ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 01:18:10 pm »

 :45: ขอบคุณครับน้องฝน ขอบคุณครับพี่เล็ก
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 08:29:35 pm »

ข้อคิดจากหนังสือของอ.วศิน อินทสระ‏

เงินนั้นถ้าให้เกียรติมันมากนัก 
ถึงกับยอมให้มันเป็นนาย 
เราจะลำบากมากเหลือเกิน 
เพราะมันเป็นนายที่โง่และทารุณ 
จะใช้เราอย่างโง่ๆ  และใช้ให้ทำความชั่วได้มาก 
คนบางคนเว้นความชั่วบางอย่างได้ 
เพราะจนอยู่  พอรวยเข้าก็ลืม 
เงินใช้มันอย่างทาสก็ไม่ได้ 
เพราะถ้าใช้มันมากเกินไป 
พอมันไปกันหมด  เราก็เดือดร้อนเหมือนกัน 
จะให้ทำอย่างไร  ก็ต้องใช้มันอย่างมิตรสหาย 
ใช้มันแต่พอดีๆ  เมื่อจำเป็นต้องบอกใช้ไหว้วาน 
มันก็จะเป็นมิตรเป็นสหายกับเราตลอดไป 
เงินไม่ชอบคนที่ดูถูกมัน 
และไม่ชอบคนที่ยกย่องเทิดทูนมันเกินไป

ขอบพระคุณคุณนริศรา
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 08:25:34 pm »

ข้อคิดจากหนังสือของอ.วศิน อินทสระ‏

เงินและเวลาอันยาวนานของชีวิตเป็นสิ่งน่ากลัวและน่าเบื่อหน่าย 
แต่มนุษย์เราก็ยังไม่ฉลาดพอที่จะกลัวมัน  ยังแสวงหา 2 สิ่งนี้อยู่
ด้วยความตั้งอกตั้งใจจริงจัง  จะเห็นได้จากธุรกิจต่างๆ 
อันสามารถทำเงินได้มากและยาอายุวัฒนะที่คนพากันแสวงหา 
รวมทั้งคำอวยพร  การขอพรเพื่อให้มีอายุยาว 
ซึ่งอันที่จริงก็คือการเจ็บป่วยอันยาวนานนั่นเอง 
คุณค่าของชีวิตไม่ได้อยู่ที่มีเงินมากหรืออายุยืนยาว 
แต่อยู่ที่ได้ทำอะไรอันเป็นประโยชน์แก่ตน 
แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ร่วมโลกอื่นๆ 
การมีอายุยืนโดยไร้ประโยชน์นั้น 
ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติไปมาก 
ซึ่งคนมีประโยชน์ควรจะได้โดยชอบธรรม 
ส่วนการมีเงินมากโดยไม่เป็นประโยชน์แกใคร
ก็เป็นการเบียดเบียนสังคมและเบียดเบียนตนเองด้วย 
มนุษย์ได้เสียเวลาของชีวิตไปกับ 2 สิ่งนี้เป็นอันมาก 
ถ้าเขาไม่ทำชีวิตให้มีคุณค่า  มันคุ้มกันหรือ?  อย่าโง่นะ

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 08:14:36 pm »

