ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 11:16:27 am »


     

๐๐๐ บทสรุป ๐๐๐


1. หลวงปู่ชามีปฏิปทาถูกต้อง ตรงประเด็น และเคร่งครัดตามหลักพระธรรมวินัยและนำพาสานุศิษย์สู่ชีวิตที่เรียบง่ายและ บริสุทธิ์งดงาม

2. หลวงปู่ชาสามารถประยุกต์หลักธรรมคำสอนที่เข้าใจยากมาสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจ ได้โดยง่าย และประการสำคัญคือ หลักและวิธีการสอนทุกอย่างของท่านทั้งสองไม่สร้างความเบื่อหน่ายให้แก่ สานุศิษย์ จนสามารถบรรลุผลตามที่ท่านทั้งสองสอนไว้จนสามารถที่จะกระทำการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาต่อไปได้

3.หลวงปู่ชาคำนึงถึงลักษณะของผู้เรียนว่ามีความต้องการ หรือมีจริตอย่างไรจากนั้นก็จะสอนตามจริตที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล

4.การ ปฏิบัติตามข้อวัตรเป็นหลักการเบื้องต้นที่หลวงปู่ชาใช้ในการอบรมสั่งสอน สานุศิษย์ ข้อวัตรจึงเป็นเครื่องฝึกให้คนมีคุณสมบัติพร้อมที่จะรับฟังคำสั่งสอน เป็นบททดสอบความอดทน เป็นเครื่องพิสูจน์ความศรัทธาเลื่อมใส และเพื่อกลั่นกรองผู้ที่จะเข้ามาบวชให้มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อความสำเร็จของผู้บวชเอง

5.การสอนของหลวงปู่ชา แม้จะเป็นคำสอนที่เรียบง่าย ใช้คำพูดสั้น ๆ แต่เป็นคำสอนที่ถูกต้องตรงตามเนื้อหาไม่ออกนอกเรื่องสอนตรงประเด็น การสอนบางครั้งแม้จะไม่อธิบายความหมาย ผู้ฟังก็เข้าใจได้ด้วยคำสอนเพียง ประโยคเดียวที่ชัดเจน และไม่ต้องอาศัยการตีความที่ซับซ้อน


อ้างอิงจาก พระ นพวรรณ ตู้ทอง



http://www.sookjai.com/index.php?topic=4334.0
ขอบพระคุณ
ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : น้อง sometime
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 10:44:11 am »



การสอนแบบทำให้ดู

การทำความสะอาด ข้อวัตรเรื่องการทำความสะอาดบริเวณวัด และอาคารสถานที่ ในระหว่างสายไกลออกรับบิณฑบาต ท่านจะถือไม้กวาด กวาดบริเวณวัดก่อนออกรับบิณฑบาต และเก็บให้เรียบร้อย บางวันท่านจะเก็บกิ่งไม้ตามทางเดินรอบศาลา พระลูกศิษย์จึงทำตามหลวงปู่ชาเปรียบเทียบการกวาดขยะว่า เป็นการนำเอาสิ่งสกปรกออกจากใจไปด้วย เป็นการทำจิตให้บริสุทธิ์
(คณะศิษย์, 2536: 74)

เนื่องจากหลวงปู่ชา เห็นความสำคัญของพระวินัย ท่านจึงสอนให้ลูกศิษย์ปฏิบัติตามโดยเฉพาะพระวินัยข้อห้ามรับเงินและพระวินัย เกี่ยวกับสตรี เนื่องจากท่านเห็นว่าทั้งเงินและสตรีเป็นสิ่งนำความเสื่อมมาสู่เพศบรรพชิต ได้มากที่สุด ท่านจึงทำให้ดูเกี่ยวกับการรับเงิน และการปฏิบัติต่อสตรี ดังนี้

1. ท่านไม่รับเงินไว้ใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อมีผู้นำเงินมาถวายไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ท่านจะให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้ใช้ในกิจของสงฆ์

2. ที่วัดหนองป่าพง แม้จะมีชีอยู่มากมาย แต่ชีกับพระไม่มีโอกาสได้สนทนา และอยู่ใกล้ชิดกันเป็นการส่วนตัว เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นเท่านั้น ส่วนตัวท่านเองระวังมาก ใต้ถุนกุฎีของท่านซึ่งเป็นที่รับแขกก็โล่ง และถ้ามีแขกผู้หญิงมา ต้องมีพระหรือสามเณรหรืออุบาสกเป็นพยานรู้เห็นสิ่งที่หลวงปู่ชา สนทนากับผู้หญิงด้วยเสมอ พระอาจารย์คณู อัคคธัมโม (สัมภาษณ์) กล่าวว่า สองเรื่องที่ท่านเน้น คือเรื่องวินัยของสงฆ์ การรับเงิน และการปฏิบัติต่อสตรี ในระยะที่พระอาจารย์คูณอยู่วัดหนองป่าพง ท่านไม่เคยเข้าไปในเขตที่อยู่ของชีเลย

