ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 04:28:04 pm »"อาตมาไปอยู่ที่ไหน ถ้าไม่ได้ กราบอาจารย์มั่นแล้วนอนไม่ได้ แม้จะเดินจงกรมก็ต้องหันหน้าไปไหว้ท่านเสียก่อน"
หลวง ตามหาบัว หลังกราบนมัสการเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแล้ว ท่านมีความกตัญญูต่อบูรพาจารย์อย่างยิ่งยวด วัตรประจำวันไม่ว่าจะนอน นั่ง ยืน เดินทุกอิริยาบถ ทุกลมหายใจ
หลวงตามหาบัวมีพระอาจารย์มั่นเป็นสรณะ
นับ เป็นศรัทธาอันใสสะอาดของศิษย์ ที่มีต่อพระอาจารย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เสมือนหนึ่งประทีปธรรมแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแม่ทัพธรรมของพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป ลูกศิษย์ของท่านแต่ละนาม ล้วนเป็นกำลังหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระอาจารย์มั่น หรือหลวงปู่มั่น ชื่อและนามสกุลเดิมคือ มั่น แก่นแก้ว เกิดเมื่อ พ.ศ.2414 บวชเมื่อ พ.ศ. 2436 จำพรรษาอยู่วัดหนองผือนาใน จังหวัดสกลนคร มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2492 ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
ช่วงชีวิตหนึ่งของหลวงตาม หาบัว ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และติดตามรับใช้อย่างใกล้ชิด ทำให้ทั้งเปี่ยมศรัทธาในข้อวัตร และข้อธรรมต่างๆ ที่พระอาจารย์มั่นพร่ำสอน ทั้งด้านพระธรรมวินัย และพระธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
หลวงตามหา บัวเล่าถึงอาจารย์มั่นว่า "พระคุณของท่านไม่มีวันจืดจาง ประหนึ่งว่าท่านไม่ได้ล่วงลับไป ธรรมชาติอันหนึ่งเป็นอย่างนั้น เหมือนกับดูเราอยู่ตลอดเวลา"
ด้วยศรัทธานี้ ทำให้ "ถ้ามีรูปท่านเป็นที่หมายของสมมติ ก็กราบไหว้
รูปของท่าน หากไม่มีอะไรเลยก็เอาคุณธรรมของท่านประกอบเรื่องของสมมติน้อมนมัสการไป"
หลวงตามหาบัวพูดกับศิษย์เสมอว่า คุณธรรมและคุณสมบัติของหลวงปู่มั่นพรั่งพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมวินัย
ข้อวัตรปฏิบัติ ท่านไม่มีอะไรตกหล่นเสียหายแม้สักกระเบียดนิ้ว
ถ้อยคำจากหลวงตามหาบัวที่พูดถึงพระอาจารย์ เป็นถ้อยคำที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ตรง และดวงใจที่ศรัทธายิ่ง
"อาจารย์ มั่น ท่านเป็นทั้งพ่อเราทั้งแม่เรา ทุกอย่างรวมอยู่ในนั้นหมด ให้อรรถธรรม ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นสิริมงคล สิ่งใดไม่ดีปัดเป่าออกไปด้วยคำสั่งสอนทุกแง่ทุกมุม จึงเป็นเหมือนพ่อกับแม่เรา..."
หลวงตามหาบัวยอมรับอย่างหมดใจว่า พระอาจารย์มั่นสอนภาคปฏิบัติให้ท่านทั้งหมด
ส่วน ภาคปริยัติ หลวงตากล่าวอย่างถ่อมตนว่า "เราก็เรียนไป เรียนไปแล้วแต่ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไร เพียงแต่จดจำได้มา จำได้มาเฉยๆ ไม่รู้วิธีภาคปฏิบัติเป็นอย่างไร ท่านต้องบอก"
การเรียนรู้แต่หลักการ แม้จะเชี่ยวชาญปานใด เมื่อไม่สามารถนำหลักการนั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากไม่เกิดประโยชน์ใดๆแล้ว
ยังทำให้เกิดโทษอีกด้วย ส่วนโทษมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน้าที่การงานของคนผู้นั้น
ถ้า เป็นผู้ใหญ่บ้านอาจทำให้หมู่บ้านล้าหลัง ถ้าเป็นผู้นำประเทศก็อาจนำพาประเทศสู่ความล้าหลัง ความยุ่งยางทางเศรษฐกิจ นำประเทศเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง ก็อาจเป็นได้
แล้วให้รายละเอียด อีกว่า "อันนี้ทำอย่างนี้ เครื่องมืออย่างนี้เอาไปทำอย่างนั้น เครื่องมืออย่างนี้ เอาไปใช้อย่างนี้ ที่เราเรียนมาเราทำไป แต่ปฏิบัติไม่ถูก ปฏิบัติไม่เป็น อาศัยท่านพาปฏิบัติ...อาศัยท่านหยิบออกมา อันนี้ทำประโยชน์อย่างนั้น อันนั้นให้ทำประโยชน์อย่างนั้น เราก็ยึดจับเอาจากท่านเรื่อยมาจนเป็นภาคปฏิบัติ"
ธรรมวินิจฉัยของหลวงตามหาบัว ต่อพระอาจารย์มั่นคือ...