ข้อคิดจากอ.วศิน อินทสระ‏

คนส่วนมากมุ่งเอาความร่ำรวยเป็นจุดหมายชีวิต 
จึงมักกระเสือกกระสนเพื่อความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน
โดยไม่เลือกทางใด  คนทุจริตคดโกงจึงมีอยู่ดกดื่นในบ้านเมืองเรา 
ตามความเป็นจริงแล้วเราพอยืนยันได้ว่า 
สังคมที่เห็นว่าความมั่งคั่งเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตหรือการงานนั้น 
คือสังคมที่มีพลเมืองโง่เขลา  ไม่รู้จุดหมายที่แท้จริงของชีวิต 
และไม่รู้ว่าควรจะใช้ชีวิตอย่างไร  เขาแทบไม่รู้จักศิลปะในการมีชีวิตอยู่ 
หรือรู้ก็น้อยเหลือเกิน  พวกเขามัววุ่นวายอยู่กับการหาทางแห่งความมั่งคั่ง 
หรือดิ้นรนเพื่อมีชีวิตที่ดีทางสังคม  จนลืมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต 
เพราะได้สละเวลาของชีวิตให้กับการแสวงหนทางแห่งความมั่งคั่ง
และทางแห่งความมีชีวิตที่ดีทางสังคมเสียแล้ว 
คนที่ได้รับการพัฒนาทางจิตและปัญญาอย่างสูงแล้ว 
ไม่มีใครสักคนเดียวที่ต้องการความมั่งคั่งเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต 
จึงพูดได้ว่า  สังคมที่เห็นความมั่งคั่งเป็นจุดหมายของชีวิตหรือการงานนั้น 
คือสังคมที่มีพลเมืองโง่เขลา  คนยิ่งใช้เวลาหมกมุ่นหาเงินมากเท่าใด 
ก็ยิ่งโง่มากเท่านั้น  นอกจากนั้น  เมื่อได้เงินมาแล้วเขาก็ไม่ได้ใช้ไปในทางที่ถูกต้อง 
ส่วนมากใช้ไปในทางมัวเมา  อันเป็นเหตุให้สูญเสียจิตใจ 
ซึ่งเป็นการสูญเสียที่สำคัญสำหรับมนุษย์  นอกจากเขามัวเมาด้วยตนเองแล้ว 
ยังสร้างสถานยั่วยวนทางกามารมณ์บ้าง  ทางอบายมุขบ้าง 
ให้คนอื่นลุ่มหลงมัวเมาไปด้วย  เหมือนคนขุดร่องน้ำไว้เป็นทางปลา 
แล้วนำไซหรือลอบไปดักไว้เพื่อความฉิบหายวายวอดของปลา 
ส่วนคนที่มั่งคั่งแล้วใช้เงินให้เป็นประโยชน์แก่ประชาคมก็พอมีอยู่บ้าง
เราขอสรรเสริญบุคคลประเภทนี้  โดยนัยที่กล่าวมานั้น 
จะเห็นว่าโดยตัวมันเองแล้วเงินหรือความมั่งคั่งไม่ใช่สิ่งดีในตัวมันเอง 
มันจะดีก็ต่อเมื่อเจ้าของใช้ไปในทางที่ดี 
และจะชั่วอย่างมากถ้าเจ้าของใช้ไปในทางที่ชั่ว

ขอบพระคุณที่มาจากคุณ นริศรา
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 07:12:24 pm »

  จะเลือกเงินหรือชีวิต
 :13: :13: :13: :13:

เงินเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน
ตำราทุกเล่มบอกเราเช่นนั้น
แต่ในปัจจุบัน เงินเป็นมากกว่านั้น

.............................................

เงินเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน
ตำราทุกเล่มบอกเราเช่นนั้น

แต่ในปัจจุบัน เงินเป็นมากกว่านั้น มันได้ยกระดับจน
กลายเป็นสินค้าที่คนทั้งโลกพากันซื้อขายเพื่อหากำไรจากส่วนต่าง

ทุกวันนี้ตลาดเงินตราระหว่างประเทศมีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อเศรษฐกิจโลกและสามารถสร้างความวิบัติให้แก่ประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้
ดังประเทศไทยได้ประสบมาแล้ว

เงินถูกสถาปนาให้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของสรรพสิ่ง
ตั้งแต่บุคคล ครอบครัว ซุมชน องค์กร ไปจนถึงประเทศ
แม้แต่ความสำเร็จของรัฐบาลก็ดูกันที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของประเทศยิ่งกว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมหรือ
ดัชนีวัดคุณภาพชีวิตของประชากร

ในระดับบุคคล เงินได้กลายเป็นเครื่องวัดคุณค่าชีวิตไปแล้ว
คนรวยจึงถือว่ามีคุณค่ามากกว่าคนจน
ใครที่มีเงินเดือนน้อยก็รู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่าด้อยกว่าเศรษฐี

เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินจึงกลายมาเป็นจุดหมายของชีวิตไปในที่สุด

ผลก็คือ ชีวิตของเราถูกเงินครอบงำและผลักดันในแทบทุกด้าน
ไม่เว้นแม้กระทั่งความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือทัศนะต่อตนเอง

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในนามความเจริญก้าวหน้าของชีวิตและการพัฒนาประเทศ

.............................................

