ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 12:04:03 pm »





ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง  ภาคสมบูรณ์
 โดย อนัตตา พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2538

 :12: 

  http://www.nakdham.com/webboard/index.php?topic=2114.0

 :45: :07: :45:


ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 08:04:11 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 12:07:13 pm »




     เมื่อจบโศลกแล้ว พระสังฆนายกก็นั่งสงบนิ่งจนกระทั่งยามสามของคืนนั้น ทันใดนั้น ท่านกล่าวแก่สานุศิษย์อย่างสั้นๆ ว่า "ฉันจะไปเดี๋ยวนี้" แล้วท่านก็เข้าปรินิพพานไปในขณะนั้น กลิ่นหอมอันประหลาดคลุ้งไปทั่วห้อง รุ้งจากแสงจันทร์ผุดขึ้นประดุจเชื่อมฟ้ากับดิน พรรณไม้ในป่ากลายเป็นสีขาว นกและสัตว์จตุบาทส่งเสียงระงม



        ครั้นถึงเดือนสิบเอ็ด ในปีเดียวกันนั้น ปัญหาว่า จะเก็บพระสรีรร่างของพระสังฆนายกไว้ที่ไหน กลายเป็นข้อพิพาทระหว่างข้าราชการแห่งเมืองกวางเจา ชิวเจาและชุนเจา  ต่างฝ่ายต่างต้องการให้เก็บไวในเมืองของตน แม้สานุศิษย์ของพระสังฆนายก รวมทั้งภิกษุและฆราวาสอื่นๆ ก็เข้าร่วมโต้แย้งในการนี้ด้วย เมื่อไม่อาจปรองดองกันได้ จึงพร้อมใจกันจุดเครื่องหอมและอธิษฐานขอให้พระสังฆนายกบอกทิศทาง โดยการถือเอาการลอยของควันเป็นเกณฑ์ คว้นนั้นลอยไปทางโซกาย ฉะนั้นในวันขึ้นสิบสามค่ำ เดือนสิบเอ็ดจึงได้อัญเชิญพระสรีรร่างพ้อมด้วยบาตรและจีวรของท่านไปยังโซกาย

        ในปีรุ่งขึ้น วันแรมสิบค่ำ เดือนเจ็ด มีการอัญเชิญพระศพของท่านออกจากสถูป ท่านฟองปิน สานุศิษย์องค์หนึ่งของพระสังฆนายก ได้หุ้มร่างของท่านไว้ด้วยดินหอม เมี่อระลึกถึงคำทำนายของท่านว่า จะมีคนนำพระเศียรของท่านไปบรรดาสานุศิษย์จึงพร้อมใจกันเอาแผ่นเหล็กมาหุ้มคอของท่านไว้และพันร่างท่านด้วยผ้าอาบน้ำยา ก่อนจะอัญเชิญเข้าไว้ในสถูปตามเดิม ทันใดนั้นเกิดเป็นแสงสว่างสีขาวพวยพุ่งขึ้นจากสถูปสู่ท้องฟ้า เป็นเวลาสามวันจึงหายไป บรรดาข้าราชการ แห่งเมืองชิวเจา จึงได้กราบทูลรายงานต่อพระมหาจักรพรรดิ พระมหาจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการ ให้สร้างแผ่นจารึกบันทึกชีวประวัติของพระสังฆนายก


        พระสังฆนายกได้รับมอบจีวรและบาตรเมื่ออายุ 24  ได้อุปสมบทเมื่ออายุ 39 และเข้าปรินิพพานเมื่ออายุ 76 ท่านได้เทศนาธรรม เพื่อประโยชน์แก่มวลสัตว์เป็นเวลา 37 ปี สานุศิษย์ของท่าน 43 องค์ ได้รับมอบธรรมและได้เป็นผู้สืบทอดจากท่านด้วยกรรมวาจา ส่วนผู้ที่เห็นแจ้งในธรรมจนละฆราวาสวิสัยนั้นมากมายเหลือคณานับ



