ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 10:01:23 am »




อย่างเราใช้ถ้วยใบหนึ่งมันแตก เราเสียดาย ใครผิด ใครเป็นทุกข์
ถ้วยหรือเราเป็นทุกข์ มันไม่เกี่ยวข้องกับเราเลยนะ
ถ้วยมันก็แตกไปเฉยๆ หรือมันไม่แตกก็เฉยๆ อยู่นี่แหละ
มันไม่น่าเป็นทุกข์อย่างนั้น มันคนละอย่างกัน
แต่เราว่าถ้วย เรามันแตก เป็นทุกข์นี่เพราะอะไร
มันเห็นชัดอยู่อย่างนี้ ท่าน แยกออกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าของเราน่ะ
ถ้าเราเห็นว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้น เราไม่ไปยุ่งกับมัน
มันก็ไม่มีอะไรกับเรา มันก็หมดเรื่องกันเท่านั้น

โยม ที่มีจานมากๆ มีถ้วยมากๆ อยู่ในบ้านก็ต้องพิจารณาอย่างนั้น
แต่ก็บอกลูกให้ มันระวัง ให้มันเช็ดให้สะอาด ให้เก็บให้ดี กลัวมันจะแตก
สอนลูกต้องสอนอย่างนั้น อย่าไปสอนว่าช่างมันเถอะลูก

มันจะแตกก็ช่างมันเถอะ ไม่ใช่ของเราหรอก
ไม่มีถ้วยใส่แกงนะ มันจะหมดนะ

นี่เรื่องสอนคนต้อง สอนอย่างนี้ มันเป็นคนละเรื่อง
จำเป็นที่จะต้องสอนอย่างนั้น ให้ลูกระวังนะ ลูกนะ
เก็บมันให้ดีกลัวมันจะแตก ดุมันอยู่เรื่อยๆ
แต่เราพูดอย่างใจอย่างนะ ถ้ามันแตกเพล้ง! จริงๆ ก็ไม่ต้องว่าอะไรมัน
แต่ว่ามันเจ็บๆ เรื่อยๆ ให้มัน ระวังไว้
ไม่งั้นไม่มีเงินจะซื้ออะไรมาใช้ มันหมดไป
คือบอกให้คนปฏิบัติมุ่งธรรม มุ่งวินัยอย่างนี้
ถ้าไปสอนอย่างธรรมะสูงๆอย่างผู้ใหญ่ ถ้วยไม่มีแล้วในบ้าน
หมดแตกหมด ไม่มีใครล้างมันหรอก มันเป็นเรื่องของอย่างนี้

ดังนั้น พระพุทธเจ้าให้ฟังธรรมะแล้วเข้าใจ
ผู้รู้จักธรรมะไม่ใช่ผู้ที่เกียจคร้าน ต้องเป็นคนฉลาดและเป็นคนขยัน
เป็นคนขยันหมั่นเพียร แต่ขยันพูดขยันทำ กระทำด้วยการปล่อยวาง
ทำด้วยความสงบระงับ
อย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า
ทำงานมันก็สบาย ทำโน่นทำนี่มันก็สบาย
ที่มันเป็นสัมมาอาชีวะ มันก็สบาย
ถึงแม้มันหนักหน่อยมันก็สบาย เพราะโทษตรงนั้นไม่มี อย่างนี้

ทิฐิ คือ ความเห็น
มานะ คือ ความไปยึดไว้
สองอย่างนี้มันเกาะกัน

ทิฐินี้พระพุทธเจ้าไม่ต้องอะไรหรอก ดูที่ ในใจของเรา
ความเห็นวันหนึ่งมันเกิด ยังไงบ้างมั้ย
ที่มันเกิดขึ้นมานี่เราตามดูมันได้ไหม
นี่มันเกิดความคิด หลายๆอย่าง
แต่อย่างไรก็ช่างมันเถอะ ตัวมานะที่เข้าไปยึดมันเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุด
ดีชั่วเราอย่าไปยึดมัน อย่าไปยึดมัน ให้ดูมันเถอะ

