ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 10:31:03 pm »




๑.
“ผมไม่มีถ้อยคำใดบรรยายความเศร้าของผมได้ ผม พ่อของพวกเขา ทำไม่ได้แม้แต่จะขยี้ผม จับต้นคอหรือว่าคว้าตัวอุ่นๆ ของลูกๆ เข้ามากอดได้ แต่ผมก็ยังยินดีที่ได้เห็นลูกๆ เคลื่อนไหว หัวเราะ นั่นแหละคือวันแสนสุข”

          ฌ็อง - โดมินิก โบบี้ ลืมตาตื่นขึ้นมาพบว่าตัวเองไม่สามารถสื่อสารอะไรได้
เขานอนนิ่งอยู่บนที่นอน ไม่สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดวงตาข้างหนึ่งถูกปิด เหลือเพียงดวงตาอีกข้างที่มองเห็นและใช้สื่อสารกับผู้คน
แพทย์วินิจฉัยว่า เขาเป็นโรค Lock-in Syndrome ทำให้ระบบกล้ามเนื้อส่วนในร่างกายเป็นอัมพาต เหลือเพียงตา หู และสมองที่ยังใช้งานได้ โอกาสที่จะพบโรคนี้น้อยมาก - เขาเป็นส่วนน้อยในผู้คนมากมาย
จากที่เคยเป็นถึงบรรณาธิการบริหารนิตยสาร ELLE แห่งฝรั่งเศส ชายหนุ่มอายุ 43 ผู้มุ่งมั่น ทะเยอทะยานจริงจังกับอาชีพการงาน ต้องมานอนนิ่งในโรงพยาบาล ไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เป็นเรื่องชวนเศร้าไม่น้อย
และชวนเศร้ายิ่งกว่า ถ้าจะบอกว่า โบบี้มีตัวตนอยู่จริงในโลกใบนี้ และเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวถึงทั้งหมด - เป็นเรื่องจริง
 


๒..
“เหมือนนักเดินเรือที่เห็นชายฝั่งหายไปต่อหน้า ผมมองอดีตถอยห่างออกไป จนเหลือเพียงเถ้าถ่านแห่งความทรงจำ”

โบบี้เขียนหนังสือเรื่อง‘ชุดประดาน้ำและผีเสื้อ’ (LE SCAPHANDRE ET LE PAPILLON)เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ในโรงพยาบาล ขณะที่เขาล้มป่วย ทำได้เพียงการกะพริบตาข้างซ้ายข้างเดียว
เขาเขียนหนังสือโดยการให้ผู้ช่วย (โกล๊ด มองดิบิล) ท่องตัวอักษรทีละตัว เรียงตามความถี่ในการใช้ตัวอักษรนั้น
          อี, เอส, เอ, อาร์, ไอ, เอ็น, ที .....
เมื่อถึงตัวอักษรที่เขาต้องการ เขาจะกะพริบตาหนึ่งครั้ง หรือหากคำใดไม่ถูกหรือผิดพลาดไป เขาจะกะพริบตาสองครั้ง
ตัวอักษรแต่ละตัว ค่อยๆ เรียงร้อยเป็นถ้อยคำ เป็นประโยค เป็นย่อหน้า และสุดท้าย กลายเป็นเล่ม !!!
หากเห็นตัวเลขในการกะพริบตาของเขา กรุณาอย่าตกใจ
เขากะพริบตาทั้งหมดประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ครั้ง กว่าจะเป็นหนังสือเล่มนี้
ทุกถ้อยคำในหนังสือของโบบี้ไม่มีความรู้สึกหดหู่ ฟูมฟาย หรือต่อว่าชะตาชีวิตของตัวเองแต่อย่างใด ตรงกันข้าม โบบี้ตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ เขามองมนุษย์ได้ลึกซึ้งกว่าตอนที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
ไม่เชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อ เขาใช้ตาเพียงข้างเดียวเขียนหนังสือ เขียนด้วยความศรัทธา ความเชื่อมั่น จากหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก ความฝัน และความหวัง
 


๓.
“คงต้องใช้ปาฏิหาริย์จริงๆ ถึงจะช่วยโอบอุ้มจิตวิญญาณผมได้ การเชื่อในปาฏิหาริย์ของตนนั้นมันเสี่ยง มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองสำคัญ แต่สำหรับผม ผมยังคงต้องรายงานว่ามีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้น ผมเริ่มร้องเพลงได้แล้ว ผมคราง ผมร้องเพลง ผมฟังได้ไม่ชัดนัก แต่บางครั้งผมคิดว่าได้ยินเสียงหัวใจเต้น ผมบอกตัวเองว่าเป็นเสียงปีกผีเสื้อ อาการผมดีขึ้นจริงๆ ผมได้ยินเสียงผีเสื้อบิน ผมมองถึงอนาคต”

ความคิดของโบบี้โบยบินไปไกลเหมือนผีเสื้อ เนื้อหาในหนังสือจึงเปี่ยมด้วยความฝันและจินตนาการ การมองโลกในแง่ดี และบางห้วงโบบี้ได้บรรจุอารมณ์ขันแทรกผสมเข้าไปด้วย
จูเลียน ชนาเบล (Julian Schnabel) ผู้กำกับชาวอเมริกัน จึงไม่มีความลังเลที่จะสร้างนิยายเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่อง The Diving Bell and the Butterfly (๒๕๕๑) สร้างความประทับใจให้กับผู้คนมากมาย ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่เติมความหวังให้กับผู้ที่กำลังอ่อนแอหรือรู้สึกว่าตัวเองแพ้พ่าย เติมความคิดจินตนาการลงในหัวใจอันเหี่ยวเฉาของผู้คน และเป็นเหมือนแสงสว่างในห้องอันมืดมิดของผู้อมทุกข์ จมกับความเศร้า เอาแต่ต่อว่าชะตาชีวิต
 