        จีวรและบาตรอันเป็นเสมือนสัญญลักษณ์แห่งความเป็นพระสังฆนายก ซึ่งพระโพธิธรรมท่านได้มอบตกทอดมา ตลอดจนจีวรโมลาและบาตรผลึก ซึ่งพระมหาจักรพรรดิจุงจุงได้ส่งมาถวาย ภาพสลักของพระสังฆนายกโดยท่านฟองปินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆนั้น อยู่ความพิทักษ์รักษาของผู้เฝ้าสถูป เป็นสิ่งซึ่งจะต้องรักษาไว้ในวัดโปลัมชั่วกาลนาน เพื่อเป็นสวัสติมงคลแก่วัด พระสูตรที่ท่านได้เทศนา ก็นำมาพิมพ์และแจกจ่ายทั่วกัน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงหลักการและจุดประสงค์ของสำนักธรรม งานต่างๆเหล่านี้ ได้จัดทำไป ก็เพื่อความรุ่งเรืองสถาพรของพระรัตนตรัย และเพื่อสวัสติมงคลทั่วไปแก่มวลสัตว์



จบพระสูตร



นำมาจาก :http://www.sookjai.com/index.php?topic=1135.80
Credit by :http://www.mahayana.in.th/พระสูตร/เวยหล่างสูตร.html
Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 11:12:10 am »






เมื่อโศลกจบลงแล้ว พระสังฆนายกกล่าวต่อไปว่า "จงรักษาตัวให้ดี
เมื่อฉันเข้าปรินิพพานแล้ว
จงอย่างเอาอย่างธรรมเนียมโลก อย่าร้องไห้ หรือโศกเศร้า

ไม่ควรปล่อยให้เกิดความเสียใจหรือคร่ำครวญ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง
ตรงข้ามกับคำสอนที่แท้
ใครที่ทำเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่ศิษย์ของฉัน

สิ่งที่ควรทำก็คือ จงรู้จักจิตของท่านเอง และตระหนักชัดถึง
ธรรมชาติแห่งพุทธะของท่าน

ซึ่งเป็นสิ่งที่ ไม่สงบนิ่งและไม่เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่ไม่เกิดและไม่ดับ

เป็นสิ่งที่ไม่มาและไม่ไป เป็นสิ่งที่ไม่รับและไม่ปฏิเสธ
เป็นที่สิ่งที่ไม่คงอยู่และไม่จากไป มิฉะนั้นแล้วจิตของท่าน
จะถูกครอบงำด้วยความหลงผิด ทำให้ไม่อาจเข้าใจความหมายได้




ฉันทบทวนเรื่องนี้กับท่าน เพื่อทำตามคำสอนของฉันและนำไปปฏิบัติ  การที่ฉันจากไป
ก็ไม่เป็นข้อประหลาดอย่างใด ตรงกันข้าม ถ้าท่านฝ่าฝืนคำสอนของฉัน

แม้ฉันจะอยู่ต่อไปก็ไม่เกิดคุณประโยชน์อันใด แล้วพระสังฆนายกก็กล่าวโศลกต่อไปว่า:-

ด้วยความเยือกเย็นและไม่กระวนกระวาย บุคคลชั้นเลิศไม่ต้องปฏิบัติความดี
ด้วยความเที่ยงธรรมเป็นตัวของตัวเอง ท่านไม่ต้องกระทำบาป


ด้วยความสงบและสงัด ท่านเพิกเฉยการดูและการฟัง

ด้วยความเสมอภาคและเที่ยงตรง จิตของท่านไม่ได้พำนัก ณ ที่ใด"




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 11:03:30 am »






ภาวะที่แท้แห่งจิต หรือตถตา เป็นพุทธะอันแท้จริง
ส่วนมิจฉาทิฏฐิและธาตุอันเป็นพิษร้าย 3 ประการเป็นพญามาร

การบรรลุธรรมด้วยสัมมาทิฏฐิ เรามุ่งไปสู่พุทธะภายในตัวเรา
เมื่อธรรมชาติของเราถูกครอบงำ
ด้วยธาตุอันเป็นพิษร้าย สามประการ อันเป็นผลมาจากมิจฉาทิฏฐิ

เราก็มีชื่อว่า อยู่ภายใต้อำนาจพญามาร
เมื่อสัมมาทิฏฐิได้ขจัดธาตุอันเป็นพิษร้ายเหล่านี้ ไปจากจิตของเรา