3. การออกรับบิณฑบาต มีกติกาว่า ถ้าพระหรือสามเณรรูปใดขาดการออกบิณฑบาต จะด้วยตื่นสายหรือขี้เกียจไปก็ตาม วันนั้นต้องอดอาหารไปตามธรรมเนียมของการปฏิบัติตามธุดงควัตร ข้อที่ว่า ถือบิณฑบาตเป็นวัตร (เว้นไว้แต่อาพาธ) ขณะที่หลวงปู่ชาแข็งแรงท่านจะออกบิณฑบาตทุกวัน ระยะหลังเมื่อสุขภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยท่านจึงหยุด สิ่งของเครื่องใช้มีผู้นำมาถวาย ตามกติกาของเหล่านั้นต้องตกเป็นของสงฆ์ พระภิกษุสามเณรทุกรูป มีความจำเป็นต้องใช้สามารถเบิกกับพระเจ้าหน้าที่ได้ เพื่อให้เกิดความทั่วถึงและเป็นธรรม ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เป็นการสอนให้รู้จักประมาณ

พระวิสุทธิสังวรเถร (สัมภาษณ์) เล่าว่าหากพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดอยากได้บาตรดี ๆท่านจะเปลี่ยนเอาบาตรไม่ดีมาให้ เพื่อเป็น

การทรมานกิเลส

การอดนอน วัดหนองป่าพงและวัดสาขามีกติกาที่เด่นชัดถือกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือทุกวันพระ จะถือการนั่งสมาธิตลอดทั้งคืน ทั้งพระภิกษุสามเณร ชี และฆราวาส ซึ่งเป็นธุดงควัตรข้อที่ 13 หลวงปู่ชาได้ปฏิบัติให้ดูในเรื่องนี้ คือ หลังทำวัตรเย็นและอบรมธรรมะเสร็จแล้ว ท่านจะนั่งสมาธิในศาลาตลอดทั้งคืน

จากการค้นคว้าได้ข้อมูลตรงกับ พระครูพัฒนกิจวิศาล (สัมภาษณ์) คือ ประเด็นหลักที่หลวงปู่ชาเน้น คือ เรื่องพระวินัยและข้อวัตร กิจวัตรทุกอย่างทำตลอดไม่มีการหยุด ทุกคืนวันพระ หลังอบรมธรรมะเสร็จแล้ว จะนั่งสมาธิ เดินจงกรมตลอดทั้งคืนในอุปลมณี เล่าไว้ว่า การปฏิบัติสมาธิของ หลวงปู่ชา ในบางวันหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ท่านจะนั่งสมาธิต่อ บางวัน ท่านจะนั่งสมาธิถึงเที่ยงคืน จึงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรพักผ่อนและมีเวลาพักเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะถึงเวลา 3.00 น. หลวงปู่ชาจะให้สัญญาณระฆัง เพื่อให้พระภิกษุสามเณรเริ่มทำความเพียรต่อ
(คณะศิษย์, 2536: 77)

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 10:04:02 am »


การสอนแบบบรรยาย

เมื่อหลวงปู่ชาบรรยายธรรมะให้ลูกศิษย์ของท่านฟัง จากการค้นคว้าภาคเอกสารพบว่าท่านจะไม่ใช้ คำศัพท์บาลี ในการบรรยาย แต่จะใช้คำธรรมดา ในบางครั้งจะใช้ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน ในกรณีบรรยายให้ชาวอีสานฟัง อย่างไรก็ตามเมื่อท่านยกคำบาลีขึ้นมา ท่าน จะอธิบายความข้อนั้นโดยการใช้คำธรรมดาก่อน จึงจะยกคำบาลีขึ้นภายหลัง เพื่อเชื่อมโยงให้ลูกศิษย์เข้าใจอย่างเป็นทางการในหัวข้อธรรมนั้น ๆการบรรยายธรรมะของหลวงปู่ชา จะบรรยายตามเหตุการณ์ ยกตัวอย่างจากธรรมชาติใกล้ตัว และอธิบายให้เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น กรณีคณะครูนำเด็กนักเรียนไปฟัง
ธรรมะที่วัดหนองป่าพง เรื่องความสามัคคี หลวงปู่ชา เล่าไว้ว่า ครูบอกว่าเด็กสอนยาก ครูมีด้วยกัน 40 คน สามัคคีกันหรือไม่ แล้วไปโทษเด็ก เด็กที่ทำผิดควรให้อภัย หากครูทำผิดไม่ควรให้อภัย คนที่ไม่รู้เราต้องสอนให้เขารู้ คนที่รู้แต่ไม่ปฏิบัติตามนั้นสอนไม่ได้
(ปัจจุบันธรรม, 2545: 48-49)

