เชื้อโรคที่มาจากเครื่องใช้ IT
โดย: ผศ.นสพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ภาควิชาสัตว์แพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การ ใช้ชีวิตในปัจจุบันของเรานั้นมีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องใช้ IT อาทิ โน้ตบุ๊ก แล๊ปท๊อป คอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนประกอบของอุปกรณ์ทั้ง คีย์บอร์ดและเม้าส์ ล้วนสัมผัสโดยตรงกับตัวผู้ใช้ แล้วอุปกรณ์เหล่านี้นี่เองที่เป็นประตูของเชื้อโรคสู่ร่างกาย
หมอ ซุปเชื่อครับว่า ตั้งแต่เริ่มใช้อุปกรณ์เหล่านี้คงนับคนได้เลยที่จะมีการทำความสะอาดหรือฆ่า เชื้อโรคหน้าสัมผัสของอุปกรณ์เหล่านี้ และจนถึงวาระสุดท้ายของเครื่องมือเหล่านี้ ไม่ว่าจะล้าสมัย หรือ เสียหายคามือ ก็ยังไม่เคยได้ลิ้มรสความสะอาดเลย
ประเด็น ที่หมอซุปอยากจะกระตุ้นเตือนบรรดาผู้ใช้งานคือ ให้ระมัดระวังเรื่องความสะอาด รวมไปถึงการปนเปื้อนของเชื้อโรค ซึ่งการใช้มือ นิ้วมือแตะสัมผัสกับคีย์บอร์ด กุมเม้าส์ เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์นั้นย่อมได้รับเชื้อโรค สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานส่วนบุคคลก็อาจจะพอควบคุมความสะอาดได้บ้าง แต่อุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างสาธารณะโดยเฉพาะร้านอินเตอร์เน็ต จุดบริการอินเตอร์เน็ตที่สนามบิน โรงพยาบาล โรงแรม ฯลณ ที่ไม่มีการจำกัดผู้ใช้งานต้องระมัดระวังครับ
เชื้อโรคแฝงจากIT
เชื้อโรคที่ควรให้ความระมัดระวัง ก็คงหนีไม่พ้น 2 กลุ่มใหญ่ คือ แบคทีเรียและไวรัส ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้ ก็ทำให้เจ็บป่วยได้อย่างรุนแรงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยก็ว่าได้
แบคทีเรียที่ปนเปื้อนมักจะทำให้เกิดอาการ ไข้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ บางกรณีอาจจะรุนแรงกระทั่งถ่ายเป็นมูกเลือดเลยทีเดียว นอกจากนี้แล้วอาการโรคอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรียบางชนิดอาจจะทำให้เกิดอาการ ไตวายในเด็กได้ด้วย
ไวรัส ที่ก่อโรค อาจจะแบ่งได้เป็นกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร เหมือนแบคทีเรีย ซึ่งพบว่าก่อโรคได้ทุกเพศ ทุกวัย และกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบ อย่างที่หมอซุปเคยเล่าให้ฟังกรณีของการปนเปื้อนน้ำทะเลครับ
ข้อแนะนำ: เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคในสถานการณ์ต่างๆ คือ การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่ผิวสัมผัสของคีย์บอร์ดและเม้าส์อย่างสม่ำ เสมอ ก่อนการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ควรมีการล้างทำความสะอาดมือและนิ้วมือด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการใช้ห้องน้ำด้วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจจะมาจากทางเดินอาหารและปนเปื้อนไปสู่หน้าสัมผัส ของอุปกรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการวางยา(เชื้อโรคที่ปนเปื้อน) ไปสู่ผู้ใช้งานคนถัดๆ ไป (หมายความว่า อาจจะมีเหยื่อมากกว่า 1ราย) แม้ว่าเชื้อโรคส่วนมากจะไม่สามารถเจริญเติบโตบนผิวสัมผัสเหล่านี้ได้ แต่เชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่อาจจะยังไม่ตาย เพียงแต่รอเวลาให้ผู้โชคร้ายรายต่อไป รับเอาเชื้อโรคเข้าสู่ทางเดินอาหาร แล้วก่อให้เกิดโรคต่อไป
นอกจากนี้ให้อนุมานว่าอุปกรณ์ IT สาธารณะไม่สะอาด ดังนั้น ระหว่างการใช้งาน ไม่ ควรใช้มือหรือนิ้วมือ นำอาหารเข้าปากเป็นอย่างยิ่ง และ ที่ลืมไม่ได้ คือ การล้างมือทำความสะอาดหลังการใช้งานอุปกรณ์ ITสาธารณะทุกชนิด ในทุกสถานที่ด้วยครับ
จาก: นิตยสาร Modern Mom
http://www.momypedia.com/knowledge/health/detail.aspx?no=30451&title=%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%20IT