ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 10:35:40 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:23:43 pm »




White Tara

เอกภาพแห่งสมถะและวิปัสสนา
โดยทั่วไปแล้วสมถะหมายถึงอยู่ในภพอันสงบ สดใส และปราศจากการคิด ภายหลังจากที่ความคิดสลายลง วิปัสสนาหมายถึงการเห็นแจ้งแก่นแท้แห่ง จิต ซึ่งเป็นความรู้จักตัวเอง ไม่มีการกระทำ เป็นอิสระจากการขยายหรือ การลดทอน ความหมายอื่น เช่น สมถะหมายถึงการปราศจากความคิด และ วิปัสสนาหมายถึงการรู้แก่นแท้แห่งความคิด มีคำอธิบายอื่น ๆ มากมาย แต่ความจริงแล้วไม่สามารถก้าวพ้นความเป็นเอกภาพ ( แบ่งแยกจากกันเป็น ส่วน ๆ ไม่ได้ - ผู้แปล ) ระหว่างสมถะและวิปัสสนา ความหยุดนิ่งหรือ การคิดล้วนก็เป็นกิจกรรมของจิต การตระหนักรู้แก่นแท้แห่งจิตไม่คิดว่า คิดหรือหยุดนิ่งเป็นธรรมชาติแห่งวิปัสสนา

สมถะไม่ใช่การเกี่ยวข้องกับการเกาะติดกับอารมณ์ภายนอกทางอายตนะ ทั้งหก วิปัสสนาเป็นการรับรู้ที่ไม่มีการข้องขัด ดังนั้น ภายในขณะแห่ง การรับรู้ ย่อมมีเอกภาพแห่งสมถะและวิปัสสนาอย่างสมบูรณ์

การเห็นแก่นแท้ของความคิดอย่างชัดแจ้งฉับพลันเป็นสมถะ ความเป็น อิสระอย่างธรรมชาติและปราศจากมโนคติเป็นวิปัสสนา ดังนั้น ในขณะ แห่งการคิด สมถะและวิปัสสนาก็ยังเป็นเอกภาพกัน

นอกจากนี้ เมื่อเห็นแก่นแท้โดยปราศจากหลงไปกับอารมณ์รบกวน แม้ว่า จะรุนแรง เป็นสมถะ ความตื่นรู้ซึ่งรู้เห็นอารมณ์ และอารมณ์รบกวน อยู่ในความว่าง ไม่แยกจากกันเรียกว่าวิปัสสนา ดังนั้นเอกภาพแห่งสมถะ และวิปัสสนาจึงไม่แยกจากกันแม้เมื่อมีอารมณ์รบกวนที่รุนแรง


สรุป
แก่นแท้แห่งจิตไม่ปรากฏเป็นการหยุดนิ่งหรือการคิด การอุบัติ การสิ้นสุด ดีหรือชั่ว ปรากฏการณ์ทั้งปวงคือการแสดงออกแห่งจิตของ เธอ ทำนองเดียวกัน สมถะและวิปัสสนาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก คือเอกภาพที่แยกจากกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้คนเข้าใจได้ง่าย จึงสอนกันในชื่อและประเภทต่าง ๆ

สมถะโดด ๆ จึงถูกระบุว่าไม่เพียงพอสำหรับมหามุทราภาวนาเพราะ
ฌานของพวกนอกพุทธศาสนาหรือแม้ของอนุพุทธะหรือปัจเจกพุทธะ หรือของพวกเทวะจึงจัดเป็นของสามัญ ดังนั้น จึงไม่ใช่หนทางที่แท้ ของการเพิ่มพลังชนิดที่ ๔ ( empowerment of mantra ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในมหามุทรา การยึดมั่นกับความหยุดนิ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ มหามุทราเป็นโอกาสแห่งการปฏิบัติต่อทุกสิ่งในฐานะธรรมกาย ถ้ายึดถือความหยุดนิ่งว่าดี ว่าเป็นภาวนา และเห็นการคิดว่าเลว ไม่ใช่การภาวนานั้น ไม่สอดคล้องกับการเห็นว่าทุกสิ่งคือธรรมกาย หรือการปล่อยทุกสิ่งไว้โดยปราศจากเสกสรรค์ปรุงแต่ง


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:20:58 pm »