พระอาจารย์คูณ อัคคธัมโม (สัมภาษณ์)
เล่าถึง การยกตัวอย่างจากสิ่งใกล้ตัวของหลวงปู่ชาไว้ว่า

1. คนเราไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่นธรรมชาติของนกฮูก ในยามค่ำคืนนกฮูกบินมาจับกิ่งไม้ใกล้บ้าน ส่งเสียงร้อง คนไม่เข้าใจเสียงนกจึงเอาปืนไปไล่ยิง และคิดไปเองว่านกฮูกร้องเรียกวิญญาณคนบริเวณนั้น ความจริงนั่นเป็นธรรมชาติของเสียงนกฮูก จะให้นกฮูกร้องเป็นอีกาหรือขันเป็นไก่จะได้อย่างไร เพราะธรรมชาติของนกฮูกก็ต้องร้องเช่นนั้น

2. คนเราส่วนมากชอบอวดอ้างยศ อ้างฐานะ อ้างหน้าที่การงาน ชอบดูหมิ่นบุคคลอื่น บางคนอวดอ้างตนว่ามีความรู้กว่าบุคคลอื่น บุคคลเหล่านั้น ไม่เข้าใจคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เหมือนกับอีแร้งที่บินอยู่บนท้องฟ้า นึกว่าตัวเองบินสูง สายตาแหลมคม สุดท้ายก็ร่อนลงกินของเน่าที่พื้นดิน

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า หลวงปู่ชา อธิบาย โดยนำธรรมชาติใกล้ตัวหรือสิ่งที่เราเคยพบเห็นมาประกอบการสอน เนื่องจากเมื่อเราเห็นด้วยตนเองแล้ว ก็จะเข้าใจบุคคลอื่น เพราะคนมีธรรมชาติเหมือนกัน และยกตัวอย่างเครื่องดื่ม โค้ก และเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มเหมือนกัน ต่างกันตรงองค์ประกอบภายนอกเท่านั้น


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 09:55:02 am »


การสอนแบบสนทนา

ตามปกติหลวงปู่ ชา ท่านจะใช้ใต้ถุนกุฎีของท่านเป็นสถานที่รับแขก ในบางวันท่านจะนั่งพูดคุยกับญาติโยมตลอดวัน เพราะมีคนเป็นจำนวนมาก มุ่งสู่วัดหนองป่าพง หลวงปู่ชาสนทนากับใครมักให้ข้อคิดเสมอ ในเวลาที่คนไปเยี่ยมหรือต้องการไปถามความคิดเห็นของท่าน ท่านจะใช้คำตอบที่สั้น แต่ได้ใจความ บางครั้งเมื่อมีผู้รู้มากมาเยี่ยม หลวงปู่ชาจะเป็นผู้ฟัง ดังกรณีนายทหารคนหนึ่ง เมื่อไปถึงก็พูดธรรมะมากมาย มีความตอนหนึ่งว่า สมัยเป็นทหารหนุ่มเขาไปล่ากระทิงในขณะลั่นไกลปืน กระทิงกระโดดเข้ามาขวิดเฉียดไปนิดเดียว กระทิงมันร้ายจริง ๆ หลวงปู่ชาจึงบอกว่า คนต่างหากที่ร้ายกว่า กระทิงอยู่ป่าของมันดี ๆ ยังอุตส่าห์ตามล่ามัน สัตว์ก็รักชีวิตเหมือนกันและต้องสู้เพื่อเอาตัวรอด แต่บางครั้งสัตว์สู้คนไม่ได้ คุณจึงร้ายกว่ากระทิง
(คณะศิษย์, 2536: 437)

