ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 10:05:52 pm »

 :45:ขอบคุณนะค่ะคุณหนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 11:46:51 am »

ข้าวสวย : ความหมายที่น่าจะเป็น

วีระพงศ์ มีสถาน
mesathan@yahoo.com

กรอบแนวคิดรวบยอด (concept) ของคนวัฒนธรรมไท มักคิดเปรียบเพื่อจำแนกสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น สูง-ต่ำ, ดำ-ขาว, หน้า-หลัง, อ่อน-แข็ง, มืด-แจ้ง, ซ้าย-ขวา, ไพร่-เจ้า, ฟ้า-ดิน ดังนี้เป็นต้น

วัฒนธรรม ของชาวสยาม รวมถึงหมู่กลุ่มของผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านละแวกเอเชียอาคเนย์นี้ เป็นคนที่บริโภคข้าวโดยตรง คือนำมาหุง ต้ม นึ่ง ไม่นำไปทำเป็นโรตี หรือขนมปัง มีบ้างที่นำไปทำเป็นเส้นอย่างทำขนมจีนหรือทำเป็นเส้นหมี่อย่างวัฒนธรรมมอญ หรือจีน แต่ก็ยังถือว่าเป็นคนบริโภคข้าว

คนตระกูลไทก็จำแนกข้าวออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือข้าวเหนียวกับข้าวเจ้า/จ้าว (ซึ่งเคยกล่าวไว้ในศิลปวัฒนธรรมว่า เจ้า/จ้าว ในภาษาไทยใหญ่ยังเหลือค้างความหมายที่แปลว่าร่วนหรือ ซุย)

แต่เพราะคำว่า เจ้า/จ้าว ซึ่งมีความหมายว่า ร่วน หรือ ซุย นี้ ชาวไทยภาคกลางของ ประเทศไทยไม่ได้นำไปใช้ในปริบทอื่น นอกเสียจากผูกติดอยู่หลังคำว่า ข้าว เรียกว่าเป็น คำที่เกิดควงกันเสมอ จนถึงขั้นมีการตีความไปว่า ข้าวเจ้า เป็นข้าวของผู้นำหรือของกษัตริย์หรือบรรดา เจ้ากิน เมื่อเจ้าตรงข้ามกับไพร่ ตามครรลองของภาษาในสังคมไทย จึงเกิดความเข้าใจไปอีกว่า ข้าวเหนียว ก็พึงเป็นข้าวที่พวกไพร่กิน เรียกว่าเป็นการจับคู่เทียบความหมายที่ไม่แยแสปริบทวัฒนธรรม และความเป็นจริงทางธรรมชาติกันเลยทีเดียว

หากดูตามแนวอรรถศาสตร์อันเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องของความหมาย ถ้านำเอาความหมายของคำว่า (ข้าว)เจ้า ซึ่งแปลว่า ซุย หรือ ร่วน ไปเรียกเป็นชื่อข้าว ก็จะได้อีกชื่อหนึ่งว่า ข้าวซุย หรือ ข้าวร่วน ได้ แต่คำพูดของคนในสังคมไทยภาคกลางไม่พากันเรียกขานเช่นนี้ มีแต่เรียกข้าวเจ้ากันเรื่อยมา เมื่อคนส่วนใหญ่เรียกเช่นนี้ ก็เกิดการรับรู้กันทั่วไป

คำว่า ซุย มีความ หมายคล้ายคำว่า ร่วน คือมีลักษณะไม่เกาะกันหนึบเหนียว อย่างเช่นการพรวนดินให้ซุย เป็นต้น ซึ่งคำนี้สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของคำว่า สวย ในคำว่า ข้าวสวย และคำว่า ซุย กับ สวย มีส่วนที่พ้องกันในทางสัทศาสตร์หลายประการ ดังนี้

ตัวอักษร ซ และ ส เป็นหน่วยเสียง (phoneme) เดียวกันคือ /s/ ซึ่ง อักษรตัว ซ เป็นอักษรต่ำ ส่วนตัว ส เป็นอักษรสูง คือมีลักษณะเสียงวรรณยุกต์จัตวาติดตรึงอยู่ประจำตัวเองเสมอ เมื่อไปประสมสระยาว หรือไปอยู่ในรูปคำเป็น ก็จะแสดงค่าเป็นระดับวรรณยุกต์จัตวาอยู่ร่ำไป โดยไม่ต้องทำเครื่องหมายจัตวามากำกับ เช่น สี สอย สวย สาง สิน เป็นต้น

ซุย และ สวย มีหน่วยเสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ด้วยหน่วยเสียงเดียวกัน คือ /y/ หรือเสียง /ย/
ซุย ประสมด้วยสระ อุ หรือหน่วยเสียงสระ /u/

ส่วน สวย ประสมด้วยสระ อัวะ หรือ สระอัว ในทางสัทศาสตร์ถือเป็นหน่วยเสียงสระประสมระหว่างสระ อุ กับสระ อะ (ถ้าเป็นเสียงสั้น) หรือสระ อุ กับสระ อา (ถ้าเป็นเสียงยาว) เมื่อเขียนสัทอักษร มักเขียนด้วยหน่วยเสียงสระ /ua/ ถ้าเปล่งเสียง อุอะ เร็วๆ ก็จะเป็น อัวะถ้าเปล่งเสียง อุอา หรือ อูอา ก็จะเป็น อัว

