ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 10:54:15 pm »

โห....ลูกจากน่ากินมากๆ
 :02:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 08:47:31 pm »

สุขใจในป่าจาก เมดอินคลองยายหลี

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

ยศศยามล กรมติ www.payai.com




ต้น จากเรียงรายอยู่ตลอดแนวชายคลองยายหลี อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ทำให้หมู่บ้านริมคลองสายเล็กๆ ทั้งบริเวณรู้จักและคุ้นเคยกับต้นจากเป็นอย่างดี และมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับพืชชนิดนี้มาเนิ่นนาน

ต้นจากเป็นพืชที่ ขึ้นเองตามธรรมชาติ เจริญเติบโตอยู่ตามริมคลองที่มีน้ำจืดปะปนกับน้ำกร่อย เป็นพืชจำพวกเดียวกับต้นปาล์ม และเป็นปาล์มชนิดเดียวที่สามารถขึ้นได้ในบริเวณป่าชายเลน เราจะพบต้นจากได้ทั่วไปในทวีปเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เนื่อง จากเป็นพืชที่ขึ้นอยู่หนาแน่นในพื้นที่ คนคลองยายหลีจึงนำต้นจากมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างคุ้มค่า เริ่มตั้งแต่ใบจากสามารถนำมามุงหลังคา ประยุกต์ทำเป็นของใช้ต่างๆ ในครัวเรือน หรือที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ก็คือนำมาทำขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมย่างใบจาก

แต่จะใช้ส่วนไหนของต้นจากมาทำอะไรบ้างนั้น น้องกฤต ด.ช.ธนกฤต บุญสมเจตนา ลูกหลานชาวคลองยายหลีบอกเล่าว่า "ชาวบ้านที่นี่ใช้ประโยชน์จากต้นจากทุกส่วนครับ ตัดส่วนทางจาก (ใบจาก) ไปมุงหลังคา ใบจากนำไปทำของเล่นได้หลายอย่าง ทำของใช้พวกหมวก หรือกระเป๋าใบจากก็ได้ ยอดสีเหลืองอ่อนเอาไปห่อขนมข้าวต้มมัด ลูกจากก็เอาไปเชื่อมกินหรือขายครับ"



จาก ที่น้องกฤตเล่ามา ทำให้เห็นได้ว่าต้นจากมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตและอยู่เคียงคู่ชาวบ้านชุมชน คลองยายหลีเป็นเวลานานมาแล้ว จากแต่ก่อนต้นจากเป็นพืชที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพราะขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเริ่มให้ความสำคัญกับต้นจากมากขึ้นและต้นจากได้กลายเป็นพืช สำคัญทางเศรษฐกิจประจำคลองยายหลีไปในที่สุด

ด้วยความที่เป็นพืชพื้น ถิ่นประจำชุมชนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากนี้เอง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองยายหลีจึงคิดนำส่วนประกอบของต้นจากมาประยุกต์แปรรูป ให้กลายเป็นพืชที่มากคุณค่ายิ่งขึ้น โดยการนำเนื้อลูกจากมาเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำขนมโบราณชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ ขนมเกสรลำเจียก

ต้นคิดมาจาก คุณย่าติ๋ว จรูญ ไกรเนตร ประธาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองยายหลี ผู้คิดค้นส่วนผสมใหม่ จากขนมเกสรลำเจียกขนมไทยๆ ที่อร่อยอยู่แล้ว พอเพิ่มเนื้อลูกจากเข้าไปก็ได้ความอร่อยแปลกใหม่ไม่แพ้สูตรดั้งเดิมเลยที เดียว

ย่าติ๋วเล่าอย่างภาคภูมิใจว่า "ในพื้นที่ ต.แหลม ฟ้าผ่าของเรา มีต้นจากขึ้นอยู่เยอะมาก เราจึงเกิดความคิดที่ว่าจากที่แต่ก่อนคนโบราณเขานำลูกจากมาเชื่อมกินเป็นของ หวาน ลูกจากเหล่านี้น่าจะเพิ่มมูลค่าได้อีก จึงนำมาเป็นส่วนผสม หนึ่งในขนมเกสรลำเจียก"



ขนม โบราณหลากสีสันอย่างเกสรลำเจียก นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมไว้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าลูกจากให้สูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างรายได้ในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย และขนมเกสรลำเจียกลูกจากก็ได้กลายเป็นของฝากประจำชุมชนคลองยายหลี ในที่สุด

สีสัน ที่แต่งแต้มหน้าตาน่ารับประทานของขนมเกสรลำเจียกลูกจาก เป็นสีที่ล้วนแล้วแต่มาจากธรรมชาติทั้งสิ้น น้องพลอย ด.ญ.สุทธิดา ไกรเนตร หลานสาวตัวน้อยของย่าติ๋วอาสาเล่าถึงที่มาของแต่ละสีสันว่ามาจากสีอะไรบ้าง

"สี ธรรมชาติที่นำมาผสมกับขนมเกสรลำ เจียกก็มีหลายสีค่ะ อย่างไม้ฝางจะให้สีชมพู ใบเตยจะให้สีเขียว แครอตจะให้สีเหลือง และลูกจากก็จะให้สีขาว รสชาติจะไม่หวานมาก กินแล้วดีต่อสุขภาพนะคะ ลูกจากก็ปลอดสารพิษ สีก็เป็นสีจากธรรมชาติค่ะ" เด็กหญิงตัวน้อยไม่ลืมที่จะเชื้อเชิญให้ได้มาลองชิมขนมพื้นบ้านแสนอร่อย

นอก เหนือจากเป็นพืชเศรษฐกิจประจำชุมชนคลองยายหลีแล�ว ต้นจากยังมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบนิเวศน้ำกร่อย เพราะในพื้นที่ป่าจากนี้ จะมีสัตว์น้ำที่อาศัยพึ่งพิงป่าจากอยู่ ต้นจากจึงเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำเหล่านั้น

เด็กๆ และผู้ใหญ่ในชุมชนได้เห็นคุณค่ามาก มายที่มาจากต้นจาก เพราะนอกจากขนมเกสร ลำเจียกลูกจากแล้ว ต้นจากยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกหลายส่วนมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ผ่านทางภูมิปัญญาที่สั่งสมสืบทอดกันมาแต่อดีต โดยมีลูกหลานคอยสานต่อ ที่สำคัญต้นจากก็ยังมีประโยชน์ในแง่ของระบบนิเวศอีกด้วย

ผู้ใหญ่และเด็กๆ ในคลองยายหลี ทุกคนจึงอยากให้ต้นจากมากประโยชน์เหล่านี้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป

หากอยาก รู้ว่าชาวคลองยายหลีจะนำส่วนประกอบอื่นของต้นจากไปประยุกต์ใช้งานอย่างไรใน ชีวิตประจำวันได้บ้าง ติด ตามในรายการทุ่งแสงตะวัน ตอน สุขใจในป่าจาก วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ทางช่อง 3 เวลา 06.25 น.

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNVEEwTURJMU5BPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNaTB3TkE9PQ==

.