กรณี นายหนูผีไปสนทนากับหลวงปู่ชา แกมีความเชื่อว่า ศาสนาไม่มี บาป บุญไม่มี ทำไมพระต้องกลัวบาป ถึงกลับหนีเข้าป่าไปเพื่อบำเพ็ญตบะ เป็นการทรมานร่างกายโดยเปล่าประโยชน์ และนิมนต์ หลวงปู่ชา ให้ไปอยู่วัดบ้าน เหมือนพระทั่วไป นอนดูทีวี ฉันข้าววันละสองครั้ง จัดงานบุญประเพณีดีกว่า หรือไม่ก็ลาสิกขาไปบริโภคกามจะได้รู้รสชาติกับเขาบ้าง หรือบางทีบาปบุญอาจมีจริง คิดแล้วปวดหัว จะเชื่อก็ไม่แน่ใจไปถามพระหลายรูปก็ไม่ได้ความกระจ่าง และสรุปว่า ที่เขาคิดเช่นนี้ถูกหรือไม่ และขอให้หลวงปู่ชา เทศน์โปรดหลวงปู่ชาจึงได้โอกาส คนที่คิดอย่างพ่อหนูผีนี้ พระพุทธเจ้าท่านไม่โปรด เสียเวลาเปล่าเหมือนบัวใต้ตม "ถ้าไม่เชื่อว่า บาป บุญ มีจริงทำไมไม่ไปปล้นหรือฆ่าคนอื่นล่ะ และได้เปรียบเทียบว่า ที่อาตมาประพฤติธรรมวินัย หากบาปบุญ ไม่มี ก็เสมอตัว ถ้าบาปบุญมี ก็ได้กำไร ระหว่างกำไรกับขาดทุนจะเอาอะไร ถ้าอยากรู้เรื่องบาปบุญมีจริงหรือไม่ ต้องทดลองละบาป บำเพ็ญบุญ ไม่ต้องพูดมาก" ทำให้พ่อหนูผีคลายพยศ เปลี่ยนนิสัยจากคนมุทะลุ เป็นผู้อ่อนน้อมยอมถวายตัวเป็นศิษย์

การสนทนา ท่านจะใช้ปฏิภาณในการโต้ตอบ และมีอุบายในการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าหัวข้อในการสนทนานั้น พระวิสุทธิสังวรเถร (สัมภาษณ์) กล่าวว่า ส่วนมากทุกคนที่สนทนากับหลวงปู่ชา จะให้ความเคารพกับท่านจะไม่โต้ตอบ และอาจมีบ้างเพื่อต้องการจะรู้ เช่น กรณีพ่อหนูผี ไม่ใช่เพื่อทดสอบภูมิปัญญาของท่าน บางกรณี เมื่อมีการโต้ตอบท่านจะสังเกตว่าบุคคลผู้นั้นจะสอนได้หรือไม่


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 09:32:53 am »

มีนักปฏิบัติธรรมคนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ชาว่า นั่งสมาธิ บางครั้งจิตรวม แต่มันวูบเหมือนอย่างสัปหงกแต่ก็รู้ อย่างนี้เรียกว่าอะไร ท่านตอบแบบตัดปัญหาว่า “มันตกหลุมอากาศ ขึ้นเครื่องบินก็เจอแบบนี้ พระชาวต่างชาตินั่งอยู่ด้านข้าง อุทานขึ้นว่า หลวงพ่อตอบปัญหาเหมือนพระเซนจริง ๆ หลวงปู่ชาจึงบอกว่า ไม่ใช่ ๆ เหมือนหลวงพ่อต่างหาก” (คณะศิษย์, 2536: 272)

การตอบปัญหาในลักษณะเช่นนี้ ท่านจะตอบด้วยวิธีตัดปัญหา เพราะหากจะตอบปัญหาเล็กๆ น้อย ๆ ทุกคำถามคนเหล่านั้นก็จะถามเรื่อยไปเหมือนกับเด็กตัวเล็ก ๆ ที่คอยถามแม่เรื่อยไป จะสังเกตได้ว่า บางครั้งหลวงปู่ชาก็ตอบด้วยอารมณ์ขัน เป็นการสร้างบรรยากาศในการสนทนา

พระครูพัฒนกิจวิศาล (สัมภาษณ์) บอกว่า หลวงปู่ชา จะเปิดโอกาสให้ทุกคนถามท่านตลอดเวลาโดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนาใน การปฏิบัติธรรมความสงสัยเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีเกจิอาจารย์ และสำนักปฏิบัติธรรมมากมาย และอาจเรียนรู้จากความสงสัยนั้น จึงมีคำถามเกี่ยวกับกรณีต่าง ๆ เช่น หลวงพ่อมีความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติอื่น ๆ อย่างไร หลวงปู่ชา กล่าวว่า เหมือนเราเข้าเมือง บางคนอาจเข้าเมืองด้านทิศเหนือ บางคนอาจเข้าด้านทิศใต้ จากถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางการปฏิบัติสมาธิภาวนา แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายไหน เดินช้าเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอก็ไม่ต่างกัน ข้อสำคัญที่สุด คือ ท่านจะปฏิบัติถูกต้องได้ในที่สุด โดยการไม่ยึดมั่นถือมั่นท้ายที่สุด แนวทางการทำสมาธิทุกแบบ จะต้องเพื่อการปล่อยวาง (สันติภูมิ, 2530: 71)

