ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 01:27:47 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 19, 2011, 10:03:35 am »

"โลกจะปลอดภัย หากเราเปลี่ยนหัวใจผู้หญิงเป็นหัวใจแม่ หัวใจโพธิสัตว์ได้"

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต กล่าวในวันประชุมทีมงานอาสาสมัครที่มาช่วยงานการประชุมนานาชาติศากยธิดา ครั้งที่ ๑๒ (12th Sakyadhita International Conference on Buddhist Women) ที่จะมาถึงในวันที่ ๑๒-๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ ณ เสถียรธรรมสถาน กรุงเทพฯ ในฐานะเจ้าบ้านต้อนรับ โดยได้รับความร่วมมือจากนักบวชกว่า ๒,๐๐๐ ท่าน จาก ๓๐ กว่าประเทศเดินทางมาประชุมร่วมกันในครั้งนี้ โดยมีองค์กรนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา (Sakyadhita International Association of Buddhist Women) เป็นผู้สนับสนุนหลัก รวมทั้งภาคีในประเทศไทยก็ไม่น้อย อาทิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.), สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, ขบวนการเครือข่ายหญิงไทย ๗๖ จังหวัด

 ปัจจุบันสำนักงานองค์กรนานาชาติศากยธิดาตั้งอยู่ที่ไทเป ประเทศไต้หวัน โดยมี ดร.ยู หลิง ชาง เป็นประธานองค์กรนานาชาติศากยธิดา www.sakyadhita.org ซึ่งแม่ชีศันสนีย์ก็หวังว่าการประชุมครั้งนี้จะทำให้ผู้หญิงได้มีกำลังใจกลับไปทำงานเพื่อชุมชนตนอย่างเข้มแข็งขึ้น และมีกำลังใจในการภาวนาส่วนตนที่จะดับทุกข์ทางใจได้มากขึ้นเช่นกัน   


* ท่านเลคเช โทโม


    และเมื่อวันที่ ๖-๑๑ มกราคมที่ผ่านมา ท่านเลคเช โทโม (Karma Lekshe Tsomo) นักบวชหญิงในสายวัชรยาน อดีตประธานจัดงานศากยธิดาเมื่อปีที่แล้ว ได้เดินทางมาร่วมพูดคุยกับแม่ชีศันสนีย์ พร้อมกับภิกษุณีไทยในสายมหายานจากวัดโผกงซาน และภิกษุณีจากหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย จากนั้นท่านยังเดินทางไปเตรียมงานและสนทนาธรรมกับภิกษุณี ธัมมนันทา ที่ทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอารามใน จ.นครปฐม ก่อนที่จะบินต่อไปยังสาธารณรัฐอินเดีย และจะกลับมาเจอกันอีกครั้งในช่วงงานประชุมกลางปีนี้ที่ประเทศไทย

 ย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว ฉันเดินทางไปร่วมประชุมศากยธิดานานาชาติที่เมืองโฮจิมินห์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒-๓ มกราคม ๒๕๕๓ ด้วยความสนใจส่วนตัวต่อบทบาทนักบวชหญิงทั่วโลกว่าทำไมผู้หญิงจึงออกบวช ก็ได้คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่าแทบร้อยทั้งร้อยพบกับความทุกข์ทางโลก และต้องการหาทางออกจากทุกข์ แล้วหนทางในการออกจากทุกข์นั้น ทางหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเอกที่เธอเลือกกันก็คือการตามรอยพระพุทธเจ้านี้เอง 

 บรรดานักบวชหญิงกว่า ๒,๐๐๐ ท่าน มาพูดคุยกันแทบทุกเรื่องตั้งแต่ความรุนแรงในครอบครัวอันเป็นชนวนเบื้องต้นของสงครามโลกในทุกยุคทุกสมัย ยุทธศาสตร์ในการชะลอโลกร้อน ไปจนถึงหนทางการปฏิบัติธรรมของลูกผู้หญิงที่จะออกจากสังสารวัฏนี้ได้อย่างไร รวมไปถึงการรื้อฟื้นภิกษุณีในสายเถรวาทให้เกิดขึ้นในศักราชใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่โต้ถียงกันมานานเต็มที ในงานนั้นฉันได้พบกับสามเณรี และภิกษุณีในสายเถรวาทไม่น้อยในหลายๆ ประเทศ แล้วกำลังจะมากขึ้นเป็นทวีคูณในอนาคต

