ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 09:11:56 pm »

 :45:   อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 07:37:50 pm »

แนะนำวัดจีน สถานที่ทำบุญช่วงตรุษจีน




วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

เรียบเรียบข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก thaiweekender.com, thailandoffroad.com และ วิกีพีเดีย

"ตรุษจีน" เป็นเทศกาลสิริมงคลของคนไทยเชื้อสายจีนและบุคคลทั่วไป ที่มีความเชื่อในสิ่งศรัทธา ซึ่งชาวจีนสืบทอดเป็นประเพณีมายาวนาน โดยในแต่ละปี แต่ละคน แต่ละครอบครัวอาจประสบอุปสรรคชีวิตไม่เหมือนกัน เมื่อมาถึงปีใหม่ก็ต้องการขจัดปัดเป่าอุปสรรค และให้ชีวิตในปีใหม่มีความสมปรารถนา ด้วยเหตุนี้จึงมีการไหว้เทพเจ้า ไหว้สิ่งสิริมงคล เพื่อเสริมดวงชะตาและโชคลาภให้กับชีวิต . . . ว่าแล้วตรุษจีนปีนี้เราขอแนะนำและขอพาไปรู้จักวัดจีนสถานที่น่าไปทำบุญ น่าไปไหว้เทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันค่ะ

วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ เป็นวัดสังกัดจีนนิกาย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ หลายคนรู้จักวัดแห่งนี้ในนาม "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร ส่วนคำว่า "เน่ย" แปลว่า ดอกบัว และคำว่า "ยี่" แปลว่า วัด แต่ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วัดนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2414 (ประมาณ 130 ปี ล่วงมาแล้ว) ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปีกว่า มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทางจีนตอนใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว โดยวางแปลนตามแบบวังหลวง คือ มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า การสร้างใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุสำคัญ

จากประตูทางเข้า เข้าไปจะถึงวิหารท้าวจตุโลกบาล จะเห็นเทพเจ้า 4 องค์ (ข้างละ 2 องค์) ในชุดนักรบจีน และถืออาวุธและสิ่งของต่างๆ กัน เช่นเครื่องดนตรี ดาบ พิณ เจดีย์ทรงสูง คนจีนเรียกว่า "ซี้ไต๋เทียงอ้วง" หมายถึง เทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครองทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ

ถัดจากวิหารท้าวจตุโลกบาล คือ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานของวัด คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า คนจีนเรียก "ทีหุกโจ้ว" มีทั้งหมด 3 องค์ พร้อมพระอรหันต์อีก 18 องค์ เรียกว่า "ตึ่งนั้ง" หรือคนจีนว่า "จับโป่ยหล่อหั่ง"

ทางด้านขวามีเทพเจ้าต่างๆ หลายองค์ เช่น เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา คนจีนเรียกว่า "ไท้ส่วยเอี๊ย" เทพเจ้าแห่งยาหรือหมอเทวดา "หั่วท้อเซียงซือกง" และที่นิยมไหว้ขอพรมากคือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ" เทพเจ้าเฮ่งเจีย คนจีนเรียกว่า "ไต่เสี่ยหุกโจ้ว" พระสังขจาย หรือ "ปู๊กุ่ยหุกโจ้ว" "กวนอิมเนี้ย" หรือ เจ้าแม่กวนอิม "แป๊ะกง" และ "แป๊ะม่า" รวมเทพเจ้าในวัด จะมีทั้งหมด 58 องค์ กลิ่นธูปและควันเทียนยังไม่เคยจางหายไป ตราบเท่าความศรัทธาของมนุษย์ยังอยู่คู่โลก

ทั้งนี้ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) เปิดให้สะเดาะเคราะห์ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00น. - 18.00 น. สถานที่ตั้ง 423 ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ 10100 โทร. 0-2222-3975, 0-2226-6553


วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ตั้งอยู่ที่ตำบลโสนน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พื้นที่เดิมก่อนเคยเป็นโรงเจขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่เศษ เป็นโรงเจที่ชาวบ้านบางบัวทองให้ความศรัทธามาช้านาน ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกายมีปณิธานจะพัฒนาที่ส่วนนี้ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ เพื่อสร้างเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี วัดนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่ โดยคณะสงฆ์จีนนิกายมอบให้

ทั้งนี้ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (พระอาจารย์เย็นเชี้ยว) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมทั้งพุทธบริษัทไทย - จีน ร่วมกันสร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชานุญาตให้สร้างวัด และพระราชทานนามว่า "วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์" ท่านแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ จึงนำมาซึ่งความปิติยินดีของชนชาวไทยเชื้อสายจีน และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อคณะสงฆ์จีนมาโดยตลอด

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น.

