มัททวะเป็นไฉน คือ อ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง
ความเจียมใจ อันใด นี้เรียกว่า มัททวะ
บุคคลชื่อว่าเจียมใจเพราะอรรถว่ามีใจเจียมด้วยไม่มีมานะภาวะแห่งบุคคลผู้
เจียมใจชื่อว่าความเจียมใจเป็นชีวิตประจำวันที่ต้องอาศัยการสังเกตุจริง ๆ มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่รู้จัก
สภาพธรรมในขณะที่สภาพธรรมนั้น ๆ ปรากฏ
สำหรับการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมทุกคนก็คงจะทราบแน่ว่าไม่ใช่การอบรมเจริญ
ปัญญาเพียงชาติเดียว 2 ชาติ 3 ชาติและในแต่ละชาติก็สั้นมากการที่บุคคลใดเกิดมา
ในชาตินี้จะมีชื่อเสียงมีสกุลมีมิตรสหายมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นถ้าพิจารณาแล้ว
ก็จะเห็นได้ว่าขณะที่เป็นอกุศลมากกว่าขณะที่เป็นกุศลถ้าชาตินี้หมดไปคือ.............................
ผ่านไปซึ่งก็จะต้องหมดไปแน่นอนผ่านไปโดยไม่มีสี่งใดเหลือในความเป็นบุคคลนี้อีก
และเมื่อเกิดชาติหน้าสามารถจะระลึกได้อาจจะรู้สึกเสียดายว่า
ชาตินี้ทำกุศลน้อยไปหรือว่าเสียเวลากับสี่งที่ไม่มีสาระมากไป
แต่ขณะนี้ กำลังเป็นชาตินี้อยู่แต่ทั้ง ๆ รู้ก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกิเลส
หรือว่าหมดกิเลสได้
ถ้ากล่าวถึงกิเสที่มากมายที่สะสมมามากในอดีตอนันตชาติก็เป็นของที่แน่นอนค่ะ
ที่จะเห็นชัดว่าช่างละยากเพราะว่าสะสมมามากแต่ลองคิดถึงกิเลสเพียงขณะเดียว
ไม่ต้องคิดถึงกิเลสมาก ๆ ที่สะสมมที่จะดับเป็นสมุทเฉทขอให้เป็นเพียงกิเลส
ขณะหนึ่งขณะใดที่จะละในขณะนั้นละได้ไหมลองคิดดูนะคะกำลังสนุกละสิคะ
กิเลสในขณะนั้นเพียงขณะเดียวไม่ต้องคิดถึงถึงขณะที่สะสมมามากมายเพียงแต่
ละขณะ ๆ ที่่นึกจะละกิเลสในขณะที่มีกิเลสอยู่ยังละไม่ได้เพราะฉะนั้นตามความเป็น
จริงแล้วเมื่อกิเลสมีมากยี่งกว่าเพียงขณะเดียว ๆ การที่จะละกิเลสจึงเป็นเรื่องที่จะ
ต้องอบรมเจริญปัญญาอีกนานทีเดียวข้อธรรมคำสอนของอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มูลนิธิบ้านธรรมมะ บุคโล ธนบุรีธรรมะน่าคิดพิจารณาวันนี้
ผู้แสวงหาที่ไม่ฉลาดในธรรมย่อมไม่เห็นแจ้งนิพพานที่อยู่ในตัว - สนฺติเก น วิชานนฺติ มฺคคา
ธมฺมสฺส อโกวิทา(ปัคคัยหสูตร ๑๘/๑๔๒)ธรรมะประจำวันที่ 23/07/2010
การพิจารณานามรูปที่หยาบและละเอียด