ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 12:43:33 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 09:58:23 am »




ปัจฉิมกถา
ธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นอิสระแต่เริ่มต้น
พุทธภาวะแห่งตรีกายซึ่งดำรงอยู่เองตามธรรมชาติ
ในสรรพสัตว์แม้เล็กสุดเท่าแมลง
ดำรงอยู่เสมอไม่แยกออกไปได้แม้มืดมัวด้วยอวิชา

ธรรมทาวรมากมายเท่าปริมาณแห่งสรรพสัตว์ผู้ฝึกได้
ใช้สอนเพื่อฝึกสรรพสัตว์
เขาหลงอยู่ในสัญญาวิปลาส
ในมรรคที่จับฉวยมาผิด ( ผู้อยู่ในโลกธรรม )
มรรคที่ผิด ( พวกพาหิรลัทธิ )
มรรคที่ไม่ถูกตรง ( พวกเถรวาท )
และพวกถูกล่ามด้วยมรรค ( พวกตันตระชั้นต่ำ )
ที่จะเดินไปตามมรรคอันเยี่ยมช่างหาได้ยากนัก
ราวกับดอกอุทุมพร
 
ถูกมัดด้วยความสุดโต่งขณะอยู่เหนือความโต่ง ( หลักธรรม )
โดยไม่ตระหนัก เปรียบเสมือนกับทรัพย์ของคนจน
ซึ่งปรากฏอยู่ในบุคคลแล้ว ( การภาวนา )
ถูกทำลายด้วยการปรุงแต่ง ขณะที่
ทั้งแสดงออกมาเองและไม่ปรุงแต่ง( การกระทำ )
เป็นความโง่งมงายเพียงใดที่ไม่รู้ตามที่มันเป็น

คนมั่งมีและแข็งแรงถูกบุญเข้าครอบครอง
ผู้ถูกอบรมด้วยการศึกษากลายเป็นคนแข็งกระด้างคล้ายผิวเนย
นักภาวนาผู้อยู่ภายใต้อวิชชายืนหยัดในความกระด้าง
คล้ายบีบน้ำมันจากทราย
ใครจักได้รับมหามุทราแห่งภาวะธรรมชาติ

คำสอนชั้นเลิศของพระสูตรและตันตระ
คล้ายคู่แห่งอาทิตย์และจันทร์
ยังคงเหลืออยู่เพียงเศษเสี้ยว
คล้ายแสงแดงเรื่อจากก้อนเมฆในเวลาเย็นย่ำ
ไฉนจึงผูกเสรีภาพไว้ด้วยท้องไส้เพียงเพื่อชีวิตนี้
 
พำนักในอาศรมกลางขุนเขาไร้ผู้คน
อาศัยอาหารพื้น ๆ เพื่อยังชีพ
เพ่งมองหาโฉมหน้าดั้งเดิม เป้าหมายที่ยั่งยืน
นี่มิใช่ธรรมเนียมของสายปฏิบัติหรือ
 
ในยุคปัจจุบัน ความมุ่งหวังลาภคือเหตุแห่งความเสื่อม
และความเพียรก็มิใช่เพื่อความจริงแท้
ใครเล่าจักต้องการและให้ความเทิดทูน
บทประพันธ์ของฉัน 
 
อาจเติมห้องด้วยบทประพันธ์เขียนหวัด ๆ
ไม่ต้องการจากตนเองและไม่ทราบซึ้งโดยใครอื่น
ไม่สามารถฝึกจิตใครแม้สักคน
เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากกระดาษเปื้อนหมึก
และแรงงานเหนื่อยยากจากนิ้วมือฉัน 
 
คำร้องยากปฏิเสธ
จากบางคนอย่างยาวนาน
ฉันทำสิ่งนี้จากอนุมาน
ขาดพลังแห่งบทประพันธ์ที่มั่นคงในความหมาย