วัดกัมโล่วยี่

วัดกัมโล่วยี่ หรือ วัดทิพยวารีวิหาร สร้างในสมัยกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2319 รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชทานที่ดินฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นที่อาศัย ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ องค์เชียงสือนัดดาเจ้าเมืองเว้ ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและได้ลักลอบหนีกลับเมือง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงแคลงพระทัยชาวญวนจึงได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กลุ่มชนชาวญวนซึ่งมีอยู่มากในบริเวณนั้น ย้ายออกไปอาศัยอยู่ที่อื่น เพื่อให้ห่างจากพระนคร ชุมชนบริเวณนี้ซึ่งเคยเป็นที่อาศัยของคนไทย คนจีน และคนญวน เชื้อสายพุทธจึงอยู่ในความเงียบสงบ วัดทิพยวารีวิหาร (กัมโล่วยี่) ในขณะนั้นจึงมีสภาพคล้ายรกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเลยอีกนานหลายปี

จน ถึงประมาณปี พ.ศ.2439 พระอาจารย์ไหซัน พระภิกษุจีนชาวมณฑลหูหนาน ได้จาริกมาจำพรรษาที่วัดทิพยวารีวิหารแห่งนี้ ท่านจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ และได้ชักนำคนไทย - คนจีนในเขตนั้น อันมีนายเช็งเต็ก แซ่เจี่ย และนางซิ่วออม แซ่ตัน สองสามีภรรยาคหบดีผู้กว้างขวางในกลุ่มชาวจีน ในย่านตลาดมิ่งเมืองเป็นแกนนำ ต่อมาทายาทของครอบครัวท่านทั้งสองนี้ ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ว่า "เศวตมาลย์"

พระอาจารย์และประชาชนในครั้งนั้น ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัด จนวัดอยู่ในสภาพสมบูรณ์สวยงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงได้ทรงพระราชทานสมณศักดิ์ให้อาจารย์ไหซัน เป็นหลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ ปลัดซ้ายจีนนิกายดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และได้ทรงพระราชทานนามวัดกัมโล่วยี่ให้ใหม่ว่า "วัดทิพยวารีวิหาร" ตรงกับ พ.ศ.2452 เหตุที่ให้ชื่อวัดเป็นเช่นนี้ เพราะที่วัดนี้มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือบ่อน้ำทิพย์อยู่นั่นเอง ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งหลายจึงเรียกวัดกัมโล่วยี่ หรือวัดน้ำทิพย์นี้เป็น "วัดทิพยวารีวิหาร" อันเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายจนถึงปัจจุบัน

สำหรับท่านที่สนใจจะไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดทิพยวารีวิหารหรือวัดกัมโล่วยี่ ไปได้ที่ สถานที่ตั้ง 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร เขตพระนคร (บ้านหม้อ) กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-222-5988





ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ ตั้งอยู่เลขที่ 468 ถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เป็นศาลเจ้าชาวจีนที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐานเฮี้ยงเทียนเซียงตี่ และรูปเจ้าพ่อเสือ หรือที่คนจีนเรียกว่า "ตั่วเล่าเอี้ย" (บ้างก็เรียกเฮี๊ยงเทียนเสี่ยงตี) เป็นศาลที่ทั้งคนจีนและคนไทยให้ความเคารพ และมากราบไหว้กันนานเป็นร้อยปี ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างโดยชาวจีนแต้จิ๋ว เดิมตั้งอยู่บริเวรถนนบำรุงเมือง เมื่อมีการขยายถนนในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงย้ายมาสร้างใหม่ ที่บริเวณทางสามแพร่ง ถนนตะนาว เขตพระนคร

ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน เทพเจ้าประจำศาลคือ "เสียนเทียนซั่งตี้" หรือที่คนไทยเรียกว่า "เจ้าพ่อเสือ" นั่นเอง เรื่องราวตำนานของเจ้าพ่อเสือที่ชาวบ้านย่านนี้เล่าขานนั้น เชื่อมโยงกับหลวงพ่อพระร่วง วัดมหรรณพ์ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องชาวไทย และชาวจีนในละแวกนี้ที่มีมาช้านาน