พระพุทธเจ้าท่านว่าอย่าไปยึดมัน ทิฐิแปลว่า ความเห็น
ถ้าทิฐิไม่ฟังใครมันก็เป็นมานะ ความเป็นจริงท่านให้ปล่อยวาง
ถ้ามนุษย์เรามาคิด เราปล่อยวางเราจะเอาอะไร อย่างนี้เป็นต้น
มันก็ลำบาก ยังไม่เข้าใจธรรมะ

อย่างพระพุทธองค์ท่านสอน อย่างคนเราถ้าหากว่า
ทำสิ่งไม่ดีจะตายไม่ได้เกิดหรอก เสียใจซะแล้วตกใจ กลัวจะไม่ได้เกิด
ความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่ามาเกิดนั่นนะมันดี
ถ้าเราไม่ได้เกิดแล้วกลัวจะไม่ได้เห็นหน้าลูก หน้าหลาน
อะไรวุ่นขึ้นมาเลย เราไม่คิดหรือว่าที่เราทุกข์ทุกวันนี้
เพราะเราเกิดมา
เราจึงมีทุกข์เกิดขึ้นมา

ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะการเกิดมา

ถ้าหากว่าคนเราบางคนคิดว่ามันบาปไม่รู้จักผุดจักเกิดแล้ว
ก็เข้าแง่ของพระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ให้เกิด มันเป็นอย่างนั้น






http //www zone-it.com
ขอบพระคุณ
ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : naruphol
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 07:59:48 am »




อย่างไรก็ช่างมันเถอะ ให้เข้าใจว่า..การมาทำบุญสุนทาน ทำเพื่ออะไร?
ทำเพื่อให้มันไม่มีทุกข์ ให้มันบรรเทาทุกข์ ให้มันค่อยๆหมดไป
ถ้าทำบุญให้บรรเทาทุกข์มันต้องทำบุญด้วย ทำกุศลธรรมด้วย
ถ้าไม่ทำกุศลธรรมมันไม่มีปัญญา บุญอย่างเดียวมันเหมือนเนื้อกับปลาที่มันสดๆ
เราทิ้งไว้เฉยๆ มันก็เน่าเท่านั้นแหละ อาศัยเกลือเป็นอยู่เนื้อหรือ
ปลานั้นจะมีอายุได้นาน หรือเข้าตู้เย็นซะ อย่างนี้มันเป็นซะอย่างนั้น

ปัญญานี้ท่านจึงบอกว่า นัตถิ ปัญญา สมาอาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
นัต ถิ ตัณหา สมานที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี
คำนี้ยันกันเลย ยันกัน ร้อยเปอร์เซ็นต์เท่ากันเลย ก็จริงอย่างนั้น
ความอยากนี้ไม่มีจบ ตัณหาคือความอยาก

ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านว่า การทำก็ทำเถอะ อย่าให้มันเป็นตัณหา
การกินก็กินเถอะอย่าให้มันเป็นตัณหา การดูก็ดูเถอะอย่าให้มันเป็นตัณหา
อยู่ในโลกนี้
ก็อยู่ไปเถอะ ให้มันรู้จักโลก อย่าให้มันเป็นตัณหา
คือทำโดยการปล่อยวางมันเสีย มันก็อยู่ตรงนั้นแหละ
ให้คิดเสมอว่า เรามีช้อนอันหนึ่ง เอาไว้ทำไมช้อน เอาไว้ตักแกง
แต่ว่าเราไม่ทานช้อนใช่ไหม
เราเอาช้อนเข้าในปาก แต่เราไม่ทาน ช้อน หรอก