พญามารก็กลายร่างเป็นพุทธะอันแท้จริง
ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมานกาย



กายทั้งสามนี้ย่อมกำเนิดมาจากสิ่งหนึ่ง คือภาวะที่แท้แห่งจิต
ใครที่สามารถตระหนักชัดถึงความจริงข้อนี้ได้ด้วยปัญญาญาณ

ย่อมหว่านเมล็ดพืช และจะเก็บเกี่ยวผลถึงการตรัสรู้
จากนิรมานกายนี้แหละ
ที่ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของเราได้ถือกำเนิดภายในนิรมานกายนั้นแหละ

จะพบธรรมชาติอันบริสุทธิ์และภายใต้การนำของธรรมชาติอันบริสุทธิ์นั่นเอง
นิรมานกาย จะดำเนินไปตามมรรคอันถูกต้อง
ซึ่งวันหนึ่งจะได้บรรลุถึงสัมโภคกายอย่างสมบูรณ์และไพศาล



ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ก็ถือกำเนิดมาจากสันดานในทางกามคุณ
เมื่อกำจัดความปรารถนาในทางกามคุณเสียได้ เราก็บรรลุธรรมกาย
อันบริสุทธิ์

เมื่ออารมณ์ของเราไม่เป็นทาสของวัตถุแห่งกามทั้งห้าอีกต่อไป
และเมื่อเราได้ตระหนักชัด
ถึงภาวะที่แท้แห่งจิตแม้เพียงขณะเดียว เมื่อนั้นเราก็แจ้งในสัจจะ

เมื่อเรามีโชคที่ได้ มาเป็นสานุศิษย์ของสำนักฉับพลันในชาตินี้
เราย่อมพบพระภควาของภาวะที่แท้แห่งจิตได้ในทันใด
ใครที่ค้นหาพุทธะ ด้วยการปฏิบัติตามลัทธิอื่น ย่อมไม่ทราบว่าจะพบ
พุทธะที่แท้จริงได้ที่ไหน



ใครที่สามารถตระหนักชัดถึงสัจจะ ภายในจิตเขาเอง ย่อมเป็นผู้หว่าน
เมล็ดพืชแห่งพุทธะ
ใครที่ไม่ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต
และค้นหาพุทธะจากภายนอก ย่อมเป็นคนโง่ที่มีความปรารถนาผิดเป็นเครื่องกระตุ้น

โดยนัยนี้ ฉันได้มอบคำสอนของสำนักฉับพลัน ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังแล้ว

เพื่อเป็นการช่วยเหลือมวลสัตว์ ที่สนใจจะปฏิบัติธรรม
โปรดฟังฉัน บรรดาสานุศิษย์ในอนาคต
เวลาของท่านจะสิ้นไปอย่างเปลือยเปล่า ถ้าท่านเพิกเฉยไม่นำคำสอนนี้ไปปฏิบัติ




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 10:59:41 am »




ในวันขึ้นสามค่ำ เดือนแปด แห่งปีไกวเซา นับเป็นปีที่สองในรัชสมัย ซินติน หลังจากฉันอาหารที่วัดกว๊อกเยนแล้ว พระสังฆนายกได้กล่าวแก่สานุศิษย์ว่า "โปรดนั่งลงตามลำดับอาวุโส เพราะฉันกำลังจะกล่าวลาท่าน"

        ทันใดนั้น ท่านฟัตห่อยได้กล่าวกับพระสังฆนายกว่า "พระคุณท่านได้โปรดกรุณาให้คำสอนที่กำจัดความไว้อย่างแน่นอนแก่คนรุ่นหลังๆ  เพื่อมหาชน ผู้หลงผิด จะได้ตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ"

        พระสังฆนายกตอบว่า "ไม่ใช่ว่า จะเป็นการเหลือวิสัยสำหรับคนเหล่านี้ที่จะตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ ถ้าหากว่าเขาจะทำตนให้เคยชินกับธรรมชาติของสามัญสัตว์ แต่ว่าการค้นหาความเป็นพุทธะโดยปราศจากความรู้ ดังกล่าว ย่อมเป็นการไร้ผล แม้เขาจะใช้เวลาเป็นกัลป์ๆเที่ยวค้นหาก็ตาม"

