ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 09:34:21 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 09:28:21 pm »




แม้หลวงตามหาบัวจะแยกจิตจากสังขาร แต่ธรรมรสของท่านย่อมสถิตในใจศิษยานุศิษย์นิรันดร์กาล

"ไม่อยากตายก็ต้องได้ตาย เมื่อถึงกาลมันแล้วห้ามไม่ได้ สิ่งเหล่านี้

เป็นคติธรรมดา ยุ่งไปทำไม"

ความ ตายเมื่อมองผ่านแว่นตาธรรม ย่อมเห็นเป็นเพียงสภาวะหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งเป็นภาวะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หลวงตามหาบัวบอกว่า  ความตายนั้น  "ตายก็ตายไปกับข้อปฏิบัติ  ไม่ได้ตายด้วยความถอยหลัง จิตปักลงเหมือนหินหัก"

สภาวะเช่นว่านี้ จึงจะเป็นความตายที่คู่ควรเป็นพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นความตายอย่างมีคุณค่า

ธรรม เทศนาของหลวงตามหาบัว อาศัยเค้าหลักจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผสมประสานความคิด แล้วกลั่นจากประสบการณ์ทางธรรม แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนได้ตระหนักนึก ทั้งเรื่องความเป็นไปของชีวิต สังคม ความดี ความชั่ว และความตาย

พระธรรมวิสุทธิมงคล  หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน  เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ หรือวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การแยกจิตจากสังขารไปเมื่อเช้าวันที่ 30 มกราคม 2554

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2456 ที่ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สิริอายุรวม 97 ปี ย่างเข้าปีที่ 98

เหตุการณ์ นี้ ยังความเศร้าอาลัยให้กับศิษยานุศิษย์ยิ่ง แม้ท่านจะอาพาธมาก่อน เสมือนเตือนใจให้รู้ความเป็นไปของสังขารแล้วก็ตาม เมื่อท่านละสังขารแล้ว แต่ข้อธรรมต่างๆ ที่ท่านร้อยเรียง และเทศนา ยังกระจ่างใจผู้คนสืบไป

อย่างข้อธรรมเกี่ยวกับความตาย ท่านเคยแสดงธรรมเทศนาให้ชาวบ้านได้ฟังและเข้าใจความเป็นไปของชีวิต เมื่อคราวเดินธุดงค์ผ่านหมู่บ้าน

กะโหมโพนทอง หมู่บ้านนี้อยู่ระหว่างเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

เมื่อ ท่านเดินไปถึงหมู่บ้านกะโหมโพนทอง เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยกันมาก อาการของโรคแสนประหลาด คนที่ป่วยจะมีอาการเจ็บขัดในอก และเป็นกันแทบทั้งหมู่บ้าน แม้จะเป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่นัก แต่วันหนึ่งมีคนตายวันละ 3-4 คน

ตายเหมือนโรคอหิวาต์ระบาด

ชาว บ้านพากันอกสั่นขวัญหาย ทั้งขาดการรักษาจากหมอ และขาดที่พึ่งพาทางด้านจิตใจ  เมื่อท่านธุดงค์เข้าไปใกล้หมู่บ้าน  ชาวบ้านทราบข่าวจึงรีบเข้ามานิมนต์ไปสวดพระอภิธรรมศพ เนื่องจากหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนั้นไม่มีพระอาศัยอยู่เลย

ท่านเล่าไว้ ว่า เพียงแค่ไปนั่งอยู่เดี๋ยวเดียว ก็มีคนหามศพเข้ามาให้สวด เพื่อเผาไปตามประเพณี ครั้นท่านอยู่ใกล้ศพหลายๆศพ ทำให้ติดเชื้อโรคร้ายเข้าไปด้วย จึงเกิดอาการทุกข์ทรมาน

"อาการของโรคเจ็บเหมือนกับเหล็กแหลมหลาว ทิ่มแทงประสานกันเข้าไปในหัวอกหัวใจ" หลวงตาเล่า

ความเจ็บปวดนั้น "จะหายใจแรงก็ไม่ได้ ยิ่งถ้าจามด้วยแล้ว แทบจะสลบไปตอนนั้นเลยทีเดียว"

ชาว บ้านเห็นอาการ ต่างลงความเห็นว่าไม่นาน ท่านต้องมรณภาพอย่างแน่นอน แม้จะตระหนักรู้ความเป็นไป ชาวบ้านก็ไม่อาจช่วยอะไรได้ เพราะลำพังตัวเองก็ไม่คิดว่าจะรอด หลวงตาเมื่อแน่ใจว่าเป็นโรคร้ายแน่แล้ว ก็ขอปลีกตัวจากชาวบ้านไป ท่านไปอยู่บริเวณป่าไผ่เพื่อพิจารณาความเป็นไปของสังขาร

"คราวนี้ เราจะไปตายเสียแล้วเหรอ ในเวลานี้เรายังไม่อยากไป เพราะในหัวใจถึงจะละเอียดขนาดไหนก็ตาม แต่ก็รู้อยู่ว่าจิตนี้ยังไม่ได้เป็นอิสระ ยังมีอะไรอยู่ในจิตหากว่าตายไปในตอนนี้ก็แน่ใจในภูมิของจิตภูมิธรรม ว่าจะต้องไปเกิดที่นั้นๆ ยังไงก็ต้องค้างอยู่ ยังไม่ถึงที่ เหล่านี้ทำให้เกิดวิตกวิจารณ์ว่า ยังไม่อยากตาย"

หลวงตาอธิบายภาวะ ช่วงนี้ว่า "เพราะจิตยังจะค้างอยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่ง ในความรู้สึกยังมีอาลัยอาวรณ์อยู่ แต่ไม่ใช่อาลัยชีวิต แต่เป็นอาลัยอยู่กับมรรคผลนิพพานที่ต้องการจะไป"

เมื่อคิดไปดังนั้น ท่านจึงหันมาตรองใหม่ว่า "ไม่อยากตายก็ต้องได้ตาย เมื่อถึงกาลมันแล้วห้ามไม่ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นคติธรรมดา ยุ่งไปทำไม เรื่องทุกขเวทนานี้ก็เคยผ่านเคยรบมาด้วยการนั่งหามรุ่งหามค่ำ"

ยามนั้น แม้ท่านจะได้ทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่อาศัยว่าเคยต่อสู้กับภาวะลักษณะนี้มาแล้ว ท่านจึงไม่ท้อถอย

ส่วน ชาวบ้านพากันมาเยี่ยมเยียน หลวงตาก็ไล่ให้กลับ ไม่อยากให้ใครมาวุ่นวาย เมื่อชาวบ้านกลับกันออกไป มีผู้เฒ่าคนหนึ่งแอบอยู่ ด้วยเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับท่าน

หลวงตามหาบัวเล่า ว่า อาศัยช่วงเวลาไร้ผู้คน พิจารณาทุกขเวทนาว่าในหัวอกเป็นอย่างไร เกิดขึ้นจากอะไร เสียดแทงอะไร แล้วก็พบว่า "ทุกขเวทนาเป็นหอกเป็นหลาวเมื่อไรกัน มันก็เป็นเพียงทุกข์ธรรมดานี่เอง ทุกข์นี้เป็นสภาพอันหนึ่งที่เป็นของจริง ค้นไปค้นมาก็ไม่ถอย เป็นตายไม่สนใจ สนใจแต่จะให้รู้ความจริงในวันนี้เท่านั้น"

เมื่อเวลาผ่านไป ท่านก็หลุดจากสภาวะทุกข์ทรมาน เหมือนถอนทุกข์ออกจากกาย "เวลาถอนนี้ ถอนอย่างประจักษ์เช่นเดียวกับทุกขเวทนาจากการนั่งตลอดรุ่ง จิตรอบด้วยปัญญา ทุกขเวทนาก็ถอนแบบเดียวกัน ถอนออกจนโล่งหมดเลย หายเงียบไม่มีอะไรเหลือ ว่างไปหมดเลยเหมือนร่างกายไม่มี"

สภาวะนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ท่านบอกว่า "ร่างกายแม้จะมีอยู่แต่ไม่มีเจ็บมีปวด ไม่มีเสียดแทงในหัวอกอย่างที่เป็นอยู่ จึงแน่ใจว่าไม่ตายแล้วในที่นี้ โรคนี้หายแก้กันได้ด้วยอริยสัจ"

เมื่อท่านเข้าสภาวะธรรม สู่ความว่างแล้ว ท่านได้ลุกเดินจงกรม พิจารณาความเป็นไปของชีวิต ใคร่ครวญในอริยสัจ 4 อันหมายถึง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ที่เป็นเหตุปัจจัย หนุนเนื่องซึ่งกันและกัน

ชายชราที่แอบเฝ้าดูอยู่ เห็นหลวงตามหาบัวเดินจงกรมจนรุ่งเช้า จนเห็นว่าสว่างดีแล้ว จึงเดินเข้าไปหาด้วยความดีใจ คิดว่าอย่างไรเสีย ท่านก็ไม่มรณภาพแน่แล้ว

"เอ้า โยมมาทำไมล่ะ" หลวงตามหาบัวถามด้วยเสียงปกติ

"โห ผมนอนอยู่นี่ ข้างกอไผ่นี่" ชายชราตอบ เสียงระคนความตื่นเต้น ดีใจ แล้วอธิบายต่อว่า "โอ๊ย ผมไม่ไป ผมกลัวท่านจะตาย ผมคอยแอบอยู่นี่ ผมไม่ได้นอนเหมือนกันทั้งคืน ไฟของท่านสว่างตลอดรุ่ง เห็นท่านมาเดินจงกรม ผมก็ดีใจบ้าง"

อานิสงส์จากอาพาธครั้งนี้ หลวงตามหาบัวมักนำมาสอนศิษยานุศิษย์เนืองๆว่า "เวลาพิจารณาแล้วแก้ถอนกัน มันก็ถอนให้เห็นชัดๆนี่นะ มันแก้

กัน ได้ด้วยอริยสัจ ปัญญาพิจารณากองทุกข์ แยกกันกับร่างกายของเราออกให้เห็นอย่างชัดเจน ดังที่เราเคยปฏิบัติมาในสมัยที่นั่งหามรุ่งหามค่ำ ไม่ได้ผิดกันเลย"

และยังเน้นย้ำว่า...

"เรื่อง สติปัญญาต้องเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เราจะไปเอาเรื่องเก่า เรื่องที่เคยเป็นมา นำมาปฏิบัติไม่ได้ เรื่องแก้กิเลส แก้อะไรทุกสิ่งทุกอย่าง แก้ทุกขเวทนานี้ มันต้องสดๆ ร้อนๆ อย่าให้เกิดขึ้นมาด้วยการคาด การหมาย มันถึงจะแก้สดๆ ร้อนๆ จริงๆ"

ธรรมะเป็นของจริง การเห็นความจริงของชีวิต เสมือนเป็นเรื่องง่ายดาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าไม่ผ่านประสบการณ์ทางธรรมอย่างหลวงตา

มหาบัว แถมไม่เข้าใจแก่นธรรมแห่งพระพุทธองค์อย่างแท้จริง

ชีวิตทั้งชีวิต อาจติดอยู่แค่มายาอันหลอกหลอน.


http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/145426