ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:40:20 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:35:22 pm »


อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่

http://www.tamc.or.th/index.php

.



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:33:32 pm »


ผังโครงสร้างองค์กร




http://www.tamc.or.th/history.php
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:30:55 pm »

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท.
(Thai Asset Management Corporation – TAMC)

ประวัติความเป็นมา

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. (Thai Asset Management Corporation – TAMC) จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย ปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการ โดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงินและบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย รวมทั้งสิทธิอื่นใดเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลัก ประกันการชำระหนี้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น หรือ โดยการใช้มาตรการอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ

นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินใน ภูมิภาคเอเชียในปี 2540 ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง การเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวส่งผลให้ ค่าเงินบาท อ่อนตัวลงอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินและภาคธุรกิจต่อเนื่องเป็น ลูกโซ่ สถาบันการเงินมีภาระการกันสำรองและต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผลประกอบการยังขาดทุนสูงจากภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและรายรับจากการปล่อย สินเชื่อที่ลดลง เนื่องจากสถาบันการเงิน ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเป็นพิเศษ ส่งผลให้ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถดำ เนินการต่อไปได้อย่างปกติ ด้วยเหตุนี้ ลูกหนี้ของสถาบันการเงินจึงไม่สามารถชำระสินเชื่อได้ ส่งผลให้สิน เชื่อเหล่านี้ได้กลายเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan - NPL) เป็นจำนวนมาก โดย มี NPL สูงสุดจำนวน 2.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 47.7 ของสินเชื่อรวมของสถาบันการเงิน ณ สิ้น เดือนพฤษภาคม 2542

บสท. จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหาร สินทรัพย์ไทยปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการ โดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหาร
สินทรัพย์ ไทยรวมทั้งสิทธิอื่นใดเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลัก ประกันการชำระหนี้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น หรือ โดยการใช้มาตรการอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ

แม้ ว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แต่ NPL ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ยังมีจำนวนสูงถึง 1.35 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.8 ของสินเชื่อรวมของสถาบันการเงิน เนื่องจากมี NPL เกิดขึ้นใหม่หรือย้อนกลับมาในระบบ นอกจากนี้ ยังมี NPL ที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลมีอยู่จำนวนมาก ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบแก้ไข ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าต่อไป ฐานะของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องจะเกิดปัญหาอย่างรุนแรง และกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุนี้ การจัดตั้งองค์กร บริหารสินทรัพย์แห่งชาติ หรือองค์กรบริหารสินทรัพย์กลาง เพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและให้ลูกหนี้อยู่ใน สถานะที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้จึงเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล สมัย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การสัมมนาเกี่ยว กับการจัดตั้งองค์กรบริหารสินทรัพย์แห่งชาติจึงได้จัดขึ้นเป็นครั้ง แรกระหว่างวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2544 ที่โรงแรมดุสิตรีสอร์ทแอนด์โปโลคลับ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินของรัฐและเอกชน รวมทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวเพื่อแลกเปลี่ยนและรวบรวมความคิดเห็นของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องในการนี้ที่ประชุมได้สรุปให้องค์กรบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ เป็นองค์กรกลางที่มีอำนาจและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยคำนึงถึงการช่วยเหลือให้ภาคการเงินกลับสู่สภาวะปกติในระยะสั้น โดยไม่ให้เกิดภาระกับผู้เสียภาษีในระยะยาว

จากนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงได้แต่งตั้ง "คณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงาน บริหารสินทรัพย์กลาง" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 โดยมีนายทนง พิทยะ เป็นประธาน และมีผู้แทน จากภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว รูปแบบและโครงสร้างขององค์กร รวมทั้งแนวทางในการบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในการดำเนินงานต่างๆ คณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์กลางได้จัดตั้งคณะทำ งานกลุ่มย่อย 4 คณะ เพื่อพิจารณาศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านจัดการทั่วไป   นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
2. ด้านการบริหารสินทรัพย์   นายจุลกร สิงหโกวินท์ ประธานสมาคมธนาคารไทย
3. ด้านการเงิน   ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
4. ด้านกฎหมาย   นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

หลังจากที่ประชุมร่วมกัน คณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์กลาง ได้เสนอให้ตั้งชื่อองค์กรดังกล่าวว่า "บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย" หรือ บสท. (Thai Asset Management Corporation - TAMC) โดยจะจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ภายใต้กฎหมายพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และให้ลูกหนี้ ซึ่งรับโอนมาอยู่ในสถานะ ที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ รวมทั้งสร้างเสถียรภาพให้ระบบสถาบันการเงิน

เพื่อให้การติดตามกำกับดูแลและการแก้ไขปัญหา NPL ของสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไทย สามารถดำเนินการได้ ในระหว่างที่ยังรอการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการกำกับดูแล การบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงิน" เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 โดยแต่งตั้งให้นายทนง พิทยะ เป็นประธาน รวมทั้งผู้แทน จากภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการ ซึ่งในคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีการแต่งตั้งผู้แทน จากด้านลูกหนี้เพิ่มเติมจากคณะทำงานฯ ชุดก่อนด้วย

คณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงิน ได้พิจารณาผลการศึกษา ของคณะทำงาน เพื่อการจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์กลาง และนำข้อสรุปข้อมูลที่ได้ มาใช้ประกอบการจัดทำ ร่างพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ซึ่งต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ส่งร่างพระราชกำหนดดังกล่าว ให้นายมีชัย ฤชุพันธ์ คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อพัฒนาประเทศ และคณะทำงาน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่สำนักงานกฤษฎีกา เป็นฝ่ายเลขานุการ พิจารณาปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ในการนี้ พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2544

http://www.tamc.or.th/history.php