ทานแกง ทานแล้วก็เก็บช้อนนั้นไว้อีก
ถ้ามีคนมาถามว่า เก็บช้อนไว้ทำไม เก็บไว้ซดแกง
ไม่ใช่ คุณกินช้อนสิ นี่เขาจะว่าเราก็ช่างเขา
ความเป็นจริง เรารู้จักว่าช้อนไม่ใช่ของบริโภคอย่างนี้
เรารู้เราอย่างนี้ เขาจะว่าเราเอาช้อนไปซดแกงอะไร
ไม่ทานช้อนอะไร เราก็เฉย สบาย นี่คือเรารู้อย่างชัดเจน
นี่อยู่ด้วยการปล่อย เราก็ใช้ช้อน ของเราเรื่อยไป


หรือขันตักน้ำเรานี่ น้ำอย่างหนึ่ง โอ่ง น้ำอย่างหนึ่ง ขันตักน้ำอย่างหนึ่ง
สามอย่าง สี่ก็ตัวเรา เราจะต้องดื่มน้ำ ดื่มน้ำก็เอาขันไปตัก
แต่ไม่ใช่ว่าเราไปทานขัน เสร็จแล้วก็เก็บขันนั้นไว้ โดยการปล่อยวาง
ที่ว่าขันนี้เราทานมันไม่ได้หรอก ที่เราจะดื่มมันก็คือน้ำ แล้วก็มีเก็บไว้
มีคนคนหนึ่งมาว่าเราว่าเก็บขันไว้ ไม่บริโภคอย่างนี้
เราก็สบายของเราอยู่ เพราะเราไม่เป็นอย่างนั้น

ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านว่า อาศัยตัวเอง
คำที่ว่า
ตัวเองนั้นคือไม่ใช่ตัวนั่นแหละ

ถ้าจะอาศัยตัวเอง ที่จริงๆ แล้วนี่ เดี๋ยวมันก็ล้มอีกไม่กี่ปีก็ล้มนะ
เราอาศัยตัวอันนี้ มันเป็นเรื่องสมมุติซ้อนกัน
สมมุติมันซ้อนสมมุติกัน ก็ต้องเรียกตามภาษาสมมุติ คนเราเรียกว่าตน
เพื่อให้มันเป็นภาษาเฉยๆ
ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
ถ้าเรารู้ธรรมะให้มันจบเสียแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา
อะไรๆมันเป็น คนละอย่างๆ ไม่ได้เกี่ยวพันกัน
แต่เราจับให้มันมาเกี่ยวพันกันซะ เราก็ไปยุ่งกับเขาซะ เราก็ไปยุ่งกับเขา
ความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายมันไม่ยุ่ง

อย่างที่ว่าก้อนหินก้อนนั้นมันนิ่งอยู่อย่างนั้น ไม่ยุ่งกับเรา
มันจะยุ่งกับเรา เมื่อเราอยากจะได้ก้อนหินก้อนนั้นเท่านั้นแหละ
ตัวก้อนหินก้อนนั้นไม่ได้มีอะไร มันก็อยู่เป็นธรรมชาติอย่างนั้น
เมื่อความคิดอยากได้ก้อนหินก้อนนั้น ก็ไปยกมันก็หนักนะซิ
มันหนักเดี๋ยวนี้ หนักเมื่อเรายกเดี๋ยวนี้
เมื่อก่อนมันหนักไหม ไม่มีหนักหรอก ยังไม่เกิด มันไม่เกิดหนัก
มันก็อยู่อย่างนั้นแหละ มันไปหนักตรงที่ว่า เราไปต้องการมัน

เราไปยุ่งกับมัน ไม่ใช่มันมายุ่งเรา ความเป็นจริงมันฝ่ายเดียวทั้งนั้นแหละ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 07:52:54 am »

อนุโมทนาค่ะพี่แป๋ม

คำสอนของท่านเรียบง่ายแต่ลุ่มลึกเสมอ...

