ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 07:29:37 am »อายุวัฒนมงคล88ปี สมเด็จพระมหาธีราจารย์
วันที่ 06 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7374 ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ มงคลข่าวสด
เวียน มาบรรจบครบรอบวาระมงคลฤกษ์อีกครา ในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร) จะมีชนมายุครบรอบ 88 ปี
เหล่า ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและญาติโยมผู้เลื่อมใสพระมหาเถระแห่งวัดชนะสงคราม ร่วมกันจัดงานมุทิตาจิตฉลองอายุวัฒนมหามงคลแด่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นประจำทุกปี
อัตโนประวัติมีนามเดิมว่า นิยม จันทนิทร โยมบิดา-มารดา ชื่อนายโหร่งและนางฮิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2466 ณ บ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
การศึกษาเบื้องต้น เมื่ออายุ 9 ขวบ ได้เข้าโรงเรียนประชาบาลวัดหันตรา จบชั้นประถมปีที่ 4
ครั้นอายุ 13 ปี โยมบิดานำไปฝากให้เรียนบาลีนักธรรม ณ สำนักวัดตองปุ จ.พระนครศรีอยุธยา
ต่อ มาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกระสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 28 มิถุนายน 2479 โดยพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์พระครูโบราณคณิสสร) วัดตองปุ เป็นพระอุปัชฌาย์
ครั้นอายุครบ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2487 ณ วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา มีพระเทพวงศาจารย์ วัดพนัญเชิง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาธุกิจการี (ขม) วัดประดู่ทรงธรรม เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่ ติณณสุวัณโณ) วัดสะแก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ฐานิสสโร อันมีความหมายว่า ผู้มีฐานะอันยิ่งใหญ่
หลัง อุปสมบท มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2486 สามารถสอบนักธรรมเอกสำนักเรียนวัดราชบุรณะ และ พ.ศ.2498 จบเปรียญธรรม 9 ประโยคในสำนักเรียนวัดสระเกศ ถือเป็นศิษย์รุ่นพี่รุ่นน้องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2490 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง พ.ศ.2500-2502 เป็นครูสอนนักธรรมเอก สำนักเรียนวัดสามพระยา
พ.ศ.2508 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค 13 เป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และพระอุปัชฌาย์วิสามัญ
พ.ศ.2509 เป็นเจ้าสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดชนะสงคราม
พ.ศ.2529 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
พ.ศ.2539 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
ลำดับ สมณศักดิ์ พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระปริยัติโสภณ พ.ศ.2507 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชโมลี พ.ศ.2511 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพโสภณ พ.ศ.2515 เป็นพระราชาคณะธรรมที่พระธรรมปิฎก
พ.ศ.2530 เป็นพระราชาคณะรองสมเด็จพระราชาคณะที่พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม
พ.ศ.2535 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์
สาธุชน ที่เคยมีโอกาสไปวัดชนะสงคราม จะพบเห็นสภาพภายในวัด แลดูสะอาดตา จัดวางสิ่งต่างๆ ได้เป็นระเบียบ ไม่มีของวางรกเกะกะสายตา พระเณรทุกรูปปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น วางตนสำรวมอินทรีย์งดงาม
รอบพระอุโบสถ มีการจัดตั้งศาลาทำเป็นห้องเรียนศึกษานักธรรม-บาลีอย่างเป็นระบบ จึงไม่น่าแปลกใจว่าสำนักเรียนของสมเด็จวัดชนะฯ มีชื่อเสียงโด่งดัง ปีหนึ่งมีพระภิกษุ-สามเณรสอบได้จำนวนมาก
ด้านการเผยแผ่หลักธรรมคำสอน แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จฯ จะแสดงพระธรรมเทศนาในโบสถ์ทุกวันพระ เวลา 09.30 น. เป็นประจำไม่เคยขาด ในวันพระจะไม่รับกิจนิมนต์ข้างนอก ยกเว้นงานพระราชพิธี
ไม่เคยปิดกั้น สำหรับญาติโยมที่อยากขอพบ ท่านไม่เคยถือตัว ใครมาก่อนพบก่อน ใครมาหลังพบทีหลัง
แม้ แต่ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด ยังบอกว่า สมเด็จวัดชนะฯ สนทนาธรรมกับญาติโยมทุกคน วางตัวปกติสำรวมสง่างาม เป็นบุญตาและบุญใจของผู้พบเห็น ใครมากราบไหว้สมเด็จฯ ได้ทั้งนั้น
ข้อธรรมคำสอนของท่านถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ เตือนสติให้คนอ่านได้ยั้งคิดทุกยาม อาทิ "รู้ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สุจริต คบมิตรดี เลี้ยงชีวีพอประมาณ" เป็นต้น
นอกจากนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ยังได้ลิขิตหนังสือ "ตำนานพระปริตร" ซึ่งเป็นหนังสือที่มีสาระเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง อรรถาธิบายแก่นธรรมแห่งพุทธองค์สู่พุทธศาสนิกชน
ในบทนมัสการ ท่านลิขิตข้อความว่า "ก่อนจะเริ่มกิจกรรมทางพระศาสนา จะต้องตั้งนโม 3 จบ ไม่ว่าจะเป็นการใดๆ ทั้งนั้น แม้ที่สุดถวายสังฆทานก็ต้องเริ่มด้วยนโม 3 จบก่อน"
สมเด็จวัดชนะฯ เป็นพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เมื่อครั้งที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงที่รัฐบาลเตรียมใช้มาตรการกระชับพื้นที่ราชดำเนิน-แยกราชประสงค์
ท่านได้ออกมาขอบิณฑบาตให้ทุกฝ่ายเลิกใช้ความรุนแรงต่อกัน
"อาตมา ขอบิณฑบาตให้ทุกฝ่ายเลิกใช้ความรุนแรง อย่าคิด อย่าทำ อย่าพูดในสิ่งที่ไม่ดี ขอให้แต่ละฝ่ายมองฝ่ายตรงข้ามที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นพี่น้องคนไทย ขอให้ทุกฝ่ายหยุดยุติการกระทำ เลิกการชุมนุมและการปะทะกัน ขอให้ทุกฝ่ายให้อภัยกัน สิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วของทุกฝ่าย ก็ขอให้ยกโทษกัน และแก้ไขปรับปรุง ไม่คิดเอาชนะกัน หากเราทำได้เช่นนี้ ความสันติสุขในบ้านเมืองเราก็จะบังเกิดขึ้น"
แม้ทุกวันนี้ ท่านผ่านร้อนผ่านมาอย่างยาวนาน แม้จะมีอาการอาพาธล้มเจ็บบ้าง ด้วยท่านล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่ยังคงทุ่มเทอุทิศงานสนองพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย
ดัง คำปรารภที่ว่า "เราเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ไม่ได้สบายอย่างที่คิด ต้องทำงานหนักหลายสิบเท่า ผิดเป็นไม่ได้ เป็นพระผู้ใหญ่มีหน้าที่ดูแลงานคณะสงฆ์ เขามอบหมายหน้าที่ให้ก็ต้องทำ ต้องทำให้ดี คนอื่นจะว่ากล่าวติเตียนเราไม่ได้"
ในวาระที่ท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจริญอายุวัฒนมงคล ครบ 88 ปี คณะศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมกันจัดงาน ณ วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงเช้าประมาณ 10.00 น.
ขอเชิญสาธุชนร่วมแสดงมุทิตาจิตด้วยความภูมิใจ ดลบันดาลให้เจ้าประคุณ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีชนมายุยืนยาวเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรใหญ่ต่อไป
.
[url]http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNREEyTURJMU5BPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNaTB3Tmc9PQ==
วันที่ 06 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7374 ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ มงคลข่าวสด
เวียน มาบรรจบครบรอบวาระมงคลฤกษ์อีกครา ในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร) จะมีชนมายุครบรอบ 88 ปี
เหล่า ศิษย์ผู้ใกล้ชิดและญาติโยมผู้เลื่อมใสพระมหาเถระแห่งวัดชนะสงคราม ร่วมกันจัดงานมุทิตาจิตฉลองอายุวัฒนมหามงคลแด่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นประจำทุกปี
อัตโนประวัติมีนามเดิมว่า นิยม จันทนิทร โยมบิดา-มารดา ชื่อนายโหร่งและนางฮิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2466 ณ บ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
การศึกษาเบื้องต้น เมื่ออายุ 9 ขวบ ได้เข้าโรงเรียนประชาบาลวัดหันตรา จบชั้นประถมปีที่ 4
ครั้นอายุ 13 ปี โยมบิดานำไปฝากให้เรียนบาลีนักธรรม ณ สำนักวัดตองปุ จ.พระนครศรีอยุธยา
ต่อ มาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกระสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 28 มิถุนายน 2479 โดยพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์พระครูโบราณคณิสสร) วัดตองปุ เป็นพระอุปัชฌาย์
ครั้นอายุครบ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2487 ณ วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา มีพระเทพวงศาจารย์ วัดพนัญเชิง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาธุกิจการี (ขม) วัดประดู่ทรงธรรม เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่ ติณณสุวัณโณ) วัดสะแก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า ฐานิสสโร อันมีความหมายว่า ผู้มีฐานะอันยิ่งใหญ่
หลัง อุปสมบท มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2486 สามารถสอบนักธรรมเอกสำนักเรียนวัดราชบุรณะ และ พ.ศ.2498 จบเปรียญธรรม 9 ประโยคในสำนักเรียนวัดสระเกศ ถือเป็นศิษย์รุ่นพี่รุ่นน้องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2490 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง พ.ศ.2500-2502 เป็นครูสอนนักธรรมเอก สำนักเรียนวัดสามพระยา
พ.ศ.2508 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค 13 เป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และพระอุปัชฌาย์วิสามัญ
