ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 04:50:46 pm »





วิถีแสดงออกแห่งองค์คุณ

มรรคแห่งมหามุทรา ประกอบด้วยภูมิทั้งสิบและมรรคทั้งห้า ซึ่งทั้งหมด มีสอนในส่วนทั้งหมดของยานทั่วไปและไม่มีการปะปนกัน ธรรมชาติของมรรค จึงเป็นเรื่องของบุคคลผู้รู้แจ้งโยคะทั้งสี่จะบรรลุภูมิทั้งสิบและมรรคทั้งห้า นี้แบบค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบฉับพลัน สำหรับบางคนองค์คุณเหล่านี้ ไม่ได้ปรากฏเป็นอะไรบ้างสิ่งที่เห็นได้ชัด ๆ นั่นเป็นธรรมชาติของมรรค แห่งมนตราชนิดลับ นกและสัตว์ป่าส่วนมากหลังจากลืมตาดูโลกแล้วยัง ต้องพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงจนกว่าจะเทียบเท่าแม่ของตน ครุฑ ผู้ปกครอง แห่งนกทั้งหลาย หรือราชสีห์ราชาแห่งสัตว์ป่าทั้งหลาย พัฒนา ความแข็งแรงมาอย่างสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่เป็นตัวอ่อนซึ่งไม่มีใครเห็น เมื่อคลอดออกมาสามารถแสดงความสามารถได้ทันที เช่น บินไปในท้องฟ้าพร้อมกับแม่ของมัน

ทำนองเดียวกัน อาการแสดงของการรู้แจ้งไม่สามารถเห็นได้ ตราบเท่า ที่ผู้ปฏิบัติยังคงกักขังตนเองอยู่ในร่างกายที่เป็นวัตถุ ภายหลังจากการ แตกสลายของร่างกายและการสุกงอมของผลลัพธ์ ความสมบูรณ์เหล่านี้ จึงจะแสดงออกมาพร้อม ๆ กัน

ยิ่งกว่านั้น บางคนมุ่งมั่นในหนทางที่รวมวิถีและปัญญาเข้าด้วยกัน สามารถ เห็นเครื่องหมายแห่งปฏิบัติในตัวเขา เช่น อิทธิฤทธิ์ และอภิญญา แต่ตาม ความจริงแล้ว โดยปราศจากความเป็นผู้เชี่ยวชาญในความเหมือนแห่งอวกาศ และปัญญา จิตเหนือมโนคติ ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่ง และปัญญาที่แท้ ภายใน ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิทธา บางท่านถูกครอบงำโดยความเย่อหยิ่งและเหลิง คิดว่าเป็นสิ่งเยี่ยมในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็นผลการปฏิบัติ เขาเหล่านั้นได้ส่งตนเองและผู้อื่นสู่ทุคติภูมิ ดังนั้น ควรที่ผู้มีปัญญาทั้งหลาย จะพึงระมัดระวังให้รอบคอบ

               

ส่งเสริมการปฏิบัติ

เมื่อได้อธิบายหลักธรรมและการภาวนา วิถีทั้งห้าและภูมิทั้งสิบอย่าง ย่อ ๆ แล้ว ต่อไปจะได้อธิบายการปฏิบัติศีลและวัตรต่าง ๆ ( conduct ) ซึ่งเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติ

ส่วนใหญ่ของมรรคในมนตราลับ มีปฏิปทาที่ต่างกัน ๓ ชนิด คือ ชนิด ประณีต ( อภิสมาจาร ) อนาจาร ( ไม่ปราณีต ) และปาปสมาจาร และ ยังมีปฏิปทาลับ ปฏิปทาของกลุ่ม สติวินัย พุทธจริยา และอื่น ๆ มีกรณี ต่าง ๆ กันอย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่เป็นข้อส่งเสริมการปฏิบัติ ขั้น พัฒนาและขั้นเสร็จสมบูรณ์ ในกรณีนี้ ข้อปฏิบัติอันยิ่ง ( อธิศีล ) ซึ่ง ดำรงรักษาภาวะที่แท้ ปราศจากมโนคติ เป็นสิ่งเดียวที่สำคัญ

แม้ในภาคนำแห่งการสะสม ขจัดอุปสรค และวิถีแห่งการรับการประสาทพร เธอควรปฏิบัติในข้อปฏิบัติอันยิ่ง ( อธิศีล ) คือไม่ให้มัวหมอง ด้วยโลกธรรมทั้งแปด และมีความบริสุทธิ์กระทั่งไม่ต้องละอายในตนเอง

เมื่อมั่นใจในหลักธรรมและหลักสำคัญแห่งการภาวนากระทั่งแจ่มแจ้ง ในญาณหยั่งรู้แล้ว เธอควรมุ่งสู่การปฏิบัติ " รู้หมดในหนึ่งและรู้หนึ่ง รู้หมด " นั่นเป็นการวางแผนทั้งหมดจากภายในตัวเธอ และตัดความสงสัยทั้งหมดในใจเธอ

ท้ายสุด แม้ว่าคัมภีร์และคำสอนปากเปล่าทั้งหลายจะสอนปฏิปทาเพื่อ ส่งเสริมการปฏิบัติ แต่แก่นแท้ย่อมเป็นเช่นนี้ กล่าวคือ ตัดขาดจาก ความยึดติดกับโลก และอยู่โดดเดี่ยวบนเขาอันสงัด นี้คือข้อปฏิบัติของ " กวางผู้บาดเจ็บ " ปราศจากความกลัวและวิตกเมื่อเผชิญหน้ากับความ ยุ่งยาก นี่คือข้อปฏิบัติของ " ราชสีห์ผู้เที่ยวไปใป่าเขา " อิสระจากความ ยึดติดในกามคุณทั้งห้า นี่คือข้อปฏิบัติของ " สายลมบท้องฟ้า " ไม่เกี่ยวข้องกับความยอมรับหรือปฏิเสธโลกธรรมทั้งแปด นี่คือข้อปฏิบัติของ " คนวิปริต " รักษาความเป็นไปอย่างธรรมชาติแห่งจิตคือเรียบง่าย ไม่มีความเข้มงวด ขณะที่ไม่ถูกผูกมัดด้วยทวินิยม นี่คือข้อปฏิบัติของ " มีดที่เสียบอากาศ "

ขณะที่ผูกพันกับข้อปฏิบัติเหล่านี้ ควรละโซ่ตรวนคือ การเที่ยวไปด้วย ความหลง ความฟุ้งซ่านวอกแวก ความหวังและความกลัว หากเกี่ยวข้อง แม้เพียงเท่าเส้นผม เพื่อจะพบเครื่องหมาย เครื่องบ่งชี้ ประสบการณ์การ รู้แจ้ง หรือ สิทธิ์ และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้จะไม่ให้อะไรแก่เธอ นอกจากปกปิด ภาวะที่แท้ สภาวะดั้งเดิมของเธอ และโฉมหน้าที่แท้แห่งธรรมกาย การมุ่ง ดำรงรักษาภาวะที่แท้ที่เป็นความไม่ปรุงแต่ง นั่นเป็นปฏิปทาที่สูงสุดในการ นำทุกสิ่งมาสู่มรรค

โดยปราศจากการคำนึงถึงความยุ่งยากต่าง ๆ เช่น
ความคิดด้วยมโนคติ อารมณ์รบกวนต่าง ๆ ความทุกข์ ความกลัว ความเจ็บป่วย หรือความตาย ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว จงนำสิ่งเหล่านี้มาสู่มรรค ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญ ของมหามุทรา ไม่หวังพึ่งหรือวางความเชื่อไว้ในสิ่งอื่นใดมาแก้ปัญหา เหล่านี้ นี้เป็นราชาแห่งข้อส่งเสริมการปฏิบัติทุกชนิด

บุคคลผู้สามารถปฏิติอย่างที่กล่าวมาแล้วย่อมสามารถเป็นนายเหนือสังสาระ และนิพพาน ปรากฏการณ์และความมีความเป็นต่าง ๆ ดังนั้น ธรรมชาติ ที่แท้คือเธอจะเป็นอิสระจากพื้นฐานแห่งความมืดมัวทั้งปวง มหาสมุทรแห่ง ความสำเร็จจะท่วมท้น และความคิดมืดจากสิ่งปกคลุมสองอย่างถูกชำระ ประกายแห่งความหมายและความสำเร็จจะฉายฉาน จะพบพระพุทธเจ้า ในใจเธอเอง และพันธสัญญาในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นจะเปิดกว้าง

ตรงกันข้าม เหตุแห่งความพังพินาศคือเมื่อนักภาวนาทิ้งอัญมณีมีค่าซึ่งอยู่ ในมือของตน และเหมือนกับเด็กเก็บดอกไม้ เขาเหล่านั้นใช้เวลาชั่วชีวิต หวังสิ่งที่ดีกว่าครั้งแล้วครั้งเล่า


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 04:32:49 pm »





ทศภูมิ
ข้อแรกแห่งทศภูมิ เรียกว่ามุทิตา ( ยินดี ) เพราะได้รับความยินดีจากการ พบคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ด้วยวิธีแห่ง " ภาวนา " ซึ่งเป็นความไม่เกิดและ ไร้มโนคติ และหลังภาวนาซึ่งเป็นมายา เธอผ่านมรรคนี้ไปโดยบำเพ็ญ ทานบารมี ด้วยจิตใจที่เป็นอิสระจากความความหวาดกลัว แม้ต้องสละ ศรีษะหรือแขนขาหรืออื่น ๆ เพื่อสรรพสัตว์ สาวกยานมีคำสอนที่กว้าง ขวางในเรื่องทศภูมิ ดังนี้

เนื่องจากเรียบง่ายชั้นต้น มีความร่าเริงจากสมาธิเพิ่มอย่างมากเธอถึง ภูมิแรกคือมุทิตา เมื่อเป็นอิสระจากกิเลสที่ต้องกำจัดโดยมรรคแห่งการ พัฒนา เธอถึงภูมิที่สองคือวิมลาภูมิ เมื่อได้ทำความสวัสดีแก่สรรพสัตว์ จากพลังแห่งความรู้แจ้ง เธอถึงภูมิที่สามคือประภาการี
 
เมื่อถึงเรียบง่ายชั้นกลาง คุณแห่งพุทธะเพิ่มขึ้นอีก เธอถึงภูมิที่ ๔ คือ อรจีสมดี เพราะได้ชำระอนุสัยกิเลสซึ่งชำระได้ยากด้วยวิธีเห็นความ ว่างและความกรุณาเป็นหนึ่งเดียว เธอถึงภูมิที่ ๕ คือ สุทุรชยา ( เอาชนะ ได้ยาก )

เมื่อถึงความเรียบง่ายชั้นสูงสุด เพราะเห็นสังสาระและนิพพานเป็น ความไม่เกิด เธอถึงภูมิที่ ๖ คือ อภิมุขี ภูมิต่าง ๆ จากเริ่มต้นจนถึง ภูมินี้มีร่วมกันทั้งในสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน
    ภายหลังจากนี้ ประสบการณ์ทวิลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ภาวนาและหลัง ภาวนา สังสาระและนิพพาน ส่วนใหญ่จะถูกปล่อยวางโดยเห็นเป็น เรื่องเดียวกัน คือการเริ่มต้นเห็นหนึ่งรส เธอถึงภุมิที่ ๗ คือ ทูรังคมา

เมื่อสติเพ่งมองหาความรู้แจ้งเสมอไม่วอกแวกหวั่นไหว เธอบรรลุถึง หนึ่งรสชั้นกลาง เธอถึงภูมิที่ ๘ คือ อจลาภูมิ เมื่อกิเลสที่เหลือยกเว้น กิเลสที่ละเอียด เช่น ประสบการณ์ทวิลักษณ์ได้ถูกชำระแล้ว เธอบรรลุ ถึงหนึ่งรสชั้นสูง คือภูมิสาธุมด
 
เมื่อประสบการณ์ทวิลักษณ์อย่างละเอียดถูกชำระแล้ว คุณภาพแห่ง มรรคและภูมิก็สมบูรณ์ แต่ยังมีความพร่มัวจากความรู้แบบทวินิยม อยู่บ้าง ซึ่งเป็นอนุสัยแห่งความยึดมั่นถือมั่นเป็นซากที่หลงเหลืออยู่ จาก " อาลยวิญญาณ " นี่เป็นระยะของไม่ภาวนาชั้นต้นและชั้นกลาง ซึ่งตามหลักทั่วไปเรียกว่าภูมิที่ ๑๐ คือ ธรรมเมฆา เมื่อถึงจุดนี้ เธอ ครอบครองคุณลักษณ์เท่าเทียมกับโพธิสัตว์แห่งภูมิทั้ง ๑๐

ความเป็นพุทธะ
กิเลสที่เกิดจากการไม่รู้ธรรมชาติไร้มโนคติ หรืออนุสัยจากความคิด แบทวินิยมละลายกลายเป็นความตื่นรู้ในตัวเอง ซึ่งมีอยู่แล้วในตนเอง ซึ่งเป็นปัญญาดุจสายฟ้า เธอจะเป็นอิสระจากความมืดมนหรือมืดมัว ทั้งปวง พลังแห่งปัญญาตามธรรมชาติตามที่มันเป็นอยู่ มีอยู่เช่นเดียว กับความเข้มแข็งแห่งความรู้ ความกรุณา และระดับความสามารถ สมบูรณ์เต็มที่ ยานทั่วไปบรรยายสิ่งนี้ว่าเป็นมรรคแห่งความเสร็จสิ้น สภาวะที่แท้แห่งความเป็นพุทธะที่สมบูรณ์ ในบริบทแห่งมหามุทรา เรียกว่า ไม่ภาวนาชั้นสูงสุด

กล่าวตามมนตราอย่างลับทั่ว ๆ ไป เธอเป็นอิสระจากความมืดมัวจาก กรรม อารมณ์รบกวน และอนุสัย และดังนั้น จึงไม่ต้องมีวิธีการปฏิบัติ หรือสิ่งที่ต้องรู้แจ้ง แต่ในหัวข้อความก้าวหน้าด้านคุณธรรม มีภูมิที่ ๑๑ เรียกว่าความสว่างสากล และภูมิที่ ๑๒ ดอกบัวแห่งความไม่ยึดมั่นถือ มั่น เมื่อสามารถหยั่งรู้ ๒ ภูมินี้ทุกขณะจิต รูปกายเป็นการช่วยเหลือ ผู้อื่น ในฐานะเป็นการทำความบริบูรณ์แห่งธรรมกายเพื่อประโยชน์ ของตนเอง เธอบรรลุถึงประโยชน์แห่งการปฏิบัติเพื่อความสวัสดีของ สรรพสัตว์อย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่สังสารวัฏฏ์ยังไม่ว่างเปล่า นี่เรียก ว่าภูมิที่ ๑๓ แห่งวัชรธร หรือความเป็นพุทธะเอง
 
ตราบเท่าที่มรรคและภูมิเหล่านี้มีสิ่งที่ต้องดำเนินไปหา เรียกว่า มรรคแห่งการเรียนรู้ ( เสขมรรค ) เมื่อถึงจุดสูงสุด ซึ่งไม่ต้องไป ไหนอีก เรียก มรรคแห่งการจบการเรียนรู้ ( อเสขมรรค ) ดังนั้น ภูมิที่ ๑๓ แห่งวัชรธร จึงเป็นผลสุดท้ายของมนตราลับภายใน

องค์คุณ
มีองค์คุณอะไรบ้างที่เกิดร่วมกับการบรรลุภูมิแห่งโพธิสัตว์เหล่านี้ เมื่อ บรรลุถึงภูมิแรก เธอสามารถท่องเที่ยวสู่ภพแห่งนิรมาณกายนับร้อยภพ ในทั้งสิบทิศได้พร้อม ๆ กับ พบพระพุทธะนับร้อยในหนึ่งคนและฟัง เสียงแห่งธรรมะ เธอสามารถแสดงกรุณาจิตร้อยแบบได้พร้อมกัน เช่น เสียสละชีวิต อวัยวะ อาณาจักร บุตร ภรรยาโดยไม่ลังเล เธอสามารถ เปล่งประกายร้อยประกายพร้อม ๆ กัน เปล่งประกายสีแดงขณะซึมซับ ประกายสีขาว ส่องแสงสีเหลืองขณะอยู่ในวงสีน้ำเงิน ส่องหลายแสง ขณะที่ดูดซับจำนวนน้อย ดังนี้เป็นต้น เธอสามารถสอนมรรคได้นับร้อย มรรคแต่ละมรรคล้วนสอดคล้องกับนิสัย ความสามารถของแต่ละคน เธอสามารถเข้าสู่สมาธินับร้อยแบบได้พร้อม ๆ กัน เช่น สมาธิแห่งการ เคลื่อนไหวอย่างกล้าหาญ วิชิตสมาธิ สีหสมาธิ ซึ่งทรงสอนในปรัชญา ปารมิตาสูตรโดยพระพุทธองค์ เธอสามารถแสดงฤทธิ์ เช่น เหาะไป บนท้องฟ้า หรือดำดิน เดินไปโดยไม่มีติดขัดผ่านภูเขา และไม่จมน้ำ สามารถพ่นไฟจากท่อนบนของกายและน้ำจากส่วนล่างของกาย หรือ ตรงกันข้าม สามารถแปลงกายหนึ่งคนเป็นหลายคนหรือหลายคนเป็น หนึ่งคนได้ เธอทำได้มากกว่าเจ็ดร้อยเท่าของสิ่งเหล่านี้

ทำนองเดียวกัน เมื่อเธอก้าวสู่ภูมิที่ ๒ เธอมีองค์คุณเหล่านี้นับ ๗ คูณพันเท่า เมื่อขึ้นภูมิที่ ๓ เธอมีองค์คุณเหล่านี้นับได้ ๗ คุณสิบพัน เท่า เมื่อขึ้นภูมิที่ ๔ เธอมีองค์คุณเหล่านี้นับได้ ๗ คูณร้อยพันเท่า เมื่อ ถึงภูมิที่ ๑๓ ธรรมชาติแห่งตรีกายมีนับได้ไม่ถ้วน สิ่งนี้อยู่เหนือการ คาดคะเนและไม่มีใครหยั่งรู้ได


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 04:29:58 pm »





ปัญจมรรคและทศภูมิ

คนส่วนมากเสแสร้งว่าตนเป็นนักปฏิบัติธรรม แต่ยังคงถูกผูกมัดโดย โลกธรรมทั้งแปดและหลงใหลในวัตถุ ยังแสวงหามาครอบครอง หาก ไม่คิดถึงสิ่งอื่นใดนอกจากอาหาร เครื่องนุ่งห่มและความสุขในชีวิตนี้ บางคนทำลายตนเองโดยยาพิษคือความภาคภูมิใจ คุยโวอยู่กับการเรียน ปริยัติและความรู้ แต่ไม่สามารถเป็นนายเหนือจิตใจของตนเองได้ บาง คนมีความมุ่งมั่นปฏิบัติหากแต่ขาดครูบาอาจารย์ผู้สามารถแนะนำสั่งสอน ได้ ดังนั้น จึงขังตนเองอยู่ในคุกแห่งการปฏิบัติตนให้ลำบาก ไม่รู้วิธี ปฏิบัติให้ราบรื่น นักปฏิบัติหลายท่านจึงได้รับความเบื่อหน่ายเป็นรางวัล

ในยุคปัจจุบันซึ่งขุนเขาและหุบเขาเต็มไปด้วยนักปฏิบัติที่หมกมุ่นกับการ ปฏิบัติที่ผิดและขาดอุปกรณ์ส่งเสริมการปฏิบัติ คล้ายสตูจากปอด หรือ กลวง เช่น ท้องของช่างตีเหล็ก อธิบาย ( สาธก ) เกี่ยวกับคุณของโยคะสี่ แต่จะไม่ได้รับผลอะไร มากไปกว่าการอธิบายเรื่อง คุณของน้ำในทะเล ทราย ไม่มีประเด็นที่ควรกล่าวถึงเลย

นักปฏิบัติผู้โชคดีมีประสบการณ์และรู้แจ้งไม่ขึ้นอยู่กับถ้อยคำและอักษร ภายนอก เมื่อความรู้จากการภาวนาเกิดขึ้นจากภายใน ดังนั้นเขาจึงไม่ ต้องการคำอธิบายยืดยาวจากผู้อื่นเช่นผู้เขียน ซึ่งคล้ายกับการบอกเล่าถึง สถานที่แห่งหนึ่งโดยผู้ที่ไม่เคยอยู่ที่นั่น

ผู้มีความสามารถและทักษะ ผู้ละความห่วงใยเกี่ยวกับชีวิตนี้และเปี่ยม ด้วยความอุตสาหะ ผู้ปฏิบัติตามอาจารย์ผู้ทรงคุณและได้รับการประสาท พรจะปฏิบัติได้ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น ในแง่มุมของประสบการณ์ และการรู้แจ้งโยคะสี่จะก้าวหน้าไปในปัญจมรรค ( หรือมรรคทั้งห้า ) และทศภูมิ ( หรือภูมิทั้งสิบ ) แห่งยานทั่วไป ราชาสมาธิสูตร ( King of Samadhi Sutra ) กล่าวว่า

บุคคลตั้งมั่นในสมาธิสูงสุดนี้
และผู้ถือตามคำสอนนี้ ไม่ว่าไปที่ใด
ย่อมมีการเป็นอยู่ที่สุภาพและมีสันติ
( ย่อมก้าวสู่ภูมิ ) มุทิตา วิมลา ประภาการี อรจีสมดี

สุทุรชยา อภิมุขี ทูรังคมา อจลา สาธุมดี
ธรรมเมฆา
ดังนั้น จึงบรรลุถึงภูมิทั้งสิบ



ปัญจมรรค

กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ระดับของมรรคแห่งการสะสม เธอจะบรรลุถึง สติปัฏฐาน ๔ ปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ สิ่งเหล่านี้จะสมบูรณ์ใน มหามุทราดังต่อไปนี้

แรกสุด คือ การเห็นแจ้งความทุกข์จากสังสารวัฏฏ์ ทุกข์ในการแสวง หาอิสรภาพและความมั่งมี ความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และอื่น ๆ สิ่งเหล่า นี้ประกอบด้วยการใช้สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายานุปัสสนาเห็นว่ากายไม่ บริสุทธิ์ เวทนานุปัสสนาเห็นเป็นความเจ็บปวด จิตตานุปัสสนาเห็น ความไม่เที่ยง และธรรมานุปัสสนาเห็นความว่างจากตัวตน การมุ่งสนใจ สิ่งเหล่านี้และมีประสบการณ์หรือความมั่นใจเรียกว่าผ่านมรรคแห่งการ สะสมชั้นต้น

ทำนองเดียวกับ ปธาน ๔ กล่าวคือ ระวังอกุศลธรรมไม่ให้เกิด ละ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างกุศลธรรม บ่มเพาะกุศลธรรมที่ทำแล้ว ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการถือสรณาคมน์ อบรมโพธิจิต สวด มนต์ และถวายทานเรียกว่า ผ่านมรรคแห่งการสะสมชั้นกลาง

ถัดมาคือ คุรุโยคะ อันประกอบด้วย อิทธิบาท ๔ ได้แก่ อุทิศตนต่อ คุรุ เรียกว่า ฉันทอิทธิบาท ได้รับการถ่ายทอดพลัง ( empowerment ) เรียกว่า วิมังสาอิทธิบาท การมุ่งมั่นพากเพียรเรียกว่า วิริยอิทธิบาท หลอมรวมจิตของอาจารย์และตนเข้าด้วยกันเรียกว่า จิตตอิทธิบาท ด้วยสิ่งเหล่านี้เธอผ่านมรรคแห่งการสะสมชั้นสูง

มหายานปารมิตาสอนว่าองค์คุณแห่งการสำเร็จมรรคแห่งการสะสมคือ เธอสามารถเดินทางสู่ภูมิที่บริสุทธิ์และพบพระพุทธองค์ในตัวบุคคลและ อื่น ๆ ในบริบทนี้ คุรุผู้ทรงคุณคือแก่นแห่งตรีกายและการกระทำของ เขาคือนิรมาณกาย ดังนั้น จึงยังสอดคล้องกับความหมายข้างบน

มรรคแห่งการผสมคือ เอกัคคตาชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง ซึ่งบรรลุพร้อม ด้วย " ความมั่นใจ ๔ ประการ " เห็นแจ้งจิตเดิมแท้เรียก อัคคี ได้รับความ เชื่อมั่นไม่หวั่นไหวเรียก อนุตระ ไม่มีเวรภัยจากสิ่งแวดล้อมเรียก ปลอดภัย และไม่สะดุดขาดตอนในการปฏิบัติเอกัคคตา เรียกว่า " คุณสูงสุด " ใน มรรคแห่งการผสม ถึงขั้นนี้เธอจะบรรลุคุณแห่งอินทรีย์ทั้งห้า ได้รับความ มั่นใจไม่มีขอบเขต เรียกว่าสัทธินทรีย์ เพ่งธรรมไม่วอกแวก เรียกสตินทรีย์ ไม่ถูกขัดจังหวะเพราะความเกียจคร้าน เรียกวิริยินทรีย์ ภาวนาได้โดย ไม่ถูกขัดจังหวะ เรียกสมาธินทรีย์ เข้าใจโดยถ่องแท้ เรียกปัญญินทรีย์ อินทรีย์ทั้งห้าสมบูรณ์และกลายเป็นกำลังจึงเรียกพละ

เมื่อบรรลุถึงเอกัคคตาอย่างนี้ เธอได้บรรลุมรรคแห่งการผสมและถึง ความเรียบง่าย เพราะเห็นแจ้งความจริงซึ่งยังไม่เคยเห็น เธอจึงบรรลุ ถึงมรรคแห่งการเห็นแจ้ง

มหายานปารมิตาสอนไว้ว่า เมื่อถึงจุดนี้บุคคลจะพัฒนาโพชฌงค์ ๗ จะ พบว่ามันเกิดขึ้นแล้ว พูดอย่างละเอียดได้ว่า เมื่อเป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของมัน คือ สมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่ผสมกับอารมณ์ที่มารบกวน คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เนื่องจากกิเลสถูกกำจัดโดยมรรคแห่งการเห็น แจ้ง ถูกชำระง่าย ๆ เพียงแค่จดจำสมาธิชนิดนี้ นี้คือ สติสัมโพชฌงค์ เพราะเป็นอิสระจากความเกียจคร้านและความวอกแวกฟุ้งซ่าน นี้คือ วิริยสัมโพชฌงค์ เพราะเธอประสบนิรามิสสุข นี้คือ ปีติสัมโพชฌงค์ เนื่องจากกิเลสที่ต้องถูกกำจัดถูกชำระแล้ว นี้คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เมื่อเห็นสังสาระและนิพพานว่าเสมอเหมือนกัน นี้คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนั้น จึงบรรลุโพชฌงค์เจ็ดโดยสมบูรณ์
    ยังสอนอีกว่า เธอบรรลุคุณแห่งมรรคแห่งการเห็นอย่างมากมายพร้อม กับประตูสู่อนันตริกสมาธิ

    อาจารย์บางท่านยังถือว่ามรรคแห่งการพัฒนาและภูมิแรกบรรลุถึงเมื่อ ได้ทำให้เรียบง่ายสมบูรณ์และมาถึงหนึ่งรส อาจารย์อื่น ๆ ส่วนมากยอม รับว่าการบรรลุถึงภูมิแรกเป็นหลังภาวนาอย่างจริง ภายหลังจากที่เห็น แก่นของความเรียบง่ายและเกิดมรรคแห่งการเห็นแจ้ง ความแตกต่างทาง ด้านความสามารถของแต่ละบุคคล ทำให้การจำแนกเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงไม่สามารถถามได้ว่ามีช่องทางและความเร็วในการผ่านพ้นมรรคต่าง ๆ หรือไม่
    การเห็นแจ้งมรรคแห่งการเห็นแจ้งในวิถีทางแบบนี้เรียกว่าภูมิ เพราะมัน เป็นแหล่ง ( สมุฏฐาน ) หรือบ่อเกิดแห่งคุณทั้งปวง อวตังสกสูตร กล่าว ไว้ว่า

ทันทีที่บรรลุถึงภูมิ เธอเป็นอิสระจากเวรภัย ๕ ประการ
อิสระจากเวรภัยแห่งการทำร้าย ความตาย การเกิดในอบายภูมิ
อิสระจากเวรภัยเพราะการหมุนไปในสังสารวัฏฏ์ และอิสระจากความวิตก
ในลักษณะเช่นนี้ คุณภาพแห่งภูมิทั้งสิบย่อมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


ระยะหลังจากบรรลุภูมิแล้วเรียกว่ามรรคแห่งการพัฒนา ทำไมจึงเป็น อย่างนั้น เพราะเธอทำตัวให้เข้าได้กับธรรมชาติของมรรคแห่งการ เห็นแจ้ง

ณ จุดนี้เธอพัวพันกับอริยมรรคมีองค์ ๘ ในมรรคแห่งการพัฒนาในภาวะ แห่งการภาวนา เธอพัฒนาอสังขตสมาธิ ( อนิมิตสมาธิ ) อย่างยิ่งยวด และในประสบการณ์ผลลัพธ์ เธอพัฒนาองค์ทั้งแปดแห่งอริยมรรค ซึ่ง กล่าวกันว่าเป็นสังขตะ มรรคมีองค์แปดมีอะไรบ้าง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ พูดสั้น ๆ ไม่ได้เป็นสิ่งใดนอกจากบรรลุถึงธรรม- ชาติที่สมบูรณ์หมดจด ซึ่งประกอบด้วยองค์คุณมากมายซึ่งยอดเยี่ยมยิ่ง กว่ามรรคชั้นต่ำ ๆ