อ่อนเชิงในการหยั่งรู้ความหมายแห่งถ้อยคำ
กระทั่งประสบการณ์ในการหยั่งถึงความหมายแห่ง
ถ้อยคำอันล้ำลึก
บทประพันธ์นี้
จะเป็นอย่างอื่นเว้นเสียแต่ที่ตั้งแห่งการยิ้มการยิ้มเยาะของผู้รู้
และผู้บรรลุทั้งหลายได้ไหม
 
ไม่ว่าอย่างไร บัวแรกบานงามตาดอกนี้
เปล่งประกายด้วยลีลาชั้นอริยะ
และไม่พร่ามัวด้วยความตั้งใจชั่วร้าย
อาจเป็นเครื่องประดับโสต
นักภาวนาเปี่ยมพลังบันดาลใจเช่นฉัน

ด้วยกุศลจากการประพันธ์งานชิ้นนี้
ร่วมกับคุณธรรมชั้นอสังขตะ สังขตะ แห่งสังสาระ นิพพาน และมรรค
ขอให้คำสอนแห่งสายปฏิบัติจงขจรขจายไปทุกทิศทาง
ขอให้สรรพสัตว์หยั่งรู้ผลแห่งมหามุทรา


เป็นเวลายาวนานที่ฉันได้รับคำขอร้องครั้งแล้วครั้งเล่าจาก ซุลตริม ซังโป วิทยาธรแห่งมังคม ด้วยถ้อยคำเหล่านี้ " โปรดรจนาตำราที่ ละเอียดและลึกซึ้งเกี่ยวกับคำสอนที่จำเป็นที่ส่งเสริมและบ่งบอกขั้นตอนในการปฏิบัติมหามุทรา " แต่เพราะมีตำราอยู่มากมายแล้ว ทั้งที่ เป็นพื้นฐานและลึกซึ้งของบูรพาจารย์สายปฏิบัติต่าง ๆ จึงไม่จำเป็น ต้องรจนางานใด ๆ ขึ้นมาใหม่

อย่างไรก็ตาม ฉันได้รับข้อคิดจากอาจารย์ผู้เป็นที่พึ่ง และได้รับผลงานด้านมรรคมหามุทราหลายชิ้น เช่น รวมเป็นหนึ่งกับสิ่งเกิดร่วม จตุรพจน์ ปราศจากถ้อยคำ แก่นแห่งมรรค ประกายแห่งปัญญา และตำราอื่น ๆ ที่มีชื่อสำนักใหม่ จากสำนักเก่าก็ได้รับตำราเหล่านี้ คือ วงสุริยะ หนึ่งการเกิดขึ้นแห่งสติสัมปชัญญะ ขับความมืดแห่ง อวิชชา เห็นมรดกแต่ดั้งเดิมโดยตรง และอื่น ๆ

ทั้งที่ได้รับงานเหล่านี้ ฉันก็ไร้ความสามารถ
ในการประพันธ์งานที่ทรงคุณค่าเช่นนี้
เพราะถูกซัดไปมาด้วยกระแสกรรม อารมณ์ปั่นป่วนและ ความฟุ้งซ่าน
ไม่มีประสบการณ์และการรู้แจ้งแม้สักนิดในใจฉัน
อย่างไรก็ตาม ฉันขอร้องด้วยใจจริงว่า ผู้รู้ทั้งหลายอย่าได้ดูถูกเหยียดหยาม
บทประพันธ์ของชายตาบอด ในความมืดมนอนนธกาล
เพื่อจะไม่ต้องสลายค่า คำขอร้องต่อฉัน

ด้วยบุญกุศลนี้ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล มารดาของฉัน
บรรลุถึงการตรัสรู้ที่ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่าในชีวิตนี้


ขอให้คุณธรรมจงเจริญ
ขอให้คุณธรรมจงเจริญ
ขอให้คุณธรรมจงเจริญ



Mahamudra linage prayer.