วิปัสสนาคือส่วนหลัก
ถ้ายังไม่ขจัดข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งจิตว่าเป็นเช่นไร เช่น มี ลักษณะรูปธรรม มีสี รูปร่าง ฯลฯ มีจุดเกิด ดำรงอยู่ ดับไป หรือ มีอยู่ไม่มีอยู่ สัสสตะ หรืออุจเฉทะ เธอจะไม่สามารถรู้ธรรมชาติได้ ตามเป็นจริง และไม่สามารถรักษาการภาวนาอย่างเป็นธรรมชาติและ เป็นไปเองได้ ถ้าไม่รู้สิ่งนี้ ไม่ว่าจะทำสมถะ ( ทำให้หลง ) และควบ คุมจิตให้นิ่งเพียงใด เธอจะไม่สามารถอยู่เหนือกรรมและวิบากในภพ ทั้งสามได้ จึงควรชำระความคิดให้ถูกต้องกับครูอาจารย์ที่มีความ สามารถ 

กล่าวโดยเฉพาะมนตราอย่างลับเป็นหนทางแห่งการให้พรและความสุข เธอควรปฏิบัติตนในทางที่จะรู้ถึงพรและความสุขที่อาจารย์ของเธอได้รับ โดยวิธีนี้ เธอจะได้รับประสบการณ์แห่งการตื่นรู้ซึ่งอธิบายในภาคของ หลักธรรม ซึ่งปรากฏมีตั้งแต่เริ่มต้นในฐานะของตรีกาย เธอจะประสบ กับมันโดยตรง เป็นการตื่นขึ้นมาเห็น ไม่ใช่ลักษณะแห่งความคิดรวบยอด ซึ่งไม่สุดโต่งในด้านมีหรือไม่มี เที่ยงแท้ ( สัสสตทิฏฐิ ) หรือ สูญ ( นัตถิกทิฏฐิ ) แม้ว่าจะประสบและเข้าใจโดยเป็นความรู้แจ้ง ความตื่น ความว่าง และความแบ่งแยกไม่ได้ การตื่นรู้นี้ไม่สามารถสรรหาถ้อยคำใด ๆ มา เปรียบเที่ยบได้ และมันอยู่นอกระเบียบแห่งการบรรยายด้วยคำ สภาวะนี้ การตื่นในความจริงและการเห็นแจ้งตามธรรมชาตินี้คือวิปัสสนาที่แท้

สิ่งแรกสุด คนสามัญไม่เคยแม้ชั่วขณะที่จะแยกจากการรู้แจ้งตามธรรมชาติ นี้ แต่เนื่องจากไม่เคยมีผู้ชี้แนะและให้พร เขาเหล่านั้นจึงไม่ตระหนักถึงสิ่งนี้ นอกจากนี้สิ่งนี้ก็ยังมีอยู่ในสมถะและเป็นผู้สังเกตภาวะแห่งการคิดหรือความ สงบ มันเป็นผู้กระทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด มันก็เหมือนกับเธอไม่เห็น ตัวเอง กระบวนการแห่งความคิดในคนธรรมดาก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจาก ภาวนาในรูปแห่งการคิด นอกจากนี้ประสบการณ์แห่งสมถะตลอดจนความ สงบจากการคิด ก็ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากวิปัสสนาแสดงตัวในลักษณะเช่นนั้น แต่เพราะไม่เคยเห็นแก่นแท้แห่งจิตที่ปราศจากมโนคติ สิ่งเหล่านี้กลับกลาย เป็นความหยุดนิ่งธรรมดาไม่ใช่หนทางสู่การตรัสรู้ ภายหลังจากที่เธอ ตระหนักถึง แก่นแท้ของเธอ จะไม่มีภาวะหนึ่งใด ไม่ว่าจะเป็นการหยุดนิ่งหรือ การคิดซึ่งไม่เป็นวิปัสสนาหรือ มหามุทรา Lorepa กล่าวว่า

" เมื่อเธอไม่ ทำใจให้หยุดเฉย เสียแล้ว
ไม่ว่าสิ่งใด ปรากฏเป็น อายตนะทั้งหก
ทุกสิ่งล้วนเป็นประสบการณ์ สู่การหลุดพ้น ทั้งสิ้น

เธอ รู้หรือไม่ นักภาวนา"



ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:19:40 pm »



               