พ.ศ.2509 เป็นเจ้าสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดชนะสงคราม
พ.ศ.2529 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
พ.ศ.2539 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
ลำดับ สมณศักดิ์ พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระปริยัติโสภณ พ.ศ.2507 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชโมลี พ.ศ.2511 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพโสภณ พ.ศ.2515 เป็นพระราชาคณะธรรมที่พระธรรมปิฎก
พ.ศ.2530 เป็นพระราชาคณะรองสมเด็จพระราชาคณะที่พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม
พ.ศ.2535 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์
สาธุชน ที่เคยมีโอกาสไปวัดชนะสงคราม จะพบเห็นสภาพภายในวัด แลดูสะอาดตา จัดวางสิ่งต่างๆ ได้เป็นระเบียบ ไม่มีของวางรกเกะกะสายตา พระเณรทุกรูปปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น วางตนสำรวมอินทรีย์งดงาม
รอบพระอุโบสถ มีการจัดตั้งศาลาทำเป็นห้องเรียนศึกษานักธรรม-บาลีอย่างเป็นระบบ จึงไม่น่าแปลกใจว่าสำนักเรียนของสมเด็จวัดชนะฯ มีชื่อเสียงโด่งดัง ปีหนึ่งมีพระภิกษุ-สามเณรสอบได้จำนวนมาก
ด้านการเผยแผ่หลักธรรมคำสอน แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จฯ จะแสดงพระธรรมเทศนาในโบสถ์ทุกวันพระ เวลา 09.30 น. เป็นประจำไม่เคยขาด ในวันพระจะไม่รับกิจนิมนต์ข้างนอก ยกเว้นงานพระราชพิธี
ไม่เคยปิดกั้น สำหรับญาติโยมที่อยากขอพบ ท่านไม่เคยถือตัว ใครมาก่อนพบก่อน ใครมาหลังพบทีหลัง
แม้ แต่ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด ยังบอกว่า สมเด็จวัดชนะฯ สนทนาธรรมกับญาติโยมทุกคน วางตัวปกติสำรวมสง่างาม เป็นบุญตาและบุญใจของผู้พบเห็น ใครมากราบไหว้สมเด็จฯ ได้ทั้งนั้น
ข้อธรรมคำสอนของท่านถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ เตือนสติให้คนอ่านได้ยั้งคิดทุกยาม อาทิ "รู้ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สุจริต คบมิตรดี เลี้ยงชีวีพอประมาณ" เป็นต้น
นอกจากนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ยังได้ลิขิตหนังสือ "ตำนานพระปริตร" ซึ่งเป็นหนังสือที่มีสาระเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง อรรถาธิบายแก่นธรรมแห่งพุทธองค์สู่พุทธศาสนิกชน
ในบทนมัสการ ท่านลิขิตข้อความว่า "ก่อนจะเริ่มกิจกรรมทางพระศาสนา จะต้องตั้งนโม 3 จบ ไม่ว่าจะเป็นการใดๆ ทั้งนั้น แม้ที่สุดถวายสังฆทานก็ต้องเริ่มด้วยนโม 3 จบก่อน"
สมเด็จวัดชนะฯ เป็นพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เมื่อครั้งที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงที่รัฐบาลเตรียมใช้มาตรการกระชับพื้นที่ราชดำเนิน-แยกราชประสงค์
ท่านได้ออกมาขอบิณฑบาตให้ทุกฝ่ายเลิกใช้ความรุนแรงต่อกัน
"อาตมา ขอบิณฑบาตให้ทุกฝ่ายเลิกใช้ความรุนแรง อย่าคิด อย่าทำ อย่าพูดในสิ่งที่ไม่ดี ขอให้แต่ละฝ่ายมองฝ่ายตรงข้ามที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นพี่น้องคนไทย ขอให้ทุกฝ่ายหยุดยุติการกระทำ เลิกการชุมนุมและการปะทะกัน ขอให้ทุกฝ่ายให้อภัยกัน สิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วของทุกฝ่าย ก็ขอให้ยกโทษกัน และแก้ไขปรับปรุง ไม่คิดเอาชนะกัน หากเราทำได้เช่นนี้ ความสันติสุขในบ้านเมืองเราก็จะบังเกิดขึ้น"
แม้ทุกวันนี้ ท่านผ่านร้อนผ่านมาอย่างยาวนาน แม้จะมีอาการอาพาธล้มเจ็บบ้าง ด้วยท่านล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่ยังคงทุ่มเทอุทิศงานสนองพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย
ดัง คำปรารภที่ว่า "เราเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ไม่ได้สบายอย่างที่คิด ต้องทำงานหนักหลายสิบเท่า ผิดเป็นไม่ได้ เป็นพระผู้ใหญ่มีหน้าที่ดูแลงานคณะสงฆ์ เขามอบหมายหน้าที่ให้ก็ต้องทำ ต้องทำให้ดี คนอื่นจะว่ากล่าวติเตียนเราไม่ได้"
ในวาระที่ท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจริญอายุวัฒนมงคล ครบ 88 ปี คณะศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมกันจัดงาน ณ วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงเช้าประมาณ 10.00 น.
ขอเชิญสาธุชนร่วมแสดงมุทิตาจิตด้วยความภูมิใจ ดลบันดาลให้เจ้าประคุณ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีชนมายุยืนยาวเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรใหญ่ต่อไป
.
[url]http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNREEyTURJMU5BPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNaTB3Tmc9PQ==