ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 07:33:18 pm »

คู่มือบุญ (บุญกิริยาวัตถุ ๑๐) ทุกคนทำได้ ง่ายนิดเดียว
 :13: :13: :13: :13:
พระพุทธเจ้าทรงสอน วิธีทำบุญ คือ วิธีทำความดี ทำสิ่งที่ทำแล้วได้ชำระความเศร้าหมองเร่าร้อน ทำแล้วได้ผลเป็นความดี ทำแล้วเป็นบุญเป็นกุศลรวมทั้งเป็นการประพฤติดีประพฤต ิชอบ ทางกายวาจาไว้สิบวิธี ทำได้เสมอโดยไม่ต้องใช้วัตถุสิ่งของเงินทองเสมอไปก็ท ำบุญได้ และเป็นบุญได้ เรียกว่า ‘บุญกิริยาวัตถุ ๑๐' เป็นเคล็ดไม่ลับที่มีคุณค่าหาประมาณมิได้ ให้เราสามารถสะสมบุญได้มากมายมหาศาลในชีวิตประจำวันน ี้เอง โดยไม่ต้องมีเงินทองมากหรือไม่มีเลยก็ยังได้

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

(๑) ทาน
คือ ทำบุญด้วยการให้ จะใส่บาตร ให้สิ่งของ ให้ขนม ปันเงินทอง ก็เป็นทาน นอกจากนั้น ให้ใบหน้ายิ้มแย้ม ให้ความเข้าใจ ให้ความช่วยเหลือ ให้หูที่รับฟังความทุกข์เดือดร้อน ให้ที่นั่ง ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ฯลฯ ก็เป็นทาน (จะเห็นว่าข้อ ทาน นี้ ยังมีคนจำนวนมากเข้าใจว่าต้องให้เงินให้ทองให้สิ่งขอ งเท่านั้น จึงจะเป็นทานที่ทำแล้วได้บุญ แต่ที่จริงแล้ว การทำทานให้เกิดบุญนั้น ทำได้กว้างขวางกว่าการให้สิ่งของเงินทองมากมายนัก อะไรๆ ก็สามารถฉลาดหยิบยกมาทำให้เกิด ‘ทาน' ได้ไปแทบจะทั้งหมด)

(๒) ศีล
คือ ทำบุญด้วยการตั้งใจระงับ เว้นและงดสิ่งไม่ดีทั้งหลายทั้งทางกายและวาจา เช่น ไม่ทำร้ายใคร ไม่พูดปด ไม่พูดร้าย ไม่ส่อเสียด ไปทำงานตรงเวลาไม่อู้ ไม่ทำอะไรที่จะเดือดร้อนตนเดือดร้อนคนอื่น ล้วนเป็นศีลทั้งสิ้น

(๓) ภาวนา
คือ ทำบุญด้วยการพัฒนาฝึกอบรมทางด้านจิตใจ เช่น การศึกษาเล่าเรียนหรือใคร่ครวญข้อธรรมะ การสวดมนต์ไหว้พระ การทำสมาธิ การเจริญสติ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

(๔) อปจายนะ
คือ ทำบุญด้วยการมีใจเคารพอ่อนน้อม อ่อนน้อมถ่อมตนกับมารดาบิดา ผู้หลักผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ กราบพระ ไหว้พระเจดีย์พระวิหารด้วยใจเคารพ เป็นต้น

(๕) เวยยาวัจจะ
คือ ทำบุญด้วยการเอาใจใส่ช่วยเหลือมารดาบิดาและผู้อื่นอย ่างเต็มกำลัง ให้บุคคลเหล่านั้นทั้งหลายไม่ต้องกังวลทั้งเรื่องทาง โลกที่ไม่มีโทษและ เรื่องทางธรรม เช่น ช่วยดูแลเรื่องการงาน ดูแลผู้ป่วยไข้ ช่วยทำความสะอาดบ้านช่อง ช่วยงานปฏิสังขรณ์วัด ช่วยงานบุญงานกุศล งานปริยัติปฏิบัติต่างๆ

(๖) ปัตติทาน
คือ ทำบุญด้วยการแบ่งความดีที่ตนทำแล้วให้ผู้อื่นพลอยปลา บปลื้ม และได้รับความดีนั้นไปด้วย เช่น การแผ่และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล หรือเมื่อทำบุญหรือความดีใดๆ ก็บอกให้ผู้อื่นได้พลอยปีติยินดี และอนุโมทนาบุญนั้นๆ ไปด้วยกัน

(๗) ปัตตานุโมทนาทาน
คือ ทำบุญด้วยการอนุโมทนาบุญ กุศลหรือความดีที่ผู้อื่นทำและบอกเล่า ให้ร่วมอนุโมทนาด้วยจิตใจที่พลอยแช่มชื่นเบิกบานและป ีติยินดีไปด้วย

(๘) ธัมมะสวนะ
คือ ทำบุญด้วยการฟังธรรม อ่าน ศึกษาธรรมะ ด้วยจิตใจอ่อนโยนชุ่มชื่น เบิกบานแจ่มใส โดยมุ่งให้เข้าใจและรู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้รู้ในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ตั้งใจเพิ่มพูน และพัฒนาสติปัญญาของตน

(๙) ธรรมเทศนา
คือ ทำบุญด้วยการบอก แนะนำ ให้ธรรมะ อย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่มุ่งให้ผู้ฟังได้สติ เกิดศรัทธาและปัญญา รวมไปถึงการแบ่งปันความรู้ทางโลกที่ไม่มีโทษให้กับผู ้อื่น เช่น สอนความรู้ทางการแพทย์ การเกษตร