        เอาละ ฉันจะบอกให้ท่านทราบ ถึงวิธีที่จะทำตนให้เคยชินกับธรรมชาติของสัตว์ภายในจิตของท่านเอง และโดยวิธีนี้ ท่านจะตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะซึ่งแฝงอยู่ในนั้น  การรู้จักพุทธะ ไม่ได้หมายถึงอะไรนอกไปจากรู้จักสัตว์ทั้งหลาย  เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ว่าตนเป็นพุทธะโดยอานุภาพ  ส่วนผู้ที่เป็นพุทธะ ย่อมไม่เล็งเห็นความแตกต่างระหว่างท่านเองกับสัตว์ทั้งหลายอื่น เมื่อสัตว์ทั้งหลายตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต เขาก็เป็นพุทธะ ถ้าพุทธะถูกครอบงำด้วยความหลงผิดอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต เขาก็เป็นสามัญสัตว์ ความบริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต ทำให้สามัญสัตว์เป็นพุทธะ ความไม่บริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต ย่อมเปลี่ยนพุทธะให้เป็นสามัญสัตว์ เมื่อจิตของท่านคิดหรือเศร้าหมอง ท่านก็เป็นสามัญสัตว์ซึ่งมีธรรมชาติแห่งพุทธะแฝงอยู่ภายใน ตรงกันข้าม ถ้าท่านทำจิตให้บริสุทธิ์และตรงแน่ว แม้เพียงชั่วขณะเดียว ท่านก็เป็นพุทธะ"

        ภายในจิตของเรามีพุทธะ และพุทธที่อยู่ภายในนั้น เป็นพุทธะที่แท้จริงได้จากไหน? อย่าสงสัยเลย เรื่องพุทธะภายในจิตของท่าน นอกจากที่นั่นแล้วไม่มีอะไรจะปรากฏขึ้นได้ เนื่องจากปรากฏการณ์หรือสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นผลิตผลมาจากจิตของเรา ในพระสูตรจึงกล่าวว่า เมื่ออาการของจิตเริ่มขึ้น สิ่งต่างๆ ก็ปรากฏ เมื่ออาการของจิตดับลง สรรพสิ่งทั้งหลายก็ดับ ก่อนที่จะจากท่าน ฉันจะกล่าวโศลกให้ท่านฟัง ชื่อว่า พุทธะอันแท้จริงของภาวะที่แท้แห่งจิต อนุชนรุ่นต่อไปในอนาคต ผู้เข้าใจในความหมายนี้ จะได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต และบรรลุความเป็นพุทธะตามนัยนี้?
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 03:41:56 pm »



ลำดับพระสังฆปรินายกฝ่ายเซน 

พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต"
แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง

釋迦牟尼佛 พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า

การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้

1.初祖訶迦葉尊者 พระมหากัสสปเถระ
2.二祖阿難陀尊者 พระอานนท์เถระ

3.三祖商那和修尊者 พระสันนวสะเถระ
4.四祖優婆□多尊者 พระอุปคุปด์เถระ

5.五祖提多迦尊者 พระธริตกเถระ
6.六祖彌遮迦尊者 พระมัจฉกะ

7.七祖婆須密尊者 พระวสุมิตรเถระ
8.八祖佛陀難提尊者 พระพุทธนันทิเถระ

9.九祖伏馱密多尊者 พระพุทธมิตรเถระ
10.十祖脅尊者 พระปารศวะเถระ

11.十一祖富那夜奢尊者 พระปุณยยศัสเถระ
12.十二祖馬鳴大士 พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์

13.十三祖迦毗摩羅尊者 พระกบิลเถระ
14.十四祖龍樹尊者 พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์