 :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 07:22:54 am »


ดังนั้นก็เพราะเรา ไม่รู้จักธรรมะ อันแท้จริง
ดังนั้นพระองค์ของเราท่านจึงได้ สอน ให้รู้จักธรรมะ
อย่างให้รู้จักผลไม้ทุกอย่างอย่างแท้จริง
ว่าละมุดมัน เป็นยังไง มังคุด มันเป็นยังไง ลำไยมันเป็นยังไง
อะไรมันเป็นยังไง ให้รู้จัก รู้จักผลไม้ให้รู้จักทั้งหมด

เมื่อเรารู้จักมันแล้วก็เอาผลไม้ทั้งหลายนี้มารวมเข้าในตะกร้าเดียวกัน
เท่านั้นแหละ ให้มันปะปนกันไปหมด
ยังไงก็ช่างมันเถอะ เราไม่หลงไม่ลืมเพราะเราจำได้แน่นอน
จะไปชี้ว่าไอ้ลางสาดมัน เป็นลำไยเราก็รู้จัก
แต่ว่ามันเยอะไป คนว่าอย่างนั้น แต่ว่าเราเฉยรู้
จะว่า ลำไยเป็นมังคุดหรือลำไยเป็นลางสาด เราก็รู้จัก แต่ไม่ท้วง

อันนี้เปรียบเหมือนว่าโลกสมมุติเดี๋ยวนี้ เราก็พูดกันอย่างนั้น
คำสอนของโลกถ้าเข้าถึงจิตของพระองค์แล้วเป็นของปลอมทั้งนั้น
คำสอนของพระอริยบุคคลเมื่อเข้าไปถึงจิตของปุถุชนแล้วก็เป็นของปลอมเหมือนกัน
ดังนั้น มันเป็นบ้ากันคนละอย่างนะ มันพูดยากเหมือนกัน
คำสอนของท่านมันไม่ค่อยเข้ากัน
อย่างนั้นพวกเราเป็นกุลบุตรลูกหลาน
จึงพิจารณามันยาก มันจึงพิจารณาลำบากเหลือเกิน

อย่างเรามาทำบุญกันอย่างนี้อยากจะได้บุญ
แหม! ทำบุญฉันมาเป็นไข้ เป็นโรคไม่หยุด
ไม่ค่อยสบายใจ เป็นโรคติดต่อกัน บุญฉันก็ไปทำอยู่เรื่อยๆ
ไม่ใช่ว่าจะมาแก้บุญตรงนี้
ไม่ใช่ไม่ให้มันเจ็บมันปวด
มันคนละอย่างกัน


เราจะทำบุญในบ้านเรานี้ ให้แมวตัวนี้กลายเป็นสุนัข ให้สุนัขกลายเป็นแมว
มันคนละอย่างกัน ร่างกายนี้มันเป็นไปอย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าท่านว่ามันเป็นไปอย่างนี้ มันเป็นไปตามเรื่องของมัน
ไม่ใช่ว่าเราทำบุญไม่ให้มันเจ็บมันไข้
ไม่ให้มันอะไรต่ออะไรหลายๆอย่าง มันคนละเรื่องกัน

เพราะมันเป็นอย่างนี้แหละพระพุทธเจ้าท่านถึงไม่ไว้ใจมัน
ให้เราผ่านมันหนีไปซะ
อย่างนี้ เรายังเสียดายอยู่ มันก็ไปไม่ได้อย่างนั้น
อันนี้ มันเป็นเรื่องของอย่างนี้

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 06:53:27 am »


  อย่างก้อนหินก้อนนั้น
มันตั้งอยู่อย่างนั้น มันก็ยังไม่หนักอะไร
เราเดินผ่านมันไปมามันก็ยังไม่หนัก เราไม่ไป เกี่ยวข้องกับมัน
ถ้าเราไปเกี่ยวข้องกับมัน พอลองยกมันขึ้นมาก็หนักทันที มันเป็นอย่างนี้
อารมณ์ทุกอย่างก็เหมือนกันเช่นนั้น ถ้าเรารู้เรื่อง ของมัน ไม่น่าจะทุกข์
เหตุมันไม่มี เหตุจะเกิดทุกข์มันไม่มี มันไม่มีอย่างนั้น