                     ภาคสอง มรรคมหามุทรา

สมถะและวิปัสสนา
" ภาวนาแห่งมรรคมหามุทรา อธิบายสมถะและวิปัสสนา ข้อผิดพลาด และคุณภาพ ภาวนา หลังภาวนา ความเข้าใจผิด วิธีเดินไปตามมรรค และอื่น ๆ "
       คำว่า ภาวนา ที่ใช้กันในสายปฏิบัติต่าง ๆ ล้วนมีความหมายแตกต่างกัน ได้มากมาย แต่ในที่นี้หมายถึงการลุถึงจิตในสภาวะธรรมชาติของมัน ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว เธอไม่ภาวนาในการสร้างสิ่งใดขึ้นมาในใจ เช่น วัตถุที่มีสีและรูปทรงโดยเฉพาะ หรือไม่ใช่การภาวนาโดยการใคร่ครวญ ด้วยเจตนาขณะที่กดการคิดการรับรู้ อย่างเช่น การสร้างความว่าง ( หลอก ๆ ) ภาวนาหมายถึงการดำรงอยู่ในภาวะตามธรรมชาติของจิตโดยไม่ปรุงแต่ง สิ่งใดขึ้นมา

กล่าวอย่างเจาะจง จิตมีความสามารถและความฉลาดอยู่มากมาย บุคคล พวกมีอินทรีย์แก่กล้า ไหวพริบดี ซึ่งเคยปฏิบัติมาก่อน ย่อมสามารถระลึก ถึงแก่นแท้ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการปฏิบัติชนิดมีขั้นตอนด้วยสมถะ และวิปัสสนา แต่คนพวกอื่น คนธรรมดาต้องแนะนำไปตามลำดับ ดังนั้น เธอควรเริ่มต้นด้วยสมถะที่มีนิมิต เช่น ท่อนไม้ ก้อนหิน รูปเคารพ หรือเสียง หรือปฏิบัติปราณ พินทุ ฯลฯ แล้วจึงเข้าสู่สมถะที่ไม่มีนิมิต

สมถะ
สมถะที่แท้มีการสอนโดยวิธีการเหล่านี้
๑. ไม่ปล่อยให้จิตส่งออกไปกับวัตถุใด ๆ ทั้งภายในและภายนอกแต่พักอยู่ ในความสดชื่น ไม่วอกแวกตามธรรมชาติ
๒. ไม่ควบคุมทวารทั้งสามอย่างเคร่งครัดเกินไป แต่พักอย่างเป็นอิสระใน สภาวะแห่งการไม่กระทำตามธรรมชาติ
๓. ไม่ปล่อยให้สาระแห่งความคิดและความตื่นรู้ ( สติ ) แยกจากกันและ เป็นสิ่งที่ต่างกันราวกับเป็นขาถอนพิษ แต่จงพักอยู่ในความใสกระจ่าง แห่งการรู้ และการตื่นในตนเอง
ชื่ออื่น ๆ เช่น " ไม่วอกแวก " " ไม่ภาวนา " " ไม่ปรุงแต่ง " ก็ใช้กันกับ สามข้อข้างบนนี้

วิโมกข์มุข ๓ ( อนิมิตตวิโมกข์ อัปปนิหิตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ ) ที่สอน ในสาวกยาน ก็พบได้ในสมถะทั้งสามแบบนี้ เมื่อจิตละจากการตามการ กระทำหรือเหตุการณ์ก็เรียก " อนิมิตตวิโมกข์ " เมื่อจิตปัจจุบันเป็นอิสระ จากความวุ่นวาย ( เพราะจิตสร้างขึ้น ) หรือการรับและปฏิเสธ " สิ่งนี้กำลัง เกิดขึ้น ฉันต้องทำสิ่งนี้ " เป็นสุญญตวิโมกข์ เมื่อจิตเป็นอิสระจากความ คาดหวัง เช่นสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิดในอนาคต เช่นเดียวกับเป็นอิสระจาก ตัณหา เช่นหวังว่าจิตจะเข้าสู่ภาวนา หรือกลัวว่าจะไม่ เรียก " อัปนิหิต วิโมกข์ " สิ่งเหล่านี้มีอยู่ เพียงแต่เธอพักจิตอยู่ในภาวะตามธรรมชาติ โดยปราศจากการทำลาย หรือสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้นมา ( ไม่ปรุงแต่ง )

เมื่อจิตอยู่ในภาวะนี้และความคิดเกิดขึ้นโดยกะทันหัน เพียงแต่รู้แก่นแท้ ของตนเองอย่างกระจ่างชัด ก็พียงพอแล้ว ไม่ต้องพยายามด้วยเจตนา ใด ๆ ที่จะยับยั้ง หรือเพ่งอยู่ในภาวนา หรือควบคุมมันด้วยกรรมวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าการกระทำใดก็ตามไม่ใช่หัวใจแห่งการดำรงธรรมชาติแห่งจิตไว้ใน ภาวะไร้การปรุงแต่ง