15.十五祖迦那提婆尊者 พระคุณเทวเถระ
16.十六祖羅侯羅多尊者 พระราหุลตเถระ

17.十七祖僧伽難提尊者 พระสังฆนันทิเถระ
18.十八祖伽耶舍多尊者 พระสังฆยศัสเถระ

19.十九祖鳩摩羅多尊者 พระกุมารตเถระ
20.二十祖闍夜多尊者 พระชยเถระ

21.二十一祖婆修盤頭尊者 พระวสุพันธุเถระ
22.二十二祖摩拏羅尊者 พระมนูรเถระ

23.二十三祖鶴勒那尊者 พระฮักเลนยศัสเถระ
24.二十四祖師子尊者 พระสินหเถระ

25.二十五祖婆舍斯多尊者 พระวสิอสิตเถระ
26.二十六祖不如密多尊者 พระปุณยมิตรเถระ

27.二十七祖般若多羅尊者 พระปรัชญาตาระ
28.二十八祖菩提達磨大師 พระโพธิธรรม

โดย ลำดับที่ 28 (สายชมพูทวีป) คือพระโพธิธรรม เมื่อท่านเดินทางเผยแพร่พุทธศาสนาเข้าสู่จีน
ที่นี่เองการอ่านชื่อออกเสียงว่า "โพธิธรรม" หรือ "โบ-ตะ-มะ" ที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ตั๊กม้อ"
ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวัดเส้าหลิน นับเป็นพระสังฆปรินายกฝ่ายเซนองค์แรกในจีน ต่อมาเมื่อสืบทอดพระสังฆปรินายก
องค์ที่ 3 (ฝ่ายจีน) จึงได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น

วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น
เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ(การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น)
แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น

********


ข้อมูลส่วนนี้จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 03:33:11 pm »




สิ่งสักการะ ได้เทอดทูนไว้เหนือศีรษะของบิดามารดา
เพื่อเป็นการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

เมื่อเหตุวิบัติได้บังเกิดขึ้นแก่มุนี
ยังและหลิวจะได้เป็นขุนนาง"

   จากนั้น ท่านกล่าวเสริมต่อไปว่า "เมื่อฉันจากไปแล้วเจ็ดสิบปี จะมีพระโพธิสัตว์สององค์มาจากทางตะวันออก องค์หนึ่งเป็นฆราวาส อีกองค์หนึ่งเป็นพระภิกษุ มาสั่งสอนธรรมในเวลาเดียวกัน จะเผยแพร่พระธรรมออกไปอย่างกว้างขวาง จะเสริมสร้างสำนักของเราให้มีรากฐานมั่นคง ปฏิสังขรณ์วัดของเรา และถ่ายทอดหลักธรรมให้แก่ผู้สืบทอดที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย

        สานุศิษย์ทั้งหลายถามว่า "ท่านจะให้พวกข้าพเจ้าทราบได้ไหมว่า ธรรมนี้ได้ถ่ายทอดกันมากี่ชั่วคนแล้ว นับจากพระพุทธเจ้าพระองค์แรกเป็นต้นมา?"

        พระสังฆนายกตอบว่า "พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาในโลกนี้ มีจำนวนมากมายจนนับไม่ถ้วยพระองค์ ขอให้เรากล่าวนามของพระองค์ เพียงเจ็ดพระองค์หลังเถิด คือ


พระพุทธเจ้า  วิปัสสิน      กัปป์ที่แล้ว(อาลัมกรกัลป์)
พระพุทธเจ้า  สิขิน          กัปป์ที่แล้ว(อาลัมกรกัลป์)

พระพุทธเจ้า  เวสสภู      กัปป์ที่แล้ว(อาลัมกรกัลป์)
พระพุทธเจ้า  กกุสันธ      กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)

พระพุทธเจ้า  โกนาคมน  กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)
พระพุทธเจ้า  กัสสป       กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)

พระพุทธเจ้า  โคตม       กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)     

จากพระพุทธเจ้าโคตม พระธรรมได้ถ่ายทอดมาสู่


พระสังฆนายกที่ 1           พระอารยะ  มหากัสสปะ

พระสังฆนายกที่ 2           พระอารยะ  อานนท์
พระสังฆนายกที่ 3           พระอารยะ  สันวส

พระสังฆนายกที่ 4           พระอารยะ  อุปคุปต
พระสังฆนายกที่ 5           พระอารยะ  ธริตก

พระสังฆนายกที่ 6           พระอารยะ  มิฉก
พระสังฆนายกที่ 7           พระอารยะ  วสุมิตร

พระสังฆนายกที่ 8           พระอารยะ  พุทธนันทิ
พระสังฆนายกที่ 9           พระอารยะ  พุทธมิตร