เรื่องทุกข์นี้มันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถึงจนก็ ทุกข์ รวยก็ทุกข์
เป็นเด็กก็ทุกข์ แก่แล้วก็ทุกข์ ถ้าคนไม่รู้จักทุกข์
พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ให้รู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดของทุกข์
รู้จักความดับทุกข์ รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เราก็รู้ทุกคนทุกข์ แต่ว่าเรา รู้ไม่ถึง รู้ไม่ถึงทุกข์ รู้ทุกอย่างแต่ว่ารู้ไม่ถึง
ถ้าเรารู้ถึงมันแล้ว มันก็ไม่มีอะไรจะเป็นทุกข์ อย่างเราเห็นตนเช่นนี้ เป็นต้น
ตนเราที่นั่งอยู่ นี้ ก็เรียกว่าเห็นตนกันแล้ว ที่ว่าเราเห็นตนนี่เห็นอยู่นี่
ขาฉันอยู่ นี่ แขนฉันอยู่นี่ เพื่อนฉันอยู่นี่ เห็นอยู่ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นตน

ความจริงที่ว่าเห็นตนนั้นไม่ใช่อย่างนี้

ตามธรรมะเห็นตน คือ เห็นว่าตนนั้นมิใช่ตน เห็นตนอย่างนั้น
อันนี้แขนเรา อันนี้ขาเรา อันนี้ตัวเรา อันนี้ของเรา ทั้งนั้นแหละ
อันนี้ พระพุทธเจ้าท่านไม่ยอมว่าเห็นตน
เห็นตน คือ มีความรู้สึกเห็นออกจากญาณในใจของตนนั้นว่า
รู้ว่าสิ่งทั้งหลายนี้ไม่ใช่ตน
ท่านเรียกว่าคนเห็นตน เห็นแล้วไม่แบกมัน
เห็นงูแล้วไม่จับงู พิษงูก็ไม่ตามเราไป นั่นเรียกว่าคนรู้จักงู ไอ้คนเห็นตน
อันนั้นคนนั้น อันนี้คนนี้ ไม่ใช่คนเห็นตน ก็เพราะว่าตนนั้นแหละมันไม่มี
จะเอาอะไรมาเห็นมัน มันไม่มีตน
พระพุทธเจ้าสอนว่าให้มี ตน มันฟังยากเหลือเกินนะ
ความเห็นมันกลับกันอย่างนี้แหละ มันฟังยาก ดูก็ยาก

เช่นว่า คนบ้ากับพระอรหันต์นี้ มันแยกกันไม่ออก
มันเหมือนกันอย่างนั้น เพราะว่ามันสูงที่สุดกับต่ำที่สุด
มันจะอยู่ต่ำก็ช่างมันเถอะมันอยู่ที่สุด

มันสูงก็จริงแต่มันสูงอยู่ที่สุดของสูง ๒ อย่างนี้
มารวมกันแยกกันไม่ออกซะแล้ว
เหมือนบ้ากับพระอรหันต์ นี่เหมือนกันทีเดียว
แต่ว่ามันมีลักษณะเหมือนกัน แต่ว่ามีคุณธรรมต่างกัน
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านถึงที่สุดแล้ว
ท่านเห็นถึงอารมณ์ทั้งหลายท่าน ก็ยิ้มอยู่ในใจของท่านเท่านั้นแหละ
บ้าก็ถูกเขาว่าก็ยิ้มเหมือนกัน ยิ้มโดยที่ว่าไม่รู้เรื่อง
พระอรหันต์เจ้าท่านยิ้มรู้เรื่องอย่างแท้จริง มันคนละอย่างกัน
แต่ว่ามันสูงที่สุดกับต่ำที่สุดมัน เลยเข้ากัน
บางแห่งในปัจจุบัน นี้แหละ ยังมีอยู่ไปกราบบ้าๆบอๆอยู่นั่นแหละ
คิดว่าเป็นพระอรหันต์อยู่นั่นแล้ว
มันเป็นมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลโน้น มันเป็นมาอย่างนั้น