จากคำกล่าวของหลวงปู่ชา แสดงให้เห็นว่า ท่านสอนไม่ให้ยึดติดกับวิธีปฏิบัติ วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อไม่ให้ผู้ฝึกปฏิบัติสมาธิติดรูปแบบหรือติดในครูอาจารย์ของตน รวมทั้งเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติที่ใช้วิธีที่แตกต่างกันด้วยหลวงปู่ ชากล่าวว่า สมาธิมีทั้งคุณและโทษ โทษของสมาธิ คือ เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงอัปปนาสมาธิจะพบกับความสุขลึกอยู่ภายใน และจะติดในความสุขนั้น จะทำให้เกิดความยึดมั่นในอารมณ์ไม่ต้องการพิจารณาในสิ่งอื่น ผู้ปฏิบัติจะอาศัยความสุขนั้นเป็นเครื่องอยู่จึงถือได้ว่าเป็นโทษแก่ผู้ปฏิบัติอย่างหนึ่ง คุณของสมาธิ คือ ขณะจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิและส่งเข้าสู่อัปปนาสมาธิ เมื่อจิตสงบเต็มที่จิตจะถอนออกสู่อาการภายนอกแล้วจะเกิดปัญญา
(พระอาจารย์ชา สุภัทโท, 2535: 24)


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 04:40:43 am »


การสอนแบบตอบคำถามตัดปัญหา

บุคคลที่เดินทางมายังวัดหนองป่าพงมีจำนวนมากมาย หลากหลายอาชีพ มีความแตกต่างกันหลาย ๆ ด้าน ทั้งถิ่นที่อยู่อาศัย สถานะความเป็นอยู่ อาชีพการงาน ความแตกต่างด้านการศึกษาภาษาและวัฒนธรรม จึงมีข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับคำสอนหรือเกิดความสงสัยในการปฏิบัติ แม้กระทั่งถามเพื่อลองภูมิ ในการตอบปัญหาของหลวงปู่ชา จึงมีหลากหลายวิธี และท่านจะสังเกตว่าเมื่อตอบไปแล้ว จะมีประโยชน์ต่อผู้ฟังมากน้อยเพียงใด ปัญหาบางอย่างหลวง ปู่ชา ไม่ตอบแต่ท่านจะแนะนำหลักธรรมที่ควรรู้ ดังเช่น

ครั้งหนึ่งมีคนไปถามท่านว่า เขาว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เหาะได้หรือเปล่า หลวงปู่ชาตอบว่า “เรื่องเหาะเรื่องบินนั้นไม่สำคัญหรอก แมงกุดจี่มันก็บินได้(เรื่องของหลวงปู่ชา, 2536: )

จากปัญหาข้างต้นหลวงปู่ชาท่านตอบเพื่อ ตัดปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่ห่างไกลตัวเกินไปและปัญหานั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถาม และผู้ตอบ ในอีกแง่หนึ่งเป็นการสอนว่าท่านไม่ให้ความสนใจในอิทธิปาฏิหาริย์ พระอาจารย์คูณ (สัมภาษณ์) เล่าว่า อุบาสิกาท่านหนึ่งถามหลวงปู่ชาถึง วิธีการปฏิบัติสมาธิว่า หลวงพ่อปฏิบัติอย่างไร ท่านตอบว่า ก็ปฏิบัติอย่างที่โยมเห็นนี้แหละ โยมเห็นอย่างไร อาตมาก็ปฏิบัติเช่นนั้น


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 04:32:12 am »


การสอนแบบใช้อุปกรณ์การสอน

เมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว การสอนของหลวงปู่ชา คล้ายกับการสอนของพระป่าโดยทั่วไป คือ ไม่มีอุปกรณ์การสอนที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการสอนโดยเฉพาะเช่นในปัจจุบัน แต่หลวงปู่ชาจะใช้สิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวท่าน ที่หาได้ในขณะนั้น พระวิสุทธิสังวรเถร (สัมภาษณ์) กล่าวว่าการใช้อุปกรณ์การสอนมีบ้างเป็นบางโอกาส อุปกรณ์จะเป็นสิ่งใกล้ตัวท่าน หากจะถามว่าเป็นการใช้อุปกรณ์หรือไม่นั้น ก็สุดแท้จะเข้าใจ แต่หากเป็นไหวพริบปฏิภาณของผู้สอนต่างหาก ซึ่งอุปกรณ์นั้นท่านไม่เคยเตรียมไว้ก่อน เช่น เมื่อครั้งเดินทางไปแสดงธรรมต่างประเทศ ชาวต่างชาติถามท่านว่าตายแล้วไปไหน หลวงปู่ชาหันไปจับเทียนที่ตั้งอยู่ด้านข้าง แล้วเป่าเทียนดับ และย้อนถามว่า เทียนดับแล้วไปไหน ผู้ถามบอกว่าไม่รู้ หลวงพ่อจึงบอกว่า ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน และหลวงปู่ชาได้ถามว่าพอใจหรือไม่กับคำตอบนี้ เขาบอกว่าไม่พอใจ ท่านจึงบอกว่าฉันก็ไม่พอใจในคำถามนั้นเหมือนกัน

