ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 09:05:38 am »โรคต้อหินตรวจก่อนป้องกันตาบอดได้
โรคต้อหิน เป็นโรคของดวงตาที่สำคัญและอันตราย โรคนี้จะมีการทำลายขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตาอย่างค่อยเป็นค่อยไป....
เรื่อง อณุศรา ทองอุไร
ดวงตา คือหน้าต่างส่องโลก คำที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการมองเห็น การทะนุถนอมดูแลรักษาดวงตา จึงสำคัญ เพื่อที่จะได้มีดวงตาไว้ใช้ประโยชน์ในชีวิตยืนนาน
คงได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากโรคต้อหิน สาเหตุของการมองไม่เห็นในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป พญ. ณฐมน ศรีสำราญ จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคต้อหินผู้ใหญ่และเด็ก สังกัดกองจักษุกรรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่าโรคต้อหิน เป็นโรคของดวงตาที่สำคัญและอันตราย โรคนี้จะมีการทำลายขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตาอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจมีความดันตาปกติหรือสูงก็ได้
การทำลายดังกล่าวมีผลทำให้ลานสายตาหรือความกว้างของการมองเห็นแคบลง หากไม่ทำการรักษา จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด หากตรวจพบช้า อันตรายถึงขั้นมองไม่เห็น และแม้ว่าตรวจพบแล้ว แต่ทำการรักษาไม่สม่ำเสมอ ก็อาจสูญเสียการมองเห็นได้ และการสูญเสียที่เกิดจากโรคต้อหินนั้น เป็นการสูญเสียถาวรที่ไม่สามารถจะแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นปกติได้อีก
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน
มักไม่ทราบสาเหตุ แต่ในรายที่ทราบสาเหตุนั้น อาจเกิดจากโรคตาอื่นๆ เช่น การอักเสบภายในลูกตา เนื้องอกหรือมะเร็งในลูกตา การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เป็นเวลานาน หรือเคยมีประวัติได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ตามาก่อน
ลักษณะและชนิดของต้อหิน
โรคต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1.... ต้อหินชนิดมุมเปิด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการมีความดันในลูกตาเพิ่มทีละน้อย เป็นเวลานานโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งถูกทำลายไปแล้วประมาณ 40-50% จึงเริ่มแสดงอาการ
ชนิดที่ 2..... ต้อหินชนิดมุมปิด เกิดจากการที่มุมระหว่างม่านตากับกระจกตาแคบ ทำให้เกิดการอุดตันของทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น ถ้าเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน มักจะมีอาการรุนแรง อาการที่พบบ่อยและนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดตา ตามัว คลื่นไส้ อาเจียน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน
แม้จะพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ แต่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคต้อหิน ได้แก่
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีประวัติครอบครัวและญาติใกล้ชิดเป็นโรคต้อหิน
- มีระดับความดันในลูกตาสูง
- สายตาสั้นมากหรือยาวมาก
- เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจหรือโรคความดันโลหิตสูง
- มีความผิดปกติของเลือดและเส้นเลือด ซึ่งส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณขั้วประสาทตาไม่ดีด้วย
- ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นในรูปยาหยอดตา ยากิน ยาฉีด ยาทา หรือยาพ่น โดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- เคยผ่าตัดตาหรือมีประวัติได้รับบาดเจ็บที่ตาอย่างรุนแรงมาก่อน
- อาชีพหรือกิจกรรมบางประเภทที่เพิ่มความดันบริเวณคอและใบหน้า อาจทำให้ความดันตาสูงขึ้นและควบคุมโรคต้อหินได้ยาก เช่น นักดนตรีประเภทเป่า นักร้องโอเปร่า นักยกน้ำหนัก หรือกีฬาที่ต้องมีการวางศีรษะต่ำกว่าตัว เช่น โยคะ จากที่กล่าวมาทั้งหมด มีเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถควบคุมและเปลี่ยนแปลงได้ คือ ความดันในลูกตาที่สูง เพราะหากปล่อยไว้จนผิดปกติแล้ว ขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตา ก็จะถูกทำลาย
วิธีป้องกันและรักษาโรคต้อหิน
โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดแบบถาวร โรคนี้เมื่อมีการสูญเสียการมองเห็นแล้ว การมองเห็นของดวงตาจะไม่สามารถกลับคืนมาเป็นปกติได้อีก ไม่ว่าจะใช้การรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งที่เราทุกคนควรกระทำ คือ การเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะบุคคลที่มีความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น และในรายที่มีอาการปวดตาและศีรษะพร้อมกันอย่างรุนแรง เพื่อให้แพทย์ประเมินความดันลูกตาและการมองเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ สิ่งสำคัญที่เน้นสำหรับการตรวจต้อหิน คือ การดูมุมตา, การประเมินขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตา ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ได้รับการกระทบกระเทือนโดยตรงจากโรคต้อหิน และการตรวจลานสายตา
แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้ต้อหินลุกลามมากขึ้นจากเดิม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การตรวจพบเร็ว ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกันหรือรักษาการมองเห็นไว้กับเราได้นานขึ้น และการเฝ้าระวังไม่ไห้โรคเป็นมากขึ้นหรือแย่ลงอย่างรวดเร็ว การรักษาโรคต้อหินนั้น แพทย์จะทำการลดความดันในลูกตาโดย 3 วิธีหลัก คือ
1. การใช้ยา มีทั้งชนิดหยอด ชนิดเม็ดและชนิดน้ำ ที่จะช่วยลดความดันตา
2. เลเซอร์ เป็นการรักษาเพื่อลดความดันตา ในผู้ป่วยที่มีภาวะต้อหินเฉียบพลัน หรือใช้ป้องกันภาวะต้อหินเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มีมุมตาแคบได้ มักใช้ร่วมกับยาลดความดันตา
3. การผ่าตัด แพทย์จะทำช่องเพื่อระบายน้ำภายในลูกตา จากช่องลูกตาส่วนหน้าออกมาสู่ภายนอกลูกตา และอยู่ใต้ต่อเยื่อบุตา เพื่อลดความดันภายในลูกตา
คนไทยเสี่ยงเป็นโรคต้อหินเพิ่มสูงขึ้น
พบว่าคนไทยมีโอกาสเป็นโรคต้อหินสูงกว่าคนชาติตะวันตก เช่น 1 ใน 6 ของประชากรที่อายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเป็นโรคต้อหินชนิดมุมปิด โดยหากตรวจพบในระยะที่ขั้วประสาทตาของคนไข้ยังไม่ถูกทำลาย แพทย์สามารถทำการรักษาเพื่อป้องกันได้
http://www.posttoday.com/lifestyle/health-me/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/74740/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
.
.
โรคต้อหิน เป็นโรคของดวงตาที่สำคัญและอันตราย โรคนี้จะมีการทำลายขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตาอย่างค่อยเป็นค่อยไป....
เรื่อง อณุศรา ทองอุไร
ดวงตา คือหน้าต่างส่องโลก คำที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการมองเห็น การทะนุถนอมดูแลรักษาดวงตา จึงสำคัญ เพื่อที่จะได้มีดวงตาไว้ใช้ประโยชน์ในชีวิตยืนนาน
คงได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากโรคต้อหิน สาเหตุของการมองไม่เห็นในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป พญ. ณฐมน ศรีสำราญ จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคต้อหินผู้ใหญ่และเด็ก สังกัดกองจักษุกรรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่าโรคต้อหิน เป็นโรคของดวงตาที่สำคัญและอันตราย โรคนี้จะมีการทำลายขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตาอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจมีความดันตาปกติหรือสูงก็ได้
การทำลายดังกล่าวมีผลทำให้ลานสายตาหรือความกว้างของการมองเห็นแคบลง หากไม่ทำการรักษา จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด หากตรวจพบช้า อันตรายถึงขั้นมองไม่เห็น และแม้ว่าตรวจพบแล้ว แต่ทำการรักษาไม่สม่ำเสมอ ก็อาจสูญเสียการมองเห็นได้ และการสูญเสียที่เกิดจากโรคต้อหินนั้น เป็นการสูญเสียถาวรที่ไม่สามารถจะแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นปกติได้อีก
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน
มักไม่ทราบสาเหตุ แต่ในรายที่ทราบสาเหตุนั้น อาจเกิดจากโรคตาอื่นๆ เช่น การอักเสบภายในลูกตา เนื้องอกหรือมะเร็งในลูกตา การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เป็นเวลานาน หรือเคยมีประวัติได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ตามาก่อน
ลักษณะและชนิดของต้อหิน
โรคต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ชนิดที่ 1.... ต้อหินชนิดมุมเปิด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการมีความดันในลูกตาเพิ่มทีละน้อย เป็นเวลานานโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งถูกทำลายไปแล้วประมาณ 40-50% จึงเริ่มแสดงอาการ