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 06:51:19 am »


เราทำไปเพื่อการปล่อยวาง
คือ เอาอย่างเดียวมันทุกข์ ไม่มีปัญญา
เห็นไหม เห็นคนจน ไหม จนมันก็ทุกข์มันทุกข์แบบคนจน
เห็นคนรวยทุกข์ไหม เห็นคนรวยก็ทุกข์มัน ทุกข์แบบคนรวย
เห็นเด็กมันทุกข์ไหม เห็นมันทุกข์แบบเด็ก เห็นพ่อแม่ของเด็ก ทุกข์ไหม
ทุกข์มันทุกข์แบบพ่อแม่ของเด็ก มันเป็นเรื่องของอย่างนี้

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงชี้ให้ประพฤติธรรมะ
ให้ปฏิบัติธรรมะเพื่อให้เราออกจากทุกข์ ออกจากวัฏสงสาร
สังสารวัฏอันนี้ไม่ใช่สิ่งทั้งหลายมันผูกเรานะ เราผูกมัน

บางคนว่าฉันพ้นทุกข์ไม่ได้หรอก ได้ซิแต่เราไม่ทำน่ะ
เราไม่ทำ ต้องมา พิจารณา ต้องเรียนธรรมะ จะต้องรู้จักธรรมะ

ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องมีที่เกิด มีที่เกิดมาก็ต้องมีที่ดับ
มันต้องมีที่เกิดและมีแดนเกิดทั้งนั้น ลองๆ ดูสิว่า
ธรรมทั้งหลายมันเกิดเพราะเหตุ
เมื่อไรโยมเป็นทุกข์มันเป็นทุกข์ เพราะอะไรรู้ไหม
หรือมันเกิดขึ้นมาลอยๆอย่างนั้นหรือ

เมื่อโยมเป็นสุขมันเกิดมาจากอะไรรู้ไหม ที่มันเกิดมาก่อนทุกข์ มันจะลำบาก
ไม่ใช่ว่าอะไรหรอก อดีตก็มี ที่เรานั่งอยู่ก็คิด
ไอ้คนนั้นก็ดูถูกเรา คนนั้นก็ นินทาเรา คนนั้นก็อิจฉาเรา
น้ำตาก็ค่อยๆซึมออกมานะ

พี่ชายก็อาศัยไม่ได้ น้องชายก็อาศัยไม่ได้
คิดไปก็น้อยใจน้ำตามันก็ซึม
ขนาดมันทำโทษให้น้ำตามันไหลออก
ยังไม่รู้จักว่ามันเกิดมาจากที่ไหน


บางทีเรานั่งอยู่คนเดียว หรือเดินไปคนเดียว
นึกถึงอารมณ์ที่ชอบใจอะไรต่างๆ บางทีก็ยิ้มออกมาเสียอย่างนี้
อะไรนั้นมันเกิดมาจากไหน มันยิ้มเองหรือ มันยิ้มเอง หรือเปล่า
ธรรมเกิดเพราะเหตุอยู่แล้ว มันเป็นแดนเกิด

มันเกิดจากเหตุทั้งหลายไม่ใช่มันเกิดมาลอยๆ มันเกิดมาเฉยๆ
อย่างนั้นพระพุทธองค์จึงจ้ำจี้จ้ำไช พวกเราซ้ำๆ ซากๆ
ให้เราเข้าไปเห็นตรงนั้น ไม่ใช่ว่ามันเกิดใหม่หรอก
สิ่งทั้งปวงในโลกนี้มันก็ไม่มีอะไรปรากฏให้มนุษย์ทั้งหลายทุกข์ยากลำบาก
แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 06:49:35 am »