๔.
ชุดประดาน้ำของผมดึงคุณสู่ก้นมหาสมุทรไปด้วย”
“ฉันไม่ว่าหรอกนะ ถ้าคุณจะดึงฉันสู่ก้นมหาสมุทรไปด้วยกัน เพราะคุณคือผีเสื้อของฉัน”

ในยามท้อแท้ คนทุกคนย่อมต้องการคนที่อยู่เคียงข้าง คอยพูดคุย และให้กำลังใจ
โบบี้ย้อนทบทวนความทรงจำถึงคนที่รัก ภรรยาพาลูกๆ มาเยี่ยมเขา
เขามองลูกๆ วิ่งเล่นบนหาดทรายร่าเริงสนุกสนาน
ลูกๆ ยิ้มให้เขา เช็ดน้ำลายให้เขา ชวนเขาเล่นเกม
โบบี้ยิ้มไม่ได้ แต่แววตาและความคิดของเขากำลังเริงระบำด้วยความเปี่ยมสุข
บรรยากาศบนหาดทราย แสงสว่างที่ปลายฟ้าสีส้มนวล คลื่นกระทบฝั่งเป็นจังหวะ หลับตาลงฟังเหมือนเป็นเสียงดนตรี และคลื่นที่ถาโถมเข้ามาสู่ฝั่งนั้น เปรียบเหมือนการเคลื่อนไหวของหัวใจที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ท้องฟ้ากว้างไกลไม่มีที่สิ้นสุด เช่นกันกับความคิดฝันที่ไม่มีกำแพง
ดูเหมือนฉากเหล่านี้ ชนาเบลต้องการที่จะสื่อสารกับผู้ชมถึงความหวังในชีวิต
ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลมากมาย โดยเฉพาะรางวัลออสการ์ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม
และรางวัลลูกโลกทองคำในปีเดียวกัน ในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม
นอกจากนี้ยังมีรางวัลต่างๆ ยิบย่อยอีกมากมาย
ที่สุดแล้ว รางวัลอาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ไม่สามารถบ่งชี้หรือมีมาตรฐานอันใดชัดเจน และไม่ช้าไม่นานผู้คนก็คงหลงลืม
แต่ภาพประทับใจที่ได้สัมผัสกับตานั่นต่างหาก จะฝังลึกลงในหัวใจไม่รู้ลืม
 


๕.
“เหมือนนักเดินเรือที่เห็นชายฝั่งหายไปต่อหน้า ผมมองอดีตถอยห่างออกไป จนเหลือเพียงเถ้าถ่านแห่งความทรงจำ”

ภาพส่วนใหญ่จากเรื่องราวในภาพยนตร์นั้น ชนาเบลจงใจเล่นกับความเสมือนจริง โดยอาศัยเทคนิคและมุมมอง เปรียบให้ผู้ชมนั้นเป็นตัวโบบี้เอง ภาพที่ผู้ชมเห็นส่วนใหญ่จึงเป็นภาพที่เห็นผ่านตาของโบบี้
นอกเหนือจากภาพที่เห็นจะเป็นภาพที่ผ่านเข้ามาทางสายตาของโบบี้แล้ว การที่ผู้ชมได้รับรู้ความคิดของโบบี้ ก็ทำให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละครโดยไม่รู้สึกตัว
ค่ำวันหนึ่ง พ่อของโบบี้โทรศัพท์มาหา
ชายวัย ๙๒ ปี ผู้เป็นพ่อ ไม่สามารถขยับเขยื้อนไปไหนได้ เปรียบเทียบตัวเองกับลูกว่า เราทั้งคู่ต่างถูกจองจำในห้องขัง ไม่ต่างกับนักโทษ
พ่อของเขาถูกขังอยู่ในห้องชั้นบนของอพาร์ตเมนต์ นั่งนิ่งเฝ้ารอวันสุดท้ายของชีวิต ขณะเดียวกันพ่อบอกกับโบบี้ว่า ลูกชายนั้นถูกขังในร่างกายของตัวเอง
แววตาของโบบี้ที่ได้ยินเสียงของพ่อดูเศร้าและหมองหม่น แต่ก็ยังมีความทะยานแฝงอยู่ – โบบี้อาจจะไม่ได้คิดว่าตัวเองถูกขัง เพราะความคิดของเขาโบยบินไปยังที่ไกลแสนไกล แต่เขาอาจรู้สึกเศร้าที่ได้ฟังพ่อพูดอย่างนั้น
โบบี้นอนนิ่งเป็นเวลา ๑๕ เดือน โดยที่เขาไม่สิทธิ์เรียกร้องอันใด เขาใช้เวลาเขียนหนังสือเรื่องนี้ราว ๒ เดือน ก่อนจะเสียชีวิตหลังจากที่หนังสือตีพิมพ์ออกมาได้ ๓ วัน
เรื่องราวของโบบี้ ไม่ว่าจะในหนังสือหรือภาพยนตร์ให้คุณค่ากับชีวิต คุ้มค่าในการอ่านและรับชม
เพราะอย่างน้อยที่สุดในยามหม่นหมอง เรื่องราวของโบบี้ย้ำเตือนกับเราว่า ทุกปัญหาล้วนมีทางออก ในความมืดมิดนั้นย่อมมีแสงสว่างเสมอ และมนุษย์ควรมีศรัทธาในการมีชีวิต.

-------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความเรื่องนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “อินทนิล” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


The Diving Bell and the Butterfly trailer released


Ultra Orange Emmanuelle "Don't Kiss Me Goodbye"