณต้องไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น  เพราะอิทัปปัจจยตา คือการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล ( cause-effect ) ทุกการกระทำ ( action ) ย่อมมีผลต่อเนื่อง ( consequence ) เสมอ  และหลายผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือ " กรรมตามสนอง " นั่นเอง

ในโลกยุคที่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนขยายตัวจนแทบล้นโลก  ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือในเรื่องต่างๆ  กระทั่งใช้เป็นเครื่องมือทำสงคราม  จนหลายคนสับสนบทบาทของศาสนา  แต่นั่นมิได้หมายความว่าศาสนาไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป  มันเพียงบอกเราว่า  ศาสนาก็เช่นระบบอื่นๆ ในโลก  จำต้องผ่านการ " รีเอ็นจิเนียริง " ( สังคายนา ) เป็นระยะ  เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย

หากจุดหมายของศาสนายังคงเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ  เราใช้ตาชั่งใดมาวัดว่า  การยอมรับความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์  การเคารพความจริง  ความรักธรรมชาติ  การดูแลโลกที่กำลังบาดเจ็บจากมลพิษ  การต่อต้านสงคราม  ความรักสันติภาพ  เหล่านี้ใช้แทนศาสนาไม่ได้  บางทีสิ่งเหล่านี้อาจทำหน้าที่ได้เหมาะสมกว่าบทบาทของศาสนาเมื่อหลายพันปีก่อน  เมื่อครั้งพลเมืองโลกมีเพียงไม่กี่ล้านคน ไม่ได้เชื่อมต่อแนบสนิทกันเช่นปัจจุบัน  และโลกยังไม่ถูกข่มขืนทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์เช่นวันนี้


ร่ม ไม่ว่าจะติดยี่ห้อใดก็ใช้กันฝนได้ทั้งนั้น  แต่ร่มมิใช่เครื่องมือเดียวที่ใช้กันฝน
ซึ่งอาจจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์  ถุงพลาสติก หรือวัสดุที่หาได้ในท้องที่นั้นๆ

การประนามคนไร้ศาสนาว่าไร้ศีลธรรม  ก็เท่ากับการลืมบทบาทของศาสนานั่นเอง 
ไม่ต่างจากการพร่ำบ่นว่า
การทำดีคือการไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ ขณะที่ยังฆ่าสัตว์มากินทุกวัน

สรรพสิ่งคือการเปลี่ยนแปลง  และวิวัฒนาการตามกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา 
บทบาทของศาสนาก็เช่นกัน

มองไปในอนาคต
บทบาทของศาสนาเพียงเพื่อแค่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสันติอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ
ศาสนาในอนาคต ( อันใกล้ ? )
อาจต้องรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิต ไปจนถึงสิ่งไร้ชีวิตอื่นๆ และจักรวาล

วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
12 เมษายน 2551

คมคำคนคม
When I do good, I feel good ; when I do bad, I feel bad,
and that is my religion.
เมื่อข้าพเจ้าทำดี ข้าพเจ้ารู้สึกดี  เมื่อข้าพเจ้าทำเรื่องแย่ ข้าพเจ้ารู้สึกแย่
และนั่นคือศาสนาของข้าพเจ้า


Abraham Lincoln
อับราแฮม ลินคอล์น


Pic by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 10:07:19 am »


       

คนเราสามารถเป็นคนดี โดยไร้ศาสนาได้หรือไม่ ?
มนูญ - วิศวะ 16 ... ส่งมา

ปู่อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ค เคยเขียนไว้ว่า " โศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษย์คือ  การที่ศีลธรรมถูกศาสนาแย่งชิง ไม่ว่ามันจะมีค่า หรือจำเป็นเพียงใดต่อการบังคับให้คนในยุคโบราณทำดี การรวมของสองสิ่งนี้กลับให้ผลตรงข้าม และในช่วงเวลาที่สองสิ่งนี้ควรถูกแยกออกจากกัน คนโง่ที่คิดว่าตนเองมีศีลธรรมแก่กล้ากว่า  กลับเรียกร้องให้ผู้คนหวนคืนสู่ศีลธรรมด้วยสิ่งเหนือธรรมชาติ "

สำหรับชาวเราที่โตมากับการเรียนวิชาศีลธรรมในโรงเรียน หรือคนที่เข้าโบสถ์ทุกอาทิตย์ อาจรู้สึกว่านี่เป็นคำกล่าวที่ผูกกับระเบิดลูกใหญ่  ความคิดใดๆ ที่แย้งกับสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง มักยอมรับกันได้ยาก คุยเรื่องนี้แล้วอาจถูกตีหัว หรือถูกหาว่าเป็นมารศาสนาได้ง่ายๆ

ทว่าในฐานะของชาวพุทธที่ได้รับการสอนเรื่องกาลามสูตร  นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะไตร่ตรองดูว่า มีความจริงมากน้อยแค่ไหนในคำกล่าวข้างต้น  บางทีมันอาจเป็นโอกาสให้เราปัด " ฝุ่น " ที่เกาะใจเรามาโดยที่ไม่รู้ตัว  ที่สำคัญคือหากเราจะเข้าใจตัวเอง และชีวิตมนุษย์บนโลกดีขึ้น  ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องกล้าตั้งคำถาม  และวิเคราะห์ข้อคิดแย้งใดๆ ให้ถึงแก่น