การฟังธรรมะ การประพฤติ ธรรมะปฏิบัติธรรมะ นี่ก็เพื่อจะให้พ้นทุกข์
อย่างเราทั้งหลายมาทำบุญวันนี้ ก็เหมือนกันเพื่อจะบรรเทาทุกข์
เพราะว่าทุกข์ทั้งนั้นแหละ นี่มันเป็นสิ่งที่สำคัญ
มันเกิดมาจากเหตุของมัน คือกิเลสทั้งหลาย
บางคนก็เห็นว่าไอ้ทุกข์ มันประจำอยู่ในใจนี้อยู่นานแล้ว

ใครวันนี้โยมก็ถาม อาตมาก็ตอบว่า โยม มันไม่นอนเนื่องอยู่อย่างนี้หรอก
มันเพิ่งเกิดเดี๋ยวนี้แต่อารมณ์ไม่ชอบใจมัน เลยทุกข์อยู่อย่างนี้
เหมือนผลมะนาว เอามันทิ้งไว้ตรงโน้นมันเปรี้ยวไหม
หรือมะขามเปียกเราเอาทิ้งไว้ตรงนั้นแล้วมันเปรี้ยวไหม มันก็ไม่เปรี้ยว
เราเอามาแตะลิ้นมันก็เปรี้ยวขึ้นเดี๋ยวนี้เอง นี่มันเป็นไปอย่างนี้
ปัจจุบันธรรมมันเป็นอย่างนี้
ไม่ใช่ไอ้ความเปรี้ยวมันนอนเนื่องอยู่ในมะขามเปียกหรอก


ไม่รู้เรื่อง ไอ้สิ่งที่มันไม่รู้ มันเกิดเมื่อมันรู้เดี๋ยวนี้
เอามาแตะลิ้นมันเปรี้ยวเกิดเดี๋ยวนี้ เปรี้ยวไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก
มันเกิดความไม่ชอบก็เกิดกิเลสเดี๋ยวนี้ กิเลสก็ไม่ใช่ว่านอนเนื่องอยู่ในใจเรา
มันเกิดเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนาธรรม
เรื่องปัจจุบันธรรมมันเป็นสิ่งที่ สำคัญเหลือเกิน

ที่เราปฏิบัติธรรมะ การมาทำบุญสุนทาน
วันนี้เรียกว่ามาบำรุงพระพุทธศาสนา แต่ว่าให้รู้จัก พระพุทธศาสนา
ถ้าเรา บำรุงพุทธศาสนา เพื่อเอาบุญกันอย่างเดียวนั้น
บางทีมันก็จะไม่ถึงพุทธศาสนา
เอาบุญอย่างเดียวนั้นเราถึงชักชวนกันว่าไปสร้างบุญสร้างกุศลกัน

เราต้องฉีกมันออก แยกมันออก บุญมันเป็นยังไง กุศลมันเป็นยังไง
บุญที่ทำเอาบุญนั้น ท่านเรียกว่า มันปราศจากปัญญา

คนเราเมื่อไม่มีปัญญานั้น มันทำอะไรก็ไม่ได้ มันไม่พ้นทุกข์
ท่านเรียกว่าบุญกุศล บุญก็คือ หามารวมไว้ แบกไว้ๆ มันหนัก ไม่รู้จักทิ้ง
มันก็ทับเราตายนั่นแหละ ถ้าเรามีปัญญาเราก็ทิ้งมันออกซะ มันหนัก
มันก็เบานี่เรียกว่ากุศล อันหนึ่ง เรียกว่าบุญ รวมเข้ากันเรียกว่า บุญกุศล

ทำบุญกุศลเช่นนี้ก็เรียกบำรุงพุทธศาสนา
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราที่ท่านประทานไว้
ที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า ใครเป็นพระพุทธเจ้า
อันนี้บางทีเราก็งงเหมือนกันนะ หลักของท่าน ท่านผู้สอนให้ประชุมชน
ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าพระพุทธศาสนา คือชื่อพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ดูซิเราดูเถอะ ท่านไม่รู้ ว่าใครเป็นท่าน