พระสังฆนายกที่ 10           พระอารยะ  ปาสว
พระสังฆนายกที่ 11           พระอารยะ  ปุนยยสัส

พระสังฆนายกที่ 12           พระโพธิสัต์  อัศวโฆษ 
พระสังฆนายกที่ 13           พระอารยะ  กปิมล

พระสังฆนายกที่ 14           พระโพธิสัตว์  นาคารชุน 
พระสังฆนายกที่ 15           พระอารยะ  คนเทว

พระสังฆนายกที่ 16           พระอารยะ  ราหุลต
พระสังฆนายกที่ 17           พระอารยะ  สังฆนันทิ

พระสังฆนายกที่ 18           พระอารยะ  สังฆยสัส
พระสังฆนายกที่ 19           พระอารยะ  กุมารต

พระสังฆนายกที่ 20           พระอารยะ  ขยต
พระสังฆนายกที่ 21           พระอารยะ  วสุพันธุ

พระสังฆนายกที่ 22           พระอารยะ  มนูร
พระสังฆนายกที่ 23           พระอารยะ  อักเสนยสัส

พระสังฆนายกที่ 24           พระอารยะ  สินห
พระสังฆนายกที่ 25           พระอารยะ  วิสอสิต

พระสังฆนายกที่ 26           พระอารยะ  ปุนยมิตร
พระสังฆนายกที่ 27           พระอารยะ  ปรัชญาตาระ

พระสังฆนายกที่ 28           พระอารยะ  โพธิธรรม
(พระสังฆนายกองค์ที่ 1ของจีน (ตั้กม้อ)

พระสังฆนายกที่ 29           พระอาจารย์  เว่ยโห
พระสังฆนายกที่ 30           พระอาจารย์  ซังซาน

พระสังฆนายกที่ 31           พระอาจารย์  ตูชุน
พระสังฆนายกที่ 32           พระอาจารย์  ฮวางยาน


และฉันเป็นพระสังฆนายกที่ 33 จากการสืบต่อทางสานุศิษย์
ที่พระธรรมได้ถ่ายทอดจากพระสังฆนายกองค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง
นับจากนี้ไป ท่านทั้งหลายควรถ่ายทอดต่อไปให้คนรุ่นหลัง จากอนุชนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
เพื่อเป็นการรักษาประเพณีเอาไว้.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 03:28:26 pm »




     จากนั้นพระสังฆนายกได้เสริมต่อไปว่า "ธรรมนั้นไม่เป็นของคู่ และจิตก็ฉันนั้น มรรคนั้นบริสุทธ์ และอยู่เหนือรูปทั้งมวล ฉันขอเตือนท่าน อย่าปฏิบัติสมาธิในเรื่องความเงียบสงบ หรืออย่าทำจิตให้ว่างเปล่า จิตนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว โดยธรรมชาติ ดังนั้น จึงไม่มีอะไร ที่เราจะต้องไปใฝ่หา หรือ ยกเลิก แต่ละท่านจงปฏิบัติให้ดีที่สุด และไปในที่ทุกแห่งตามแต่เหตุการณ์จะนำไป"

        จากนั้นสานุศิษย์ทั้งหลายต่างกราบนมัสการและเลิกประชุม

        ครั้นถึงวันขึ้นแปดค่ำ เดือนเจ็ด พระสังฆนายกสั่งให้สานุศิษย์ของท่านจัดเรือโดยด่วน เพื่อท่านจะกลับไปชุนเจา เมืองเกิดของท่าน บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายโดยพร้อมกันวิงวอนท่านอย่างร้อนรนและน่าสังเวช ขอให้ท่านอยู่ต่อไป

        พระสังฆนายกกล่าวว่า "เป็นธรรมดาเหลือเกิน ที่ฉันควรจะไป เพราะความตาย เป็นผลอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นของความเกิด แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งพระองค์เสด็จมาในโลกนี้ ก็ต้องผ่านการตายทางโลกีย์ ก่อนที่จะเสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพาน เรื่องนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น สำหรับกายอันเป็นเนื้อหนังของฉันซึ่งจะต้องเหยียดยาวลง ณ ที่ใดที่เหนึ่ง"