การ ปฏิบัติแนวพระอาจารย์มั่นนั้น "ท่านพาดำเนินอย่างถูกต้องแม่นยำ ถือเอาธุดงควัตรนี้เป็นพื้นเพในการดำเนิน และการประพฤติปฏิบัติจิตใจของท่านก็เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่นอกลู่นอกทางทำให้ผู้อื่นเสียหาย"
และบอกว่าเรื่อง "ริจะทำเพื่อความเด่นความดังอะไรนอกลู่นอกทางนั้นก็ไม่มี เป็นแนวทางที่ราบรื่นดีงามมาก นี่แหละเป็นที่นอนใจ เป็นที่ตายใจ ยึดถือไว้โดยไม่ต้องสงสัย"
พลางยกตัวอย่างว่า "ไม่ต้องเอาที่อื่นไกลที่ไหนเลย อาตมาเองนี่แหละเรียนจะว่าอวดหรือไม่อวดก็ตามก็เรียนถึงมหา แต่เวลาจะหาหลักหาเกณฑ์มายึดเป็นเครื่องดำเนินด้วยความอบอุ่นแน่ใจตายใจ สำหรับตัวเองไม่มีจะว่ายังไง นั่นมันเป็นอย่างนั้น จิตเสาะแสวงหาแต่ครูบาอาจารย์อยู่ตลอดเวลา เฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น"
คำว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ที่นำหน้าชื่อ "มั่น" นั้น เป็นคำที่หลวงตามหาบัวนำมาเรียกขานพระอาจารย์มั่นอย่างเทิดทูน ประหนึ่งว่าไม่รู้จะหาคำใดๆมาแทนความรู้สึกที่มีอยู่ในใจ ใช้เรียกขานพระอาจารย์
คำสั่งสอนของหลวงปู่มั่นที่สอนหลวงตามหาบัว บางข้อคือให้ "เอาหลักธรรมวินัยนั่นละ เป็นหลักของพระ"
ด้วยพระธรรมวินัย เมื่อรู้ เมื่อปฏิบัติ พระภิกษุสงฆ์ย่อมเกิดความเรียบร้อย ดีงาม อันจะส่งผลให้ดีงามทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
หลวง ตามหาบัวบอกว่า เรื่องนี้เป็นที่แน่ใจได้ เมื่อได้ฟังธรรมข้อนี้แล้ว ตัวท่านเองก็อบอุ่น เพราะถ้าไปแห่งหนใดก็ตาม เมื่อมีธรรมวินัยมีเมตตาไปพร้อม ถึงไหนก็เย็นกายเย็นใจ
ยามใด หรือพระภิกษุสงฆ์รูปใดไม่มีพระธรรมวินัย หลวงตา
มหาบัวบอกว่า จะมีอาการ "ใจดำ น้ำขุ่น ตีบตัน อั้นตู้ ดูไม่ได้"
พระภิกษุสงฆ์รูปใดก็ตาม เมื่อใจดำ น้ำขุ่น ตีบตัน อั้นตู้ ก็จะไร้เมตตาเป็นฟืนเป็นไฟเผาตัวเอง และเผาบ้านเผาเมืองต่อไป
พระ อาจารย์มั่น "ท่านสอนให้ตั้งหลักด้วยความเสียสละ ทุกสิ่งบรรดามีอยู่กับตัว คือร่างกายจิตใจ แต่มิให้สละธรรมที่ตนปฏิบัติ หรือบริกรรมอยู่ในขณะนั้น จะเป็นอะไรก็ปล่อยให้เป็นไปตามปกติธรรมดา"
สรุปว่า "ท่านสอนให้เด็ดเดี่ยว ห้าวหาญ"
สถาน ที่ปลีกวิเวก เพื่อบำเพ็ญภาวนา พระอาจารย์มั่นสอนว่า ดงหนาป่าชัฏมีสัตว์เสือชุมเท่าไรยิ่งสอนให้ไปอยู่ โดยให้เหตุผลว่า ที่นั่นแลจะได้กำลังใจทางสมาธิปัญญา เสือจะได้ช่วยให้ธรรมเกิดในใจได้บ้าง เพราะคนเราเมื่อไม่กลัวพระพุทธเจ้า แต่กลัวเสือและเชื่อเสือว่า เป็นสัตว์ดุร้ายจะมาคาบเอาไปเป็นอาหาร และช่วยไล่ตะล่อมจิตเข้าสู่ธรรมได้ก็ยังดี
เพราะ "จะได้กลัวและตั้งใจภาวนาจนเห็นธรรม"
กล อุบายเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์เข้าถึงธรรม พระภิกษุสงฆ์สายพระอาจารย์มั่นมีวิธีการหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ให้เข้าใกล้เสือนี้ พระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมคงเห็นว่า คนเราเมื่อถึงคราวกลัวอะไรมากสุดๆ ย่อมเกิดอาการพลิกผันทางจิต
เมื่อผ่านความกลัวอย่างสุดขีดนั้นไปได้ อาจพบเป้าหมายสูงสุดแห่งการค้นหา คือเข้าใจธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตลอดชีวิตสมณเพศของหลวงตามหาบัว ได้ปฏิบัติตามคำชี้แนะของพระอาจารย์มั่นเป็นที่ยิ่งแล้ว ย่อมกระจ่างแล้วซึ่งธรรมแห่งพระพุทธองค์.
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/146248