เรียกท่านกันหมดทั้งนั้นน่ะ ไม่ใช่คนอยู่นี้ ท่านผู้สอนให้ ประชุมชน
ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา
ชื่อพระพุทธเจ้าเห็นไหม เห็นพระพุทธเจ้าไหม
ใครที่สอนในประชุมชนคือธรรมะ ธรรมะเราจึงฟังธรรมกัน
ฟังธรรมเอาความฉลาดแล้วก็เอาความสุข แล้วพิจารณารู้จักความสุขนั้น
รู้จักใช้ความสุขนั้นให้เกิดประโยชน์

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 06:46:18 am »




๐๐๐ ปั จ จุ บั น ธ ร ร ม ๐๐๐
หลวงพ่อชา

เราจะไม่ต้องพนมมือก็ได้ ถ้าท่านตั้งอกตั้งใจฟังธรรม นี่ก็เป็นทางหนึ่ง
ฟังธรรมเนี่ยไม่ใช่มากหรอก คำสองคำมันก็ไปได้เหมือนกัน
แต่ให้เข้าใจในธรรมะอันนั้น อะไรมันเป็นธรรมะ
พูดง่ายๆ ว่าอะไรที่ไม่เป็นธรรมไม่มี มันมีธรรมทั้งนั้นแหละ

เรียกว่าธรรมมันเป็นภาษาธรรมะ เราทุกคนนี่ก็เป็นธรรม
จิตใจก็เป็นธรรม ร่างกายก็เป็นธรรม กาย วาจา ทั้งหมดเป็นธรรมทั้งนั้น
มวลหมู่มนุษย์ ทั้งหลายนี้ที่จะมารวมกันอยู่เป็นหมู่หมวดกลุ่มก้อน
ในความสบาย ในความสะดวกดีนั้น มันก็เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง

ต้นไม้ต้นหนึ่งนั้นมันมีโคนและมีลำต้น แล้วก็มีกิ่งก้านสาขา
ต้นไม้ต้นนั้นเรียกว่า ต้นไม้ จะมีแต่โคนไม่มีลำต้นมันก็เป็นไม่ได้
จะมีลำต้นกิ่งก้านสาขาไม่มี มันก็เป็นไม่ได้ รวมเป็นลำต้น
เป็นต้นไม้ก็คือมีโคน มีลำต้น มีกิ่ง ก้าน
ต้นไม้ทั้งต้นนั้นถึงแม้จะมีสามอย่างก็จริง
แต่ว่าไปรวมอยู่ที่โคนมัน เป็นหลัก
ไอ้กิ่งมันก็ดี ใบมันก็ดี มันก็อาศัยโคนเป็นอยู่


มนุษย์เรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น มันมีกาย มีวาจา แต่ว่ามันอาศัยจิต
ซึ่งทำงานทั่ว ถึงทุกชนิด คือจิต
จิตนี้คนชอบมาบ่นทุกข์นัก แหม! จิตมันเป็นทุกข์

อาตมาที่มาอยู่ในวัดหนองป่าพงนี้ นับหลายร้อยรายมากราบ
หลวงพ่อ อิฉันเป็นทุกข์ ใจ สุขมันก็สุขใจ ทุกข์มันก็ทุกข์ใจ
ไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรยังไงกัน ไอ้ความเป็นจริงแล้วไม่น่าจะมีทุกข์นะ
พระพุทธเจ้าท่านก็สอนว่าอย่าทุกข์ๆ ทุกข์ แล้วมันไม่สบาย
คืออย่าไปทำอย่างนั้นสิ ไปทำอย่างนั้นมันทุกข์
เราก็อยากจะไปทำอย่างนั้นแหละ มันก็ทุกข์