วิธีสักการะ ไหว้ด้วยธูป 18 ดอก ปัก 6 กระถาง เทียนแดง 1 คู่ และพวงมาลัย 1 พวง การสักการะเจ้าพ่อเสือ จะต้องซื้อเครื่องเซ่น ซึ่งประกอบด้วย หมูสามชั้น ไข่ดิบ และข้าวเหนียวหวาน ชุดเล็กราคา 20 บาท และชุดใหญ่ ราคา 50 บาท

สำหรับเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปสักการะ คือ ช่วงเวลา 06.00 - 17.00 น. ทุกวัน ควรเดินทางด้วยรถประจำทางหรือรถแท็กซี่จะสะดวกกว่า เนื่องจากสถานที่จอดรถมีจำนวนจำกัด

เจ้าพ่อเห้งเจีย

เจ้าพ่อเห้งเจีย หรือซุนหงอคง เป็นเทพผู้ประทานความสุขและเป็นผู้กำจัดเหล่าปีศาจร้าย ชนชาวจีนจึงนิยมกราบไหว้และบูชามาก ปัจจุบันศาลเจ้าหลายแห่งจะมีรูปเคารพของเทพวานร หรือเจ้าพ่อเห้งเจีย เพื่อไว้ให้คนที่เลื่อมใสศรัทธามีโอกาสเข้าไปสักการะขอพร

ตำนานเจ้าพ่อเห้งเจียกล่าวกันว่า กำเนิดจากหินชนิดหนึ่งที่ถูกแสงสุริยันจันทราอาบมานานกว่าพันปี และแล้ววันหนึ่งก็แตกออก และมีลิงตัวหนึ่งกระโดดออกมาจากหินก้อนนั้น เจ้าลิงตัวนั้นได้บุกขึ้นไปเขาฮัวกั่วซาน (เขาผลไม้) ซึ่งมีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และตั้งตัวเป็นใหญ่มีฉายานามว่า "มุ้ยเกาอ๋อง"

วันหนึ่งมุ้ยเกาอ๋องเห็นลิงในฝูงตัวหนึ่งตายลงด้วยความแก่ชรา จึงเกิดความวิตกและคิดจะหาทางแก้ไขที่จะทำให้ตนเองไม่ต้องเจ็บหรือตาย จึงออกจากฝูงเดินทางเสาะแสวงหาไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบกับเซียน "โผเถโจ๊ซือ" (สุภูติ) และได้ฝึกวิชาคาถาอาคมต่างๆ จนมีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงกายได้ 72 ร่าง กระโดดตีลังกาคราหนึ่งได้ไกลกว่า 300 ลี้ พร้อมกับได้ชื่อใหม่ว่า "ซุนหงอคง" เมื่อฝึกวิชาสำเร็จแล้วก็เกิดลำพองใจ เกิดร้อนวิชาออกอาละวาดไปทั่วไม่เว้นแม้กระทั่งสวรรค์หรือบาดาล ทำให้ 3 โลกปั่นป่วนไปหมด

ร้อนถึงเง็กเซียนฮ่องเต้ต้องส่งทหารสวรรค์และเทพต่างๆ ไปจับซุนหงอคง นอกจากจะจับไม่ได้แล้ว กลับถูกซุนหงอคงเล่นงานจนแตกกระจายไปหมด ในที่สุดเง็กเซียนฮ่องเต้ต้องยอมแพ้ให้ยกซุนหงอคงขึ้นเป็นใหญ่ พร้อมแต่งตั้งให้เป็น "มหาเทพฉีเทียนต้าเซิ้น"

แต่ซุนหงอคงก็ยังเหิมเกริมไม่เลิก ในที่สุดองค์ยูไลต้องเสด็จมากำราบด้วยตัวเอง โดยจับซุนหงอคงไว้ให้ภูเขาหินทับขังไว้นานถึง 500 ปี และกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะช่วยออกมาได้คือพระถัมซังจั๋ง และซุนหงอคงต้องยอมบวชเป็นลูกศิษย์รับใช้พระถังซัมจั๋งไปชมภูทวีป (อินเดีย) และต้องคุ้มครองพระถังซัมจั๋งไปตลอดทางด้วยจึงจะเป็นอิสระ