(๑๐) ทิฏฐุชุกัมมะ
คือ ทำบุญด้วยการตั้งใจทำความคิดเห็นของตนให้ตรงให้ถูกต้ องตามธรรม ตั้งใจพัฒนาสติปัญญาให้ตนเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ ตรงต่อ ความเป็นจริงของธรรมชาติ ตั้งใจไม่ให้ตนเป็นคนมีความคิดเห็นที่ผิด หรือเบี่ยงเบนออกไปจากความเป็นจริง

ทว่า บุคคลจะสร้างบุญกุศลทั้งสิบข้อดังกล่าวให้เพิ่มพูนได ้อย่างดีมีประสิทธิภาพ เต็มที่นั้น พึงเริ่มต้นจากการชำระตนเองคือทำตนเว้นจากการทำความช ั่วทั้งปวงก่อน กล่าวคือ บุคคลพึงเว้นจากการกระทำไม่ดีทั้งทางกาย วาจาและใจ ก่อน รวมทั้งเพียรพยายามเสาะแสวงหาวิธีทำตนให้เป็นคนที่มี ความคิดเห็นถูกต้อง สั้นๆ คือ ทำตัวให้มีศีลและมีปัญญาก่อนเป็น ลำดับแรกที่ สำคัญ เมื่อมีตนเป็นผู้มีศีลแล้วและยังมีปัญญารู้เหตุรู้ผล ควรไม่ควรต่างๆ ด้วย การจะเพิ่มพูนความดีในตนให้มากขึ้นด้วยบุญกิริยาวัตถ ุทั้ง ๑๐ วีธี ก็จะเป็นไปอย่างสะดวกง่ายดายขึ้น ทำให้ยิ่งสามารถทำความดีทั้งสิบ (บุญกิริยาวัตถุ ๑๐) ได้อย่างมั่นใจ เข้าใจ ทำได้ถูกและตามที่ควรจะทำได้ยิ่งๆ ขึ้นไป ทำให้ ‘ฉลาดในบุญ' ยิ่งๆ ขึ้นไป ได้บุญมากหนักแน่นและเต็มที่ยิ่งๆ ขึ้นไป

การตั้งใจและเว้นจากการไม่ทำความชั่วทั้งปวงนี้เรียก ว่า ‘กุศลกรรมบถ' พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ๑๐ ประการต่อไปนี้

กุศลกรรมบถ ๑๐

(๑)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางกาย ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์อื่นให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อน
(ปาณาติปาตา เวรมณี)

(๒)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางกาย ด้วยการไม่ลักทรัพย์ ถือเอาของที่เขาไม่ให้ด้วยอาการขโมย
(อทินนาทานา เวรมณี)

(๓)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางกาย ด้วยการไม่ประพฤติผิดในกาม
(กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี)

(๔)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางวาจา ด้วยการไม่พูดเท็จ
(มุสาวาทา เวรมณี)

(๕)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางวาจา ด้วยการไม่พูดจายุยงส่อเสียด
(ปิสุณาวาจา เวรมณี)

(๖)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางวาจา ด้วยการไม่พูดจาร้าย หยาบคายด่าทอ
(ผรุสวาจา เวรมณี)

(๗)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางวาจา ด้วยการไม่พูดเพ้อเจ้อ กล่าววาจาไม่เป็นประโยชน์ หรือกล่าววาจาโปรยประโยชน์
(สัมผัปปลาปา เวรมณี)

(๘)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางใจ ด้วยการไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น
(อนภิชฌา)

(๙)
ตั้งใจและเพียรระวังเพื่อเว้นจากการทำไม่ดีทางใจ ด้วยการไม่คิดไม่ดี คิดไม่พอใจ โกรธ คิดร้าย คิดพยาบาทอาฆาตจองเวรผู้อื่น
(อพยาบาท)

(๑๐)
ตั้งใจและเพียรพัฒนาใจของตนเอง ด้วยการพยายามศึกษาหาความรู้เพื่อให้ตนเป็นผู้มีปัญญ า มีความเห็นชอบ คิดเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
(สัมมาทิฏฐิ)

กุศลกรรมบถ ๑๐ จึงเป็นจุดเริ่มต้น และบุญจึงไม่ใช่เฉพาะต้องมีวัตถุเงินทองถึงจะทำได้ บุญอยู่ที่ความตั้งใจ อยู่ที่เจตนา การทำบุญด้วยวัตถุเงินทอง (ในข้อทานมัย) นั้น ก็เป็นเพียงส่วนเดียว แท้ที่จริงแล้วบุญนั้นสามารถเพิ่มพูนได้ตลอดในแทบทุก อย่าง ในชีวิตประจำวัน บุญอยู่ที่ความเข้าใจ รู้ว่าอะไรอย่างไรคือบุญ ทุกครั้งที่มีโอกาส โดยไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องมีเงินทองวัตถุข้าวของมากมายเสมอไป ก็สามารถสะสมเพิ่มพูน ‘บุญ' ได้มากมายมหาศาลเท่าเทียมกันทุกคน





ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต)
ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๒
กัมมจตุกกะ - มรณุปัตติจตุกกะรจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
๖๐ คำถามที่ต้องการคำตอบ เล่มที่ ๒ โดย คนเดินทาง ชมรมอนุรักษ์ธรรม
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=392260
 :13: :13: :13: :13: