ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 06:06:32 pm »

 :13: ขอบคุณครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 12:39:37 pm »

  เรื่องของกุนเชียง (คุณเชียง)     
 พิมพ์เรื่องนี้ Image
 :19: :12: :19: :12:

อ่านเรื่องนี้แล้วยิ้มกันทุกคน "หนูยังจำวันนั้นได้ดี วันที่คุณเชียงได้รับบริจาคเนื้อหมูมาหนึ่งชิ้น คุณเชียงคิดหาวิธีที่จะทำยังไงให้ทุกคนในโรงทานได้กินหมูชิ้นนี้อย่างอร่อย"

 

หนูรู้จักคุณเชียงมาตั้งแต่จำความได้  คุณเชียงเป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่  อพยพลี้ภัยมากับเรือกลไฟ ต้องพลัดพรากจากลูกเมีย  เพื่อมาตั้งรกราก เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นี่   คุณเชียงเป็นคนคุยสนุก ใจดี มีอัธยาศรัย  ใครๆได้อยู่ใกล้ก็รักใคร่คุณเชียง  แม่ของหนูเล่าให้ฟังว่า เพียงวันแรกที่มาถึง  คุณเชียงก็ได้งาน ทำเป็นพ่อครัวที่โรงทานเลยทันที   คุณเชียงต้องทำอาหารเลี้ยงคนยากจนและคนเร่ร่อน  วันหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่าพันคน จากคนที่ทอดเป็นแค่ไข่ เจียว  กลายมาเป็นพ่อครัวมือเอกที่ทำอาหารได้สารพัดจน   บางคนแม้ไม่ได้เป็นคนยากจน  แต่ติดใจในรสชาติก็แวะเวียนมาเยี่ยมชิมฝีมือของคุณเชียงมิได้ขาด   ตอนสมัยสงครามโลก บ้านเมืองวุ่นวาย ผู้คนอยู่กันอย่างตัวใครตัวมัน  คนบริจาคเงินให้โรงทาน ค่อยๆน้อยลงๆ  ในขณะที่คนมากินโรงทานกลับมากขึ้นๆ  คนบางคนที่เคยเป็นผู้บริจาค กลับต้องมากลายเป็นคนกินซะเอง   ยุคนั้น ใครได้กัดก้อนเกลือกินถือว่าหรูสุด เพราะของแพงมาก  จนเกลือต้องแบ่งขายเป็นเกล็ด  อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไม่ต้องแม้แต่จะฝันถึง  จะมีก็แต่ผักแต่ข้าวเท่านั้นที่พอจะปลูกกินเองได้  เด็กๆ ขาดโปรตีนจนเริ่มเป็นตานขโมยเที่ยวลักเล็กขโมยน้อยไปทั่ว   หนูยังจำวันนั้นได้ดี วันที่คุณเชียงได้รับบริจาคเนื้อหมูมาหนึ่งชิ้น  คุณเชียงคิดหาวิธีที่จะทำยังไงให้ทุกคนในโรงทานได้กินหมูชิ้นนี้อย่างอร่อย   คุณเชียงลงมือหุงข้าวต้มหม้อใหญ่ เอาหมูที่ได้มาสับ มาปั้นเป็นแท่งยาวนำไปรมควัน  ก่อนจะเอามาผูกเชือกห้อยไว้กลางวงตักข้าวต้มแจกพวกเราคนละถ้วย  ปล่อยให้นั่งมองดูหมูของคุณเชียงแท่งนั้น พวกเราต่างกลืนน้ำลายเป็นเสียงเดียวกัน   แล้วคุณเชียงก็เริ่มเล่าถึงที่มาของหมู เรื่องราวของหมู  ขั้นตอนวิธีการนำหมูไปทำอาหาร  ดูไปฟังไปข้าวต้มในถ้วยหมดตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้  เป็นการฟังบรรยายประกอบหมูที่ทำให้พวกเรากินข้าวต้มได้อร่อยที่สุดในชีวิต   วันต่อๆมาคุณเชียงจะเก็บเอาหมูชิ้นนั้น  ทำเป็นอาหารอย่างอื่นเอามาห้อยไว้ที่เดิม  พร้อมๆกับเปลี่ยนเรื่องเล่า ให้พวกเราฟังไปกินไปเรื่อยๆ  มันเป็นความสุขเล็กๆน้อยๆที่พวกเราพอจะหาได้จากสงครามยามนี้   ขอบคุณคุณเชียงที่มีเรื่องเล่าสดใหม่มาฝากพวกเราทุกวัน  พวกเราจึงชอบกินข้าวกับคุณเชียงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  หนูอยากเก่งเหมือนคุณเชียงจัง 
จากหนูหยอง   
-----------------------------------------------------
 จากเรื่องสั้นประจำส้วม  มติชน 6 ธันวาคม 2541