ทั้งนี้ ศาลเจ้าเง็กฮกตึ๊ง (เจ้าพ่อเห้งเจีย) ตั้งอยู่ที่สวนผัก ตลิ่งชัน ซอย 19 กรุงเทพฯ โทร. 02 435-1143, 02 8842522-3


ศาลเจ้าพ่อกวนอู

ท่านกวนอู หยุน ฉาง (ภาษาจีนกลางเรียกนามท่านว่า กวนอี่ว์) เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่ และเตียวหุย ตามพงศาวดารเรื่องสามก๊ก หน้าท่านแดงตลอดเวลาเหมือนพุทราสุก มีหนวดเครางดงาม มีง้าวเป็นอาวุธคู่กาย ท่านมีความรอบรู้ด้านการทหารมาก มีพาหนะสุดยอด คือ ม้าเซ็กเทา ท่านร่วมชีวิตในการศึกร่วมกับเล่าปี่ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีและกล้าหาญ หลังจากท่านสิ้นชีวิตลง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สูงส่ง

ภายในศาลเจ้าพ่อกวนอู ประดิษฐานรูปปั้นของท่าน และด้านข้างมีรูปปั้นเทพเจ้าม้า (เบ๊เอี๊ย) เซ่นไหว้รูปม้าพร้อมกับเขย่าลูกกระพรวน ซื้อผักให้เทพเจ้าม้า และถวายของไหว้ได้ ณ ศาลแห่งนี้ ศาลเจ้าพ่อกวนอู (บางคนเรียกศาลเจ้าพ่อม้า) ผู้หลักผู้ใหญ่เก่าๆ มักแนะนำให้ลูกหลานมาไหว้ท่านทุกปี

การไหว้เจ้าพ่อกวนอู สำหรับบุคคลเกิดดวงชะตาธาตุต่างๆ

เจ้าพ่อกวนอูเป็นธาตุไฟ คนที่เกิดธาตุน้ำมาไหว้แล้วจะดี
เจ้าพ่อกวนอูเป็นธาตุไฟ คนที่เกิดธาตุทองหากเป็นข้าราชการมาไหว้จะดี
เจ้าพ่อกวนอูเป็นธาตุไฟ คนที่เกิดธาตุดินมาไหว้แล้วจะเกิดอำนาจบารมี
เจ้าพ่อกวนอูเป็นธาตุไฟ คนที่เกิดธาตุไฟมาไหว้แล้วจะทำให้มีความเชื่อมั่นดีขึ้น
เจ้าพ่อกวนอูเป็นธาตุไฟ คนที่เกิดธาตุไม้มาไหว้แล้วจะทำให้ใจเย็นขึ้นรอบคอบมากขึ้น

สถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอู : ตรอกโรงโดม ซอยอิสรานุภาพ เดินตรงจากศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยมาเล็กน้อย ถนนเยาวราช กรุงเทพฯ


วัดจีนประชาสโมสร

วัดจีนประชาสโมสร จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือวัดเล่งฮกยี่ ที่ ขยายมาจากวัดมังกรกมลาวาสในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เริ่มสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2449 เป็นวัดจีนเก่าแก่แห่งศาสนาพุทธนิกายมหายาน ภายในวัดจีนมี พระพุทธรูป เทพเจ้า เจ้าแม่กวนอิม และเทพอื่นๆ ภายในวัด ถือเป็นวัดจีนเพียงแห่งเดียวในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีระฆังใบใหญ่หล่อจากชาวจีนแต้จิ๋ว มีน้ำหนักกว่า 1 ตัน ที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญาปารมิตราสูตร ถ้าผู้ใดตีระฆังก็ฟังเหมือนกับการสวดมนต์ธรรมะ ในวัดมีพระประธาน ซึ่งได้นำมาจากประเทศจีน เมื่อครั้ง 100 กว่าปีมาแล้ว

ทั้งนี้ วัดจีนประชาสโมสร ตั้งอยู่ที่ ถนนศุภกิจ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

นี่เป็นวัดจีนที่ทีมงานแนะนำมาบางส่วนเท่านั้นค่ะ ความจริงแล้วยังมีสถานที่ และวัดอีกจำนวนมากที่เพื่อนๆ สามารถไปทำบุญ และไหว้เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับชีวิตได้ …



ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ watboromracha.org

.

http://travel.kapook.com/view20730.html