แม้ว่าสายปฏิบัติอื่น ๆ มีวิธีปฏิบัติมากมายเกี่ยวกับสิ่งนี้ แก่นของเรื่องนี้  อยู่ที่การระลึกและแก่นแท้ของปรากฏการณ์ ถ้าเธอแสวงหาวิธีปฏิบัติ อย่างอื่น ก็ไม่ใช่มหามุทราดังที่ท่านสรหะผู้ยิ่งใหญ่กล่าวว่า



" การภาวนาของสรรพสัตว์ล้วนสูญเปล่า
เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้สำหรับภาวนา
บุคคลไม่ควรปล่อยใจให้วอกแวก ( ออกนอก ธรรมชาติแห่งจิต - ผู้แปล )
แม้ชั่วขณะ สิ่งนี้ ฉันประกาศว่าคือ มหามุทรา "

ดังนั้น ด้วยการพักอยู่ในธรรมชาติแห่งจิต ตามที่มันเป็นประสบการณ์ ทั้งสามแห่งสมถะก็จะปรากฏขึ้นเองอย่างช้า ๆ มันเป็นอย่างไรเล่า ขั้น แรกจะรู้สึกกระวนกระวายมากกว่าเดิม กระทั่งมีความคิดมากกว่าเดิม บางครั้ง ช่วงระหว่างการคิดแต่ละครั้ง จิตจะหยุดนิ่งอยู่ชั่วขณะ อย่าคิด ว่าการคิดเป็นความบกพร่อง แม้ว่าจนกระทั่งปัจจุบันจิต มันคิดตลอด เวลา แต่เธอไม่เคยตระหนัก จุดนี้คือการรู้ความแตกต่างระหว่างคิดและ หยุดนิ่ง เป็นประสบการณ์แรกแห่งสมถะ อุปมาได้กับน้ำตกจากหน้าผา

    หลังจากดำรงรักษาการภาวนาไว้อย่างนั้น จะควบคุมความคิดส่วนใหญ่ ได้ เธอจะสุภาพและผ่อนคลาย เริ่มสัมผัสความสุขได้ทั้งร่างกายและ จิตใจ และเธอจะไม่ชอบเอาธุระกับกิจกรรมอื่น ๆ แต่จะยินดีในการภาวนา จะเป็นอิสระจากความคิดเป็นส่วนใหญ่ มีข้อยกเว้นน้อยมาก นี่เป็นขั้น ที่สอง อุปมาได้กับกระแสน้ำไหลรินเนิบนาบ

    ต่อมา ภายหลังจากการปฏิบัติด้วยความพยายามอย่างไม่ขาดตอน ร่างกาย เธอจะได้รับแต่ความสุข ปราศจากทุกขเวทนาใด ๆ จิตใจใสกระจ่างปราศ จากความคิด ไม่สนใจวันและคืนที่ผ่านไป เธอสามารถอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อน ไหวได้นานเท่านานเท่าที่ยังทำภาวนาอยู่ ทั้งไม่มีอันตรายใด ๆ อารมณ์รบกวน ต่าง ๆ สงบลง และไม่มีความหมกมุ่นเกี่ยวกับบางสิ่งเช่นอาหารและเครื่อง นุ่งห่ม ได้พบญาณทัสสนะอันวิเศษ และเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย การแสดง ออกต่าง ๆ เหล่านี้คือขั้นสุดท้ายของสมถะ ซึ่งอุปมาได้กับมหาสมุทรแห่ง ความสงบ

    นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้ติดต่อกับอาจารย์ผู้มีความสามารถ และบางคน ที่ขยันมากแต่ศึกษามาน้อย มักหลงไปกับสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกัน สามัญ ชนก็มักเห็นเป็นผู้วิเศษ นำไปสู่หายนะทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น จึงควรระวัง
    ความพยายามในสมถะยังไม่จัดเป็นส่วนหลักแห่งมหามุทรา แต่มันเป็น พื้นฐานที่สำคัญ กยัลวา ลอเร กล่าวว่า

" สมถะทึ่ม ๆ ปราศจากความกระจ่างชัด
เธออาจภาวนาเช่นนี้นานเท่านาน
หากปราศจากความความเห็นแจ้ง
หากครอบครองความว่องไวและความตื่นรู้ที่คมชัด
การภาวนาก็ ( สำเร็จในเวลา ) สั้นมาก "