พระเขมธัมโม เล่าไว้ว่า วันหนึ่งหลังกลับจากรับบิณฑบาต หลวงปู่ชาเรียกให้เดินไปกับท่าน เพื่อดูแลความเรียบร้อยภายในวัด ในขณะเดินเข้าไปใกล้ประตูเข้าวัด หลวงปู่ชาเห็นกิ่งไม้ ซึ่งท่านต้องการให้ช่วยยกออกจากถนน จึงใช้มือออกท่าทาง เพื่อบอกให้จับปลายไม้อีกด้านหนึ่ง ในขณะที่ยกกิ่งไม้พร้อมที่จะเหวี่ยงทิ้ง หลวงพ่อได้เงยหน้าขึ้นมอง และถามว่า หนักไหม จึงเหวี่ยงกิ่งไม้เข้าป่าและถามอีกว่า ตอนนี้หนักไหม (คณะศิษย์, 2536: 263-264)

การสอนของหลวงปู่ชาในลักษณะเช่นนี้ สามารถตีความหมายได้ 2 อย่างด้วยกัน คือ...

1. หลวงพ่อสอนให้รู้จักการปล่อยวาง
2. เป็นการใช้อุปกรณ์การสอนที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่พอหาได้ในขณะนั้น

หลวงปู่ ชา มักใช้สิ่งที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้ว ไม่ต้องอาศัยการอธิบายประกอบ เช่น หลวงปู่ชา จับท่อนไม้ขึ้น “ดูนี่สิ มันสั้นหรือยาว สมมติว่าคุณอยากได้ไม้ที่ยาวมากกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้ที่สั้นกว่านี้ ไม้ท่อนนี้ก็ยาว หมายความว่า ตัณหาของคุณต่างหากที่ทำให้ไม้มีสั้นมียาว มีดี มีชั่ว มีสุข มีทุกข์ (ทำให้สุดขุดให้ถึง, 2536: 47)


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 04:22:41 am »


และได้เปรียบเทียบเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ว่า หากพูดให้สั้น ศีล สมาธิ ปัญญานั้น เป็นสิ่งเดียวกัน อาศัยซึ่งกันและกัน เปรียบเหมือนมะม่วงลูกหนึ่ง เมื่อยังเล็กก็มะม่วงลูกนั้น โตขึ้นอีกหน่อยก็มะม่วงลูกนั้น เมื่อแก่เต็มที่ (สุก) ก็มะม่วงลูกเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงจากมะม่วงลูกเล็ก ๆไปเป็นมะม่วงลูกใหญ่ เกิดจากมะม่วงลูกเดียวกัน เราจะบอกว่า ไม่ใช่ลูกเดียวกันก็ได้ บอกว่าลูกเดียวกันก็ได้ ต่างกันตรงขนาด และรสชาติเท่านั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เช่นเดียวกัน ต้องเริ่มจากจุดหนึ่งไปสู่เป้าหมายหนึ่ง (คณะศิษย์, 2535: 62)

พระอธิการเอนก ยัสทินโน
(สัมภาษณ์) เล่าว่า วิธีการสอนในสิ่งที่ยาก เช่น เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา หากผู้ฟังตั้งใจฟัง บุคคลเหล่านั้นจะสามารถเข้าใจได้ดีคือ ท่านสอนจากสิ่งที่หยาบเข้าสู่สิ่งที่ละเอียด สอนเปรียบเทียบสิ่งภายนอกเข้าสู่สิ่งภายใน ผู้ฟังสามารถพิจารณาให้เห็นจริงได้
การเปรียบเทียบร่างกายกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น คนเราเกิดมาจนถึงวัยชราได้อาศัยร่างกายมาเป็นเวลานาน ย่อมมีการทรุดโทรมบ้าง เปรียบประหนึ่งเครื่องใช้ภายในบ้านซึ่งเราเก็บรักษาไว้นาน เช่น ถ้วย จาน ชาม เครื่องใช้ต่าง ๆ ในขณะที่ยังใหม่ก็สดใสดี เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา บางอย่างแตกทำลาย บางอย่างหายไป บางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายของคนเราก็เช่นนั้นเหมือนกัน (คณะศิษย์, 2535: 36)

จากนั้น หลวงพ่อได้สอนการปล่อยวางเป็นกรณีต่อไป สำหรับการปล่อยวางบางคนไม่เข้าใจความหมาย คำว่า ปล่อยวาง อุเบกขาหรือวางเฉย จึงมีการตีความหมายสับสนต่าง ๆ นานา ดังศิษย์ของหลวงปู่ชารูปหนึ่ง ที่ฝึกปฏิบัติการปล่อยวาง ในฤดูฝนหลังคากุฎีพระรูปหนึ่งมีรอยรั่ว พระรูปนั้นไม่ขวนขวยหาวัสดุมุงหลังคาใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น และได้เก็บบริขารไปไว้อีกมุมหนึ่งของกุฎี หลายวันผ่านไป หลวงปู่ชาไปถามที่กุฎี พระรูปนั้นตอบว่า ผมกำลังฝึกการปล่อยวาง หลวงปู่ชา จึงกล่าวว่า นี่เป็นการปล่อยวางที่ไม่ใช้ปัญญา เปรียบเหมือนการปล่อยวางของควายเท่านั้นเอง (สันติภูมิ, 2530: 76)