ชนิดที่ 2..... ต้อหินชนิดมุมปิด เกิดจากการที่มุมระหว่างม่านตากับกระจกตาแคบ ทำให้เกิดการอุดตันของทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น ถ้าเป็นแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน มักจะมีอาการรุนแรง อาการที่พบบ่อยและนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดตา ตามัว คลื่นไส้ อาเจียน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน
แม้จะพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ แต่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคต้อหิน ได้แก่
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีประวัติครอบครัวและญาติใกล้ชิดเป็นโรคต้อหิน
- มีระดับความดันในลูกตาสูง
- สายตาสั้นมากหรือยาวมาก
- เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจหรือโรคความดันโลหิตสูง
- มีความผิดปกติของเลือดและเส้นเลือด ซึ่งส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณขั้วประสาทตาไม่ดีด้วย
- ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นในรูปยาหยอดตา ยากิน ยาฉีด ยาทา หรือยาพ่น โดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- เคยผ่าตัดตาหรือมีประวัติได้รับบาดเจ็บที่ตาอย่างรุนแรงมาก่อน
- อาชีพหรือกิจกรรมบางประเภทที่เพิ่มความดันบริเวณคอและใบหน้า อาจทำให้ความดันตาสูงขึ้นและควบคุมโรคต้อหินได้ยาก เช่น นักดนตรีประเภทเป่า นักร้องโอเปร่า นักยกน้ำหนัก หรือกีฬาที่ต้องมีการวางศีรษะต่ำกว่าตัว เช่น โยคะ จากที่กล่าวมาทั้งหมด มีเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถควบคุมและเปลี่ยนแปลงได้ คือ ความดันในลูกตาที่สูง เพราะหากปล่อยไว้จนผิดปกติแล้ว ขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตา ก็จะถูกทำลาย
วิธีป้องกันและรักษาโรคต้อหิน
โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดแบบถาวร โรคนี้เมื่อมีการสูญเสียการมองเห็นแล้ว การมองเห็นของดวงตาจะไม่สามารถกลับคืนมาเป็นปกติได้อีก ไม่ว่าจะใช้การรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งที่เราทุกคนควรกระทำ คือ การเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะบุคคลที่มีความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น และในรายที่มีอาการปวดตาและศีรษะพร้อมกันอย่างรุนแรง เพื่อให้แพทย์ประเมินความดันลูกตาและการมองเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ สิ่งสำคัญที่เน้นสำหรับการตรวจต้อหิน คือ การดูมุมตา, การประเมินขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตา ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ได้รับการกระทบกระเทือนโดยตรงจากโรคต้อหิน และการตรวจลานสายตา
แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้ต้อหินลุกลามมากขึ้นจากเดิม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การตรวจพบเร็ว ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกันหรือรักษาการมองเห็นไว้กับเราได้นานขึ้น และการเฝ้าระวังไม่ไห้โรคเป็นมากขึ้นหรือแย่ลงอย่างรวดเร็ว การรักษาโรคต้อหินนั้น แพทย์จะทำการลดความดันในลูกตาโดย 3 วิธีหลัก คือ
1. การใช้ยา มีทั้งชนิดหยอด ชนิดเม็ดและชนิดน้ำ ที่จะช่วยลดความดันตา
2. เลเซอร์ เป็นการรักษาเพื่อลดความดันตา ในผู้ป่วยที่มีภาวะต้อหินเฉียบพลัน หรือใช้ป้องกันภาวะต้อหินเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มีมุมตาแคบได้ มักใช้ร่วมกับยาลดความดันตา
3. การผ่าตัด แพทย์จะทำช่องเพื่อระบายน้ำภายในลูกตา จากช่องลูกตาส่วนหน้าออกมาสู่ภายนอกลูกตา และอยู่ใต้ต่อเยื่อบุตา เพื่อลดความดันภายในลูกตา
คนไทยเสี่ยงเป็นโรคต้อหินเพิ่มสูงขึ้น
พบว่าคนไทยมีโอกาสเป็นโรคต้อหินสูงกว่าคนชาติตะวันตก เช่น 1 ใน 6 ของประชากรที่อายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเป็นโรคต้อหินชนิดมุมปิด โดยหากตรวจพบในระยะที่ขั้วประสาทตาของคนไข้ยังไม่ถูกทำลาย แพทย์สามารถทำการรักษาเพื่อป้องกันได้
http://www.posttoday.com/lifestyle/health-me/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/74740/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
.
.