ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 11:00:48 am »

อาจจะถึงเวลา....ที่ธรรมชาติ  จะเอาคืน

ขอบคุณค่ะพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 10:45:33 pm »

 :14: โหอันตรายจริงๆนะครับ ถ้าอยู่เขตนั้น อยู่ดีๆ ดินยุบหรือหายไปเลย
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 08:43:18 pm »

คาดอีก 10 ปี พื้นดินแนวบางขุนเทียนหาย 50 เมตร


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

นักวิชาการคาดอีก 10 ปี พื้นดินเขตบางขุนเทียนจะถูกน้ำทะเลกัดเซาะเข้ามาไม่ต่ำกว่า 50 เมตร

ปัญหาที่คนกรุงเทพฯ กำลังกังวลมากที่สุดปัญหาหนึ่งก็คือ ปัญหาการทรุดตัวของพื้นดิน เพราะมีรายงานว่า ในแต่ละปีพื้นดินในเขตกรุงเทพมหานครทรุดตัวเฉลี่ย 1 เซนติเมตร ซ้ำยังมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ออกมาตอกย้ำว่า หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ อีก 10 ปี กรุงเทพมหานครจะต้องจมน้ำเป็นแน่แท้

ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยที่คาดว่าจะถูกน้ำท่วมใหญ่ ได้แก่ พื้นที่ริมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มต่ำ เช่น เขตคลองสามวา ลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี ร่มเกล้า กิ่งแก้ว ศรีนครินทร์ บางนา ประเวศ ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เช่น ย่านตลิ่งชัน ทวีวัฒนา มีแนวกั้นน้ำเป็นเกราะกำบังอยู่ จึงมีความเสี่ยงน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันก็คือ "เขตบางขุนเทียน" ซึ่งอยู่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน กว่า 4.7 กิโลเมตร โดยศูนย์วิจัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ข้อมูลว่า ทุก ๆ ปี พื้นดินของเขตบางขุนเทียนได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเข้ามาเฉลี่ย 1.4-4.5 เมตร ที่สำคัญหากดูสถิติ 10 ปีย้อนหลัง จะพบว่า มีพื้นดินถูกกัดเซาะไปแล้วเกือบ 1 กิโลเมตร เท่ากับสูญเสียที่ดินไปมากกว่า 2 พันไร่เลยทีเดียว ดังนั้น จึงคาดการณ์ว่า หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า ชายฝั่งทะเลเขตบางขุนเทียนย่อมหนีไม่พ้นที่จะถูกน้ำทะเลกัดเซาะเข้ามาอีก อย่างน้อย 50 เมตร

ทั้งนี้ ใช่ว่ากรุงเทพมหานครจะเพิกเฉยกับปัญหานี้ เพราะล่าสุด สำนักการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร กำลังเร่งก่อสร้างแนวคันไม้ไผ่ ด้วยงบกว่า 5.8 ล้านบาท เพื่อช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ขณะที่อีกด้าน ก็มีการสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้างคันหินรอดักตะกอนรูปตัวที โดยใช้งบประมาณสูงถึง 500-600 ล้านบาท เพื่อยับยั้งการกัดเซาะชายฝั่ง และดักจับดินตะกอน แต่เพราะยังมีประชาชนในพื้นที่บางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ โครงการนี้จึงถูกชะลอไว้จนถึงทุกวันนี้



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ประชาชาติธุรกิจ




.