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 09:47:14 am »


               
     

เหตุแห่งความบรรลุถึงตรีกาย

ผลจากความมุ่งความสนใจที่ความว่างแห่งมหามุทราในขณะปฏิบัติ ตามมรรคคือการบรรลุถึงธรรมกาย ผลชั้นรองหรือแง่มุมจากมรรคคือ เธอบรรลุถึงนิรมาณกาย โดยพลังแห่งการพัฒนาโพธิจิต สร้างแรง บันดาลใจ หรืออื่น ๆ เธอบรรลุถึงสัมโภคกายเพราะเหตุคือฝึกปฏิบัติ ภาวนาขั้นรากฐาน โดยพลังความเพียรในการปฏิบัติเหล่านี้ ไม่สะเปะ สะปะ แต่เป็นเอกภาพระหว่างวิธีและปัญญา ความบริสุทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ สามประการ เธอจะได้รับความมั่นคงในแก่นแท้ซึ่งกายทั้งสามไม่แยก จากกัน

ตรีกายที่อธิบายที่นี่เช่นเดียวกับ การแบ่งเป็นกายสี่ กายห้าเป็นสิ่งเดียว กันแต่มีหลากหลายชื่อ เพราะมีหน้าที่หรือองค์คุณต่าง ๆ กัน พูดสั้น ๆ มันไม่ได้เป็นสิ่งอื่น ๆ นอกเสียจากแก่นแท้ที่มีอยู่ ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ในจิตของเธอ ซึ่งเมื่อบรรลุถึงผล มันก็ชื่อว่า ตรีกาย


สรุป
ในบริบทนี้ ยานแห่งเหตุและตันตระต่ำมีระบบและคำอธิบายมากมาย ซึ่งล้วนแต่ผูกติดกับหลักธรรมเฉพาะของตน เช่นเดียวกับคำกล่าวอ้าง เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ หรือเจตนาที่ไม่เปิดเผย เช่น ธรรมกายมีมือ และแขนหรือไม่ ภพภูมิเหล่านี้สามารถแสดงให้เห็นได้หรือไม่ หรือ พระพุทธเจ้ามีปัญญาที่เป็นกระแสที่เฉพาะของพระองค์เองหรือไม่ หรือ รูปกายทั้งสองมีความรู้สึกเหมือนเป็นบุคคลหือไม่ และอื่น ๆ ข้อถกเถียง ต่าง ๆ เหล่านี้ รวมทั้งข้อพิสูจน์และข้อหักล้างดูซับซ้อนมาก แต่ขณะที่ หัวข้อต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนใช้ได้ ในบริบทของมันเอง ธาตุแท้หรือ หัวใจแห่ง ( มรรค ) ยาน บุคคลไม่จำเป็นต้องขึ้นกับการตั้งหลักธรรม แห่งยานชั้นต่ำ

ความหมายในที่นี้คือ " กลมกลืนกับบุคคลชั้นสูงกว่า " ความหมายนี้ มุ่งสู่อะไร ไม่ต้องซาบซึ้ง ไม่ต้องยึดติด ไม่ต้องหักล้าง และไม่ต้อง ชี้ขาดลงไปว่า ปรากฏการณ์ใดทั้งสังสารและนิพพาน ปรากฏการณ์ และความดำรงอยู่ ว่าเป็นจริงหรือไม่จริง ดำรงอยู่หรือไม่ดำรงอยู่ เกิดหรือดับ มาหรือไป สัสสตะหรืออุจเฉทะ ผู้ที่ยึดถือข้างไม่ดำรงอยู่ สุดโต่งไปด้านอุจเฉทะ ผู้ยึดถือข้างดำรงอยู่สุดโต่งไปข้างสัสสตะ ความคิดว่า " สิ่งทั้งหลายไม่ใช่ทั้งดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ " ก็ยังไม่พ้น จากความคิดปรุงแต่ง ดังนั้น ถ้าบางสิ่งดำรงอยู่ในประสบการณ์ของ บางคน จงปล่อยไปอย่างนั้น เพราะสัญญาที่ไม่ถูกขัดจังหวะยังไม่หมด กำลัง และการประจวบกันของเหตุปัจจัยยังไม่ล้มเหลว ถ้าบางสิ่ง ไม่ดำรงอยู่ในสัญญาของบางคน จงปล่อยไปเช่นนั้น เพราะโดยแก่นแท้ แล้ว มันไม่ได้เคลื่อนออกจากความว่าง ธรรมชาติที่เป็นเจ้าของสิ่งใด ไม่ได้เลย ถ้าบางสิ่งไม่ได้ดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ จงปล่อยให้ เป็นอย่างนั้น ในฐานะที่มันไม่ได้ สุดโต่ง ไปด้านใดด้านหนึ่ง และมันก็ไม่ได้เข้ากับการ จำแนก แบบใดแบบหนึ่ง