อย่าง ไรก็ดี แม้ว่าทั้งสองคำจะประสมด้วยสระที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นแก่นของฐานเสียงสระเดียวกันคือ หน่วยเสียงสระ /อุ/ อีกประการหนึ่งนั้น มีเสียงตัวสะกด /ย/ เหมือนกัน ทำให้ทั้ง ๒ คำมีสภาพเป็น คำเป็น
เมื่อเขียน ซุย และ สวย ด้วยสัทอักษร จะได้รูปร่าง /suy/ และ /suay/ ตามลำดับ

จะเห็นได้ว่า รูปคำ ซุย และ สวย เมื่อเขียนเป็นสัทอักษร หน่วยเสียงหลักๆ ยังคงเหมือนกัน สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในคำว่า สวย คือหน่วยเสียงวรรณยุกต์จัตวา และมีหน่วยเสียงสระ อะ /a/ มาประสมกับหน่วยเสียง /u/จึงกลายเป็นสระ อัวะ ไปในที่สุด

เคยได้ยินคนแก่ชาวโคราชถามหลานตัวเล็กว่า ′เอ๋งจ๊ะกิ๋นเข่าเหนียวรึเข่าซุย′ ครั้นจะกลับไปสอบถามว่ายายคนที่พูดนี้ชื่ออะไร อยู่บ้านไหน ก็เห็นจะลำบาก เพราะได้ยินมาเมื่อกว่า ๒๐ ปีที่แล้ว

กล่าวมายาวๆ ด้วยหลักวิชาการนี้ สรุปเป็นคำพื้นบ้านทั่วไปเพียงต้องการบ อกว่า สวย ที่เราเรียกกันว่า ข้าวสวย นั้น น่าจะเป็นคำที่กร่อนเสียง หรือกลายเสียงจากคำว่า ซุย แทนที่จะเรียกว่า ข้าวซุย คนภาคกลางไม่เรียกเช่นนั้น เรากลับเรียกว่า ข้าวสวย

ใน การนิยามความหมายเพื่อจัดทำพจนานุกรม เมื่อทำถึงคำว่า สวย จึงควรอธิบายหรือนิยามความหมายตามที่มีการใช้ทั่วๆ ไป อย่างมีการใช้ว่า บ้านสวย คนสวย ฟ้าสวย รถสวย ฯลฯ สวยตรงนี้ มีความหมายคร่าวๆ ว่างามนั่นเอง แต่ถ้าจะอธิบายคำว่า สวยที่ผนวกอยู่ท้ายคำว่า ข้าวเราคนไทยไม่ได้แปลว่า ข้าวงาม หรือ ข้าวสวยดี แต่เราหมายถึงข้าวเจ้าที่หุงสุกแล้ว พร้อมกินได้

คำหนึ่งๆ ที่มีความหมายเป็นของตัวเอง ควรจะแสดงค่าความหมายได้ในหลายปริบท ถ้ามันแสดงค่าความหมายไม่ได้ นั่นแสดงว่านิยามความหมายไม่ถูกต้อง ดังกรณีนิยามว่า สวย แปลว่า ไม่เปียก, เรียงเม็ด เช่น ข้าวสวย (และอีกประการหนึ่ง การนิยามความหมาย ไม่ควรเติมคำปฏิเสธเป็นความหมายหลัก เช่น เขียว แปลว่า ไม่แดง เช่นนี้ไม่ได้ ไม่ถูกต้องตามหลักการนิยามความหมาย)

ถ้า นิยามคำ ′สวย′ ว่า ไม่เปียก หรือ เรียงเม็ด ได้จริง เมื่อเรานำไปต่อท้ายคำว่า หินสวย ทรายสวย ลูกกวาดสวย ก็จะต้องขับความหมายว่า เรียงเม็ด ออกมาได้

ในการทำพจนานุกรมไทย-ไทย (คือคำศัพท์และความหมายเป็นคำไทย) จึงควรตระหนักถึงความหมายจากค่าของคำ ไม่ควรเร่หาเอาคำแปลไปตามปริบทหรือคำที่แวดล้อม แล้วนำมาระบุว่าเป็นความหมายอย่างนั้นอย่างนี้

คำว่า ข้าวสวย จึงควรเป็นลูกคำของคำว่า ข้าว และไม่ควรแปลว่า ข้าวเรียงเม็ด หรือ ข้าวไม่เปียก แต่ถ้าประสงค์จะนิยามความหมาย ของคำว่า สวย ที่เกิดอยู่ท้ายคำว่า ข้าว ก็ควรอิงหลักการทางความหมายอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น คือแปลว่า ข้าวร่วน หรือข้าวเจ้าที่หุงหรือนึ่งสุกแล้ว


http://www.matichon.co.th/news_detai...tid=&subcatid=

.



.