ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 10:53:30 pm »

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ

เดี๋ยวน้ีรอบๆตัวเรามีแต่สารเคมีนะคะ  :14:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 08:05:51 pm »

อย.เตือน ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีกลิ่นหอมยังมีอันตราย
อย.เตือนผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีกลิ่นหอมยังมีอันตราย (องค์การอาหารและยา)

          อย.แจงผู้บริโภคอย่าเข้าใจผิด ผลิตภัณฑ์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนที่มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุน หรือมีกลิ่นอ่อน มีความอันตรายน้อย ซึ่งความจริงกลิ่นเหล่านั้น ไม่ได้ช่วยให้ความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายลดน้อยลง หากผู้บริโภคสูดดมเข้าไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ย้ำเตือนให้ผู้ผลิตอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเกินจริง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค

          ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อย. เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังมีผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ใช้ตามบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข อาทิ ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่น ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในเรื่องของความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายว่า ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุน หรือมีกลิ่นอ่อนมีความเป็นอันตรายน้อย หรือไม่อันตราย เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีกลิ่นฉุนหรือกลิ่นแรง สาเหตุของความเข้าใจนี้ อาจเกิดจากรูปแบบของการโฆษณาผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดังกล่าว ที่มีการเน้นย้ำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และละเลยที่จะระมัดระวังความเป็นอันตราย โดยการแสดงท่าทางสูดดมพร้อมคำที่สื่อให้รู้สึกว่าผลิตภัณฑ์หอมน่าดม หรือการแสดงข้อความที่ทำให้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ทำจากธรรมชาติ

          แต่ ในความจริงแล้ว กลิ่นหอมเกิดจากการปรุงแต่งกลิ่นด้วยน้ำหอมสังเคราะห์ โดยอาจเป็นน้ำหอมที่ให้กลิ่นหอมคล้ายดอกไม้ เช่นดอกลาเวนเดอร์ ดอกลิลลี่ ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ เป็นต้น อาจมีบ้างที่ปรับปรุงกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยสกัดจากธรรมชาติ เช่น กลิ่นจาก d-limonene ที่สกัดจากเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม กลิ่นหอมต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์ไม่ทำให้เกิดอันตราย เพราะมีกลิ่นหอมหรือเป็นกลิ่นของพืชจากธรรมชาติ แต่ที่จริง หากผู้บริโภคสูดดมกลิ่นของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเข้าไป จะทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียนคลื่นไส้ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยประโยชน์ที่แท้จริงของการแต่งกลิ่นของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนั้น ก็เพื่อกลบกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของสารออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ หรือสารเคมีที่ใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นตัวทำละลาย ตลอดจนคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งมักจะมีกลิ่นฉุนอย่างรุนแรง จึงต้องแต่งกลิ่น เพื่อช่วยลดความรุนแรงของกลิ่นในผลิตภัณฑ์ให้น้อยลง เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาเลือกบริโภคสินค้ามากยิ่งขึ้น

          รอง เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย.ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.แล้ว โดยที่ฉลากมีเครื่องหมาย อย.พร้อมด้วยเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นต้นด้วย วอส.ทับปีพ.ศ. เนื่องจาก อย.ได้ประเมินประสิทธิภาพในการใช้งานและความปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว และขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้ และพึงระลึกอยู่เสมอว่า ผลิตภัณฑ์ที่กำลังใช้อยู่นั้นเป็นวัตถุอันตราย โดยควรศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจก่อน และปฏิบัติตามวิธีการใช้และคำเตือนที่แสดงบนฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย และต้องเก็บผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไว้ในที่มิดชิด ไกลมือเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
fda.moph.go.th


.

http://health.kapook.com/view21233.html

.



.