        ที่ประชุมต่างวิงวอนว่า "เมื่อท่านได้เยี่ยมชุนเจาแล้ว จะเร็วหรือช้าก็ตามขอได้โปรดกลับมาที่นี่เถิด"
        พระสังฆนายกตอบว่า "ใบไม้ที่หล่นจากต้นแล้ว ย่อมกลับคืนไปสู่รากเมื่อฉันมาที่นี่ครั้งแรก ฉันก็ไม่ได้บอกใคร"

        ที่ประชุมถามว่า "ใครครับ พระคุณท่าน ที่ท่านได้ถ่ายทอดขุมกำเนิดแห่งดวงตาของธรรมแท้?"
        พระสังฆนายกตอบว่า "มนุษย์ในหลักธรรมย่อมได้รับ และบรรดาผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากความคิดเห็นอันเฉียบขาด ย่อมเข้าใจ"

        ที่ประชุมถามต่อไปว่า "จะมีเหตุวิบัติเกิดขึ้นแก่ท่านบ้างหรือไม่ หลังจากนั้น?"
        พระสังฆนายกตอบว่า "ห้าหรือหกปีหลังจากที่ฉันได้จากไปแล้ว จะมีคนผู้หนึ่งมาตัดศีรษะฉัน ฉันได้กำหนดคำทำนายไว้แล้วดังนี้:-
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 03:25:48 pm »




    พระสังฆนายกกล่าวเสริมต่อไปว่า "ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จงชำระจิตของท่านให้บริสุทธิ์และฟังฉันพูด ใครที่ปรารถนาจะบรรลุปัญญาของพุทธะ ซึ่งรู้ไปในทุกๆสิ่ง เขาก็ควรรู้จัก สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์ และ สมาธิเฉพาะแบบ ในทุกๆกรณี เราควรเปลื้องตนออกเสียจากความผูกพันในวัตถุทั้งหลาย และวางท่าทีต่อสิ่งเหล่านั้นให้เป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย อย่าปล่อยให้ชัยชนะหรือความปราชัย และการได้มาหรือการสูญเสียก่อความกังวลแก่เราได้ จงสงบและเยือกเย็น จงสุภาพและอารีอารอบ จงซื่อตรงและเที่ยงธรรมสิ่งเหล่านั้นคือ สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์ ในทุกๆ โอกาส ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่งหรือนอน จงเป็นคนตรงแน่ว เราก็จะดำรงอยู่ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และไม่ต้องเคลื่อนไหวแม้สักน้อย เราก็เสมือนกับอยู่ในอาณาจักรแห่งดินแดนอันบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้คือ สมาธิเฉพาะแบบ.

        ผู้ที่ปฏิบัติตามสมาธิทั้งสองอย่างนี้ ได้ครบถ้วนแล้ว ก็เสมือนกันเนื้อนาที่ได้หว่านเมล็ดพืชลงไป แล้วกลบไว้ด้วยโคลน เมล็ดพืชจึงได้รับการบำรุงและเจริญเติบโต ตราบจนกระทั่งผลิผล."

        คำสอนของฉันขณะนี้ ไม่ผิดอะไรกับฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งจะนำความชุ่มชื่นมาสู่ผื่นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ ธรรมชาติแห่งพุทธะซึ่งมีอยู่ภายใน เหมือนกับเมล็ดพืชที่ได้รับความชุ่มชื่นจากสายฝน ย่อมจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ใครที่ปฏิบัติตามคำสอนของฉัน ย่อมจะได้บรรลุถึงโพธิอย่างแน่นอน ใครที่ดำเนินตามคำสอนของฉัน ย่อมจะได้รับผลอันสูงเลิศเป็นแน่แท้ จงฟังโศลกดังนี้:-


"เมล็ดพืชแห่งพุทธะ แฝงอยู่ในจิตของเรา

ย่อมงอกตามสายฝน ที่ซึมซาบไปในทุกสิ่ง

ดอกไม้แห่งหลักธรรม เมื่อได้ผลิออกมาด้วยปัญญาญาณ

ผู้นั้นย่อมแน่แท้ ที่จะเก็บเกี่ยวผลแห่งการตรัสรู้