เมื่อเราตั้งคำถามกับอิทธิพลของเงินในชีวิตของเรา...

คำถามพื้นฐานก็คือ... เงินทำให้เรามีความสุขจริงหรือ...
การตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน ช่วยให้เราสมหวังกับชีวิตเพียงใด
และสิ่งที่เราสูญเสียไปกับการทำมาหาเงินนั้น
คุ้มค่ากับสิ่งที่เราได้มาหรือไม่

เมื่อเราบวกลบคูณหารด้วยตัวเองแล้ว
เมื่อเราพบว่า สิ่งที่เราได้มานั้นน้อยกว่าที่คิด
และสิ่งที่เราเสียไปนั้นมากเกินกว่าที่นึกเสียอีก
ที่สำคัญก็คือ สิ่งที่เราเสียไปนั้น เราเอาคืนมาไม่ได้
แม้จะมีเงินมากมายเพียงใด
เพราะสิ่งที่เสียไปนั้น คือเวลาที่เรามีอยู่อย่างจำกัดในโลกนี้

หากเงินทำให้เรามีความสุข ผู้คนทุกวันนี้ย่อมมีความสุขกันถ้วนหน้า
เพราะมีเงินมากกว่าแต่ก่อน แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่

.............................................

การสำรวจของศูนย์วิจัยทัศนคติแห่งชาติของมหาวิทยาลัยชิคาโกระบุว่า
นับแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง พ.ศ.2541
ชาวอเมริกันที่ยอมรับว่าตนมี "ความสุขมาก"
ได้ลดลงจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 30
ทั้งๆที่รายได้เฉลี่ยของประชาชนได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

รายงานดังกล่าวบอกเราว่า
แม้ผู้คนรวยขึ้นเป็น 2 เท่า แต่กลับเป็นสุขน้อยลง

...................................................

ผู้คนมีความสุขน้อยลง ส่วนหนึ่งก็เพราะมีเวลาว่างน้อยลงที่จะแสวงหาความสุข
นับวันเราจะหมดเวลาไปกับการหาเงินมากขึ้นเรือยๆ จนไม่มีเวลา
แม้แต่จะใช้เงินที่ได้มาด้วยซ้ำ มิพักต้องพูดถึงการมีความสุขโดยไม่ต้องใช้เงิน

เช่น การนอน หรือ การสังสรรค์กับคนในครอบครัว
ซึ่งผู้คนสมัยนี้ให้เวลาน้อยลง ...
เพราะยิ่งมีเงินมากเท่าไร ก็ยิ่งรู้สึกว่า เวลามีค่ามากเท่านั้น

ดั้งนั้นจึงต้องใช้เวลาให้ "คุ้มค่า" มากที่สุด
ซึ่งก็มักจะหมายถึงการมีผลตอบแทนเป็นตัวเงินเยอะๆ
ในขณะที่การพักผ่อนอยู่กับบ้าน หรือกับคนในครอบครัว
ถือเป็นการใช้เวลาที่ไม่คุ้มค่า หรือ "ไม่สมเหตุสมผล"

ด้วยเหตุนี้ เราจึงตั้งหน้าตั้งตา "หาเงิน" กันไม่เลิกราเสียที...

------------------------------------------------------
โดย พระไพศาล วิสาโล. บทนำจากหนังสือ "เงินหรือชีวิต".
โดมิงเกซ, โจ. "จะเลือกเงินหรือชีวิต : เปลี่ยนทัศนคติต่อเงินสู่อิสรภาพของชีวิต".
กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2546.
ขอขอบคุณโพสจาก  http://www.carefor.org/content/view/2/153/