ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 04:01:38 pm »ภาษากัมมัฏฐานท่านเรียกว่า ทำจนกระทั่งเหนือตาย ท่านว่าอย่างนั้น ทำจนกระทั่งเหนือตาย
จึงได้พ้นจากตาย คือต้องกล้าหาญต่อสู้เต็มที่ ทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ กลัวเป็นทุกข์
นั่งเจ็บนิดหน่อยก็ไม่ได้ พอนานหนักเข้าเดี๋ยวนั่งเหนื่อยเดี๋ยวนั่งง่วงนอน เดี๋ยวนั่งสัปหงก
ลงนอนเสีย เคยตัวคราวนี้ พอนั่งหลับตาทำกัมมัฏฐานสักนิดหน่อยสัปหงกแล้ว
นั่งหลับตาสักนิดหน่อยพอจะเป็นสมาธิภาวนาก็ง่วงคิดถึงการนอน เอาเถิด พักเอาไว้เสียก่อน
เถิด ทีหลังค่อยทำ มาวันหลังเท่าเก่านั่นแหละ พอนั่งเวลาใดถึงเวลานั้น
ก็ถึงเวลาสัปหงกของเก่านั่นแหละ ความง่วงนอนของเก่านั่นแหละ เดี๋ยวก็เจ็บเมื่อยของเก่า
ความเจ็บ ความเมื่อย ความสัปหงก ถ้าหากว่าเราทำจนทะลุปรุโปร่งหรือล่วงเลยอันนั้นไป
ตายเป็นตาย ไหนก็จะต้องตายแล้ววันหนึ่งนั่นแหละ ตายกับภาวนาดีกว่า
ตายเวลานี้ดีกว่า เดี๋ยวก็หายจากความสัปหงก ความง่วง ความเมื่อยอันนั้น นั่นเรียกว่า
ต่อสู้เลยความตายไป นี่อธิบายให้ฟังถึงเรื่องความตาย ถึงเรื่องทุกข์ ทุกข์คนเราไม่ต้องการ
ต้องการแต่จะแก้ทุกข์อย่างเดียว ไม่เหมือนพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็เหมือนกันกับพวกเรา ท่านมาพิจารณาถึงเหตุของกองทุกข์คือความทะเยอ
ทะยาน ถ้าไม่ทะเยอทะยาน ทุกข์มันก็อยู่อย่างนั้น ทุกข์เป็นเหตุให้ทะเยอทะยาน
ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่ใจเป็นสัมผัสต่างหาก ทุกข์มันเกิดจากสัมผัสอายตนะต่างหาก ครั้นเมื่อละ
ความอยากแล้วสัมผัสก็ไม่มี ความทุกข์ก็เลยหายว่างปลอดโปร่งเลยเป็นใจ
ใจไม่มีทุกข์ก็เลยหมดจากทุกข์ มันอยู่ตรงนั้นแหละตรงที่แก้ได้ อาตมาเคยอธิบายให้ฟังหลาย
ครั้งหลายหนแล้ว จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงแต่งอันนั้นแหละเป็นตัวเหตุุ
เมื่อไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งมัน วางเฉยเสีย ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย อันนั้นเป็นตัวใจ
จิตและใจอันเดียวกันนั่นแหละแต่มีลักษณะต่างกัน จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่งนั่นแหละที่เป็นเหตุ
ให้ยุ่งเหยิงเดือดร้อนวุ่นวายมาก เมื่อสติเข้าไปคุมจิตเลยไม่คิดไม่ปรุงไม่แต่ง
เก็บตัวปรุงตัวแต่งซึ่งมันเป็นเหตุเท่านั้น มันก็วางความปรุงความแต่งความคิดนึกต่างๆ เข้าไปถึงใจ
ใจคือตัวกลาง สิ่งทั้งปวงหมดถ้าเป็นตัวกลาง เขาเรียกว่าใจ ใจคนก็ชี้เข้ามาตรงหน้าอก
ความเป็นกลางคือว่าไม่คิดส่งไปมาหน้าหลัง ไม่คิดอดีตอนาคต นอกจากใจแล้วไม่มีเลย
ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงแต่งเรียกว่า จิต ผู้อยู่เป็นกลางๆ เรียกว่า ใจ
เราพิจารณาเราปฏิบัติธรรมะก็ปฏิบัติตรงนี้แหละ ตรงเอาสติไปกำหนดให้รู้จักจิตนั่นแหละ
ละจิตได้ปล่อยวางจิตได้ เข้าถึงใจนั่นแหละเป็นอันว่าถูกต้องในธรรมวินัย..เอาละอธิบายเท่านี้
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน
คือตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงแล้ว
ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา ดังนี้แล
ธรรมบท ชราวรรค
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ebu&group=7
ผุ้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : ebusiness