เรื่องการปล่อยวางต้องใช้คู่กับปัญญา ปล่อยวางไม่ใช่ปล่อยทิ้ง จะสังเกตได้ว่า หลักการสอนของหลวงปู่ชาไม่เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ท่านสามารถนำสิ่งที่ท่านพบเห็นหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนำมาเปรียบเทียบ ในสิ่งที่ท่านสอนให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน พระอาจารย์คูณ (สัมภาษณ์) บอกว่า การยกตัวอย่างของหลวงปู่ชา มีมากมายหลายวิธี มีทั้งจากพระไตรปิฎก และจากประสบการณ์ของท่าน ส่วนมากจะมาจากประสบการณ์ของท่านมากกว่าจากการยกตัวอย่าง จากสิ่งใกล้ตัว จากเครื่องใช้ประจำครัวเรือน และสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทำให้ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะตัวอย่างที่หลวงปู่ชานำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะอยู่ในฐานะเช่นไร


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 04:12:17 am »


การสอนด้วยการเปรียบเทียบ

การสอนด้วยการเปรียบเทียบ หลวงปู่ชา จะใช้วิธีการสอนด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบธรรมะกับสิ่งง่าย ๆใกล้ตัวมนุษย์ ทั้งสิ่งที่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และธรรมชาติใกล้ตัว ในการสอนเนื้อหาบางอย่างอาจลึกซึ้ง ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจได้ทันที ท่านจะยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจน ที่เรียกว่าทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ดังเช่น หลวงปู่ชา ยกตัวอย่างในการสอนปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมะที่ละเอียด ยากแก่การเข้าใจ ท่านจะใช้วิธีอุปมาอุปไมย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น ปฏิจจสมุปบาท ในทางปริยัติบอกว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป เราเคยเรียนมาก็เป็นจริงตามนั้น แต่เมื่อเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วเรานับไม่ทัน อุปมาเหมือนเราตกจากต้นไม้ เมื่อเราพลาดจากกิ่งไม้ ถึงพื้นโน่น ไม่รู้ผ่านกิ่งไหนบ้าง มันไปตามปริยัตินั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติด้วย หลวงปู่ชาสรุปว่า การปฏิบัติไม่มีป้ายบอกทางว่า ตรงนี้เป็นสังขาร ตรงนี้เป็นวิญญาณ ตรงนี้เป็นนามรูป ท่านจึงเปรียบว่า คล้ายกับตกจากต้นไม้เมื่อพลาดจากกิ่งไม้เราไม่สามารถคำนวณได้ว่าผ่านมากี่ นิ้วกี่ฟุต จะรู้อีกครั้งเมื่อตก
ถึงพื้น (สัมมา สัจจานุรักษ์, 2534: 26)

เปรียบกิเลสเหมือนน้ำ หลวงปู่ชากล่าวว่า คำว่าพระพุทธองค์และพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ฆ่าและไกลจากกิเลสนั้น ความจริงพระพุทธองค์และพระอรหันต์ไม่ได้ฆ่าและไม่ได้หนีไกลจากกิเลสแต่ ประการใดเลย แต่เป็นเพียงการรับรู้แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพของสิ่งนั้น ถ้าหากพระพุทธองค์ทรงฆ่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว คนที่เกิดภายหลังคงไม่มีกิเลสแต่ประการใดเลย และพระองค์ไม่ได้หนีไกลจากกิเลส เปรียบเหมือนบัวที่อยู่กับน้ำแต่ไม่ติดน้ำ ดังนี้ (คณะศิษย์, 2535: 51-79)


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 04:00:48 am »


การสอนแบบใช้จังหวะและโอกาส

เมื่อรู้ว่ายังไม่ถึงโอกาสหรือไม่มีจังหวะ ผู้ฟังไม่พร้อม หลวงปู่ชาจะไม่สอน แต่เมื่อได้จังหวะ ท่านจะไม่ปล่อยโอกาสนั้นให้ผ่านไป เช่น พระอาจารย์ สุเมโธ เล่าว่า วันหนึ่งในขณะกำลังกวาดใบไม้ที่ลานวัด รู้สึกอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ขัดเคือง นึกเพ่งโทษว่าที่วัดหนองป่าพงไม่มีความสุข ทันใดนั้นหลวงปู่ชาเดินผ่านมา และพูดว่า วัดป่าพงทุกข์มาก แล้วเดินจากไป (คณะศิษย์,2536: 355)

จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระอาจารย์สุเมโธได้สติว่า ความสุข ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากสถานที่ แต่เกิดจากจิตใจของเราเอง การตระหนักถึงเรื่องนี้ทำให้พระอาจารย์สุเมโธ เลิกเพ่งโทษสิ่งแวดล้อม จากคำสอนของหลวงปู่ชาเพียงประโยคเดียวที่ถูกจังหวะและโอกาส

ในขณะหลวงปู่ชาเดินรับบิณฑบาตกับพระมหารูปหนึ่ง ขณะเดินถึงบ้านหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านเป็นช่างไม้ หลวงปู่ชากล่าวขึ้นว่า “บ้านช่างไม้นี่เก่าทรุดโทรมเสียจริงนะ” พระมหาจึงพูดว่า “บ้านช่างไม้มีฝีมือ คงมีงานล้นมือจึงไม่มีเวลาซ่อมบ้านของตัวเอง” หลวงปู่ชา ได้จังหวะกล่าวว่า “เราก็เช่นกัน สอนแต่คนอื่น” เมื่อได้ฟังหลวงปู่ชา พูดเช่นนั้น พระที่เดินตามหลังนิ่งไปพักหนึ่ง ด้วยความซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งเพราะเห็นจริงตามนั้น (ทองพูล พานแก้ว, 2541: 30)

พระอาจารย์ คูณ อัคคธัมโม (สัมภาษณ์) บอกว่า หลวงปู่ชาจะใช้จังหวะและโอกาสที่เหมาะสม
ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ เช่น ในขณะที่ท่านบอกให้พระเณร ปัดกวาดบริเวณวัด
ท่านจะบอกว่า กวาดทางไปด้วย กวาดใจไปด้วย เป็นการใช้จังหวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์

พระอาจารย์ ญาณธัมโม ชาวออสเตรเลียเล่าถึง วิธีการสอนของหลวงปู่ชา ที่เหมาะกับโอกาสว่า วันหนึ่งท่านมีเรื่องขัดใจกับพระรูปหนึ่ง รู้สึกโกรธทั้งวัน รุ่งเช้าออกรับบิณฑบาตเดินคิดไปตลอดทาง ขากลับเดินสวนทางกับหลวงปู่ชา ท่านยิ้มแล้วทักว่า Good morning ทำให้อารมณ์เปลี่ยนทันที เกิดความเบิกบานปลื้มปีติที่หลวงพ่อทัก ตอนเย็นหลวงพ่อเรียกให้ไปอุปัฏฐากที่กุฎีของท่านและรู้สึกดีใจมากกับโอกาส ที่ได้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อสองต่อสอง ในขณะกำลังถวายการนวดอย่างตั้งอกตั้งใจด้วยความปลื้มปีติ หลวงปู่ชาได้ใช้เท้าถีบไปที่หน้าอก ที่กำลังพองโตด้วยความภาคภูมิใจจนล้มก้นกระแทกพื้น และได้ตำหนิว่า จิตใจไม่มั่นคง พอไม่ได้ดังใจก็ขุ่นเคือง เมื่อได้ตามปรารถนาก็ดีใจ ผมฟังท่านดุไปหลายเรื่องถึงกับร้องไห้ ไม่ใช่เพราะโกรธหรือเสียใจ แต่เพราะ สำนึกในบุญคุณของท่าน หลวงพ่อเมตตาช่วยชี้กิเลสของเราไม่เช่นนั้นเราคงมืดบอดไปอีกนาน (คณะศิษย์,2536: 363)

พระวิสุทธิสังวรเถระ (สัมภาษณ์) กล่าวว่า หลวงปู่ชา จะสังเกตอุปนิสัยของลูกศิษย์ก่อนว่า บุคคลนั้นสอนเข้าใจยากง่ายแค่ไหน เช่น กรณีที่พระอาจารย์ ญาณธัมโม ไปถวายการนวดให้กับท่าน พระอาจารย์ญาณธัมโม รู้สึกปลื้มใจ ในขณะนวดหลวงพ่อจึงใช้เท้าถีบเข้าที่หน้าอกแต่ทั้ง ๆ ที่ท่านถูกถีบนั้นท่านจะโกรธ ท่านกลับสำนึกได้นั้นเป็นเพราะว่า หลวงปู่ชา ท่านรู้แล้วว่าพระอาจารย์ญาณธัมโม มีศรัทธาพอที่จะใช้ความรุนแรง หลวงพ่อจึงใช้ จึงทำให้ท่านได้สติในสิ่งที่ตนคิดผิด และได้ปรับปรุงตัวใหม่