ทุกสิ่งที่ปรากฏเป็นโลกภายนอกและสรรพสิ่งถูกสำคัญมั่นหมายโดย ความเคยชินและประสบการณ์แห่งกรรมของสรรพสัตว์ที่เศร้าหมอง เป็นวัตถุและธาตุทั้งห้าที่เป็นตัวตน ผู้ปฏิบัติตามมรรคสำคัญว่าเป็นการ แสดงของจิตของตน พระพุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายสำคัญหมาย ว่าเป็นการแสดงออกแห่งชั้นภูมิแห่งการตื่นรู้ ท้ายสุดทุกสิ่งไม่มีอะไร มากไปกว่าการแสดงออกอย่างมหัศจรรย์ของภาวะที่แท้ของจิต

ทำนองเดียวกัน พฤติกรรมการรับรู้ภายในและความคิดของจิตสำหรับ สรรพสัตว์ที่เศร้าหมองและหลงอยู่คือ ธรรมชาติของกรรม อารมณ์ ยุ่งเหยิง และความเคยชินตามนิสัย สำหรับผู้ปฏิบัติตามมรรคการรับรู้ คือแง่มุมต่าง ๆ ของหลักธรรมและการภาวนา ประสบการณ์และการ รู้แจ้ง ท้ายสุดสำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย การรับรู้คือการแสดงออก ด้วยความฉลาดแห่งปัญญาและกรุณา

แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างแม้เพียงน้อยนิดในธรรมชาติแห่ง " มูลฐาน " ความแตกต่างขึ้นอยู่กับว่ามัน ( มูลฐาน ) ถูกห่อหุ้มด้วยความมืดมัวเพราะ มโนคติ ( เช่นในกรณีของสรรพสัตว์ ) หรือไม่ มันถูกปกคลุมเล็กน้อย ( เช่นในกรณีของผู้ปฏิบัติตามมรรค ) ด้วยหรือไม่ หรือมันเป็นอิสระจาก ความมืดมัว ( เช่นในกรณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย )

ประเด็นสำคัญสุดคือผ่อนคลายสู่ภาวะแห่งมหามุทรา จิตที่ไร้การปรุงแต่ง ของเธอ แก่นแท้แห่งธรรมชาติที่ไม่เคยมีสิ่งใดอยู่เหนือกว่า ไม่มีทั้งใน ปัจจุบันและจะไม่มีในอนาคต ทั้งแก่นแห่งมูลฐาน มรรคและผลและเอกภาพแห่งกายทั้งสอง หรือความแบ่งแยกไม่ได้แห่งกายทั้งสาม