 
*แม่ชีอารีย์ เกียรติทับทิว กับนักบวชนานาชาติ


 การประชุมศากยธิดาในประเทศไทยครั้งนี้ก็ดำเนินรอยตามแนวทางที่ผ่านมา โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "มรรคาสู่การหลุดพ้น" (leading to Liberation)

  ท่านเลคเช โทโม เล่าให้ฉันฟังถึงจุดกำเนิดของศากยธิดานั้น เริ่มต้นเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ที่ท่านเห็นความจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้น เป็นเพราะท่านได้ตระหนักถึงสถานการณ์อันน่าเศร้าของลูกผู้หญิงขณะอยู่ในกุฏิที่ธรรมศาลา สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ลี้ภัยของชาวทิเบตและนักบวช อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นด้วย

 ในช่วงนั้นท่านได้รวบรวมรายชื่อของลูกผู้หญิงและนักบวชหญิงที่พบกับปัญหามากมายในชีวิตเก็บไว้ในกล่องรองเท้า เมื่อท่านมีโอกาสก็ปรึกษาท่านทะไลลามะ ประมุขแห่งสงฆ์และประมุขของประชาชนชาวทิเบต ว่าจะทำอย่างไรที่จะขับเคลื่อนให้ผู้หญิงได้มีโอกาสบวชเรียนเพื่อจะได้มีหนทางในการดับทุกข์ทางใจมากขึ้น รวมไปถึงการสนับสนุนด้านปัจจัยสี่ที่จำเป็นสำหรับลูกผู้หญิงที่ลำบากและยากจนด้วย

 จากวันนั้นงานศากยธิดาก็ได้เริ่มต้นขึ้นจากนักบวชหญิงกลุ่มเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีภิกษุณีแม้แต่เพียงรูปเดียว เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ณ พุทธคยา อินเดีย ในหัวข้อที่นำมาพูดคุยกันคือ "นักบวชสตรีในศาสนาพุทธ (Buddhist Nuns)" โดยมีท่านทะไลลามะที่ ๑๔ เป็นองค์ปาฐก หลังจากงานศากยธิดาผ่านไป ๑๑ ครั้ง ประเทศศรีลังกาก็ทำให้โลกตื่น โดยการจัดบวชภิกษุณีเป็นประเทศแรกโดยได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีประเทศศรีลังกา นั่นทำให้ในปัจจุบันศรีลังกามีภิกษุณีถึง ๘๐๐ รูปแล้ว ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น การจัดงานศากยธิดาในบางประเทศรัฐบาลยังห้ามแม้แต่จะพูดคำว่า "ภิกษุณี"


*นักบวชนานาชาติในงานประชุมศากยธิดา ที่เวียดนาม เมื่อปีที่แล้ว

 
 ในที่สุดการประชุมก็เห็นภาพชัดเจนว่า เมื่อลูกผู้หญิงได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมมากขึ้น ในครอบครัวมีบรรยากาศแห่งความอบอุ่นและความสงบเย็นมากขึ้น ชุมชนก็ร่มเย็นมากขึ้น ตรงนี้ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในความร่วมมือระดับนานาชาติ "เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าการตรัสรู้นั้นไม่ได้แบ่งแยกเพศ ไม่ว่าหญิงหรือชายล้วนมีโอกาสบรรลุธรรมเสมอกัน แต่พอมองไปรอบๆ กลับพบว่าสถานที่ที่จะเอื้อให้ผู้หญิงได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมนั้นไม่เท่าเทียมเลย ถ้าไม่มีโอกาสเท่าเทียมกัน พุทธศาสนาซึ่งได้ทลายชนชั้นวรรณะมาแล้วจะมีความหมายอะไร ปัญหามีอยู่ว่าเราก็ต้องกลับไปมองที่รากว่าปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วเราก็ปรึกษาพระ และพยายามศึกษาหาหนทางที่จะทำให้ลูกผู้หญิงมีโอกาสบวชเรียนมากขึ้น" ท่านเลคเช กล่าว