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
จึงได้พ้นจากตาย คือต้องกล้าหาญต่อสู้เต็มที่ ทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ กลัวเป็นทุกข์
นั่งเจ็บนิดหน่อยก็ไม่ได้ พอนานหนักเข้าเดี๋ยวนั่งเหนื่อยเดี๋ยวนั่งง่วงนอน เดี๋ยวนั่งสัปหงก
ลงนอนเสีย เคยตัวคราวนี้ พอนั่งหลับตาทำกัมมัฏฐานสักนิดหน่อยสัปหงกแล้ว
นั่งหลับตาสักนิดหน่อยพอจะเป็นสมาธิภาวนาก็ง่วงคิดถึงการนอน เอาเถิด พักเอาไว้เสียก่อน
เถิด ทีหลังค่อยทำ มาวันหลังเท่าเก่านั่นแหละ พอนั่งเวลาใดถึงเวลานั้น
ก็ถึงเวลาสัปหงกของเก่านั่นแหละ ความง่วงนอนของเก่านั่นแหละ เดี๋ยวก็เจ็บเมื่อยของเก่า
ความเจ็บ ความเมื่อย ความสัปหงก ถ้าหากว่าเราทำจนทะลุปรุโปร่งหรือล่วงเลยอันนั้นไป
ตายเป็นตาย ไหนก็จะต้องตายแล้ววันหนึ่งนั่นแหละ ตายกับภาวนาดีกว่า
ตายเวลานี้ดีกว่า เดี๋ยวก็หายจากความสัปหงก ความง่วง ความเมื่อยอันนั้น นั่นเรียกว่า
ต่อสู้เลยความตายไป นี่อธิบายให้ฟังถึงเรื่องความตาย ถึงเรื่องทุกข์ ทุกข์คนเราไม่ต้องการ
ต้องการแต่จะแก้ทุกข์อย่างเดียว ไม่เหมือนพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็เหมือนกันกับพวกเรา ท่านมาพิจารณาถึงเหตุของกองทุกข์คือความทะเยอ
ทะยาน ถ้าไม่ทะเยอทะยาน ทุกข์มันก็อยู่อย่างนั้น ทุกข์เป็นเหตุให้ทะเยอทะยาน
ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่ใจเป็นสัมผัสต่างหาก ทุกข์มันเกิดจากสัมผัสอายตนะต่างหาก ครั้นเมื่อละ
ความอยากแล้วสัมผัสก็ไม่มี ความทุกข์ก็เลยหายว่างปลอดโปร่งเลยเป็นใจ
ใจไม่มีทุกข์ก็เลยหมดจากทุกข์ มันอยู่ตรงนั้นแหละตรงที่แก้ได้ อาตมาเคยอธิบายให้ฟังหลาย
ครั้งหลายหนแล้ว จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงแต่งอันนั้นแหละเป็นตัวเหตุุ
เมื่อไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งมัน วางเฉยเสีย ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย อันนั้นเป็นตัวใจ
จิตและใจอันเดียวกันนั่นแหละแต่มีลักษณะต่างกัน จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่งนั่นแหละที่เป็นเหตุ
ให้ยุ่งเหยิงเดือดร้อนวุ่นวายมาก เมื่อสติเข้าไปคุมจิตเลยไม่คิดไม่ปรุงไม่แต่ง
เก็บตัวปรุงตัวแต่งซึ่งมันเป็นเหตุเท่านั้น มันก็วางความปรุงความแต่งความคิดนึกต่างๆ เข้าไปถึงใจ
ใจคือตัวกลาง สิ่งทั้งปวงหมดถ้าเป็นตัวกลาง เขาเรียกว่าใจ ใจคนก็ชี้เข้ามาตรงหน้าอก
ความเป็นกลางคือว่าไม่คิดส่งไปมาหน้าหลัง ไม่คิดอดีตอนาคต นอกจากใจแล้วไม่มีเลย
ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงแต่งเรียกว่า จิต ผู้อยู่เป็นกลางๆ เรียกว่า ใจ
เราพิจารณาเราปฏิบัติธรรมะก็ปฏิบัติตรงนี้แหละ ตรงเอาสติไปกำหนดให้รู้จักจิตนั่นแหละ
ละจิตได้ปล่อยวางจิตได้ เข้าถึงใจนั่นแหละเป็นอันว่าถูกต้องในธรรมวินัย..เอาละอธิบายเท่านี้
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน
คือตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงแล้ว
ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา ดังนี้แล
ธรรมบท ชราวรรค
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ebu&group=7
ผุ้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : ebusiness
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