ผู้ที่ขยายหรือลดทอน สังขตธรรมด้วยสติปัญญาชนิดสังขตะ ผู้ผูกพันอยู่กับความจำกัดของถ้อยคำและข้อโต้แย้ง ขณะที่ยึดติดกับสำนักปรัชญาแบบ แบ่งแยก คือทารกอ่อน ผู้พยายามจับฉวยขอบเขตของท้องฟ้า ดังนั้น จงพัก อยู่ในธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง ซึ่งยิ่งใหญ่ไพศาลไร้ขอบเขต จึงไม่ต้อง สงสัยว่า ด้วยมโนคติแห่งทางและผู้เดินทาง เธอจะหลุดพ้นสู่ธรรมชาติแห่ง ผล ซึ่งประกอบด้วยโยคะสี่ ภูมิทั้งสิบ มรรคทั้งห้า และกายทั้งสาม


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 09:37:44 am »



             

ภาคที่สาม ผลมหามุทรา

ตรีกายแห่งพุทธะ
เมื่อได้อธิบายธรรมชาติแห่งมูลฐาน หลักธรรม การภาวนา และปฏิปทา แล้ว ณ บัดนี้จะสรุปด้วยหัวข้อหลักที่สาม หนึ่ง อธิบายความหมายของ ผลมหามุทรา สอง ความแบ่งแยกไม่ได้แห่งกายทั้งสาม หรือ ความเป็น หนึ่งเดียวของกายทั้งสอง

ธรรมกาย
เมื่อนักปฏิบัติผู้มีวาสนาได้เห็นโฉมหน้าที่แท้ของมหามุทราพื้นฐาน เห็น ภาวะดั้งเดิม และมุ่งความสนใจสู่การปฏิบัติมรรคมหามุทรา หลักธรรม และการภาวนา และได้ทำให้สมบูรณ์ในการฝึกฝน เขาก็ได้เห็นแจ้งผล มหามุทรา ธรรมกายอันสูงสุด

แก่นแท้ของธรรมกายคือความตื่นรู้ด้วยตนเองและความไร้การปรุงแต่งแต่ ดั้งเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ปรากฏอยู่แต่ดั้งเดิมใน กระแสจิตของสรรพสัตว์ในภพทั้งสาม สิ่งนี้คือสิ่งที่แท้จริงที่จะต้องทำให้ แจ่มแจ้ง โดยวิธีการปฏิบัติ หัวใจของมรรค นอกจากการตื่นชนิดนี้ ก็ไม่มี สิ่งอื่นอีก ไม่มีพุทธะองค์ใหม่ ไม่องค์ก่อน ๆ หรือ ธรรมกายอื่น ที่จะมา ปรากฏ คุณลักษณะแห่งธรรมกายเป็นดังนี้คือ
 
เมื่อได้รับปัญญาที่มองเห็นทุกสิ่งตามที่เป็นจริง ( ยถาภูตสัมมัปปัญญา ) และสัพพัญญุตญาณ ( wisdom of all existing object knowledge ) กล่าวได้ว่าได้รับปัญญาสองชนิด เนื่องจากแก่นแท้บริสุทธิ์ได้รับการ ชำระแล้ว ธรรมกายจึงกล่าวได้ว่ามีความบริสุทธิ์สองชั้น กล่าวตามเป็น จริงแล้วมันเป็นอิสระจากความเศร้าหมองแห่งความไม่รู้หรือไม่เห็น ปรากฏการณ์ที่รู้ได้ และได้บริบูรณ์ในคุณธรรมทั้งปวง
       การแสดงออกของธรรมกายโดยไม่มีความขัดข้องให้เป็นที่ประจักษ์ การแสดงออกแห่งความตื่นเช่นนี้ ก่อให้เกิดสัมโภคกายและนิรมาณกาย

องค์เจ็ดแห่งเอกภาพ
ตรีกายเหล่านี้ประกอบด้วยองค์แห่งเอกภาพเจ็ดอย่างคือ
๑. ฉันทะ เนื่องจากใช้ธรรมจักรชิดมนตราลับ และลึกซึ้งสำหรับ โพธิสัตว์อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สุด
๒. สโมธาน เนื่องจากปัญญาได้รวมกันเข้ากับธรรมชาติอันประภัสสร
๓. ปีติ เนื่องจากความสุขตามธรรมชาติชนิดนี้ไม่เสื่อมไป
 ลักษณะทั้งสามนี้เป็นองค์คุณของ สัมโภคกาย

๔. กรุณา เป็นความกรุณาที่ปราศจากตัวตน ปราศจากมโนคติ แผ่ไปทั่วทุกทิศทาง คล้ายอวกาศ
๕. อนันตะ คือกิจกรรมที่ทำไปอย่างเป็นไปเองตามธรรมชาติ ไม่มีการให้ความหมาย มีมากมหาศาลเท่าขอบเขตแห่งสังสาระ
๖. ไม่สะดุด คือไม่พักอยู่ในความสงบแห่งพระนิพพาน
ลักษณะทั้งสามนี้เป็นองค์คุณของ นิรมาณกาย

๗. อนัตตา เนื่องจากเอกภาพแห่งความว่างและความกรุณาเป็น อิสระอย่างหมดจดจากการปรุงแต่งแห่งจิต ดังนั้นจึงปราศจาก ธรรมชาติแห่งตัวตน นับว่าเป็นคุณลักษณะพิเศษของธรรมกาย
ในลักษณะนี้ กายทั้งสามจึงประกอบด้วยองค์คุณทั้งเจ็ด


วสีทั้งแปดของสัมโภคกาย
มีคำสอนว่าตรีกายมีคุณแห่งวสีทั้งแปด
๑. มีความสามารถทุกด้านในการฝึกบุคคลผู้ต้องการฝึกคือ วสีในกาย
๒. กงล้อแห่งธรรมหมุนไปไม่สิ้นสุด คือสามารถสอนทุกคนที่ต้องการฝึก เรียกว่า วสีในวาจา
๓. ทรงไว้ซึ่งความกรุณาที่ปราศจากมโนคติคือ วสีในจิต
๔. อิทธิฤทธิ์ที่ไม่มีใครขัดขวางได้คือ วสีในอิทธิฤทธิ์

๕. ความตื่นรู้อย่างแท้จริงในสังสาระและนิพพานและกาลทั้งสามมี ความเท่ากันและเสมอกัน เรียกว่า วสีในความแพร่หลาย
๖. ไม่เศร้าหมองด้วยตัณหาแม้มีเทพธิดาจำนวนเท่าฝุ่นทั้งหมด ในเขาสุเมรุปรนเปรอด้วยกามคุณ เรียกว่า วสีในตัณหา
๗. ยังความปรารถนาของสรรพสัตว์ให้สำเร็จราวกับแก้วสารพัดนึก คือ วสีในความอารี
๘. ครองความเป็นธรรมราชาในภพทั้งสามในวังแห่งธรรมธาตุ อกนิษฐาตลอดกาลนานคือ วสีในการครองภพ

นิรมาณกาย
นิรมาณกาย เป็นการปรากฏออกแห่งธรรมกาย และสัมโภคกายที่สุด คาดคิดหรือจินตนาการได้ จึงเป็นการปรากฏเพื่อฝึกสรรพสัตว์เหมือน กับเงาของพระจันทร์ในภาชนะบรรจุด้วยน้ำ คือพระจันทร์จะปรากฏ ในทุกภาชนะที่มีน้ำ การปรากฏอเนกอนันต์ทั้งจำนวนและลักษณะ ในการฝึกสรรพสัตว์ด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม ตามแต่จำเป็น ผ่านนิรมาณ- กายแห่งการสร้างสรรค์ การเกิดใหม่ หรือการตรัสรู้ที่ยิ่งใหญ่และอื่น ๆ รู้กันว่าเป็นเคล็ดลับที่ประดับประดากงจักรคือ กาย วาจา ใจ ของ พระพุทธะทั้งปวง