 การจัดงานศากยธิดาครั้งนี้ก็คงจะเป็นคำตอบในใจของผู้หญิงเองว่า เรากำลังอยู่ตรงไหน และจะใช้เทคนิคใดในการเจริญสติ ฝึกสมาธิภาวนา เพื่อให้ปัญญาในการรู้เห็นตามความเป็นจริง ตลอดจนเกื้อกูลผู้คน และสรรพชีวิตรอบข้างด้วย โดยเวทีพูดคุยกันคร่าวๆ ในปีนี้ก็มีเรื่องน่าสนใจมากมาย อาทิ สถาบันสงฆ์ไทยกับบทบาทการศึกษาของพุทธสาวิกา, การอพยพย้ายถิ่นอย่างลึกลับของช้างจำนวนมากในกัมพูชาที่เต็มไปด้วยภัยพิบัติร้ายแรง : ความสับสนอลหม่านทางจริยธรรม, ทิศทางใหม่ของการปฏิรูปสังคมพุทธศาสนิกชน, รากเหง้าทางสังคมและศาสนากับความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น

 แม่ชีอารีย์ เกียรติทับทิว แห่งสำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา หนึ่งในสตรีผู้ได้รับรางวัล "สตรีดีเด่นทางพุทธศาสนา" เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งท่านได้ไปร่วมงานศากยธิดานานาชาติที่เวียดนามด้วย แนะนำว่า การที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้เป็นสิ่งดี

 "การที่เสถียรธรรมสถานเป็นแม่งาน นับว่าพร้อมพอสมควร เพราะมีกำลังอาสาสมัคร กำลังในการระดมทุน ที่สำคัญคือกำลังในการประสานงานทุกกลุ่มทุกเครือข่ายมาร่วมมือกัน เพราะการจะรวมตัวพลังของผู้หญิงในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะนักบวชสตรีในไทย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตน ทำงานเดี่ยวๆ กับชุมชนไม่น้อย แม้ว่าโดยบทบาททางสังคมจะไม่ค่อยได้รับการยอมรับ แต่ก็ไม่มีใครขัดขวางในการบวชเรียนของผู้หญิง อีกทั้งยังมีความหลากหลายรูปแบบในการบวชด้วย ปัจจุบันมีทั้งการบวชในรูปแบบของภิกษุณีในสายเถรวาท ภิกษุณีในสายมหายาน บวชเป็นแม่ชี และยังมีรูปแบบของอุบาสิกาอีกที่ปลงผม ใส่เสื้อขาวผ้าถุงดำอีก ซึ่งไม่ว่าจะบวชในรูปแบบไหน หรือสีไหน ก็ไม่ใช่อุปสรรคที่กางกั้นในการเข้าถึงพระนิพพานแม้แต่น้อย"

 แม่ชีศันสนีย์เสริมว่า ในระหว่างทางการภาวนาเพื่อไปสู่ความพ้นทุกข์นั้น การทำงานของเราสำหรับการประชุมครั้งนี้ ก็มิใช่แค่ต้อนรับแขกจากนานาชาติ แล้วแขกก็จากไป แต่เราต้องช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรให้การมาครั้งนี้ของคนทั่วโลกเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยมากที่สุด ยังยืนไปได้อีก

  "ทำอย่างไรจึงจะดึงพลังผู้หญิงให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อโลก และนี่จะเป็นกุศลอันมหาศาลของสังคมไทย และน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับสังคมไทยที่บอบช้ำมามากแล้ว"

 และนั่นคือย่างก้าวเงียบๆ ของนักบวชสตรีทั่วโลกที่กำลังจะเปิดประตูให้คนไทยได้รับรู้โดยทั่วกัน

เรื่อง - ภาพ... "มนสิกุล โอวาทเภสัชช์"


http://www.komchadluek.net/detail/20110119/86081/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8.html