ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 01:16:13 pm »

 :45: ขอบคุณครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 07:32:10 pm »

 :13: :13: :13: :13:
  ดึงจิตใจกลับมา สงบสุขเพิ่มขึ้น
  :31: :31: :31: :31:

ดึงจิตใจกลับมา รับรู้ความอิ่มเอิบและความสงบสุขที่เกิดขึ้นจากการที่จิตใจขณะนั้นสะอาดแจ่มใส

 

ความสามารถควบคุมจิตใจตนเองให้ความฟุ้งซ่านลดน้อยลง มีความสงบสุขเพิ่มขึ้น นับเป็นการสร้างคุณภาพแห่งชีวิต

การฝึกความแน่วแน่ของความคิดย่อมทำได้ไม่ว่าขณะใด แม้ขณะประกอบกิจการงานประจำ ก็เป็นโอกาสสร้างสมาธิ

คุณภาพแห่งชีวิตขั้นต้นนั้น คือการมีสุขภาพทางกายสมบูรณ์

ขั้นที่สอง สร้างวินัยควบคุมพฤติกรรม

ขั้นที่สามนี้ พากเพียรควบคุมความนึกคิด

จิตใจที่ขาดการฝึกปรือนั้นเฉื่อยช้า และในขณะเดียวกันก็ฟุ้งซ่าน ขาดความคล่องตัวและไม่เหมาะแก่งาน ไม่มีประสิทธิภาพที่จะสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม

ก่อนลงมือทำงานใดก็ตาม เป็นต้นว่าเมื่อจะอ่านตำราหาความรู้ ใช้เวลาสัก 3-4 นาที กำหนดใจให้สงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียว แล้วจึงลงมือทำการนั้นด้วยสตินึกคิดเฉพาะเรื่องในมืออย่างแน่วแน่ ผลงานที่เกิดขึ้นนั้นจะมีคุณภาพดีแน่นอน

ในการทำงานใดก็ตามให้ได้ผลดีมีคุณภาพ จิตใจที่ใช้ในงานนั้นต้องมีคุณภาพก่อน การที่จะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจในขั้นต้นดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อเริ่มต้นให้รวบรวมความนึกคิด กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าประสงค์ผลอะไรที่เหมาะสมแก่เวลาและเงื่อนไขอื่นๆ แล้วกำหนดความตั้งใจว่า จะใช้ช่วงเวลานั้นทำงานไปสู่จุดหมายอย่างแน่วแน่และจริงจัง

อย่ายอมให้เรื่องอื่นเข้ามาแทรกแซง อย่าละความสนใจจากงานในมือ เพ่งพินิจแน่วแน่อยู่แต่เรื่องเดียวนั้น ใช้ความคิดวิเคราะห์แง่มุมต่างๆ โดยรอบ ขณะเดียวกันก็ระวังมิให้กระเจิงไปไกล ดึงจิตใจกลับมายึดเอาเรื่องเดิมเป็นศูนย์กลางเสมอ รับรู้ความอิ่มเอิบและความสงบสุขที่เกิดขึ้นจากการที่จิตใจขณะนั้นสะอาดแจ่ม ใส คิดเห็นแง่มุมต่างๆ ของเรื่องที่ทำอยู่อย่างคล่องแคล่ว ปราศจากเรื่องมัวหมองเข้าครอบงำ

ชีวิตที่ดำรงลักษณะเช่นนี้ในกิจการงานประจำวันทุกอย่าง เป็นชีวิตที่มีคุณภาพพึงปรารถนาแน่นอน

 
ระวี ภาวิไล "ชีวิตที่ดีงาม". สนพ.ผีเสื้อ. มิถุนายน 2536.
ขอบคุณโพสจาก  http://www.carefor.org/content/view/1730/153/