มนุษย์แทบทุกมุมโลกถูกสั่งสอนมาแต่เด็กให้เชื่อมคำว่า " ศีลธรรม " " การทำดี " เข้ากับคำว่า " ศาสนา "  การเป็น atheist ( คนที่ไม่มีศาสนา, คนที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ) หรือ free thinker ในโลกนี้จึงมักถูกเข้าใจผิดเสมอ หลายคนฝังใจว่าการไร้ศาสนา คือการไร้ศีลธรรม

ทว่าการ " ไร้ศาสนา " กับ  " ไร้ศีลธรรม " เป็นคนละเรื่องกัน  แน่ละ  คนไร้ศาสนาจำนวนมากกระทำเรื่องชั่วร้าย แต่ประวัติศาสตร์โลกเราก็บันทึกตัวอย่างมากมายของการกระทำชั่วโดยคนที่มีศาสนา  ตั้งแต่ฮิตเลอร์ไปจนถึงผู้นำชาติมหาอำนาจที่ก่อสงครามเป็นว่าเล่น  ล้วนแต่เป็นคนที่เข้าโบสถ์สม่ำเสมอ  ดังนั้นการเชื่อมโยง " ไร้ศาสนา " กับ " ไร้ศีลธรรม " ก็เช่นการบอกว่า สุนัขทุกตัวที่ไม่ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องเป็นสุนัขบ้า

คนเราสามารถเป็นคนดีโดยไร้ศาสนาได้หรือไม่ ?  อาจต้องเริ่มที่การตั้งคำถามว่า อะไรคือความดี ? เราวัดความดีอย่างไร ? ช่วยจูงคนแก่ข้ามถนน ? ไม่เป็นเด็กแว๊น เด็กสก๊อย ? อะไรคือศาสนา ?  มันคือการไม่ฆ่าคน ? ไม่โกหก ? ไม่ขโมย ? ไม่ประพฤติผิดในกาม ? มีเมตตาเกื้อกูลเพื่อนร่วมโลก ? ความดีเป็นสิ่งที่เกิดมากับจักรวาลหรือไม่?  หรือว่ามันเกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ปรากฏขึ้นบนโลก ? มันเกี่ยวกับการที่เราอยู่กันเป็นสังคมหรือไม่ ?  ทำไมศาสนาเพิ่งถือกำเนิดมาในโลกนานหลังจากมนุษย์สร้างอารยธรรม ? สัตว์มีศาสนาหรือไม่ ?

ถ้าเราใช้ข้อปฏิบัติตามที่บัญญัติในศาสนาเป็นเครื่องวัดความดี  เราก็อาจต้องถามต่อไปว่า ปลาวาฬปลาโลมาที่ช่วยชีวิตคนที่ประสบภัยกลางทะเลก็รู้จักทำดี ?  ลิงบางสายพันธุ์ที่ช่วยกันดูแลลิงที่เจ็บป่วยก็มีศีลธรรม ?

การมองว่าสัตว์ก็สามารถพัฒนา " ศีลธรรม " ได้ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล  หลักฐานทางวิทยาศาสตร์คล้อยไปในทิศทางว่า  สายสัมพันธ์ในสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม  มีความเอื้ออาทรแบบเป็นพ่อแม่ลูก  เมื่อพัฒนาสติปัญญาถึงระดับหนึ่ง ก็มักจะเกิดความรู้สึกทางศีลธรรม หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีโดยเลี่ยงไม่พ้น  เห็นชัดว่ารากฐานของศีลธรรมนั้นเริ่มจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ( empathy )

ลองสมมุติว่าคุณเป็นมนุษย์เพียงคนเดียวในโลกที่ไร้สัตว์  มีแต่ธรรมชาติ  คุณยังจะต้อง " ทำดี " หรือไม่ ?  เมื่อวัดด้วยมาตรศีลธรรมของทุกศาสนาในโลก  คำตอบก็คือ ไม่ !  คุณฆ่าคน และสัตว์ไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้คุณฆ่า  คุณโกหกไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้คุณโกหก  คุณขโมยของไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้ขโมย ฯลฯ  นี่อาจหมายความว่าการทำดี และศีลธรรม ไปจนถึงศาสนาเป็นผลผลิตของสัตว์สังคม  เป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติของสัตว์ชั้นสูงที่พัฒนาระบบประสาทถึงระดับหนึ่ง  มองในมุมของหลักวิวัฒนาการ  การกำเนิดของศาสนาในโลกเป็นกลไกที่จำเป็น  เป็นระบบที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้  เพราะสังคมที่ผู้คนเกื้อกูลกัน  ย่อมมีโอกาสอยู่รอดสูงกว่าสังคมที่คนทะเลาะกัน  เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดที่อยู่เป็นฝูง  เตือนภัยให้กันเมื่อศัตรูมา  หากพวกมันทะเลาะกัน  ย่อมจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นจนหมดสิ้นเผ่าพันธุ์


เช่นนั้น  เราสรุปได้ไหมว่า ความดีความเลวเป็นผลผลิตของมนุษยชาติ  รากฐานของการเกิดความดีความชั่วมาจากการกำเนิดสังคม ? และหากก้าวไปไกลอีกขั้น ความดีความเลวเป็นเพียงสิ่งสมมุติที่เราสร้างขึ้นมา ?